|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
สมาคมบริษัทหลักทรัพย์ เตรียมเข้าพบรมว.คลัง “กรณ์” เสนอพิจารณา 6 แนวทาง หวังช่วยกระตุ้นตลาดทุนไทยในช่วงขาลง โดยเฉพาะเรื่องการเปิดเสรีธุรกิจหลักทรัพย์-ลดภาษีบริษัทจดทะเบียน ขณะที่นายกสมาคมโบรกเกอร์ เผยตลาดหลักทรัพย์ฯ เชิญโบรกเกอร์เข้าพบพุธนี้ เพื่อหาแนวทางกระตุ้นนักลงทุนซื้อขายหุ้น ด้าน “ทีเอสเอฟซี” เรียกประชุมผู้ถือหุ้นขออนุมัติแปลงสภาพเป็นบริษัทมหาชน 23 มี.ค. นี้
นายกัมปนาท โลหเจริญวนิช กรรมการอำนวยการ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ทรีนีตี้ จำกัด ในฐานะนายกสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ (โบรกเกอร์) เปิดเผยว่า ขณะนี้สมาคมโบรกเกอร์อยู่ระหว่างการติดต่อขอเข้าพบนายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เพื่อนำข้อเสนอ 6 แนวทางในการพัฒนาตลาดทุน ประกอบด้วย ประเด็นแรก เสนอให้ทบทวนการเปิดเสรีใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ (ไลเซ่นส์) 2.เสนอให้มีผู้แทนเข้าร่วมในการดำเนินการแปรรูปตลาดหลักทรัพย์ฯ 3.เสนอให้ยกเว้นการเก็บภาษีของผู้ลงทุนในตราสารหนี้
4. เสนอให้ปรับลดภาษีของบริษัทจดทะเบียนให้อยู่ในระดับที่สามารถแข่งขันได้ 5. การเสนอให้ปรับหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการซื้อหุ้นคืนให้มีความยืดหยุ่น โดยอนุญาตให้บจ. สามารถนำหุ้นที่ซื้อคืนออกขายหรือยกเลิกได้ก่อนระยะเวลา 6 เดือน และประเด็นสุดท้าย เสนอเรื่องการลดทุน เพื่อให้บจ. ที่แปรรูปเป็นบริษัทมหาชน สามารถเพิ่มทุนต่ำกว่าราคาพาร์ได้โดยไม่มีกำหนดระยะเวลา
สำหรับข้อเสนอให้ทบทวนการเปิดเสรีใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์นั้น ต้องการให้รัฐมนตรีพิจารณาว่าจังหวะเหมาะสมที่จะมีการเปิดเสรีหรือไม่ หลังจากที่ภาวะตลาดหุ้นไม่เอื้ออำนวย โดยเฉพาะประเก็นผลกระทบที่จะเกิดขึ้นแก่ผู้ประกอบการ แต่เรื่องดังกล่าวจะต้องมีการหารือกับทางสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ก่อน
ขณะที่เรื่องปรับลดภาษีของบริษัทจดทะเบียนนั้น เป็นเรื่องของสมาคมบริษัทจดทะเบียนเป็นผู้พิจารณาว่าจะเสนอลดเหลือเท่าไร แต่ที่ทางสมาคมบล.เสนอนั้นเพื่อต้องการสนับสนุนงานด้านการเป็นที่ปรึกษาทางการเงิน หากมีการลดภาษีบจ.จะทำให้มีบริษัทเข้ามาจดทะเบียนมากขึ้น และทำให้บล.มีงานด้านที่ปรึกษาทางการเงินมากขึ้นเช่นกัน รวมทั้งยังเป็นการเพิ่มสินค้าใหม่ให้กับนักลงทุน
ส่วนเรื่องการลดทุนจดทะเบียน เพื่อให้บริษัทจำกัดที่แปรรูปเป็นมหาชนสามารถเพิ่มทุนต่ำกว่าพาร์ได้ เพื่อต้องการให้มีความยืดหยุ่นและให้บริษัทต่างๆ สามารถลดหรือเพิ่มทุนจดทะเบียนให้มีความเหมาะสมในช่วงภาวะเศรษฐกิจและภาวะตลาดหุ้นไม่ดี เช่น กรณีของบล.เพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ หรือ TSFC ที่จะมีการแปลงสภาพเป็นมหาชนให้สามารถที่จดลดทุนและเพิ่มทุนได้ทันทีโดยไม่มีกำหนดเวลา
“จากการที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้เชิญกรรมการบริหาร และกรรมการโบรกเกอร์ต่างๆ และสมาคมโบรกเกอร์หารือ ในวันพุธที่ 11 มี.ค.นี้ จะเป็นการหารือถึงปัญหาอุปสรรคจากผู้ประกอบการ เพื่อหารือในการกระตุ้นให้นักลงทุนมีการเข้ามาซื้อขายหุ้นมากขึ้น ในด้านการสร้างกำลังใจ และความเชื่อมั่น ซึ่งอาจจะต้องมีการขอความร่วมมือกับทางสมาคมนักวิเคราะห์ในการออกบทวิเคราะห์แนะนำการลงทุนในหุ้นพื้นฐานจากที่ราคาหุ้นหลายบริษัทปรับตัวลดลงมากและจะเสนอให้มีการลดภาษีกำไรซื้อขายหุ้นแก่บริษัทนิติบุคคลเพื่อเพิ่มฐานนักลงทุนสถาบันเข้ามาลงทุนมากขึ้น” นายกัมปนาทกล่าว
ด้านนายจงรัก ระรวยทรง กรรมการผู้อำนวยการ สมาคมบริษัทหลักทรัพย์ กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่สามารถที่จะระบุวันในการเข้าพบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้ เพราะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ยังไม่มีเวลาให้เข้าพบจากมีภารกิจต่างๆ และยังไม่แน่ใจว่าจะสามารถเข้าพบได้ภายในเดือนนี้หรือไม่ ซึ่งทางสมาคมโบรกเกอร์ได้มีการให้ทางสมาชิกมีการเสนอความคิดเห็นเพิ่มเติมเพื่อรวบรวมข้อมูล ว่าต้องการที่จะเสนอประเด็นเพิ่มจาก 6 เรื่องเพื่อให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมีการสนับสนุนการทำธุรกิจหลักทรัพย์ จากภาวะการซื้อขายที่ซบเซาภายในสัปดาห์นี้ หรือก่อนที่จะเข้าพบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
“สมาคมโบรกเกอร์ต้องการเสนอให้มีการทบทวนการเปิดเสรีใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ ว่าเหมาะสมกับภาวะตลาดหรือไม่ จากภาวะตลาดที่ซบเซานั้นจะส่งผลกระทบต่อการทำธุรกิจ แต่ขณะนี้ยังรอความเห็นเพิ่มเติมในเรื่องดังกล่าวกับทางบริษัทสมาชิกของสมาคมโบรกเกอร์”นายจงรัก กล่าว
ทั้งนี้ในเรื่องการขอให้มีการลดภาษีบจ.เพื่อให้สามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้ เพราะตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ และมาเลเซียนั้น จะมีแผนที่จะลดภาษีบจ.ซึ่งหากตลาดหุ้นไทยยังไม่มีการทบทวนอาจจะทำให้มีบริษัทเข้ามาจดทะเบียนในตลาดหุ้นไทยน้อย หรือหันไปจดทะเบียนในต่างประเทศแทน รวมถึงการคิดอัตราภาษีบจ.ปัจจุบันนั้นมีการบังคับใช้มานานแล้วจึงมองว่าน่าจะมีการปรับเปลี่ยน แต่จะลดเท่าไรนั้นขึ้นอยู่กับการพิจารณาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
สำหรับการเสนอเรื่องการลดทุนพื่อให้บริษัทจำกัดที่แปรรูปเป็นบริษัทมหาชนฯนั้น ตามเกณฑ์เดิมนั้น บริษัทจำกัดที่มีการขอจดทะเบียนเป็นบริษัทมหาชนกับทระทรวงพาณิชย์ จะสามารถดำเนินการลดทุน ได้หลังจากวันจดทะเบียนเป็นมหาชนกับกระทรวงพาณิชย์ 1 ปี โดยทางสมาคมโบรกเกอร์เสนอนั้นต้องการให้สามารถทำได้ทันทีที่มีการจดทะเบียนจากกับภาวะเศรษฐกิจที่ไม่ดี และจะทำให้บริษัทมีการปรับโครงสร้างทางการเงินได้รวดเร็วขึ้น และมีเงินทุนเหมาะสม
อย่างไรก็ตาม และยังเพื่อที่จะช่วยเหลือบริษัทต่างๆให้สามารถที่จะลดทุนเพื่อล้างความเสียหายและทำให้มีผู้ถือหุ้นมีการเพิ่มทุนเข้ามาใหม่ เพราะหากไม่สามารถลดทุนได้ ก็จะไม่สามารถเพิ่มทุนได้จากไม่มีนักลงทุนใส่เงินเข้ามา ซึ่งหากยังมีกำหนดเวลาดังกล่าวจะปรับโครงสร้างบริษัทได้ล่าช้า เช่นกรณีของTSFC ยังมีปัญหาในเรื่องการลดทุนจากติดเกณฑ์ดังกล่าว
อย่างไรก็ตาม เสนอให้ยกเว้นการเก็บภาษีของผู้ลงทุนในตราสารหนี้ เพื่อให้เหมือนกับการลงทุนในหุ้นที่ไม่ต้องเสียภาษีกำไรจากการลงทุนในหุ้นเพื่อไม่เกิดความลำเอียง และยังเป็นการสนับสนุนให้นักลงทุนเข้ามาลงทุนในตลาดตราสารหนี้มากขึ้น
นายจงรัก กล่าวถึงกรณีการปรับโครงสร้างหนี้ของบริษัทหลักทรัพย์เพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ (TSFC) ว่า ในวันที่ 23 มีนาคมนี้ TSFC จะมีการประชุมผู้ถือหุ้น เพื่อขอมติในการแปลงสภาพเป็นบริษัทมหาชน มีการรับรองงบการเงินปี 2551 และแก้ไขข้อบังคับต่างๆ และหลังจากนั้นจะมีกระบวนการลดทุน ซึงหากรัฐมนตรีเห็นชอบข้อเสนอการลดทุนที่สมาคมโบรกเกอร์ขอฯนั้นก็จะช่วยให้TSFCมีการดำเนินการลดทุนได้ทันที และมีการเพิ่มทุน สำหรับขณะนี้มีโบรกเกอร์จะใส่เงินเพิ่มทุนขณะนี้เกือบจะครบ 150 ล้านบาทตามเป้าหมายแล้วเชื่อว่าการเพิ่มทุนจดสำเร็จเพราะหากมีโบรกเกอร์รายใดไม่ใช้สิทธิก็จะมีนักลงทุนรายใหม่มาใช้สิทธิแทน
“การเสนอลดการลดทุน เพื่อให้บริษัทจำกัดที่แปรรูปเป็นบริษัทมหาชน สามารถเพิ่มทุนต่ำกว่าพาร์ได้โดยไม่มีกำหนดระยะเวลา นั้นสมาคมโบรกเกอร์ขอเป็นการทั่วไป จากภาวะที่มีปัญหาเศรษฐกิจเพื่อที่จะเอื้อให้มีการปรับโครงสร้างทุนในช่วงวิกฤตทำได้รวดเร็ว ไม่ได้ขอเรื่องนี้เพื่อTSFCเท่านั้น ” นายจงรัก กล่าว
|
|
|
|
|