Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา มีนาคม 2552
ได้เวลา Inorganic Growth             
โดย นภาพร ไชยขันแก้ว
 

 
Charts & Figures

ข้อมูลผู้ให้บริการธุรกิจเช่าซื้อรถยนต์


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา
โฮมเพจ ธนาคารทิสโก้

   
search resources

ทิสโก้, บง. - TISCO
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา
Banking and Finance
ธนาคารทิสโก้
ทิสโก้, บมจ.
ทิสโก้ไฟแนนเชียลกรุ๊ป, บมจ.




ปัญหาวิกฤติการเงินของสหรัฐอเมริกาเมื่อปีที่ผ่านมาเริ่มส่งผลกระทบอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น เมื่อธนาคารโลกออกมาแถลงการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจโลกจะเหลือเพียง 0.9%

ส่วนประเทศไทยธนาคารโลกได้คาดการณ์ไว้ว่าในปีนี้จีดีพีไทยจะเติบโต 2% ส่งผลให้ธุรกิจส่งออกได้รับผลกระทบโดยตรงและคาดการณ์กันว่าเฉพาะเดือนมกราคมปีนี้จะติดลบถึง 25%

ในฝั่งรัฐบาลมีนโยบายที่จะผลักดันมาตรการหลายอย่างเพื่อเสริมสภาพคล่องภายในประเทศ โดยเฉพาะภาคครัวเรือนให้มีการใช้จ่ายเงิน อาทิ การคืนเงินประกัน สังคมจำนวน 2,000 บาทให้กับประชาชนที่มีรายได้ไม่ถึง 15,000 บาท

ด้านผู้ประกอบการมีนโยบายขยายกิจการน้อยลง คาดว่าจะมีการเติบโตของธุรกิจเพียง 2.2% จึงทำให้ธนาคารพาณิชย์ ระมัดระวังการปล่อยสินเชื่อถึงขั้นที่เรียกว่า "เข้มงวด" และติดตามการบริหารความเสี่ยงอย่างใกล้ชิด

แม้ว่าเศรษฐกิจไทยจะผันผวนไปตามภาวะของเศรษฐกิจโลกแต่สถาบันการเงินหลายแห่งยังแสวงหาโอกาสในยามวิกฤติ เหมือนดังเช่นธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) และบริษัท ทิสโก้ไฟแนนเชียลกรุ๊ป (กลุ่มทิสโก้) ได้เข้าซื้อกิจการของบริษัท ที่อยู่ในภาวะอ่อนแอจนไม่สามารถยืนหยัดเพื่อดำเนินธุรกิจต่อไปได้

ธนาคารกรุงศรีอยุธยาและกลุ่มทิสโก้ จึงเลือกที่จะผลักดันให้ธุรกิจเติบโตในรูปแบบที่เรียกว่า การเติบโตด้วยการเข้าไปซื้อกิจการ หรือ Inorganic growth

การบริหารธุรกิจในยามเศรษฐกิจที่อยู่ในภาวะวิกฤติ วิถีการบริหาร Inorganic growth จึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่จะขยายฐานลูกค้าได้อย่างรวดเร็วและใช้เงินเข้าซื้อกิจการไม่สูงจนเกินไป

เหตุผลหนึ่งที่ทำให้กลุ่มทิสโก้ องค์กรในฐานะสถาบันการเงินขนาดเล็กที่มีสินทรัพย์รวม 126,173.13 ล้านบาท เป็นสถาบันการเงินที่เติบโตมาจากบริษัทเงินทุน จนกระทั่งก้าวขึ้นมาเป็นธนาคารพาณิชย์เมื่อ 3 ปีที่ผ่านมา และอยู่ในตลาด หลักทรัพย์ฯ

การอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฯ ทำให้ธนาคารทิสโก้บริหารงานไม่คล่องตัวเพราะ มีบริษัทลูกที่ต้องดูแล อย่างเช่น บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนทิสโก้ บริษัทหลักทรัพย์ทิสโก้

ทำให้การทำงานต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขการดูแลจากหลายหน่วยงาน อาทิ ธนาคารแห่งประเทศไทย ตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทย และสำนักงานคณะกรรมการหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ทำให้ตลอดระยะหลายปีที่ผ่านมา ธนาคารทิสโก้มีนโยบายที่จะถอนตัวออกจากตลาดหลักทรัพย์ฯ และให้บริษัทโฮลดิ้ง ในฐานะบริษัทแม่เข้าไปอยู่ในตลาดแทน

แผนดังกล่าวประสบความสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรมเมื่อปี 2552 หลังจากที่ธนาคารได้ขออนุมัติกระทรวงการคลังเมื่อปี 2549

บริษัทแม่ของธนาคารทิสโก้ได้เข้าไปอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฯ ภายใต้ชื่อว่า บริษัททิสโก้ไฟแนนเชียล กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) แต่ยังคงใช้ชื่อย่อเหมือนเดิมคือ "TISCO"

หลังจากที่ธนาคารทิสโก้กลายเป็นบริษัทลูกของบริษัท ทิสโก้ไฟแนนเชียล กรุ๊ป และมีบริษัทในเครือที่อยู่ภายใต้การดูแลทั้งหมด 6 บริษัท ทำให้ธนาคารและบริษัทลูกทั้งหมดสามารถทำงานได้อย่างอิสระและเปิดทางให้พันธมิตรเข้าร่วมทุนได้ง่ายขึ้น

การปลดพันธนาการของธนาคารทิสโก้ทำให้เกิดความคล่องตัวและกำหนดทิศทางการบริหารได้เร็วขึ้น แต่การบริหาร งานภายใต้เศรษฐกิจในยามวิกฤติก็เป็นโจทย์ใหญ่ของธนาคารที่จะต้องระมัดระวัง

ธุรกิจรับฝากเงินยังดำเนินงานไปอย่างปกติที่ต้องบริหารงานภายใต้ดอกเบี้ย ที่ขึ้นลงอย่างผันผวน

ธนาคารทิสโก้จึงหันมาใช้จุดแข็งที่ตัวเองมีอยู่คือการให้สินเชื่อบริการระบบเช่าซื้อที่มีประสบการณ์กว่า 30 ปี ด้วยจุดแข็งที่มีผนวกกับแนวคิดที่ธนาคารจะเติบโต ในรูปแบบ Inorganic growth

ธนาคารตัดสินใจเข้าไปซื้อธุรกิจ 2 แห่งในเดือนธันวาคม 2551

แห่งแรกเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2551 เข้าซื้อกิจการของบริษัท ไพรมัส ลีสซิ่ง จำกัด ผู้ให้บริการเช่าซื้อของบริษัท ฟอร์ด เครดิต อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ที่ให้บริการสินเชื่อแก่ผู้จำหน่ายรถยนต์และผู้ซื้อ รถยนต์ฟอร์ด มาสด้า และวอลโว่ในประเทศไทย

จากนั้นเมื่อปลายเดือนธันวาคม ธนาคารเข้าไปซื้อหุ้นในบริษัท โตเกียว ลิสซิ่ง (ไทยแลนด์) จำกัด ร้อยละ 49 จึงทำให้ธนาคารกลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่

หลังจากที่ธนาคารทิสโก้เข้าซื้อกิจการบริษัท ไพรมัสฯ และบริษัท โตเกียว ลิสซิ่งฯ ทำให้บริษัทคาดการณ์ว่าธุรกิจของบริษัทจะเติบโตโดยรวมเป็น 18% โดย 10% เติบโตโดยปกติ และอีก 8% โตจากการเข้าซื้อกิจการ

การเติบโตของธุรกิจ Inorganic growth ไม่ได้เกิดขึ้นที่ธนาคารทิสโก้เพียงแห่งเดียว แต่ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) ในฐานะธนาคารที่มีสินทรัพย์เป็นอันดับ 5 ก็ได้เข้าไปซื้อกิจการ 2 แห่งเช่นเดียวกันคือ ธนาคารเอไอจี เพื่อรายย่อย จำกัด (มหาชน) และบริษัท เอไอจีคาร์ด (ประเทศไทย) จำกัด ในราคารวมประมาณ 2,055 ล้านบาท

ธนาคารและบริษัทดังกล่าวอยู่ในเครือของบริษัท อเมริกัน อินเตอร์แนชชั่น แนล กรุ๊ป อิงค์ ที่บริษัทแม่ในสหรัฐอเมริกา ประสบปัญหาทางด้านการเงินจากวิกฤติการเงินภายในประเทศจนทำให้รัฐบาลต้องเข้ามาช่วยเหลือเมื่อปลายปีที่ผ่านมา

ธนาคารกรุงศรีอยุธยาซื้อบริษัทและธนาคารดังกล่าวในราคา 2,055 ล้านบาท คนในวงการบางคนก็บอกว่า "ถูก" แต่บางคนก็บอกว่า "แพง"

แต่ในมุมมองของธนาคารกรุงศรี อยุธยาเงินที่ซื้อกิจการทั้ง 2 แห่งถือว่าคุ้มค่า เพราะสอดรับกับยุทธศาสตร์ของธนาคารที่ต้องการฐานลูกค้าของเอไอจีมาขยายธุรกิจการเงินเพื่อรายย่อย

การเข้าซื้อกิจการสองบริษัทในครั้งนี้ จะทำให้ธนาคารกรุงศรีอยุธยามีสินทรัพย์เพิ่มขึ้นประมาณ 32,000 ล้านบาท จาก 745,000 ล้านบาท เป็นประมาณ 777,000 ล้านบาท และส่งผลให้ฐานสินเชื่อรายย่อยของธนาคารเพิ่มขึ้น 14% และจำนวนบัตร เครดิตเพิ่มขึ้นประมาณ 222,000 บัตร

ฐานลูกค้าที่ธนาคารกรุงศรีอยุธยาได้มาจากทั้งสองบริษัทจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของฐานลูกค้าเพื่อให้บริการธุรกิจสินเชื่อรถยนต์เพราะที่ผ่านมาธุรกิจสินเชื่อรถยนต์มีสัดส่วน 18% ของสินเชื่อทั้งหมดของธนาคาร

การใช้ยุทธศาสตร์ Inorganic growth ของธนาคารทิสโก้และธนาคารกรุงศรีอยุธยาคือการขยายฐานลูกค้าให้ได้มากที่สุด

ธนาคารกรุงศรีอยุธยามุ่งเน้นเพิ่มฐานลูกค้ารายย่อยเป็นหลัก ในขณะที่ทิสโก้ เน้นไปที่ขยายฐานลูกค้า 2 ส่วนคือฐานลูกค้ารายย่อยและฐานลูกค้าองค์กร

การเน้นฐานลูกค้ารายย่อยของธนาคารกรุงศรีอยุธยาเพื่อรองรับแนวคิดที่จะเป็นธนาคารให้บริการครบวงจร หรือ Universal banking ส่วนธนาคารทิสโก้ที่ยึดฐานลูกค้าองค์กรและลูกค้ารายใหญ่ก็ยังให้ความสำคัญลูกค้าองค์กรแต่ธนาคารก็เริ่มหันไปเน้นลูกค้ารายย่อยเพิ่มมากขึ้น

แม้ว่าธนาคารทิสโก้จะเป็นธนาคารขนาดเล็กแต่ก็มีความพยายามที่จะให้บริการ ทางด้านการเงินในรูปแบบครบวงจร

นโยบายของธนาคารทิสโก้ที่เน้นให้ บริการรายย่อยเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จะเห็น ได้จากการที่ธนาคารโปรโมตให้ศักดิ์ชัย พีชะพัฒน์ ขึ้นดำรงตำแหน่งรองกรรมการอำนวยการ บมจ.ธนาคารทิสโก้ เพื่อดูแลผลิตภัณฑ์ สินเชื่อรายย่อยและธุรกิจร่วมทุน เมื่อต้นปีที่มา

ซึ่งศักดิ์ชัยเป็นผู้บริหารที่ร่วมงานกับธนาคารมาร่วม 16 ปี ทำให้เขาเห็นยุทธศาสตร์การบริหารของธนาคารได้อย่างชัดเจน

การเข้าซื้อกิจการบริษัท ไพรมัส แสดงให้เห็นว่าธนาคารทิสโก้ให้ความสำคัญกับลูกค้ารายย่อย เพราะเป็นการให้บริการสินเชื่อรถยนต์ที่มีระยะสั้น

ธุรกิจลีสซิ่งของไพรมัสที่กลุ่มทิสโก้เข้าซื้อกิจการมีลูกค้าโดยรวม 26,600 ราย และมีผู้จำหน่าย 138 ราย

หากพิจารณาในด้านของกลยุทธ์ธนาคารทิสโก้สามารถให้สินเชื่อโดยตรงกับลูกค้ารวมไปถึงบริการหลังการขายซึ่งศักดิ์ชัย ได้ยกตัวอย่างให้เห็นภาพว่า ลูกค้า บริษัท ไพรมัส เมื่อเข้าระบบธนาคารจะทำให้การผ่อนชำระค่างวดง่ายขึ้น มีค่าใช้จ่ายถูกลงโดยลูกค้าไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม และสามารถจ่ายทางไปรษณีย์จำนวน 1,200 แห่งทั่วประเทศ

ซึ่งช่องทางการให้บริการดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งที่ให้บริการสินเชื่อกับลูกค้าระบบเช่าซื้อรถยนต์จำนวน 555,078 ราย

เป้าหมายขยายฐานไปยังกลุ่มลูกค้า ใหม่ๆ ที่เป็นกลุ่มลูกค้าองค์กรเป็นส่วนหนึ่ง ที่ทำให้ธนาคารทิสโก้เข้าไปซื้อกิจการ

บริษัท โตเกียว ลิสซิ่งฯ ซึ่งเป็นผู้ให้บริการลิชซิ่งเป็นอันดับที่ 3 ในญี่ปุ่น

บริษัท โตเกียว มีฐานลูกค้าญี่ปุ่น 90% ในเมืองไทยได้ช่วยขยายฐานลูกค้าใหม่ๆ ที่จะช่วยให้ธนาคารให้บริการสินค้า และบริการที่อยู่ภายใต้การดูแลของธนาคาร และบริษัทในเครือต่อไปในอนาคต

บริษัท โตเกียว ลิสซิ่งฯ ได้เปลี่ยนชื่อเป็นบริษัท ทิสโก้ โตเกียว ลิสซิ่ง จำกัด และเป็นบริษัทลูกของบริษัท ทิสโก้ไฟแนน เชียล กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)

บริษัท ทิสโก้ โตเกียว ลิสซิ่งมีหน้าที่ให้บริการสินเชื่อลีสซิ่ง (Financial Lease and Operating Lease) สำหรับสินทรัพย์ ประเภทเครื่องจักรเพื่อการพาณิชย์ รถโฟล์ค ลิฟต์ คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์สำนักงาน รถยนต์และรถบรรทุกเพื่อใช้ในกิจการ รวมถึงการให้บริการประกันภัยทรัพย์สินที่ให้สินเชื่อให้แก่ลูกค้านิติบุคลทั้งไทยและต่างประเทศ

ปัจจุบันมีผู้ถือหุ้นหลัก 4 ราย ได้แก่ บริษัท ทิสโก้ไฟแนนเชียล กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เป็นบริษัทแม่ของกลุ่มธนาคารทิสโก้ ในสัดส่วนร้อยละ 49%, บริษัท โตเกียว ลิสซิ่ง จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในเครือ ของกลุ่มทุนมิซูโฮ ประเทศญี่ปุ่น ในสัดส่วน ร้อยละ 44%, บริษัท เซ็นจูรี่ ลีสซิ่ง ซิสเต็มส์ อินคอร์ปอเรชั่น จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในเครือ ของกลุ่มทุนมิซูโฮ ประเทศญี่ปุ่น ในสัดส่วน ร้อยละ 5% และบริษัท สมโพธิ์ แจแปน เซอร์วิส (ประเทศไทย) จำกัด ในสัดส่วนร้อยละ 2%

แนวทางการบริหารงานในบริษัท ทิสโก้ โตเกียว จะแบ่งหน้าที่โดยผู้บริหารฝั่งของบริษัท โตเกียว จะนั่งในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการและมีหน้าที่หาลูกค้าญี่ปุ่น แหล่งเงินทุน ส่วนธนาคารทิสโก้หาลูกค้าคนไทยและช่วยประเมินฐานะลูกค้าที่อยู่ในเมืองไทย บริษัทดังกล่าวมี มร.คุนิอะคิ ทานาคะ เป็นกรรมการผู้จัดการ และธีรยุทธ ประเสริฐรัตนเดโช เป็นผู้จัดการทั่วไป

ในฝั่งของธนาคารกรุงศรีอยุธยาได้ให้ความสำคัญในธุรกิจเช่าซื้อรถยนต์เช่นเดียวกัน จึงทำให้ธนาคารรวมบริษัท 2 แห่งที่ให้บริการระบบเช่าซื้อรถยนต์มาไว้ด้วยกันเมื่อปลายปีที่ผ่านมา

ธนาคารได้นำบริษัท อยุธยา เช่าซื้อ จำกัด และบริษัท อยุธยา แคปปิตอล ลีส จำกัด (มหาชน) มารวมอยู่ในบริษัท อยุธยา แคปิตอล ออโต้ ลีส จำกัด (มหาชน)

บริษัท อยุธยา แคปปิตอล ออโต้ ลีส จำกัด (มหาชน) เป็นชื่อใหม่ ซึ่งก่อนหน้านั้นใช้ชื่อว่า บริษัท จีอี แคปปิตอล ออโต้ ลีส (จำกัด) มหาชน

การรวมบริษัทในเครือที่ให้บริการในรูปแบบเดียวกันธนาคารมีเป้าหมายเพื่อให้บริการในรูปแบบ "One Stop" จากเดิม ที่จะแยกให้บริการสินเชื่อรถเก่า รถใหม่

หลังจากที่รวมเป็นบริษัทเดียวทำให้ รวมบริการเข้าด้วยกันที่มีถึง 7 บริการหลัก อย่างไรก็ดี ด้วยสภาพเศรษฐกิจปัจจุบัน แม้ว่าจะมีการประเมินตลาดรถใหม่จะหดตัว 15-20% ในปีนี้ มียอดขายประมาณ 500,000 คัน แต่ยังเชื่อว่าร้อยละ 80 จะเป็น การขายโดยการให้สินเชื่อประเภทเช่าซื้อ

บริษัท อยุธยา ยังได้คาดการณ์อีกว่าตลาดรถยนต์มือสองจะยังมีช่องว่างในการทำตลาดเพราะราคาจะเหลือร้อยละ 70 เมื่อเทียบกับราคารถยนต์ใหม่

ไพโรจน์ ชื่อครุฑ กรรมการผู้จัดการ ใหญ่ บริษัท อยุธยา แคปปิตอลฯ บอกว่าในปีนี้บริษัทจะเน้นขายรถมือสองเป็นหลัก ให้บริการ 3 ประเภท อาทิ สินเชื่อรถใช้แล้ว "กรุงศรี ยูสด์ คาร์" สินเชื่อเพื่อคนมีรถ "กรุงศรี คาร์ ฟอร์ แคช" สินเชื่อประเภทรีไฟแนนซ์รถยนต์และสินเชื่อเพื่อรถบ้าน และสินเชื่อผู้ที่ต้องการซื้อรถมือสองจากเจ้าของรถโดยตรง "กรุงศรี แคช ทู คาร์"

บริษัท อยุธยา แคปปิตอลกำหนด เป้าหมายว่าในปีนี้บริษัทจะเพิ่มยอดสินเชื่อ ใหม่อีก 3,000 ล้านบาท หรือโต 3% จากปัจจุบันที่มียอดสินเชื่อรวม 97,000 ล้านบาท

และด้วยฐานลูกค้าที่มีจำนวน 600,000 ราย ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นฐานลูกค้าที่ได้มาจากการประมูลซื้อสินทรัพย์จากคณะกรรมการปฏิรูปสถาบันการเงิน (ปรส.) จึงทำให้บริษัทเป็นผู้ให้บริการอันดับ 2 ในระบบเช่าซื้อรถยนต์ของเมืองไทย

ธุรกิจระบบเช่าซื้อเป็นธุรกิจที่ปลิว มังกรกนก ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มทิสโก้ บมจ.ทิสโก้ไฟแนนเชียล กรุ๊ป กรรมการบริหาร มองว่าเป็นธุรกิจที่ดีของบริษัทในอีก 2-3 ปีข้างหน้า ทั้งนี้เพราะว่ามีคู่แข่งบางรายถอยออกจากตลาด อาทิ ธนาคารสแตนดาร์ด ชาร์เตอร์ด (ไทย) และผู้ประกอบการรายย่อยที่ไม่มีเงินทุนเพียงพอ

ทว่าคนที่มองเหมือนกับปลิว และ ศักดิ์ชัย รองกรรมการผู้อำนวยการ บมจ. ธนาคารทิสโก้ ยังมีธนาคารกรุงศรีอยุธยาที่เห็นโอกาสเช่นเดียวกัน

ธนาคารไทยพาณิชย์ก็ให้ความสนใจ ธุรกิจระบบเช่าซื้ออยู่ไม่น้อย และล่าสุดบริษัทจ้างอารยา ภู่พานิช มานั่งตำแหน่ง ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ เมื่อต้นเดือนมกราคมที่ผ่านมา

การที่ธนาคารไทยพาณิชย์เลือก อารยาเข้ามาบริหารในส่วนธุรกิจดูแลลูกค้า รายย่อยและระบบเช่าซื้อกำลังแสดงให้เห็นว่าธนาคารกำลังเดินหน้าธุรกิจเช่าซื้ออย่างเต็มที่เช่นเดียวกัน จากหลายปีที่ผ่านมาธุรกิจเช่าซื้อของธนาคารยังไม่มีความชัดเจนมากนัก

อารยามีประสบการณ์ร่วมกับธนาคารสแตนดาร์ด ชาร์เตอร์ด (ไทย) มีตำแหน่งเป็นผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ บัตรเครดิตและสินเชื่อบุคคล ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการรับผิดชอบการเติบโตของตลาดบุคคลธนกิจและได้รับการโปรโมตให้เป็นผู้บริหารไทยคนแรกที่เข้าไปร่วมงานกับฝ่ายงานบริหารในธนาคารสแตน ดาร์ด ชาร์เตอร์ด สาขาสิงคโปร์

เธอมีโอกาสร่วมงานกำหนดนโยบาย เชิงกลยุทธ์การทำธุรกิจและพัฒนา ผลิตภัณฑ์สินเชื่อบุคคล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผลิตภัณฑ์สินเชื่อไร้หลักประกัน (Unsecured Lending) อาทิ บัตรเครดิตให้กับทุกสาขาในเครือสแตนดาร์ด ชาร์เตอร์ด กรุ๊ป ที่ตั้งอยู่ใน 56 ประเทศ

อารยาเคยผ่านงานด้านการตลาดและการขายที่วาเคไทย, ธนายง และ Citibank ในตำแหน่งผู้จัดการผลิตภัณฑ์ฝ่าย Mortgage, Unsecured Lending นานถึง 4 ปี ระหว่าง 2538-2542 ก่อนที่จะย้ายมาทำงานในสแตนดาร์ด ชาร์เตอร์ด เมื่อปี 2542

ธุรกิจเช่าซื้อเป็นผลิตภัณฑ์หนึ่งของธนาคารไทยพาณิชย์ทั้งรายเล็กและรายใหญ่ที่กำลังแย่งชิงเค้กก้อนใหม่ที่ก่อนหน้านี้อาจจะมีผู้เล่นเพียงไม่กี่ราย อย่างเช่น ธนาคารเกียรตินาคิน ธนาคารธนชาต หรือธนาคารทิสโก้

ในปีนี้จะเห็นผู้เล่นที่มีมากหน้าหลายตาเพิ่มขึ้นไม่น้อย ขึ้นอยู่กับชั้นเชิงและกลยุทธ์ของแต่ละองค์กรว่าใครจะมองได้เฉียบคมกว่ากัน   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us