Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กันยายน 2546








 
นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2546
ข้าวชามเหล็ก             
โดย วริษฐ์ ลิ้มทองกุล
 


   
www resources

มหาวิทยาลัยชิงหวา โฮมเพจ
มหาวิทยาลัยปักกิ่ง โฮมเพจ

   
search resources

มหาวิทยาลัยปักกิ่ง
มหาวิทยาลัยชิงหวา
จางเว่ยหยิง
Education




หากถามว่ามหาวิทยาลัยใดมีชื่อเสียง และเข้าศึกษายากที่สุดในประเทศจีน คงไม่มีใครสามารถปฏิเสธได้ว่า ข้าวชามเหล้ก คือ มหาวิทยาลัยปักกิ่ง หรือที่เป็นชื่อตามภาษาอังกฤษว่า Peking University มหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดของประเทศจีน

ณ ตอนก่อตั้ง เมื่อ ค.ศ.1898 มหาวิทยาลัยปักกิ่งเป็นมหาวิทยาลัยหลวง ก่อนเปลี่ยนชื่อเมื่อปี ค.ศ.1912 หลังการปฏิวัติล้มราชวงศ์ชิง ที่นำโดย ดร.ซุนยัดเซ็น หลังจากนั้นมหาวิทยาลัยปักกิ่งก็เป็นสถานที่บ่มเพาะชนชั้นปกครองของจีนยุคใหม่มากมาย รวมไปถึงเป็นที่ฟักตัวของบิดาแห่งจีนยุคใหม่ คือ ท่านประธานเหมาเจ๋อตง อันเคยทำงานในห้องสมุดของมหาวิทยาลัยปักกิ่ง เพื่อหาแนวร่วมของคนรุ่นใหม่ที่มีแนวคิดแบบคอมมิวนิสต์เช่นเดียวกัน

มหาวิทยาลัยปักกิ่ง เป็นมหาวิทยาลัยสหสาขาวิชาขนาดใหญ่ ประกอบด้วย 29 คณะ มีประเพณีและวัฒนธรรมอันเก่าแก่ยาวนาน มีการประสานความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยทั่วโลก และมีอาจารย์อยู่มากกว่า 2,500 คน หากเปรียบกับประเทศไทยก็คงเทียบได้กับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

อย่างไรก็ตาม เมื่อกล่าวถึงมหาวิทยาลัยปักกิ่ง แต่ไม่พูดถึงมหาวิทยาลัยชิงหวา ( ; Tsinghua) ก็คงจะไม่ได้ เนื่องจากความเก่าแก่ของชิงหวา แม้จะเป็นรองมหาวิทยาลัยปักกิ่ง คือก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ.1911 แต่มหาวิทยาลัยชิงหวา ก็ถูกยกย่องให้เป็นมหาวิทยาลัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เจ๋งที่สุดในประเทศจีน

นอกจากนี้ ชิงหวายังเป็นมหาวิทยาลัยที่เหล่าบรรดาผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์จีน และนักการเมืองใหญ่ในยุคปัจจุบันจบการศึกษามาอีกด้วย โดยเฉพาะคณะวิศวกรรมศาสตร์ อย่างเช่น หูจิ่นเทา ประธานาธิบดีคนปัจจุบันของจีน, จูหรงจี นายกรัฐมนตรีคนก่อนของจีน, อู๋ปังกั๋ว ประธานสภาประชาชนแห่งชาติ ฯลฯ

ผมเคยถามคนจีนว่า ทำไมนักการเมืองจีนดังๆ ในยุคนี้ถึงจบด้านวิศวกรรมศาสตร์มาจากชิงหวา มากกว่าที่จะจบมาจากมหาวิทยาลัยอันดับหนึ่งอย่างมหาวิทยาลัยปักกิ่ง?

คำตอบที่ได้รับมาก็คือ "เด็กเป่ยต้า (มหาวิทยาลัยปักกิ่ง) นั้นส่วนมากเป็นพวกนักคิด ส่วนเด็กชิงหวานั้นเป็นพวกนักปฏิบัติ"

บุคคลสำคัญ-ผู้นำของโลกคนต่างๆ หากจะมาเยือนจีน ก็มักจะมากล่าวสุนทรพจน์ที่สองมหาวิทยาลัยนี้เสมอ อย่างล่าสุด ปลายเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา นายกรัฐมนตรี โทนี่ แบลร์ ก็เพิ่งมาพบปะกับนักศึกษาที่มหาวิทยาชิงหวา หรือย้อนกลับไปสักหน่อยเมื่อปี 1998 อดีตประธานาธิบดีสหรัฐฯ บิล คลินตัน ครั้งมาเยือนจีนก็แวะมาที่มหาวิทยาลัยปักกิ่ง

นับจากปีก่อตั้งคือ ค.ศ.1898 ถึงปัจจุบัน ค.ศ. 2003 นั้น มหาวิทยาลัยปักกิ่งมีอายุเกินศตวรรษมา 5 ปีพอดีด้วยกระแสความเปลี่ยนแปลงของยุคสมัย ได้พัดพาความเปลี่ยนแปลงเข้ามาสู่สถาบันการศึกษาแห่งนี้มากมาย หลายครั้งหลายครา

ขณะที่ปัจจุบันมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ กำลังสาละวนอยู่กับกระแสการแย่งดึงตัว "อาจารย์ระดับดารา (Star Professors)" โดยมีจุดประสงค์แอบแฝงคือไม่ได้เอามาสอนหรือทำวิจัยเป็นหลัก แต่เอามาประดับมหาวิทยาลัย โดยซื้อตัวศาสตราจารย์ดังเหล่านี้มาพูดปาฐกถาให้เหล่าศิษย์เก่าช่วยกันระดมทุนบริจาคเงิน-ตั้งกองทุน (เพราะเสียค่าจ้างกันปีละหลายแสนเหรียญสหรัฐ)

อย่างเช่นในสาขาเศรษฐศาสตร์ที่เห็นกันอยู่ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา Paul Krugman ก็ย้ายจาก MIT ไปอยู่กับมหาวิทยาลัยปรินซ์ตัน, Jeffrey Sachs ก็ถูกมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ดึงตัวไปเป็นผู้อำนวยการ Earth Institution ซึ่งมีบทบาทเป็นที่ปรึกษาพิเศษให้กับ โคฟี่ อันนัน เลขาธิการสหประชาชาติ

ในที่สุด "พายุโลกานุวัตร" ที่ตวัดหางไปทั่วโลกก็ลอดผ่านม่านไม้ไผ่ มาอาละวาดถึงเมืองจีน สองปีที่แล้วมหาวิทยาลัยชิงหวาก็ฟาดฟันกับเขาด้วยโดยการเซ็นสัญญาราคาปีละ 100,000 เหรียญสหรัฐ เพื่อจ้างเอาศาสตราจารย์ Gavriel Salvendy จากมหาวิทยาลัย Purdue เพื่อมาเป็นคณบดีให้กับสาขา Industrial Engineering ที่ชิงหวา

มหาวิทยาลัยปักกิ่งก็ด้วยเช่นกันที่กำลังเดินเข้าสู่กระแสพายุของการเปลี่ยนแปลง เมื่อผู้บริหารมหาวิทยาลัยปักกิ่งได้ยื่นแผนปฏิรูปมหาวิทยาลัยให้ก้าวสู่ยุคใหม่ เลิกประเพณีในการจ้างอาจารย์ที่มีมากว่าครึ่งศตวรรษ ตั้งแต่จีนปฏิรูปเป็นสาธารณรัฐประชาชน คือ เลิกรับบัณฑิตปริญญาเอกเข้ามาเป็นอาจารย์ (Lecturer) แบบอัตโนมัติ (ซึ่งเมื่อใครเข้ามาเป็นอาจารย์แล้วก็เปรียบได้เท่ากับว่าได้สัญญาชั่วชีวิต) และปรับระเบียบการประเมินผลอาจารย์ใหม่หมด ให้กลายเป็นเข้มงวดขึ้นและเพิ่มการแข่งขันกันมากขึ้น

เช่นนี้ เท่ากับว่าเป็นการทุบชามข้าวเหล็ก (Iron Rice Bowl) ที่ไม่มีวันแตกของเหล่าอาจารย์ทิ้งไป!!!

ในแผนใหม่ที่นำโดยอธิการบดีมหาวิทยาลัยปักกิ่ง ศาสตราจารย์ สู่จื้อหง ได้กล่าวว่า "ถึงเวลาที่จะปฏิรูปเพื่อก้าวไปสู่ยุคใหม่แล้ว จากแผนใหม่มหาวิทยาลัยจะเปิดตำแหน่งให้กว้างขึ้น มีการแข่งขันกันมากขึ้นสำหรับ ตำแหน่งอาจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ โดยจะรับใบสมัครจากบุคคลทั้งนอกและในมหาวิทยาลัย"

ขณะที่ศาสตราจารย์จางเว่ยหยิง อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ และผู้อำนวยการแผนก็กล่าวเสริมว่า "การผสมพันธุ์กันภายใน (Close or in-breeding) ย่อมจะนำพาไปสู่ความอ่อนแอ การผสมข้ามพันธุ์ต่างหากที่จะนำเราไปสู่ความแข็งแกร่ง - - -การปฏิรูปครั้งนี้รวมไปถึงการให้ทุน ที่จากเดิมเปรียบเสมือนมรดกตกทอดในตระกูลจากนักศึกษารุ่นก่อนๆ และศาสตราจารย์เก่าๆ ที่มีอำนาจอยู่เต็มมือ"

หนึ่งในสาเหตุสำคัญของแผนการปฏิรูปมหาวิทยาลัยปักกิ่งก็คือ โครงสร้างของอาจารย์ในมหาวิทยาลัยปักกิ่งเทอะทะเกินไปสำหรับการก้าวไปสู่ยุคใหม่ คือ ขณะที่ภายนอกเหล่ารัฐวิสาหกิจต่างๆ ของจีนกำลังแปรรูป ปรับลดจำนวนบุคลากรเป็นการใหญ่ แต่มหาวิทยาลัยปักกิ่งในขณะนี้ เมื่อดูตัวเลขแล้ว กลับมีจำนวนศาสตราจารย์ถึง 1,000 คน ซึ่งนับได้ว่าเป็นมหาวิทยาลัยที่มีศาสตราจารย์มากเป็นอันดับต้นๆ ของโลก แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น คำว่าปริมาณมากก็ไม่ได้ หมายความถึงคุณภาพมากเสมอไป คล้ายๆ กันกับสภาพอาจารย์มหาวิทยาลัยรัฐในประเทศไทย

สภาพการณ์ของอาจารย์จำนวนมากของมหาวิทยาลัยปักกิ่ง ก็เช่นกันคือ เมื่อเกาะอู่ข้าวอู่น้ำได้แล้วก็เกิดความเฉื่อย อาจารย์บางคนไม่เพียงไม่ทำวิจัย แต่ในหนึ่งสัปดาห์กลับสอนเพียงไม่กี่ชั่วโมง

"ระบบดั้งเดิมการเลือกอาจารย์เหมือนกับการเล่นพนัน บางคนที่เริ่มแรกดูกระตือรือร้นดี แต่เมื่อผ่านไปกลับเฉื่อยชา และไม่มีความสามารถพอ และคนจำนวนนี้ก็สามารถใช้ชีวิตได้แบบสบายๆ ในรั้วมหาวิทยาลัย และเป็น การฉุดมาตรฐานมหาวิทยาลัยให้ต่ำลงๆ" ศาสตราจารย์จาง ผู้อำนวยการแผนปฏิรูปมหาวิทยาลัยกล่าว

ตามแผนปฏิรูปมหาวิทยาลัยปักกิ่งฉบับใหม่ ที่ผ่านกระบวนการมาจนเกือบสำเร็จ คือ ผ่านการรับฟังความคิดเห็นจากอาจารย์ บุคลากร และนักศึกษาในมหาวิทยาลัยแล้ว (อาจจะมีอีกขั้นคือ รับฟังความคิดเห็นจากประชาชน) ระบุไว้อย่างชัดเจนถึง "กฎไม่ขึ้นก็ออก (Up-or-Out)" ไว้ดังนี้คือ

อาจารย์ใหม่ (Lecturers) นั้นจะได้รับสัญญาเป็นระยะเวลา 6 ปี โดยในช่วงนี้จะได้รับโอกาสสองครั้ง ในการยื่นผลงานขอเลื่อนตำแหน่งทางวิชาการเป็นรองศาสตราจารย์ (Associate Professor) และเมื่อดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์แล้วก็จะได้รับการต่อสัญญาอีก 9 หรือ 12 ปี ซึ่งก็จะได้รับโอกาสอีกสองครั้งเช่นกัน ในการยื่นผลงานเลื่อนตำแหน่งทางวิชาการเป็นศาสตราจารย์

ทั้งนี้ หากใช้โอกาสทั้งสองครั้งแล้วพลาดในแต่ละการเลื่อนตำแหน่ง ก็หมายถึงการสิ้นสุดสภาพการเป็นอาจารย์ของมหาวิทยาลัย หรือไล่ออก! นั่นเอง ซึ่ง ศาสตราจารย์จางให้เหตุผลว่า นี่นับเป็นโทษฐานปรานีแล้ว เนื่องจากให้โอกาสถึงสองครั้ง เมื่อเทียบกับมหาวิทยาลัย ในสหรัฐฯ ที่ให้โอกาสเพียงครั้งเดียว

เป็นเรื่องปกติที่เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบอันกระทบต่อหน้าที่การงาน และถือได้เท่ากับเป็นการทุบหม้อข้าวของเหล่าอาจารย์ ก็ย่อมมีกระแสการคัดค้าน และโจมตีเกิดขึ้นมากมาย อย่างเช่นระเบียบใหม่จะทำให้อาจารย์ มุ่งเป้าการทำงานเพื่อผลประโยชน์ในระยะสั้นเท่านั้น โดยมีการอ้างถึงตัวอย่าง นวนิยายอมตะ "ความฝันในหอแดง" ผลงานของเฉาเสี่ยฉิ้น ว่าใช้เวลาในการเขียนถึง 10 ปี, ความเป็นห่วงในการประเมินผลว่าอาจมีการเล่นพรรคเล่นพวก, การแข่งขันขอเลื่อนตำแหน่งจะทำให้อาจารย์ลดความสนใจต่อนักศึกษา ซึ่งจะส่งผลต่อคุณภาพการเรียนการสอน ฯลฯ

โดยปัญหาต่างๆ เหล่านี้ ทางอธิการบดีมหาวิทยาลัย ปักกิ่ง ได้ยืนยันว่า จะไม่เป็นแบบฉับพลัน โดยจะใช้วิธีแบบค่อยเป็นค่อยไป คือ ใช้ระบบใหม่กับการคัดอาจารย์ใหม่เท่านั้น

"ไม่มีระบบอะไรที่สมบูรณ์แบบหรอก แต่มันก็มีอยู่แค่สองทางให้เราเลือก คือ ทำ หรือ ไม่ทำ!"

ไม่เว้นแม้แต่จีน ไทย มหาวิทยาลัยทั่วโลกกำลังถูกบีบให้มุ่งออกห่างจากเป้าหมายของการเป็น "สถาบันแห่งความรู้" อันมีจุดประสงค์เพื่อการประสิทธิประสาทวิชาและสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ ให้กับโลก ไปสู่ "ตลาดขายความรู้" ที่มี "อำนาจในการซื้อ-การขาย" เป็นแรงขับดันหลัก

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us