Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน12 มีนาคม 2552
บัตรเครดิตส่งสัญญาณอันตราย ม.ค.เบิกเงินสดหดตัว-ยอดใช้จ่ายลด9.45%             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารแห่งประเทศไทย

   
search resources

ธนาคารแห่งประเทศไทย
Credit Card




สัญญาณร้ายธุรกิจบัตรเครดิตทรุดอย่างมีนัย แบงก์ชาติเผยยอดการใช้จ่ายบัตรเครดิตเดือนมกราคมลดลง 9.45% ธนาคารพาณิชย์มากที่สุด 5.47 พันล้าน ตามด้วยนอนแบงก์ ผู้ถือบัตรเครดิตของสถาบันการเงินทุกประเภท ชะลอการใช้บัตรเครดิตทั้งในประเทศและต่างประเทศ ขณะที่การเบิกเงินสดล่วงหน้าก็หดตัว 1.50 พันล้าน หรือลดลง 7.57%

รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แจ้งว่า สายนโยบายสถาบันการเงินของ ธปท.ได้ประกาศการให้บริการบัตรเครดิตแยกตามประเภทบัตรเครดิตล่าสุดในเดือนม.ค.ของปี 52 โดยพบว่า แม้ยอดสินเชื่อบัตรเครดิตและปริมาณบัตรเครดิตยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง แต่ในส่วนของปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรกลับลดลงทั้งปริมาณการใช้จ่ายในประเทศและต่างประเทศ รวมถึงการเบิกเงินสดล่วงหน้า สะท้อนให้เห็นถึงภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ทำให้ผู้ถือบัตรเครดิตระมัดระวังในการใช้จ่ายมากขึ้น

ทั้งนี้ ในเดือนแรกของปีนี้มียอดคงค้างสินเชื่อบัตรเครดิตทั้งสิ้น 1.84 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อน 7.98 พันล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 4.53% ซึ่งยอดสินเชื่อคงค้างของธนาคารพาณิชย์และนอนแบงก์เพิ่มขึ้น 5.09 พันล้านบาท 3.45 พันล้านบาท ตามลำดับ มีเพียงสาขาธนาคารต่างชาติเท่านั้นที่มียอดสินเชื่อคงค้างลดลง 564 ล้านบาท จากปัจจุบันที่ธนาคารพาณิชย์มียอดสินเชื่อคงค้างทั้งสิ้น 6.51 หมื่นล้านบาท สาขาธนาคารต่างชาติ 3.40 หมื่นล้านบาท และนอนแบงก์ 8.4 หมื่นล้านบาท

ขณะที่จำนวนบัตรเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อน 1.03 ล้านใบ คิดเป็น 8.54% ซึ่งนอนแบงก์เพิ่มขึ้น 5.21 แสนใบ ธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้น 4.48 แสนใบ และสาขาธนาคารต่างชาติอีก 5.62 หมื่นใบ ส่งผลให้ในระบบมีปริมาณบัตรเครดิตทั้งสิ้น 13.02 ล้านใบ แบ่งเป็นบัตรของผู้ประกอบการนอนแบงก์ 6.55 ล้านใบ ธนาคารพาณิชย์ 5.12 ล้านใบ และสาขาธนาคารต่างชาติ 1.36 ล้านใบ

สำหรับปริมาณการใช้จ่ายโดยรวมผ่านบัตรเครดิตมียอดรวม 7.53 หมื่นล้านบาท ลดลง 9.45% หรือลดลง 7.86 พันล้านบาท ซึ่งผู้ประกอบการธุรกิจบัตรเครดิตทุกประเภทต่างมียอดลดลงกันถ้วนหน้า โดยธนาคารพาณิชย์มียอดลดลงมากที่สุด 5.47 พันล้านบาท ตามมาด้วยนอนแบงก์ 1.30 พันล้านบาท และสาขาธนาคารต่างชาติ 1.10 พันล้านบาท จากปัจจุบันที่ธนาคารพาณิชย์มียอดปริมาณการใช้จ่ายรวมทั้งสิน 4.38 หมื่นล้านบาท นอนแบงก์ 2.22 หมื่นล้านบาท และสาขาธนาคารต่างชาติ 9.34 พันล้านบาท

อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาแยกตามประเภทการใช้จ่าย พบว่า ปัจจุบันมียอดการเบิกเงินสดล่วงหน้ารวม 1.84 หมื่นล้านบาท โดยยอดเบิกเงินสดล่วงหน้าลดลง 1.50 พันล้านบาท หรือลดลง 7.57% ซึ่งสถาบันการเงินทุกประเภทต่างมียอดลดลง โดยธนาคารพาณิชย์มากสุด 1.31 พันล้านบาท รองลงมาเป็นสาขาธนาคารต่างชาติ 152 ล้านบาท และนอนแบงก์ 43 ล้านบาท

สำหรับปริมาณการใช้จ่ายในประเทศมียอดรวม 5.44 หมื่นล้านบาท ลดลง 6.23 พันล้านบาท ลดลง 10.27% ซึ่งสถาบันการเงินทุกประเภทมียอดใช้จ่ายในประเทศลดลงแถบทั้งสิ้น โดยธนาคารพาณิชย์ลดลง 4.13 พันล้านบาท นอนแบงก์ลดลง 1.22 พันล้านบาท และสาขาธนาคารต่างชาติลดลง 872 ล้านบาท ส่วนปริมาณการใช้จ่ายในต่างประเทศมีทั้งสิ้น 2.56 พันล้านบาท ลดลง 132 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 4.92%พันล้านบาท

นอกจากนี้ในส่วนของสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับของธปท.ล่าสุดในเดือนม.ค.มียอดสินเชื่อคงค้างทั้งสิ้น 2.27 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนเพิ่มขึ้น 3.18 หมื่นล้านบาท คิดเป็น 16.27% ซึ่งธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้น 2.51 หมื่นล้านบาท ตามมาด้วยนอนแบงก์เพิ่มขึ้น 9 พันล้านบาท ซึ่งธนาคารพาณิชย์และนอนแบงก์มียอดสินเชื่อคงค้างในปัจจุบันทั้งสิ้น 7.95 หมื่นล้านบาท และ9.26 ล้านบาทตามลำดับ ขณะที่สาขาธนาคารต่างชาติกลับมียอดลดลง 2.31 พันล้านบาท จากปัจจุบันที่มียอดสินเชื่อคงค้างทั้งสิ้น 2.31 หมื่นล้านบาท

สายนโยบายสถาบันการเงินธปท.แจ้งว่า ล่าสุดผู้ประกอบการสินเชื่อส่วนบุคคลมีปริมาณบัญชีมีทั้งสิ้น 9.75 ล้านบัญชี โดยเป็นส่วนของนอนแบงก์ 7.66 ล้านบัญชี ธนาคารพาณิชย์ 1.58 ล้านบัญชี และสาขาธนาคารต่างชาติ 7.40 แสนบัญชี ทำให้เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนในระบบมีปริมาณบัญชีลดลง 2.27 แสนบัญชี หรือลดลง 2.28% เป็นผลจากนอนแบงก์เป็นเพียงผู้ประกอบการประเภทเดียวที่มีปริมาณบัญชีลดลงถึง 5.73 แสนบัญชี แต่เมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมาในระบบมีจำนวนบัญชีลดลงถึง 1.09 ล้านบัญชี คิดเป็น 10.09% ซึ่งนอนแบงก์ลดลงมากที่สุด 1.15 ล้านบัญชี รวมถึงสาขาธนาคารต่างชาติลดลง 1.74 หมื่นบัญชี ขณะที่ธนาคารพาณิชย์กลับมีปริมาณบัญชีเพิ่มขึ้น 7.37 หมื่นบัญชี   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us