Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน3 กันยายน 2546
"THAI"เร่งการบินต้นทุนต่ำโต้ไม่เคยดึงสิงคโปร์เข้าร่วม             
 


   
www resources

โฮมเพจ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)

   
search resources

การบินไทย, บมจ.
ยูไนเต็ด แอร์ไลน์ส
ทนง พิทยะ
กวีพันธ์ เรืองผกา
Aviation




การบินไทย (THAI) เดินหน้าตั้งสายการบินต้นทุนต่ำ ถือหุ้นประมาณ 25-49% แยกขาดจากการบินไทย ตั้งเป้าบริหารต้นทุนค่าใช้จ่ายให้ต่ำที่สุด ทนงยันไม่เคยชวนสิงคโปร์ร่วม ยอมรับอาจกระทบเส้นทางในประเทศบ้าง ส่วนการบินไทยมุ่งเป้าแข่งขันระหว่างประเทศมากขึ้น ด้านผู้ถือหุ้นไฟเขียวสายการบินแห่งชาติออกหุ้นกู้ 40,000 ล้านบาท เล็งล็อตแรกต้น ต.ค.นี้ ส่วนหุ้นเพิ่มทุนคาดขายปลายปี ขณะที่ทนงอ้างซื้อเครื่องบินโละจากยูไนเต็ดแดนมะกันกว่า 1.35 หมื่นล้านบาท ประหยัดกว่าซื้อเครื่องใหม่

นายทนง พิทยะ ประธานคณะกรรมการบริษัท การบินไทย เปิดเผยวานนี้ (2 ก.ย.) ความคืบหน้าตั้งสายการบินต้นทุนต่ำว่า ขณะนี้ ที่ปรึกษากำลังเร่งสรุปผลศึกษาโดยหลักการ ต้องการตั้งบริษัทขึ้นมาดำเนินการ โดยแยกการปฏิบัติงานจากการบินไทย แต่การบินไทยถือหุ้น 25-49% เพื่อให้ต้นทุนและค่าใช้จ่ายต่ำสุด และเพื่อให้คล่องตัวในการดำเนินงานมากที่สุด เน้นให้บริการ ในประเทศเป็นหลักก่อน ส่วนพันธมิตรร่วมทุน เขายืนยันว่าไม่เคยชวนสายการบินสิงคโปร์ร่วม

ไม่เคยชวนลอดช่องร่วมทุน

การหาพันธมิตรร่วมทุน ต้องเจรจาในราย ละเอียดกันมาก เพราะพันธมิตรต้องให้ประโยชน์กับสายการบินต้นทุนต่ำที่จะตั้ง โดยเฉพาะระบบสำรองที่นั่ง ที่ต้องเปลี่ยนแปลงวิธีขายตั๋ว เพราะต้องหาวิธีบริหารจัดการให้สายการบินต้น ทุนต่ำบริหารได้โดยใช้ต้นทุนและค่าใช้จ่ายต่ำสุด ขณะที่การบริหารของการบินไทย เน้นอำนวยความสะดวกให้ผู้โดยสาร การสำรองที่นั่ง ผู้โดย สารต้องการความมั่นใจ ความคล่องตัว โดยเฉพาะเส้นทางเชื่อมต่อจากต่างประเทศ

"การบินไทยจะไม่ถือหุ้นใหญ่แน่ ขณะนี้ มีสายการบินพันธมิตรสนใจเข้าร่วมจัดตั้งแล้ว แต่คงต้องอยู่ที่การเจรจา ยังไม่สรุปว่า จะต้อง มีกี่กลุ่ม หรือจะเป็นกลุ่มสายการบินภายในประเทศหรือไม่ โดยเป้าหมายในการจัดตั้งสายการบินต้นทุนต่ำ เพื่อให้ประชาชนมีทางเลือกใน การเดินทางภายในประเทศในราคาถูก นอกเหนือจากการเดินทางโดยรถบัส หรือรถไฟ ซึ่งจะทำให้สามารถทำธุรกิจสะดวกและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด" เขากล่าว

การบินไทยเลี่ยงแข่งนอกประเทศ

นายทนงยอมรับว่า การตั้งสายการบินต้น ทุนต่ำ จะส่งผลกระทบต่อการดำเนินการเส้นทางบินในประเทศของการบินไทยบ้าง แต่การบิน ไทยมีเป้าหมายจะมุ่งวิสัยทัศน์แข่งขันเส้นทางในภูมิภาค ระหว่างประเทศ และระหว่างทวีป มากขึ้น เพราะต้องการที่จะเป็นผู้นำหนึ่งในโลก

ซื้อเครื่องเก่ายูไนเต็ดยื้ออีก 6 เดือน

สำหรับการเจรจาซื้อเครื่องบินเก่าจากสายการบินยูไนเต็ดแอร์ไลน์ แดนมะกัน นายทนงกล่าวว่า กำหนดเดิม ศาลมะกันนัดตัดสิน ต.ค.นี้ ว่ามีทรัพย์สินยูไนเต็ดแอร์ไลน์ชิ้นไหนขายได้บ้าง แต่คาดว่า จะเลื่อนไปอีก 6 เดือน

เหตุที่การบินไทยต้องการซื้อเครื่องบินเก่าจากยูไนเต็ดแอร์ไลน์ นายทนงอ้างว่าเพราะจะได้ราคาต่ำกว่าเครื่องบินใหม่ 1ใน 3 ถือเป็นโอกาส แต่หากยังไม่สามารถซื้อได้ตอนนี้ ก็ไม่มีปัญหา บริษัทยังสามารถเก็บเงินที่ตั้งไว้ซื้อ 330 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 1.35 หมื่นล้านบาท) ไว้ก่อน

ส่วนภาวะการขาดแคลนเครื่องบินเนื่องจาก จำนวนผู้โดยสาร (Load Factor) ส.ค.เพิ่มเป็น 77% จาก ก.ค. 72% โดยเฉพาะเส้นทางยุโรป การ บินไทยจะใช้การบริหารจัดการเครื่องบินให้มีประ สิทธิภาพสูงสุด โดย ต.ค.นี้ จะได้รับมอบเครื่องบินใหม่ 2 ลำ ซึ่งรองรับความต้องการได้เพียงพอ

สำหรับการเช่าเครื่องบินใช้ช่วงที่ความต้องการสูง เป็นเรื่องละเอียดอ่อน การบินไทยเป็นสายการบินใหญ่ การเช่าเครื่องบินต้นทุนสูง อาจไม่คุ้ม เพราะเมื่อเช่า ต้องจัดการอีกหลายอย่าง เพื่อเปลี่ยนแปลงเครื่องบินดังกล่าวให้เป็น การบินไทย จึงยังไม่มีการให้นโยบายเช่าเพียงช่วง สั้นๆ การบินไทยต้องปรับวิธีทำงาน วางแผนใช้เครื่องบิน กำหนดความถี่เส้นทางที่เหมาะสม

ผู้ถือหุ้นไฟเขียวออกหุ้นกู้ 40,000 ล้านบาท

วานนี้ บริษัท การบินไทยจัดประชุมวิสามัญ ผู้ถือหุ้น วาระสำคัญพิจารณาและอนุมัติแก้ไขข้อ บังคับข้อที่ 9 ของบริษัท เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรา 66/1 พ.ร.บ. บริษัทมหาชน จำกัด พ.ศ. 2535 แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.บริษัทมหาชนจำกัด (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2544 ให้บริษัทซื้อหุ้นตัวเองคืนได้ และให้บริษัทออกและเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินบาท และ/หรือสกุลเงินอื่นเทียบเท่า วงเงินรวมไม่เกิน 40,000 ล้านบาท ภายใน 5 ปี

นายทนงกล่าวว่า ที่ประชุมอนุมัติตามที่บริษัทเสนอ โดยแก้ไขข้อบังคับข้อที่ 9 จะทำให้บริษัทมีเครื่องมือการเงินที่จะสามารถระดมเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ ตลาดในประเทศที่ปัจจุบัน สภาพ คล่องการเงินสูง คาดว่าสัปดาห์หน้า เครดิตเรดติ้งจะประกาศดอกเบี้ย ซึ่งการบินไทยสามารถขายหุ้นกู้ได้เลย ส่วนหุ้นเพิ่มทุน คาดว่าจะขายได้ประมาณปลายปีนี้

ทางด้านนายกวีพันธ์ เรืองผกา รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ฝ่ายการเงินและบัญชี การบินไทย กล่าวว่าการออกหุ้นกู้ครั้งนี้ เป็นครั้งแรก ของบริษัท เป้าหมายเพื่อนำเงินทดแทนเงินกู้ปัจจุบัน ที่ดอกเบี้ยสูง คาดว่าจะประหยัดดอกเบี้ยได้ประมาณ 3% ต่อปี ดอกเบี้ยปัจจุบันประ มาณ 5% ต่อปี ซึ่งคาดว่าจะออกได้ภายใน 2 เดือน หรือประมาณต้น ต.ค.เพราะต้องรอเครดิต เรตติ้งก่อน ส่วนจะเป็นจำนวนเท่าไร ขึ้นกับปัจจัยสถาบันการเงิน ผู้ลงทุนรายย่อย หรือภาวะตลาด

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us