Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน10 มีนาคม 2552
กองทุนสำรองฯส่อแววนิ่ง-ศก.แย่นายจ้างเมินตั้งเพิ่ม             

 


   
search resources

รพี สุจริตกุล
Funds




“รพี” หนุนเปิดทางนายจ้าง-ลูกจ้าง หยุดจ่ายเงินสมทบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพชั่วคราว เชื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจช่วงซบเซาได้ ด้านพอร์ตบลจ.กสิกรไทย ยังไม่มีผลกระทบ ล่าสุด ได้บริหารลูกค้ารายใหญ่กว่า 1 หมื่นล้านบาท ดันมาร์เก็ตแชร์แซงขึ้นแท่นเบอร์หนึ่งตามแผน ส่วนบลจ.ทิสโก้ ประกาศทวงแชมป์คืน ลั่นปี 52 โตหมื่นล้าน เชื่อลูกค้ายังวางใจ ส่วนภาพรวมอุตสาหกรรม ประเมินยังน่าหวง นายจ้างไม่พร้อมตั้งกองช่วงศก. ตกต่ำ แต่ยังหวังทั้งปี ขายตัวได้ 8-10% หากตลาดหุ้นตอบรับข่าวเศรษฐกิจฟื้น

นายรพี สุจริตกุล ประธานกรรมการบริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) กสิกรไทย จำกัด เปิดเผยว่า การหยุดจ่ายเงินสมทบชั่วคราว 1 ปีของนายจ้างและลูกจ้างในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD หรือโพวิเด้นท์ฟันด์) ช่วงที่เศรษฐกิจอยู่ในภาวะชะลอตัว น่าจะเป็นผลดีต่อนายจ้างและลูกจ้าง เนื่องจากหากนายจ้างไม่อยู่ในสถานะที่สามารถจ่ายเงินสมทบได้จะมีความผิดตามกฎหมาย เนื่องจากพ.ร.บ.ฉบับปัจจุบันไม่ได้เปิดช่องในกรณีนี้เอาไว้ และในทางกลับกันก็จะมีประโยชน์ต่อลูกจ้างด้วยเช่นกัน หากไม่สามารถจ่ายเงินสมทบได้

"เรื่องนี้น่าจะเป็นเรื่องดีกับทั้งนายจ้างและลูกจ้างในการช่วยบรรเทาปัญหาที่เกิดขึ้น ฉะนั้นเราต้องถอยออกมาดูภาพรวมว่า จุดประสงค์ของกองทุนนี้ก็เพื่อให้ลูกจ้างไว้ใช้ยามเกษียณ และเป็นกองทุนระยะยาว ซึ่งผลกระทบในปัจจุบันน่าจะเป็นเรื่องในระยะสั้นเท่านั้น"นายรพีกล่าว

ทั้งนี้ ในส่วนของบลจ.กสิกรไทยขณะนี้พบว่ายังไม่มีผลกระทบอะไรมากนักเนื่องจาก มีบริษัทสอบถามถึงเรื่องขอลดเงินสมทบเข้ากองทุนเท่านั้น ซึ่งประเภทนี้ไม่มากนัก เพียง 5-6 บริษัทจากลูกค้าถึงกว่า 1800 บริษัท นอกจากนี้ลูกค้าส่วนใหญ่ของบริษัทส่วนใหญ่ยังเป็นสถาบันที่มีความั่นคงสูง อย่างรัฐวิสาหกิจ บริษัทจดทะเบียน และบริษัทที่ได้รับสัมปทานจากภาครัฐ ทำให้ได้รับผบกระทบภาวะเศรษฐกิจไม่มากจนถึงขั้นขอยกเลิกกองทุน

อย่างไรก็ตาม ภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัคงจะไม่ทำให้ขนาดกองทุนของบริษัทลดลง เนื่องจากกองทุนประเภทนี้จะมีการลงทุนอยู่แล้ว เพียงแต่อาจมีผลกระทบในส่วนของเงินสมทบที่จะเข้ามาใหม่ได้บ้างเท่านั้น แต่เงินสมทบเดิมไม่ได้ถูกนำเงินออกไปหรือยกเลิกกองทุนตามเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้น

นายรพี กล่าวอีกว่า การที่บริษัทสามารถเติบโตเพิ่มมากขึ้นจนเป็นผู้นำด้านสินทรัพย์รวมของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่บริหารอยู่ในปัจจุบัน หลังจากนี้บริษัทคงจะเน้นในเรื่องผลการดำเนินงาน และประสบการณ์ของบริษัท รวมถึงความมั่นคง เนื่องจากเป็นเครือเดียวกับธนาคารกสิกรไทย นอกจากนี้เชื่อว่า การมี Employee’s choice และ Pool fund น่าจะทำให้คณะกรรมการบริษัทต่างให้ความสนใจบริษัทเรามากขึ้น

"การทำให้สมาชิกกองทุนมีทางเลือกน่าจะดี ซึ่งในปีที่ผ่านมาการลงทุนในหุ้นยิลด์มันต่ำ แต่ถ้าเลือกได้สมาชิกที่คิดว่าหุ้นมันต่ำแล้วก็อาจลงในหุ้น หรือถ้าไม่ชอบหุ้นก็ยังเลือกได้ โดยน่าจะเป็นทางออกที่ดีกว่าเป็นซิงเกิ้ลฟันด์อันเดียวเลย"นายรพีกล่าว

ทั้งนี้ ในส่วนของการแข่งขันด้านค่าธรรมเนียม (ค่าฟี) บริษัทเชื่อว่าการบริหารกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจะมีต้นทุนในการว่าจ้างผู้จัดการกองทุนที่มีความสามารถและประสบการณ์ และหากนำเรื่องค่าฟีมาแข่งขันกันคุณภาพของการบริหารกองทุนก็จะลดลง และบริษัทเองไม่ต้องการลดมาตรฐานในส่วนนี้ โดยหากระดับของค่าฟีปรับตัวลดลงมากจนบริษัทรับไม่ได้หรือกระทบต่อคุณภาพของกองทุน บริษัทคงจะไม่รับบริหารกองทุนประเภทนี้แน่นอน

ด้านนางสาวอารยา ธีระโกเมน กรรมการผู้อำนวยการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ทิสโก้ และประธานกลุ่มธุรกิจกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ สมาคมบริษัทจัดการลงทุน เปิดเผยว่า ในส่วนของบริษัทมีลูกค้าที่ต้องการขอหยุดส่งเงินเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพอยู่บ้าง ซึ่งทำธุรกิจด้านการผลิต เป็นโรงงาน ขณะที่ผู้ประกอบการที่เป็นสำนักงานทั่วไปยังไม่ถูกกระทบจากภาวะเศรษฐกิจ

สำหรับในปีนี้บริษัทตั้งเป้าเพิ่มขนาดสินทรัพย์ของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพอีกหมื่นล้านบาท เพื่อให้สินทรัพย์กลับไปอยู่ที่ 6.7 หมื่นล้านบาทเท่ากับสิ้นปี 2551 โดยในเดือนมกราคมที่ผ่านมาสินทรัพย์ของบริษัทปรับตัวลดลงเหลือ 5.7 หมื่นล้านบาท ซึ่งมีสาเหตุมาจากลูกค้ารัฐวิสาหกิจบางแห่งถอนเงินออกไปให้บริษัทจัดการอื่นดูแลแทน

“ลูกค้าที่เลือกลงทุนแบบ Employee’s choice บ้างส่วนยังกังวลกับสถานการณ์การลงทุนในปัจจุบัน จึงโยกเงินไปลงทุนในตราสารหนี้กับบลจ.อื่น แต่ลูกค้ารายนี้กำลังจัดตั้งกองทุนหลักหรือมาสเตอร์ ฟันด์และให้บริษัทบริหารจัดการให้ในกลางปี จะทำให้สินทรัพย์ส่วนนี้กลับเข้ามาบริษัท” น.ส.อารยา กล่าว

อย่างไรก็ตาม ในแง่ของจำนวนนายจ้างนั้นบริษัทยังมียอดสูงสุดถึง 2,000 กว่านายจ้าง ซึ่งชี้ให้เห็นว่าลูกค้ายังให้ความไว้วางใจบริษัทอยู่

ทั้งนี้ บริษัทได้เตรียมแผนงานที่รุกกลุ่มลูกค้าที่มีการจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพอยู่แล้ว เพราะเชื่อมั่นในการบริหารจัดการของบริษัท ซึ่งปี 2551 ที่ผ่านมาผลดำเนินงานของกองทุนค่อนข้างดีเมื่อเทียบกับอุตสาหกรรม จึงเป็นจุดแข็งของบริษัทและจากการพบปะลูกค้าพบว่า ลูกค้าต้องการให้ผู้จัดการกองทุนบริหารแบบไม่หวือหวา แต่ขอให้มั่นคงมากกว่า

นางสาวอารยา กล่าวอีกว่า ภาพรวมอุตสาหกรรมในปีนี้ได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น อาจทำให้ 9 เดือนแรกของปีนี้อุตสาหกรรมคงโตช้าลง เพราะนายจ้างที่ยังไม่เคยจัดตั้งกองทุนก็คงไม่พร้อมที่จะจัดตั้งในภาวะเช่นนี้

“อุตสาหกรรมก็เหนื่อยหากสินทรัพย์ฟากการลงทุนไม่กระเตื้องจะทำให้อุตสาหกรรมในปีนี้โต 5% แต่ถ้าหวังว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัวในปี 2553 หุ้นก็จะฟื้นก่อนและน่าจะทำให้สินทรัพย์ที่เป็นหุ้นเพิ่มขึ้น ส่งผลให้มูลค่าสินทรัพย์ของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพทั้งระบบโตได้ระดับ 8-10%”นางสาวอารยากล่าว

กสิกรทวงแชมป์กองสำรองฯเดือนม.ค.

รายงานจากบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน เปิดเผยว่า ณ วันที่ 31 เดือนมกราคม 2552 บลจ.กสิกรไทยปรับตัวขึ้นมาอยู่ในอันดับที่ 1 จากเดิมซึ่งอยู่ในอันดับที่ 5 และมียอดสินทรัพยรวมของกองทุนประเภทนี้มาอยู่ที่ 64,092.45 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 11,162.13 ล้านบาท ขณะนี้บลจ.ทิสโก้เดิมอยู่ในอันดับที่ 1 ปรับตัวลงมาอยู่ในอันดับที่ 5 และมียอดสินทรัพย์รวมลดลง 11,239.81 ล้านบาทมาอยู่ที่ 57,286.21 ล้านบาท

ขณะที่อันดับ 2 ยังคงเดิมได้แก่ บลจ.บลจ. กรุงไทย จำกัด (มหาชน) มีขนาดกองทุน 59,114.73 ล้านบาท และมีสมาชิกจำนวน 91,507 ราย ส่วนอันดับ 3 และ 4 มีการสลับตำแหน่งกันโดย บลจ.ไทยพาณิชย์ ปรับขึ้นมาอยู่ในอันดับ 3 มีขนาดกองทุน 58,775.09 ล้านบาทและมีสมาชิกรวม 185,928 ราย และ บลจ.เอ็มเอฟซีปรับตัวลดลงมาอยู่ในอันดับ 4 มีขนาดกองทุน 58,198.47 ล้านบาท และมีสมาชิกจำนวน 175,184 ราย

นอกจากนี้ ยอดการลงทุนรวมของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพทั้งอุตสาหกรรมพบว่า มีการปรับตัวลดลงประมาณ 1,460.98 ล้านบาท จากเดือนธันวาคม 2551 ที่ 465,296.44 ล้านบาท มาอยู่ที่ 463,835.47 ล้านบาท   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us