Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน6 มีนาคม 2552
เผาจริงเศรษฐกิจGDPติดลบ 4 %             
 


   
search resources

ธนวรรธน์ พลวิชัย
Economics




เศรษฐกิจโลกทรุดหนัก กระทบเศรษฐกิจไทยปีนี้อาจโตติดลบ 4% ต่ำสุดในรอบ 10 ปี หลังเกิดวิกฤตต้มยำกุ้งในปี 41 ทำส่งออกลบ 15-20% ว่างงานพุ่งทะลุ 1.5 ล้านคน นักวิชาการแนะรัฐบาลอัดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบ 2 เน้นการลงทุนเพื่อให้เกิดการจ้างงาน

นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยถึงผลสรุปภาวะเศรษฐกิจภูมิภาคไตรมาส 1 ปี 2552 และแนวโน้มปี 2552 ว่า มีโอกาสที่เศรษฐกิจไทยทั้งปี 2552 จะขยายตัวติดลบ 4% หรือต่ำสุดในรอบ 10 ปี นับจากปี 2541 ที่เศรษฐกิจขยายตัวติดลบ10.4% ซึ่งเป็นผลจากภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัวรุนแรงกว่าที่คาดการณ์เอาไว้ ทำให้การส่งออกสินค้าไทยปีนี้ คาดว่าจะขยายตัวติดลบ 15-20% ส่งผลให้อัตราการว่างงานอาจพุ่งถึง 1.5 ล้านคน

“เศรษฐกิจโลกเข้าสู่ภาวะถดถอยอย่างแท้จริง โดยประเมินว่าเศรษฐกิจโลกปีนี้อาจขยายตัวติดลบ 1-2% โดยเฉพาะตลาดสหรัฐฯ มีแนวโน้มเศรษฐกิจติดลบ กว่าจะฟื้นตัวคงเป็นช่วงปลายปีหรือต้นปีหน้า ขณะที่ตลาดยุโรปและญี่ปุ่น มีแนวโน้มเศรษฐกิจหดตัวหนักเช่นกัน ส่งผลต่อการส่งออกไทยคาดว่าจะติดลบและมีปัญหาเรื่องการว่างงานตามมา” นายธนวรรธน์กล่าว

นายธนวรรธน์กล่าวว่า รัฐบาลได้มีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบแรกออกมาแล้ว โดยอัดฉีดเงินเข้าระบบเศรษฐกิจไทย 1.13 แสนล้านบาท ผ่านมาตรการ เช่น แจกเงินให้กับผู้มีรายได้ไม่เกิน 1.5 หมื่นบาท คนละ 2,000 บาท การดูแลสินค้าเกษตร เพื่อให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่ม ใช้งบ 1 แสนล้านบาท แต่ยังไม่เพียงพอ เพราะเศรษฐกิจโลกรุนแรงกว่าที่คิด จึงจำเป็นต้องมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบสองเข้ามาช่วย ด้วยการเร่งเบิกจ่ายงบประมาณขององค์กรส่วนปกครองท้องถิ่น (อปท.) และเร่งรัดโครงการลงทุนในส่วนรัฐวิสาหกิจและหน่วยงานรัฐบาล ซึ่งเป็นวิธีที่ไม่ต้องใช้การตั้งงบประมาณขาดดุลเพิ่มเติม เพียงแต่รัฐบาลค้ำประกันให้กับหน่วยงานที่มีการลงทุน

“การกระตุ้นเศรษฐกิจรอบแรก ไม่ได้หมายความว่าล้มเหลว ถือว่าทำถูกวิธีในการพยุงเศรษฐกิจเอาไว้ เพียงแต่เศรษฐกิจโลกรุนแรงกว่าที่คาดการณ์เอาไว้เยอะ ทำให้การพยุงเอาไม่อยู่ ต้องมีมาตรการรอบสองเข้ามาช่วย และต้องเน้นการกระตุ้นให้ตรงจุดผ่านการลงทุน เพิ่มช่วยให้คนตกงานมีรายได้” นายธนวรรธน์ กล่าว

นายธนวรรธน์กล่าวว่า หากรัฐบาลมีแผนกระตุ้นเศรษฐกิจรอบสองออกมา คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะกลับมาขยายตัวได้ดีขึ้น โดยทั้งปีคาดว่าจะขยายตัวติดลบ 1% หรือไม่ขยายตัวเลย อัตราการว่างงานจะลดลงเหลือ 1.3 ล้านคน หรือน้อยกว่า ซึ่งขึ้นอยู่กับมาตรการช่วยเหลือด้านแรงงานของรัฐบาลที่จะมีการอบรมสร้างอาชีพให้กับผู้ตกงาน โดยต้องทำให้เร็ว เพราะไตรมาส 2 หรือเดือนพ.ค.-มิ.ย. จะเป็นช่วงที่มีคนตกงานมากสุดถึง 1.3 ล้านคน จากแรงงานว่างงานอยู่แล้วที่ 7 แสนคน และนักศึกษาจบใหม่อีก 6-7 แสนคน

สำหรับวิธีการแก้ไขปัญหาคนตกงาน รัฐบาลจะต้องเข้ามาอบรมอาชีพสร้างงาน ซึ่งขณะนี้รัฐบาลมีโครงการรองรับแรงงานว่างงาน 5 แสนราย และจะต้องเร่งให้เกิดการลงทุนในไตรมาส 3 จะทำให้แรงงานว่างงานลดลงเหลือประมาณ 1 ล้านคนได้

นายธนวรรธน์กล่าวว่า เศรษฐกิจไทยรายภูมิภาค จากการสำรวจพบว่า เศรษฐกิจทุกภูมิภาคในช่วงไตรมาส 1 ปีนี้ ชะลอตัวหมด โดยภูมิภาคที่เป็นปัญหามากสุด คือ ภาคกลาง กทม.และปริมณฑล เนื่องจากมีอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการส่งออกมาก ซึ่งได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจโลก โดยทั้งปีคาดว่าเศรษฐกิจของภาคกลาง จะติดลบมากสุด คือ ลบ 1.9% รองลงมาเป็นกทม.และปริมณฑล ลบ 1.3% ภาคเหนือขยายตัว 0.2% ภาคใต้ 0.5% และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 0.6% และทุกภูมิภาคมีสัญญาณการฟื้นตัวเศรษฐกิจไตรมาส 4 หรือ ต้นปีหน้า

“แนวโน้มเศรษฐกิจไทยรายภูมิภาค พบว่าได้รับผลกระทบการชะลอตัวของภาคส่งออก หนักเบาขึ้นอยู่กับว่าภาคใดที่มีอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องกับการส่งออกมากกว่ากัน และยังเป็นผลจากยอดนักท่องเที่ยวที่ลดลง และความไม่แน่นอนทางการเมือง ส่งผลให้ความเชื่อมั่นของนักลงทุนและสัญญาณการบริโภคยังชะลอตัวต่อไป” นายธนวรรธน์กล่าว   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us