Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กันยายน 2546








 
นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2546
UAE : สหรัฐฯ แห่งอาหรับ             
 





หลังจากพาไปสัมผัสดินแดนอาหรับ 2 ประเทศที่มีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงระหว่างเลบานอนกับเยเมน กล่าวคือ เลบานอน เป็นตะวันออกกลางที่มีกลิ่นอายแบบตะวันตกมากกว่าจะเป็นแขกอาหรับ แม้จะยังไม่ศิวิไลมากมายนัก ขณะที่เยเมนกลับกลายเป็นประเทศที่มีความล้าหลังกว่าชาติอาหรับอื่นๆ ทั้งที่มีบ่อน้ำมันและก๊าซธรรมชาติก็ตาม

คราวนี้ไปดูประเทศที่มีความศิวิไลซ์ท่ามกลางทะเลทรายอันแผดร้อน นั่นคือประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (United Arab Emirates : UAE) ประเทศที่ได้ชื่อว่าเป็นแดนสวรรค์ ของชนชาวอาหรับก็ว่าได้ เป็นแหล่งที่ชาวอาหรับนิยมมาเสวยสุข จับจ่ายใช้สอย ชอปปี้ง ประเภท กิน ดื่ม เที่ยวครบสูตร เพราะเป็นเขตที่คุณจะทำอะไรปลอด จากเงื่อนไขทางศาสนาได้พอสมควร

ใครชอบสุราเคล้านารี เป็นที่รู้กันว่า ต้องมาที่นี่ !!!

โดยเฉพาะที่เมืองดูไบ (Dubai) และเมืองหลวงอาบูดาบี (Abu Dhabi)

ว่ากันว่า ประเทศนี้แตกต่างจากอาหรับอื่นๆ ก็เพราะได้รับแรงหนุนส่งจากประเทศตะวันตก ซึ่งสหรัฐ อเมริกาดูเหมือนจะมีอิทธพลต่อประเทศนี้มากกว่าชาติอื่น คนอาหรับต่างทราบกันดีว่า การเติบโตแบบก้าวกระโดดของประเทศนี้ ก็เพราะสหรัฐฯต้องการให้เป็นประเทศกันชนในแถบตะวันออกกลาง เหมือนไต้หวัน สิงคโปร์ เกาหลีใต้

จึงมักจะเปรียบเปรยประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ว่าเป็นสหรัฐฯ แห่งที่สอง เป็นสิงคโปร์แห่งอาหรับ เนื่องจากที่นี่เป็นแหล่ง ปลอดภาษี ชนิดใครใคร่ค้า ค้า ใครใคร่ขาย ขาย อะไรทำนองนั้น เพราะไม่เก็บภาษีนำเข้า และภาษีรายปี จะมีบ้างก็จำพวกสินค้า ฟุ่มเฟือย ประเภทเหล้า บุหรี่ รถยนต์ อัญมณี

ระยะหลังๆ คนไทยมักจะเข้ามาขุดทองที่นี่เพิ่มขึ้น หลังจากซาอุดีอาระเบียยกเลิกพิธีการทูตกับไทย เหตุจากคดีเพชรซาอุฯ ทำพิษ

หลายคนยอมรับว่า ดูไบคือเมืองท่าสำคัญที่คนทั่วโลกรู้จักมากกว่า เมืองหลวงอาบูดาบีด้วยซ้ำ ดูไบจึงเป็นแดนสวรรค์แห่ง ใหม่ของนักขุดทองทั้งของชาวเอเชียตะวันตกและอาหรับด้วยกันเอง หลังจากสงครามอิรักยุติลง

ประชากรทั้งประเทศมีเพียง 3.6 ล้าน คน หากนับเพียงคน UAE ก็จะมีเพียง 8 แสน คนเท่านั้น ขณะที่ประเทศมีพื้นที่เพียง 82,880 ตารางกิโลเมตร พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นทะเลทราย แห้งแล้ง ฝั่งตะวันออกมีภูเขาหิน ทิศเหนือเป็นทะเลอ่าวเปอร์เซียน ตะวันออกติดโอมาน ขณะที่ทิศใต้และตะวันตกติดกับซาอุดีอาระเบีย

ทั้งประเทศมีทั้งหมด 7 รัฐ ได้แก่ อาบูดาบี ดูไบ ซาร์จาห์ อัจมาน ราสอัลไคมาห์ ฟูไจราห์ และอุม อัล คูเวน

ความเจริญรุ่งเรืองของประเทศนี้ถูกวางแผนมาอย่างดีหลังจากขุดพบน้ำมันเมื่อปี 2503 และพบก๊าซเมื่อปี 2513 ทำให้ทุกอย่างเปลี่ยนไป เหมือนคนจนถูกหวยก็ไม่ผิดสามารถผลิตได้วันละ 3 ล้านบาร์เรลต่อวัน นำเงินเข้าประเทศถึง 3 ใน 4 ส่วน

การลงทุนระบบขนส่งคมนาคมจึงถูกจัดเตรียมไว้เป็นอย่างดี พร้อมเป็นเมืองหลวงของชาติอาหรับในปัจจุบันและอนาคต UAE จึงพัฒนาตัวเองจนเป็นศูนย์กลางธุรกิจการค้า ของตะวันออกกลาง สภาพถนนหนทางดูคล้ายๆ กับเยือนสหรัฐฯ ไม่มีผิด

ปัจจุบันผลผลิตที่นอกเหนือจากน้ำมันมีสัดส่วนถึง 75% หากเทียบกับอดีตช่วงปี 2513 มีเพียง 35% คงเป็นเพราะประเทศได้เปิดทำการค้าทุกอย่างชนิดไร้ขีดจำกัด

จุดสำคัญที่นักธุรกิจไทย และภาครับมองเห็นตรงกันก็คือ การเป็นประตูเชื่อมเข้าสู่อิรัก ซึ่ง UAE ถือว่าเป็นศูนย์กลางในการส่งสินค้าเข้าอิรัก และกำลังมีบทบาทสำคัญในการฟื้นฟูอิรักหลังสงคราม

UAE เป็นสมาชิกลุ่มประเทศผลิตน้ำมันหรือ GCC (The gulf Co-operative Council : GCC) ทำให้สินค้าของไทยเข้าไป ขายในกลุ่มไม่ต้องเสียภาษีไปด้วย นี่คือจุดยุทธศาสตร์ที่ไทยกำลังวางบทบาท UAE เป็น Gate Way สู่ชาติตะวันออกกลาง ตลาดใหม่ ที่มีกำลังซื้อสูงในขณะนี้

นอกจากนี้แล้ว UAE ยังมีแผนพัฒนา เมืองระยะยาว หากน้ำมันทรัพยากรมีค่าต้อง มีอันหมดลง ด้วยการเนรมิตอภิมหาโปรเจกต์ เดอะปาล์ม รีสอร์ต บนเกาะกลางทะเลที่ถูกถมยื่นออกไปถึง 18 กิโลเมตร และก่อสร้างโรงแรมถึง 40 แห่ง รวมทั้งเตรียมความพร้อม รองรับนักท่องเที่ยว นักลงทุนด้วยการปรับปรุง สนามบินเฟส 3 ลงทุนอีก 24,000 ล้านบาทเพื่อรองรับผู้โดยสาร 55 ล้านคน ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2007 หรือปี 2550

นอกจากนี้ยังมีสายการบินแห่งชาติ คือสายการบินเอมิเรตส์ (Emirates) ซึ่งกำลังวางแผนก้าวขึ้นสู่ผู้นำสายการบินโลก ด้วยการทุ่มทุนซื้อเครื่องบินทันสมัยจำนวนมากร่วมแสนล้านบาท

"การลงทุนทำให้ UAE ต้องใช้ปูนซิเมนต์จำนวนมาก แต่เราก็ติดปัญหาที่ต้นทุน การขนส่งปูนฯ มายัง UAE สูง ทำให้แข่งขันไม่ได้ จึงต้องมองเรื่องวัสดุก่อสร้าง การตกแต่ง ซึ่งปูนซีเมนต์ไทยก็มีสำนักงานในดูไบ เพื่อทำการค้าขายอยู่แล้ว" สมหวัง วิรัชศิลป์ ผู้อำนวยการฝ่ายการค้า บริษัท ค้าสากลซิเมนต์ไทย จำกัดในเครือปูนซิเมนต์ไทย บอก ซึ่งเขาเป็นคนหนึ่งที่เดินทางไปหาตลาดก่อสร้าง ใน 4 ประเทศอาหรับ

ขณะที่ประวิทย์ ไตรรัตน์วรกุล ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด แอคมี่ อินดรัสตรี ผู้ส่งออกเฟอร์นิเจอร์รายใหญ่ เห็นว่า UAE มี ศักยภาพมากพอสมควร คนก็มีกำลังซื้อเหมาะกับสินค้าของบริษัท

ประวิทย์เป็นผู้ส่งออกเฟอร์นิเจอร์ไปยังสหรัฐฯ และยุโรปรายใหญ่ แต่ยังไม่เคยรุกเข้ามาตลาดอาหรับแต่อย่างใด เขาเป็นผู้น้องคลานตามกันมาของ ดร.ประสาน ไตรรัตน์วรกุล เลขาธิการ ก.ล.ต.คนปัจจุบัน

เมื่ออนาคตของ UAE สดใส สินค้าไทยที่มีศักยภาพในตลาดแห่งนี้มากสุด หนีก็ไม่พ้น สินค้าเกษตร พืชผัก ผลไม้ อาหารแช่แข็ง เพราะที่ดินแบบทะเลทรายของ UAE เพาะปลูกได้เล็กน้อยเท่านั้น

ยิ่งมีนักท่องเที่ยวจากทั่วสารทิศเข้ามามากเท่าใด ก็ยิ่งทำให้ไทยได้เปรียบในความเป็นครัวของโลกมากเท่านั้น โดย UAE ไม่เก็บภาษีนำเข้าอาหารด้วย

UAE มีนโยบายเปิดเสรีการค้ามากที่สุดในภูมิภาคตะวันออกกลาง มีกฎหมายและนโยบายที่เอื้ออำนวจให้มีบรรยากาศการลงทุน เขตอุตสาหกรรมพิเศษ (Free Trade Zone) ได้ถูกจัดตั้งเกือบทุกเมือง

เขตการค้าพิเศษจีเบล อาลี หรือ Jebel Ali Free Zone เป็นแห่งแรกที่จัดตั้งในดูไบ เพื่อใช้เป็นเขตปฏิบัติการส่งออกขนาดใหญ่ มีท่าเทียบเรือน้ำลึก ปัจจุบันมีนักลงทุนจากต่างประเทศเข้าไปตั้งโรงงานผลิต ตั้งสำนักงานและโกดังเก็บสินค้าในเขตนี้กว่า 2,200 รายจาก 100 ประเทศ ซึ่ง UAE ทำการค้ากับ 180 ประเทศทั่วโลก เป็นคู่ค้าสำคัญกับสหรัฐฯ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ เป็นต้น

ใครที่เข้ามาอยู่ในเขตนี้ถือว่าเป็น offshore หรืออยู่นอกเขต UAE มีเอกสิทธิทางภาษี ซึ่งสินค้าส่วนใหญ่ก็มุ่งหวังเพื่อกระจายไปสู่ตะวันออกกลางและแอฟริกา

หลายคนที่เคยไปเยือน UAE โดยเฉพาะที่เมืองดูไบ จะพบว่าย่านการค้าชายฝั่ง ซึ่งติดทะเลจะมีเรือจำนวนนับพันๆ ลำจอดเรียงรายเต็มไปหมด ซึ่งก็คือกองทัพมดที่จะขนส่งสินค้ามาจำหน่ายใน UAE ขณะเดียว กันก็ขนสินค้าออกไป เรือลำเล็กหลายลำบางทีขนรถยนต์สปอร์ตหรูหราจากตะวันตกเข้ามาเลยทีเดียว

(อ่าน...ตอนสุดท้าย บาร์เรน : อีกแดนสวรรค์ของนักขุดทอง)

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us