Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา มีนาคม 2552
ความสว่างในความมืด ประกายความหวังในภาวะเศรษฐกิจตก             
โดย พัชรพิมพ์ เสถบุตร
 


   
search resources

Environment




ในขณะที่เศรษฐกิจทั่วโลกตกต่ำ เมืองไทยก็มิอาจหลุดรอดจากผลกระทบไปได้ เป็นช่วงที่คนไทยเราจะต้องมีสติสัมปชัญญะในการดำเนินชีวิต และประเทศก็ต้องวางแผนวางกลยุทธ์กันอย่างรอบคอบ ทั่วถึง หากในความตกต่ำก็มีความหวังอันเรืองรอง

ความหวังอันเรืองรองนั้นมาจากอะไรกันเล่า ในมุมมองของผู้เขียน ซึ่งมักจะมองกลับกับคนอื่นเสมอ ความหวังนั้นเกิดจากการพัฒนาและการเติบโตทางเศรษฐกิจที่รอบคอบ คำนึงถึงคนทุกภาคส่วน มีการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิ ภาพ คุ้มค่ามากขึ้น ยังผลให้เกิดขึ้นในทางบวก ในขณะที่รัฐบาลก็ใช้เงินใช้ทรัพยากรเพื่อผลประโยชน์ของประชาชนมากขึ้น คิดถึงพวกพ้องน้อยลง

ในแง่ของสิ่งแวดล้อม ก็เกิดผลพวง ที่เป็นบวกหลายประการ ประการแรกที่เห็นได้ชัดคือ มีการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง ใช้ไฟฟ้าน้อยลง ส่งผลให้เกิดการลดมลพิษ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอันเป็นสาเหตุให้เกิดภาวะโลกร้อน ข้อพิสูจน์ของ ภาวะโลกร้อนคือไฟไหม้ป่าในออสเตรเลียที่เผาผลาญทุกสิ่งทุกอย่างราวกับไฟบรรลัยกัลป์

การใช้ไฟฟ้าน้อยลงย่อมหมายถึงการช่วยเศรษฐกิจของชาติในภาพรวมด้วยการลดการนำเข้าน้ำมันปิโตรเลียม เพราะไฟฟ้าส่วนใหญ่ผลิตขึ้นได้จากน้ำมัน ในส่วนที่ผลิตได้จากพลังน้ำ การประหยัดไฟฟ้าในช่วงกลางคืน (เสริมด้วยการผลิตจากพลังน้ำ) ช่วยให้ประเทศประหยัดน้ำไว้ให้กับเกษตรกรได้มากขึ้น นอกจากนั้นยังมีวิธีการอีกหลายรูปแบบที่ช่วยเศรษฐกิจของชาติได้ในยามฐานะตกต่ำเช่นนี้ โดยมิต้องอาศัยงบประมาณและนโยบายสวยหรูมากมาย และผลสัมฤทธิ์ที่ได้ นอกจากการอยู่รอดทางเศรษฐกิจแล้วยังช่วยให้ประชากรมีวิถีชีวิตที่เป็นสุขขึ้นกับสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้น สามารถพึ่งพาตนเองได้ ลองมาเรียนรู้แนวคิดและการปฏิบัติของชุมชนและเทศบาลบางแห่งดู

เทศบาลนครอุดรธานีมีปัญหาจาก เมืองขยายตัว อันมีสาเหตุมาจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างรวดเร็ว เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมต่างๆ ตามมา โดยเฉพาะปัญหาด้านน้ำเสีย ขยะ การจราจร น้ำเสียถูกระบายลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ โดยเฉพาะห้วยหมากแข้งและห้วยมั่ง เพราะโรงบำบัดน้ำเสียที่มีอยู่มีประสิทธิภาพไม่ดีพอและไม่เพียงพอ คูคลองจึงกลายเป็นแหล่งรับน้ำเสีย แหล่งเพาะพันธุ์ยุง อันเป็นอันตรายต่อสุขอนามัยและคุณภาพชีวิตประชาชน และยังส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ในการท่องเที่ยวอีกด้วย เทศบาลฯ จึงร่วมมือกับ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัย ขอนแก่น จัดทำโครงการฟื้นชีวิตลำห้วยหมากแข้งและลำห้วยมั่ง บำบัดน้ำในลำห้วยให้สะอาดด้วยระบบธรรมชาติ รวมทั้งปรับปรุงภูมิทัศน์ริมคลองให้สวยงามคืนชีวิตธรรมชาติให้กับชุมชน

หลักการของระบบบำบัดน้ำเสียแบบธรรมชาติก็คือ การเข้าใจธรรมชาติของลำห้วย และขีดความสามารถทางชลศาสตร์ที่เพียงพอที่จะทำหน้าที่ระบายน้ำได้เป็นปกติ ส่วนการปรับปรุงภูมิทัศน์จะต้องดำรงสภาพนิเวศทางธรรมชาติของลำคลองไว้ ส่วนกระบวนการบำบัดน้ำเสีย ใช้หลักการที่สากลเรียกว่า "constructed wetland" หรือการประดิษฐ์ขึ้นเลียนแบบพื้นที่ชุ่มน้ำธรรมชาติ ประกอบด้วยบ่อตื้น 2 บ่อ และบ่อลึก 1 บ่อ ซึ่งมีกระบวนการบำบัดดังนี้

บ่อตื้นบ่อที่ 1 ปลูกต้นกก เตย พุทธรักษา เพื่อเป็นพื้นที่ชะลอน้ำและบำบัดเบื้องต้น โดยขบวนการเปลี่ยนโปรตีนในสารอินทรีย์เป็นแอมโมเนีย

บ่อลึก (ประมาณ 1 เมตร) ปลูกบัวและสาหร่าย เพื่อให้เกิดขบวนการเปลี่ยนแอมโมเนีย (จากบ่อที่ 1) ให้เป็นไนเตรท

บ่อตื้นบ่อที่ 2 ปลูกต้นกก เตย พุทธรักษา และควบคุมสภาพเพื่อให้เกิดขบวนการเปลี่ยนไนเตรทเป็นก๊าซไนโตรเจนสู่บรรยากาศ

ลำคลองที่ฟื้นชีวิตนอกจากจะช่วย สิ่งแวดล้อม สุขอนามัยแล้ว ยังช่วยด้านเศรษฐกิจได้อย่างสำคัญ ประกอบกับอุดรธานีเป็นเมืองแห่งประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมที่มีชื่อระดับโลกก็ช่วยดึงดูดนักท่องเที่ยวเข้ามาในเมืองได้มากขึ้น อยู่นานขึ้น ทั้งหมดนี้เพียงแต่ลองคิดนอกกรอบว่า การบำบัดน้ำเสียมิใช่เพียงการสร้างระบบขนาดใหญ่ที่ต้องใช้ทั้งเงินและเทคโนโลยีมาใช้เท่านั้น แต่ยังมีตัวช่วยโดยใช้วิธีธรรมชาติที่เรียบง่ายและประชาชนมีส่วนร่วมในการดูแลรักษา ก็จะช่วยเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมในเมืองได้อย่างสำคัญ

เทศบาลอีกแห่งหนึ่งที่มีการปฏิบัติ ที่น่าเรียนรู้ โดยภูมิปัญญาไทยแท้ๆ ไม่ต้องพึ่งพาสมองของชนชาติใดเลยคือ เทศบาล ตำบลเมืองแกลง จ.ระยอง

เริ่มจากแนวคิด "นำทุกอย่างที่เกิดจากดิน กลับคืนสู่ดิน" ด้วยการจัดการขยะ แบบบูรณาการ ขยะอินทรีย์ประเภทผลไม้ถูกนำไปหมักเป็นหัวเชื้อจุลินทรีย์ ส่วนหนึ่งของเชื้อจุลินทรีย์นำไปคลุกกับเศษกิ่งไม้ใบไม้ที่ผ่านเครื่องบดย่อย กองซ้อนเป็นชั้นๆ ปล่อยให้เกิดการย่อยสลายราวสามเดือน ก็กลายเป็นปุ๋ยหมักชั้นเลิศ บำรุงพืช บำรุงดิน หัวเชื้อบางส่วน นำไปเป็นอาหารของหนอนแมลงหวี่และไส้เดือน เลี้ยงไว้เพื่อเป็นอาหารของปลาในบ่อ เพื่อเป็นอาหารของเราอีกทอดหนึ่ง มูลของไส้เดือนก็เป็นปุ๋ยอย่างดีสำหรับต้นไม้ผล ยิ่งไปกว่านั้น ปราชญ์ชาวบ้านอาศัยระบบการหมักย่อยในกระเพาะของแพะ ซึ่งเป็นระบบ "หมักด่วน" สามารถผลิตมูลแพะออกมาเป็น "ปุ๋ยอัดเม็ด" และ "อาหารอัดเม็ด" ชั้นดี โดยการหมักที่ผ่านกระเพาะของแพะนี้รวดเร็วกว่าการหมักตามปกติมาก วิธีนี้จึงนับเป็นอีกหนทางหนึ่งในการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด

กระบวนการจัดการของเสียอินทรีย์ "นำกลับคืนสู่ดิน" ของเทศบาลเมืองแกลง ทำให้งบประมาณปี 2551 ช่วยลดปริมาณ ขยะลงได้มาก ยกเลิกการจัดซื้อปุ๋ยเคมีในองค์กร ลดค่าผักปลาแก่บุคลากร เพราะผลิตได้เองในรูปของเกษตรเมือง ประหยัดค่าขนส่งทั้งขยะและวัตถุดิบ ทั้งนี้เพราะธรรมชาติให้กระบวนการสีเขียว คือการอาศัยสิ่งที่เกิดขึ้นจากดินอย่างหนึ่งไปเกื้อกูลให้อีกสิ่งหนึ่งที่อาศัยดิน ดำเนินต่อกันไปเป็นทอดๆ ก่อนจะกลับคืนไปสู่ดินในที่สุด นี่เองที่จะทำให้โลกของเราอยู่ได้อย่างยั่งยืนในด้านต้นทุนวัตถุดิบ นอกจากจะเอาของเสียมาใช้ประโยชน์แล้ว สิ่งมีชีวิตในกระบวนการสีเขียว เช่น จุลินทรีย์ ไส้เดือน ปลา แพะ ยังไม่ต้องการเงินเดือน ค่าจ้าง เงินประกันสังคม และค่าต่างๆ ในการทำงานอีกด้วย ยังชดเชยน้ำมันเชื้อเพลิง ไฟฟ้าที่จะต้องใช้ผ่านเครื่องจักรกลได้ด้วย

เห็นไหมว่า ทั้งหมดที่ยกตัวอย่างมานี้ อันเป็นภูมิปัญญาของคนไทยกันเองแท้ๆ สามารถช่วยเศรษฐกิจได้ดีกว่า การแจกเงิน 2,000 บาท ตั้งเยอะตั้งแยะ เพราะ ถ้านำกระบวนการสีเขียวไปขยายผลก็จะให้อานิสงส์กลับมามากกว่าเอาเงิน 2,000 บาทไปใช้หลายเท่าทวีคูณ

ข้อมูล:
หนึ่งเทศบาล หนึ่งตัวอย่างที่ดี
จัดทำโดยสมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย ร่วมกับมูลนิธิสิ่งแวดล้อมไทย   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us