Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน10 มีนาคม 2552
ธปท.หนุนปล่อยกู้บจ.ซื้อหุ้นคืน             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารแห่งประเทศไทย

   
search resources

ธนาคารแห่งประเทศไทย
Loan




ธปท.ร่อนจดหมายเวียนถึงแบงก์วางแนวนโยบายการปล่อยกู้ ชี้ควรนำเงินมาให้ภาคธุรกิจที่สำคัญ เพื่อช่วยพัฒนาประเทศ หนุนให้บริษัทจดทะเบียนขอสินเชื่อซื้อหุ้นคืนจากผู้ถือหุ้น พยุงตลาดหุ้นที่กำลังดำดิ่ง แต่กำชับแบงก์ระวังสินเชื่อในโครงการเก็งกำไร พร้อมสั่งรายงานข้อมูลลูกค้าสินเชื่อบ้านวงเงินเกิน 100 ล้าน ที่ปล่อยกู้หลังปีใหม่ที่ผ่านมา

รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แจ้งว่า ฝ่ายนโยบายความเสี่ยง สายนโยบายสถาบันการเงินของ ธปท.ได้ออกจดหมายเวียนเกี่ยวกับแนวนโยบายการให้สินเชื่อแก่ภาคธุรกิจบางประเทศถึงสถาบันการเงินทุกแห่งในระบบ เพื่อขอความร่วมมือจากสถาบันการเงินนำเงินมาให้สินเชื่อแก่ภาคธุรกิจที่สำคัญ ซึ่งสามารถช่วยพัฒนาประเทศและระบบเศรษฐกิจโดยรวมมากขึ้น

"ธปท.ได้ออกแนวทางการให้สินเชื่อของสถาบันการเงินที่ให้แก่บริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ (บริษัทมหาชนจำกัด) เพื่อทำการซื้อหุ้นคืนจากผู้ถือหุ้น (Treasury Stock ) ตามข้อกำหนดของกระทรวงพาณิชย์และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้ หลังจากราคาหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ของบางบริษัทต่ำกว่ามูลค่าทางบัญชี แต่การให้สินเชื่อวิธีนี้ต้องเป็นการซื้อหุ้นที่ไม่เป็นเหตุให้บริษัทจดทะเบียนนั้นประสบปัญหาทางการเงิน" หนังสือเวียนระบุ

กรณีที่บริษัทจดทะเบียนมีหลักทรัพย์เป็นประกัน ซึ่งฝากไว้ที่บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด ทางสถาบันการเงินสามารถเลือกวิธีการจำนำหลักทรัพย์ดังกล่าวมาเป็นประกันได้ 2 วิธี คือ วิธีแรก การจดทะเบียนจำนำใบหลักทรัพย์ โดยให้ลูกค้าที่มาขอกู้จดทะเบียนจำนำใบหลักทรัพย์เป็นประกัน โดยระบุชื่อสถาบันการเงินเป็นผู้รับจำนำและส่งมอบใบหลักทรัพย์นั้นให้แก่สถาบันการเงินให้เสร็จก่อนวันที่ลูกค้าเริ่มเบิกเงินกู้ ซึ่งวิธีนี้รวมถึงกรณีที่การจำนำหลักทรัพย์ที่ไม่ได้ฝากไว้ที่ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ด้วย และวิธีที่สอง การจำนำหลักทรัพย์ในระบบไร้ใบหลักทรัพย์ (Scripless) ให้สถาบันการเงินปฏิบัติตามระเบียบของศูนย์รับฝากหลักทรัพย์

ในกรณีที่หลักทรัพย์ที่เป็นประกันมีมูลค่าลดลง สถาบันการเงินสามารถเรียกให้ลูกค้ามาจำนำหลักทรัพย์เพิ่มขึ้น หรือเรียกชำระคืนหนี้คงค้างบางส่วนได้ ซึ่งสถาบันการเงินจะให้สินเชื่อแก่ลูกค้าเพิ่มขึ้นอีกไม่ได้ แม้ว่าหลักทรัพย์ที่เป็นประกันจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นในภายหลังก็ตาม แต่ในกรณีที่หลักทรัพย์ที่เป็นประกันมีมูลค่าเพิ่มขึ้น หากลูกค้าต้องการจะขอเพิ่มวงเงินสินเชื่อและสถาบันการเงินยินยอมด้วยให้ดำเนินการได้เฉพาะทำเป็นสัญญาฉบับใหม่ต่างหากจากสัญญาฉบับเดิมหรือยกเลิกสัญญาฉบับเดิมแล้วทำเป็นสัญญาฉบับใหม่ทั้งจำนวนแทน แต่การดำเนินการเช่นนี้ควรกระทำแต่เพียงครั้งเดียว โดยต้องไม่เป็นการเลี่ยง เพื่อปรับวงเงินสินเชื่อขึ้นลงตามราคาหลักทรัพย์ในทำนองของการให้สินเชื่อเพื่อซื้อหลักทรัพย์ (Margin Loan)

อย่างไรก็ตาม การให้สินเชื่อแก่บางประเภทที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อการผลิตของประเทศในระยะยาว โดยเฉพาะการให้สินเชื่อในลักษณะเก็งกำไรในธุรกิจบางประเภท ธุรกิจที่เข้าข่ายนำเข้าสินค้าฟุ่มเฟือยเกินความจำเป็น รวมถึงไม่ใช่ธุรกิจที่ขัดต่อศีลธรรมอันดีอย่างสินเชื่อที่เข้าข่ายเป็นการกักตุนสินค้า ต้องมีการควบคุมอย่างเข้มงวดเป็นพิเศษ

"สถาบันการเงินไม่ควรให้สินเชื่อแก่บุคคลใดเกิน 80%ของราคาซื้อขายที่ตกลงกันจริง เพราะอาจมีผลต่อการดำรงเงินกองทุนสูงขึ้นด้วย เพื่อรองรับความเสี่ยง และพิจารณาเฉพาะโครงการที่ผู้ประกอบการไม่กระทำผิดกฎหมาย รวมทั้งคำนึงถึงความเป็นไปได้ของโครงการเป็นหลักและผลประโยชน์ของโครงการไม่ใช่เก็งกำไร"

ทั้งนี้ สถาบันการเงินต้องรายงานการอนุมัติสินเชื่อเพื่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เฉพาะลูกหนี้ที่มีวงเงินรวมกันตั้งแต่ 100 ล้านบาทขึ้นไป โดยจำแนกตามระดับอัตราส่วนเงินให้สินเชื่อต่อมูลค่าหลักประกัน วงเงินสินเชื่อ และสถานะของลูกหนี้เป็นรายไตรมาส สำหรับสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยที่มีการอนุมัติตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.52 เป็นต้นไป โดยให้สถาบันการเงินเริ่มรายงานข้อมูลงวดแรกสิ้นสุดวันที่ 30 มิ.ย.52 เป็นต้นไป

ธปท.ยังแนะนำให้สถาบันการเงินเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การให้สินเชื่อแก่ผู้ดำเนินกิจการทำนากุ้งและเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในป่าชายเลนด้วย โดยสถาบันการเงินต้องพิจารณาอย่างเข้มงวด โดยเฉพาะรายที่ไม่มีใบอนุญาตให้ใช้พื้นที่ป่าชายเลนจากกรมป่าไม้ รวมทั้งให้ระงับการให้สินเชื่อแก่โครงการต่างๆ ที่เป็นการบุกรุกทำลายพื้นที่ในป่าเขตชายเลน หรือเป็นโครงการที่จะทำให้เปลี่ยนสภาพป่าชายเลน

ขณะเดียวกันการให้สินเชื่อแก่เกษตรกรหรือผู้ประกอบกิจการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลจะต้องมีสถานประกอบกิจการอยู่นอกเขตพื้นที่ป่าชายเลนและเป็นกิจการที่ได้รับการับรองมาตรฐานด้านการผลิตกุ้งทะเลตามแนวทางในการจัดการเพาะเลี้ยงกุ้งที่ดี (Good Aquaculture Practice หรือ GAP) และตามแนวทางการจัดการสิ่งแวดล้อม เพื่อการเพาะเลี้ยงกุ้งอย่างยั่งยืน (Code of Conduct หรือ CoC) จากกรมประมง รวมทั้งต้องเป็นการประกอบกิจการที่ไม่มีผลต่อสิ่งแวดล้อม.   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us