Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา มีนาคม 2552
การส่งเสริมการเกษตรในเมืองกับแก้ปัญหาการขาดแคลนอาหาร             
โดย Jerome Rene Hassler
 


   
search resources

Agriculture
Greater Mekong Subregion




ได้กล่าวมาหลายครั้งแล้วถึงผลที่จะเกิดขึ้นกับสังคมเศรษฐกิจและสภาพแวดล้อม จากการที่เมืองต่างๆ ในเขตอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (GMS) มีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ได้คาดการณ์ไว้ตั้งแต่ปี 2000 ว่า ภายในปี 2015 จำนวน 26 เมืองทั่วโลกที่มีประชากรตั้งแต่ 10 ล้านคนขึ้นไป จะมีถึง 16 เมืองที่จะเป็นเมืองในเอเชีย

โดยที่ประชากรถึง 20-40% ในเมือง เหล่านี้จะเป็นคนยากจน ซึ่งอพยพจากชนบทเข้าไปในเมือง เพราะหวังว่าจะมีสภาพชีวิตที่ดีขึ้น แต่สิ่งที่น่าสนใจก็คือ ในช่วง 10 ปีมานี้ การเกษตรได้เริ่มกลับคืนสู่เมืองอีกครั้งและการกลับมาของการใช้ที่ดินในเมืองเพื่อการเกษตรนี้ เรียกว่า การเกษตรในเมือง ซึ่งหมายถึงทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับการเพาะปลูก แปรรูปและจัดจำหน่ายธัญพืช ผักผลไม้ ปศุสัตว์หรือปลา ทั้งในและโดยรอบเมือง

การส่งเสริมการเกษตรในเมือง ถือเป็นพื้นฐานสำคัญประการหนึ่งของการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน ในขณะเดียวกัน ยังอาจช่วยแก้ปัญหาในเมืองได้อีกหลายอย่าง เช่น ความมั่นคงด้านอาหาร การปรับตัวเข้ากับภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง การป้องกันความเสี่ยงจากการเกิดอุทกภัย การลดความยากจน และการส่งเสริมสุขภาพของคนในเมือง

อย่างไรก็ตาม ในบทความนี้จะเน้นเฉพาะความสัมพันธ์ระหว่างการเกษตรในเมืองกับการผลิตอาหารป้อนคนที่อาศัยอยู่ในเมืองต่างๆ ของประเทศในแถบ GMS เท่านั้น

ขณะนี้การเกษตรในเมืองได้เริ่มขยายตัวแล้วในเกือบทุกประเทศใน GMS เพราะประชากรในอนุภูมิภาคแห่งนี้เข้าใจดีว่า การเกิดปรากฏการณ์เช่นนี้สามารถเรียกร้องความสนใจได้เป็นอย่างมาก เรากำลังเผชิญปัญหาความยากจนที่กำลังเพิ่มมากขึ้นในเมือง และปัญหาการสูญเสียพื้นที่การเกษตร อันเนื่องมาจากการขยายตัวอย่างรวดเร็วของเมือง ปัญหาความยากจนและการสูญเสียพื้นที่เกษตรนี้ มีส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดการขาดแคลนอาหาร แต่การเกษตรในเมืองอาจเป็นกุญแจแก้ไขปัญหาความไม่มั่นคงด้านอาหารในเมืองได้

FAO ประเมินว่าภายในปี 2010 ความต้องการบริโภคอาหารในเอเชียจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยความต้องการธัญพืชจะเพิ่มขึ้น 49% ผักจะเพิ่มขึ้น 18% ผลไม้ 16% พืชกินรากและหัว 9% และเนื้อสัตว์ 8% เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของเมืองต่างๆ ในเอเชีย

นอกจากนี้ยังคาดว่าการผลิตอาหารในชนบทก็จะลดลงอย่างมากภายในปี 2010 ทำให้การเกษตรในเมืองยิ่งทวีความสำคัญสำหรับประเทศต่างๆ ในอนุภูมิภาคนี้ เพื่อผลิตอาหารให้เพียงพอป้อนประชากรในเมืองที่กำลังเพิ่มจำนวนขึ้น รายงานเกี่ยวกับการเกษตรในเมืองของ FAO เมื่อ ปี 2001 ระบุว่ามีคนถึง 7 ล้านคนที่เกี่ยว ข้องกับกิจกรรมการเกษตรในเมือง และยังพบว่า พื้นที่เกษตรที่อยู่ในเมืองและปริมณฑลสามารถผลิตอาหารป้อนชาวเมือง ได้ถึง 700 ล้านคน หรือเท่ากับ 1 ใน 4 ของประชากรในเมืองที่มีอยู่ทั้งหมดในโลกนี้

จากประวัติศาสตร์พบว่า แนวคิดที่จะส่งเสริมการเกษตรในเมืองมีมานานแล้ว โดยสามารถสืบย้อนหลังไปได้ถึงเกือบ 2 ศตวรรษ คือเมื่อประมาณกว่า 180 ปีก่อน ได้มีการแจกที่ดินผืนเล็กๆ ในเมืองให้แก่ชาวอังกฤษและเยอรมันที่ยากจน เพื่อให้ทำการเพาะปลูกพืชผักผลไม้และดอกไม้

นั่นคือความพยายามที่จะจัดการแก้ปัญหาความยากจนในเมืองนั่นเอง ซึ่งเกิดขึ้นในระหว่างการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 1 ในยุโรป อันเป็นช่วงที่แรงงานราคาถูกจากชนบทหลั่งไหลเข้าสู่เมืองที่กลายเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรม แรงงานอพยพเหล่านี้ต้องเจอกับปัญหาสุขภาพ อันเนื่องมาจากสภาพความเป็นอยู่ที่ไม่ถูกสุขลักษณะและการขาดอาหาร

การเกษตรในเมืองในฐานะที่เป็นแนวคิดหนึ่งของการวางผังเมืองนี้ ได้ถูกนำมาใช้ในเวลาต่อมา โดยสถาปนิกภูมิทัศน์ และนักวางผังเมืองผู้มีชื่อเสียงชาวอังกฤษและชาวเยอรมันตามลำดับคือ Ebenezer Howard (Garden City concept) และ Leberecht Migge (แนวคิดการพึ่งตนเอง อย่างพอเพียงที่เรียกว่า Siedlungswesen)

นับตั้งแต่นั้นมา แนวคิดเกี่ยวกับการจัดสรรปันส่วนที่ดินและเรือกสวนไร่นาในเมืองก็แพร่กระจายไปทั่วยุโรป ทำให้มีการนำที่ดินในเมืองต่างๆ ของยุโรปเป็นจำนวนหลายล้านแปลงมาแจกจ่ายให้แก่คนจน เนื่องจากการทำเกษตรในเมืองมีประโยชน์ทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมหลายประการ เช่น

- ช่วยให้ชาวเมืองมีสุขภาพดีขึ้น เนื่องจากได้รับอาหารประจำวันที่มีคุณค่าทางโภชนาการและไม่มีอันตราย การ เกษตรในเมืองยังมีส่วนช่วยลดมลพิษทางเสียง และมลพิษทางอากาศ ซึ่งก็ช่วยส่งเสริมสุขภาพของชาวเมืองได้เช่นกัน

- ลดอาการเครียดของคนที่อาศัยอยู่ในเมือง จากการที่มีพื้นที่สีเขียวอยู่ในเขตที่มีประชากรหนาแน่น ทำให้ชาวเมืองได้รู้สึกผ่อนคลาย

- ส่งเสริมการอยู่ร่วมกันในสังคม เนื่องจากมีพื้นที่ให้คนในสังคมได้มีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมระหว่างคนต่างวัย และต่างพื้นเพทางสังคม

- ทำให้เกิดความหลากหลายทางชีวภาพในเขตเมือง

- ทำให้มีสื่อกลางที่จะใช้สอนเรื่องสิ่งแวดล้อมให้แก่เด็กนักเรียนในโรงเรียน

- ลดความเสี่ยงการเกิดอุทกภัย เนื่องจากมีการใช้เครื่องสูบน้ำ

- ทำให้คนจนในเมืองมีแหล่งสร้าง รายได้เพิ่มขึ้น

ด้วยเหตุนี้ จึงไม่น่าแปลกใจที่การ เกษตรในเมืองได้รับการยอมรับมากขึ้นเรื่อยๆ ในประเทศ GMS ให้เป็นวิธีที่จะช่วยรับประกันความมั่นคงด้านอาหารในช่วงเวลาที่เกิดวิกฤติ ในเมืองใหญ่ๆ ของ GMS อย่างเช่น กรุงเทพฯ กรุงฮานอย และกรุงพนมเปญ มีการริเริ่มโครงการเกษตรในเมืองหลายอย่าง ซึ่งมีกิจกรรมที่หลากหลายครอบคลุม ตั้งแต่การนำทรัพยากรหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ การศึกษา การจัดหาอาหารปลอดภัย การพัฒนาชุมชน สถาปัตยกรรม "เขียว" และการจัดการพื้นที่เปิด

บรรดาองค์กรผู้บริจาคระหว่างประเทศและ NGO จำนวนมาก ต่างรับเอาแนวคิดการเกษตรในเมืองมาส่งเสริมในประเทศกำลังพัฒนา โดยร่วมมือกับองค์กรในท้องถิ่น ส่งเสริมให้คนยากจนเริ่มทำเกษตรในเมือง เพราะเขาจะเป็นผู้ที่ได้รับประโยชน์จากโครงการนี้มากที่สุด

ยกตัวอย่างในไทย ทั้งรัฐบาลไทยและกรุงเทพมหานครต่างเห็นความสำคัญของการเกษตรในเมือง แม้ว่าย่านใจกลางกรุงเทพฯ จะมีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่น แต่ย่านชานเมืองและพื้นที่โดยรอบกรุงเทพฯ ซึ่งมีสัดส่วนถึง 39% ของพื้นที่ทั้งของกรุงเทพฯ และปริมณฑล ยังคงถูกทอดทิ้งให้รกร้างว่างเปล่า หรือยังไม่ได้รับการพัฒนา เนื่องจากการเติบโตอย่างรวดเร็วของกรุงเทพฯ ระหว่างทศวรรษ 1960 ถึง 1980 ทำให้ทางกรุงเทพมหานครไม่สามารถสร้างถนนได้มากพอที่จะเชื่อมทั่วกรุงเทพฯ ได้

สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย (Thailand Environment Institute: TEI) ซึ่งเป็นองค์กรเอกชนด้านสิ่งแวดล้อมชั้นนำของไทย ได้ริเริ่มโครงการเมืองสีเขียว โดยความ ร่วมมือจากศูนย์พัฒนาเมืองยั่งยืนระหว่างประเทศของแคนาดา (International Centre for Sustainable Cities: ICSC) และได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานพัฒนา ระหว่างประเทศของแคนาดา (Canadian International Development Agency: CIDA) และได้เลือกเขตบางกอกน้อยและเขตบางกะปิให้เข้าร่วมโครงการดังกล่าว ผลที่ได้เป็นที่น่าพอใจ

โดยโครงการสวนเกษตรในโรงเรียน ที่จัดทำโดยนักเรียน และสวนเกษตรชุมชน ที่ก่อตั้งขึ้นตามโครงการดังกล่าว สามารถสร้างรายได้มากพอที่โครงการจะเลี้ยงตัวเองได้ ที่สำคัญยิ่งไปกว่านั้นคือ โครงการนี้ได้ช่วยสร้างจิตสำนึกด้านนิเวศวิทยาให้เกิดขึ้นในหมู่คนยากจนและคนในชุมชนด้วย

แม้ว่าโครงการสวนเกษตรเล็กๆ อย่างนี้อาจไม่สามารถส่งผลดีไปทั่วทั้งสังคมโดยรวม แต่อย่างน้อยก็สามารถดึงดูดความสนใจของชาวเมืองให้หันมาสนใจการทำเกษตรในเมืองได้

จากการศึกษาของบัณฑูร ชุนสิทธิ์ Jacques Pages และอรอุมา ดวงงาม ทั้งสามได้เสนอมุมมองที่กว้างขึ้นเกี่ยวกับการเกษตรในกรุงเทพฯ โดยสรุปว่า แม้ว่ากรุงเทพฯ จะเป็นเมืองหลวง แต่ก็ยังมีพื้นที่ เกษตรจำนวนมาก ในปี 1998 0.14% ของที่ดินในกรุงเทพฯ (21,276 เฮกตาร์ จากที่ดินทั้งหมด 156,609 เฮกตาร์ของกรุงเทพฯ) เป็นพื้นที่เกษตร ยิ่งกว่านั้น การสำรวจตลาดของทั้งสามยังพบว่า ผักผลไม้ส่วนใหญ่ที่ขายในกรุงเทพฯ และในจังหวัดใกล้เคียง แท้จริงแล้วผลิตจากในกรุงเทพฯ และในจังหวัดเหล่านั้นนั่นเอง

แม้ว่าปริมาณอาจจะยังไม่เพียงพอต่อความต้องการบริโภคของคนในกรุงเทพฯ แต่นี่ก็แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการเกษตรในเมืองในประเทศไทย

ส่วนในเวียดนาม การเกษตรในเมือง ก็มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อการแก้ปัญหาการขาดแคลนอาหาร ปัญหาด้านอาหารในเวียดนามเกิดจากที่ดินเพื่อการเกษตรในแต่ละปีได้ค่อยๆ ลดลงเรื่อยๆ เมื่อเทียบกับจำนวนประชากร และเกิดจากราคาอาหารที่มีความผันผวนสูงโดยเฉพาะในช่วงฤดูร้อน รวมทั้งการที่ระดับรายได้ของชาวเวียดนามสัมพันธ์กับสถานะการกินอยู่

ดังนั้น การเกษตรในเมืองจึงมีบทบาทสำคัญในการผลิตข้าวและผักในเวียดนาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในย่านชุมชน เมืองที่กระจุกตัวอยู่ในกรุงฮานอยและนครโฮจิมินห์ซิตี้ ในกรุงฮานอย ที่ดินประมาณ 42,000 เฮกตาร์ ถูกใช้เป็นพื้นที่เกษตร

ในกัมพูชาก็เช่นกัน การเกษตรในเมืองมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการผลิตอาหารและช่วยสร้างรายได้ให้แก่ผู้ที่อาศัยอยู่ในเมือง ในกรุงพนมเปญ ที่ดิน 8,000 เฮกตาร์ถูกใช้เพื่อการเกษตร และเกือบ 40% ของประชากรในเมืองหลวงของกัมพูชาล้วนเกี่ยวข้องกับการทำเกษตร

จากประโยชน์ทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้น การเกษตรในเมืองจึงควรจะได้รับการสนับสนุนจากทุกประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และถ้าจะให้ดีที่สุดก็ควร บรรจุเรื่องการเกษตรในเมืองรวมอยู่ในแผนการใช้ที่ดินและการใช้พื้นที่ในเมืองโดยรวมด้วย ส่วนเครื่องมือต่างๆ อย่างเช่น แผนยุทธศาสตร์เพื่อการวางผังเมือง (Strategic Urban Planning: SUV) ซึ่งเป็นการวางแผนการใช้ที่ดินและการพัฒนาเมืองโดยรวม ก็ควรจะถูกนำมาใช้เป็นกรอบสำหรับส่งเสริมการทำเกษตรในเมืองและการปลูกป่าในเมือง

ตัวอย่างที่ดีของการวางแผนดังกล่าว คือโมเดลที่เรียกว่า Dutch Randstad ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดี โมเดลซึ่งพัฒนาขึ้นตั้งแต่ ปี 1958 นี้ เสนอหลักการพื้นฐานคือ ให้พื้นที่ที่อยู่ติดกันของเมือง 4 เมืองในเนเธอร์แลนด์คือ Amsterdam, Rotterdam, the Hague, และ Uttrecht ซึ่งมีพื้นที่ติดต่อกันในลักษณะเหมือนรูปเกือกม้า horse shoe และครอบคลุมพื้นที่ 4,500 ตารางกิโลเมตร โดยมีประชากร 7.5 ล้านคน สามารถจะขยายเมืองซึ่งกันและกันอย่างไรก็ได้ แต่ขอให้พื้นที่ด้านในที่อยู่ตรงกลางระหว่างเมืองทั้งสี่ ซึ่งเป็นรูปเกือกม้าจะต้องถูกกันเอาไว้ให้ปลอดจากการขยายตัวของเมือง และควรจะนำใช้เพื่อการเกษตรเท่านั้น

โมเดลนี้อาจจะยากที่จะนำไปใช้กับเมืองต่างๆ ใน GMS แต่แนวคิดหลักของการกันที่ดินส่วนหนึ่งในเมืองเอาไว้สำหรับเป็นพื้นที่สีเขียวและสำหรับการเกษตรนั้นน่าจะนำไปใช้ได้   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us