Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน17 มีนาคม 2552
ยอดขาดดุลงบฯพุ่งเฉียดแสนล้าน สนองรัฐเร่งอัดฉีดเงินกู้เศรษฐกิจ             
 


   
www resources

โฮมเพจ กระทรวงการคลัง

   
search resources

กระทรวงการคลัง
สมชัย สัจจพงษ์
Economics




คลังเผยฐานะการคลังเดือนกุมภาพันธ์มียอดขาดดุลเฉียดแสนล้านบาท ระบุผลจากเร่งเบิกจ่ายเงินงบประมาณกว่า 1.7 แสนล้านเข้าสู่ระบบ ตามนโยบายการคลังของรัฐบาลในการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ ขณะที่ 5 เดือนแรกของปีมียอดขาดดุลรวม 3.24 แสนล้าน

นายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.) ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ฐานะการคลังในเดือนกุมภาพันธ์ 52 รัฐบาลมีรายได้นำส่งคลัง 8.04 หมื่นล้านบาท ต่ำกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้ว 2.78 หมื่นล้านบาท เนื่องจากการจัดเก็บภาษีของ 3 กรมหลักจัดเก็บได้ลดลง โดยภาษีที่จัดเก็บต่ำกว่าเดือนเดียวกันปีที่ผ่านมาที่สำคัญ ได้แก่ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม อากรขาเข้า ภาษีรถยนต์ และภาษีธุรกิจเฉพาะ นอกจากนี้ในเดือนนี้ได้มีการจัดสรรรายได้ภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ตาม พรบ. กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจ ฯ งวดที่ 1 จำนวน 8.6 พันล้านบาท

โดยในเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา รัฐบาลมีการเบิกจ่ายเงินงบประมาณทั้งสิ้น 1.79 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีที่แล้ว 6.1 หมื่นล้านบาท ทั้งนี้ การเบิกจ่ายงบประมาณดังกล่าวเป็นรายจ่ายประจำ 1.32 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 35.5% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีที่แล้ว โดยเป็นผลจากรายจ่ายชดใช้เงินคงคลังจำนวน 2.75 หมื่นล้านบาท และรายจ่ายลงทุน 3.38 หมื่นล้านบาท เนื่องจากได้มีรายจ่ายเงินอุดหนุนให้แก่ อปท. 2.6 หมื่นล้านบาท และรายจ่ายจากงบประมาณปีก่อน 1.3 หมื่นล้านบาท

จากรายได้นำส่งคลังและการเบิกจ่ายเงินงบประมาณของรัฐบาลข้างต้นส่งผลให้ดุลเงินงบประมาณในเดือนกุมภาพันธ์ 2552 ขาดดุล 9.92 หมื่นล้านบาท เมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่เกินดุล 5 หมื่นล้านบาท โดยมีสาเหตุหลักจากการได้รับชดใช้เงินคงคลังจำนวน 2.75 หมื่นล้านบาท การออกตั๋วเงินคลังสุทธิจำนวน 9 พันล้านบาท และได้รับรายได้ส่วนเกินจากการออกพันธบัตรจำนวน 2.4 พันล้านบาท ทำให้รัฐบาลขาดดุลเงินสด 4.84 หมื่นล้านบาท ซึ่งรัฐบาลได้ชดเชยการขาดดุลด้วยการกู้เงินโดยออกพันธบัตร ตั๋วสัญญาใช้เงิน และตั๋วเงินคลัง จำนวน 6.95 หมื่นล้านบาท ส่งผลให้ดุลเงินสดหลังกู้ชดเชยการขาดดุลเกินดุลจำนวน 2.1 หมื่นล้านบาท

สำหรับฐานะการคลังในช่วง 5 เดือนแรกปีงบประมาณ 52 รัฐบาลมีรายได้นำส่งคลังทั้งสิ้น 4.52 แสนล้านบาท ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วจำนวน 8.2 หมื่นล้านบาท โดยมีสาเหตุหลักมาจากการจัดเก็บภาษีที่สำคัญ เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีภาษีสรรพสามิตน้ำมัน ภาษีธุรกิจเฉพาะ อากรขาเข้า และภาษีเงินได้ปิโตรเลียมลดลง รวมทั้งการนำส่งรายได้ของรัฐวิสาหกิจที่ลดลงมาก ในขณะที่การคืนภาษีของกรมสรรพากรเพิ่มขึ้นมาก

รายจ่ายรัฐบาล การเบิกจ่ายงบประมาณของรัฐบาลมีจำนวนทั้งสิ้น 7.76 แสนล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 1.06 แสนล้านบาท โดยแบ่งออกเป็นรายจ่ายปีปัจจุบัน 7.06 แสนล้านบาท คิดเป็นอัตราการเบิกจ่าย 38.5% ของวงเงินงบประมาณ โดยแบ่งออกเป็นรายจ่ายประจำ 5.92 แสนล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 19.8% และรายจ่ายลงทุน 1.13 แสนล้านบาท ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่ผ่านมา 3.8% และรายจ่ายปีก่อน 6.9 หมื่นล้านบาท

ด้านดุลการคลังรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสด จากรายได้นำส่งคลังและการเบิกจ่ายเงินงบประมาณของรัฐบาล ส่งผลให้ดุลเงินงบประมาณขาดดุล 3.24 แสนล้านบาท และเมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่เกินดุลจำนวน 2.4 หมื่นล้านบาท ซึ่งมีสาเหตุหลักจากการได้รับชดใช้เงินคงคลังจำนวน 2.7 หมื่นล้านบาท ทำให้ดุลการคลัง (ดุลเงินสด) ของรัฐบาลขาดดุล 2.99 แสนล้านบาท ทั้งนี้ รัฐบาลได้บริหารเงินสดให้สอดคล้องกับความต้องการใช้เงิน รวมทั้งเพื่อเป็นการประหยัดภาระดอกเบี้ย จึงได้ชดเชยการขาดดุลดังกล่าวด้วยการออกพันธบัตร ตั๋วสัญญาใช้เงิน และตั๋วเงินคลังจำนวน 1.28 แสนล้านบาท และใช้เงินคงคลัง 1.7 แสนล้านบาท   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us