Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา มีนาคม 2552
หมู่บ้านปิยะมิตร: อีก 1 กลุ่มชาวจีนที่แสดงบทบาท “ลึก” แต่เงียบๆ             
โดย ปิยะโชติ อินทรนิวาส เจษฎา สิริโยทัย
 

   
related stories

หนีห่าว...สลามัท...เบตง
มังกร 5 หัวที่เบตง ฐานรากที่แน่นหนาของจีนศึกษา
เปิดประตูสู่...เบตง
สถาบันขงจื๊อเบตง ตัวช่วยทรงพลัง: WIN-WIN GAME
ติดสปริง "เบตง" โกอินเตอร์ ต้องใช้ศูนย์ภาษาเป็นฐานรอง
สามเหลี่ยมจีนศึกษา IMT-GT

   
www resources

โฮมเพจ จังหวัดยะลา

   
search resources

Tourism
เทศบาลเมืองเบตง จังหวัดยะลา




บนเทือกเขาสูงชัน ถนนที่คดเคี้ยวลัดเลาะไปตามไหล่เขา ทั้งคนขับและผู้โดยสาร หากได้มองออกไปนอกหน้าต่างรถ อาจรู้สึกเสียวสันหลังวูบ...!!!

เพราะภาพที่เห็นเบื้องล่างเป็นหน้าผาที่ลึกชันลงไปจนมองเห็นถนนที่เพิ่งผ่านพ้นมา เป็นเพียงเส้นด้ายเส้นเล็กๆ

ที่ปลายสุดของถนนเส้นนี้ กินระยะทางบนภูเขาประมาณ 15 กิโลเมตร อยู่ห่างจากตัวเมืองเบตงออกไป 19 กิโลเมตร เป็นที่ตั้งของหมู่บ้านปิยะมิตร 2 ที่ผู้มาเยือนต้องตะลึงไปกับความสวยงามของแปลงปลูกไม้ดอกเมืองหนาว ที่กินเนื้อที่กว้างเกือบ 10 ไร่

ความงามของแปลงดอกไม้ ทำให้ลืมความหวาดเสียวช่วงนั่งรถขึ้นเขาไปได้โดยปริยาย

หมู่บ้านปิยะมิตร ถือเป็นชุมชนชาวจีนอีกกลุ่มหนึ่ง ซึ่งได้แสดงบทบาทเชิงลึก แต่เงียบๆ ให้กับประชาคมเมืองเบตงมาหลายทศวรรษ

ชาวจีนที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านนี้เป็นผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย เป็นรุ่นลูกรุ่นหลานของกลุ่มคนที่เคยเคลื่อนไหวในนาม "พรรคคอมมิวนิสต์มลายา" ที่เริ่มจากกลุ่มคนจีนที่จับอาวุธมาต่อสู้ห้ำหั่นอย่างดุเดือด กับทหารญี่ปุ่นที่เข้ายึดครองพื้นที่ไว้ในปี ค.ศ.1943

หลังจากนั้น เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลง คนกลุ่มนี้ก็ยังไม่ยอมรับการกลับเข้ามาปกครองอาณานิคมของอังกฤษ ตลอดจนมีความขัดแย้งกับรัฐบาลของชาวมาเลย์ที่ถูกจัดตั้งขึ้นในภายหลัง

อย่างไรก็ตาม การที่เป็นเพียงชนกลุ่มน้อยของประเทศมาเลเซีย ที่ได้รับเอกราชหลังสงคราม ทำให้พรรคคอมมิวนิสต์มลายา ต้องถูกกดดันจากรัฐบาลอย่างหนัก จนต้องเปลี่ยนยุทธวิธีมาสู้รบบนป่าเขาที่อยู่ตามแนวตะเข็บชายแดนไทย-มาเลเซีย

เล่ากันว่า พรรคคอมมิวนิสต์มลายาเป็นกลุ่มทหารที่ชำนาญในการต่อสู้ ยิ่งเมื่อได้เข้าไปอยู่ในป่าลึกตามภูเขา ทำให้กองกำลังต่างๆ ที่เป็นฝ่ายตรงข้ามต้องขยาดพอสมควร หากต้องเผชิญหน้ากับทหารของพรรคคอมมิวนิสต์มลายาโดยตรง

ต่อมาเมื่อสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองเปลี่ยนแปลงไป คนกลุ่มนี้ยอมวางอาวุธเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร เปลี่ยนสถานะกลายเป็น "ผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย"

ปัจจุบันรุ่นลูกรุ่นหลานของอดีตพลพรรคคอมมิวนิสต์มลายาได้รับสัญชาติไทย มีบัตรประจำตัวประชาชนกันทุกคน

สถานที่ซึ่งเป็นที่ตั้งของหมู่บ้านปิยะมิตร ก็คือพื้นที่ดั้งเดิมที่คนรุ่นแรกๆ ในกลุ่มนี้ใช้เป็นค่ายพักอาศัยในช่วงที่ยังจับอาวุธต่อสู้

ทางการไทยได้เข้ามาช่วยพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน โดยการก่อสร้างถนนเพื่อให้การเดินทางสัญจรมีความสะดวกยิ่งขึ้น ตลอดจนนำไฟฟ้าเข้าไปจนถึงหมู่บ้าน

ด้วยความที่เป็นชุมชนที่ตั้งอยู่บนเทือกเขาสูง ทำให้ทางการไทยมองเห็นแนวทางพัฒนาอาชีพให้กับกลุ่มผู้ร่วมพัฒนาชาติไทยเหล่านี้ โดยการสร้างจุดขายทางด้านการท่องเที่ยวให้กับหมู่บ้านต่างๆ

หมู่บ้านปิยะมิตร 1 เป็นค่ายยุทธศาสตร์เดิม มีการเจาะอุโมงค์เข้าไปในภูเขาลึกเกือบ 1 กิโลเมตร ภายในอุโมงค์ มีทั้งห้องวางแผนยุทธศาสตร์ ห้องพยาบาล ห้องพัก ห้องอาหาร และห้องพักผ่อนหย่อนใจของพลพรรคคอมมิวนิสต์มลายา

ปัจจุบันอุโมงค์แห่งนี้ได้รับการพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวขึ้นชื่อของทางจังหวัดในนามอุโมงค์ปิยะมิตร โดยผู้ที่ดูแลและได้รับรายได้จากการเข้าชมคือบรรดาลูกหลานที่เปลี่ยนมาเป็นผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย

หมู่บ้านปิยะมิตร 2 ซึ่งอยู่ห่างจากอุโมงค์ปิยะมิตรขึ้นไปบนเขาสูงอีกประมาณ 6 กิโลเมตร ด้วยความที่เป็นหมู่บ้านในหุบยอดเขา สูงจากระดับน้ำทะเล 800 เมตร ติดแนวสันปันน้ำที่ใช้เป็นเส้นแบ่งเขตแดนระหว่างไทยและมาเลเซีย

ในปี พ.ศ.2537 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี มีพระราชดำริให้พัฒนาหมู่บ้านแห่งนี้เป็นหมู่บ้านไม้ดอกไม้ประดับเมืองหนาว โดยหน่วยงานรัฐได้ให้ การสนับสนุนด้วยการสร้างถนน ต่อไฟฟ้า ประปาเข้าไปถึงหมู่บ้าน

ทุกวันนี้ นอกจากหมู่บ้านปิยะมิตร 2 จะเป็นแหล่งผลิตดอกเบญจมาศรายใหญ่ ที่ป้อนให้กับตลาดทั้งในกรุงเทพฯ หาดใหญ่ และเบตงแล้ว ยังกลายเป็นรีสอร์ตที่พักสำหรับนักท่องเที่ยวที่นิยมธรรมชาติและความสวยงาม มาเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจเป็นประจำ โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวชาวจีนที่เดินทางมาจากฝั่งมาเลเซีย

นอกจากหมู่บ้านปิยะมิตร 1 และ 2 แล้ว ด้วยความที่กลุ่มคนจีนเหล่านี้อาศัยอยู่ในป่าลึกมาเป็นเวลานาน ทำให้มีความชำนาญในเรื่องแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติตลอดจนแหล่งสมุนไพร

"บ้านบ่อน้ำร้อน" เป็นอีกตัวอย่างหนึ่ง โดยกลุ่มคนจีนที่ได้เข้ามาอาศัยอยู่ในพื้นที่ เมื่อหลาย 10 ปีก่อน ได้ค้นพบว่ามีลำธารที่มีความร้อน จึงได้เดินสำรวจขึ้นไปตามแนวลำธาร จนพบแอ่งน้ำร้อน และได้นำมาอาบเพื่อบรรเทาความหนาวเย็น แต่ปรากฏว่าน้ำร้อนจากแอ่งนี้ช่วยรักษาโรคผิวหนังได้ เมื่อมีการพูดกันปากต่อปากจนเป็นที่รู้จัก ทำให้มีผู้คนอพยพเข้ามาอยู่อาศัยรวมกลุ่มกันตั้งเป็นชุมชน

"เห็ดหลินจือ" เป็นอีกผลผลิตหนึ่งที่ถูกค้นพบจากกลุ่มคนจีนเหล่านี้ เห็ดหลินจือจากเบตงขึ้นชื่อว่าเป็นเห็ดหลินจือ คุณภาพขั้นเทพ และมีผู้คนที่ดั้นด้นมาจากแดนไกล เดินทางเข้ามาในพื้นที่เพื่อหาซื้อเห็ดหลินจือและสมุนไพรอื่นๆ จากที่นี่ เพื่อนำไปใช้เป็นยารักษาโรค

ทั้งหมู่บ้านปิยะมิตร 1, 2 และบ้านบ่อน้ำร้อน เป็นเพียงตัวอย่างของชุมชนชาวจีน 3 แหล่ง ที่เป็นรุ่นลูกรุ่นหลานของอดีตพลพรรคคอมมิวนิสต์มลายาที่เข้ามาอาศัยพระบรมโพธิสมภาร เปลี่ยนบทบาทตนเองเป็นผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย

แต่ด้วยความที่เบตงเป็นเมืองที่ตั้งอยู่ท่ามกลางหุบเขาน้อยใหญ่รายล้อมอยู่รายรอบ บนเทือกเขาเหล่านี้ยังมีชุมชนในลักษณะเดียวกับหมู่บ้านปิยะมิตรซ่อนอยู่ในอีกหลายๆ จุด มีชื่อเรียกขานต่างๆ กัน อาทิ หมู่บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา ฯลฯ

แม้ว่าจะเป็นคนเชื้อสายจีนเช่นกัน แต่คนจีนที่เป็นผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย ลูกหลานของอดีตพลพรรคคอมมิวนิสต์มลายาที่อาศัยอยู่ตามหมู่บ้านบนเทือกเขารอบเมืองเบตงเหล่านี้ยังไม่ได้เข้าไปรวมกลุ่ม หรือทำกิจกรรมร่วมกับสมาคมชาวจีนต่างๆ ในตัวเมือง

แต่สายสัมพันธ์ลึกๆ แล้ว เชื่อว่าคงต้องมีการปฏิสัมพันธ์กันบ้างไม่มากก็น้อย

ชุมชนชาวจีนบนเทือกเขายินดีที่จะทำธุรกิจอยู่เงียบๆ ในพื้นที่ แต่มีโครงข่ายธุรกิจที่กว้างไกล

ปัจจุบันพ่อค้าชาวจีนซึ่งเป็นลูกหลานของพลพรรคคอมมิวนิสต์มลายา หลายคนกลายเป็นผู้ที่มีบทบาทอยู่ในธุรกิจส่งออกอาหาร สมุนไพร ตั้งแต่หาดใหญ่ขึ้นไปจนถึงกรุงเทพฯ

และด้วยความที่เป็นลูกหลานของทหารเก่าที่มีความชำนาญในการต่อสู้ ชุมชนของผู้ร่วมพัฒนาชาติไทยเหล่านี้จึงเป็นเสมือนหน่วยยามที่คอยเฝ้าระวังภัย มิให้มีอันตรายกล้ำกลายเข้าไปถึงคนที่อาศัยอยู่ในตัวเมืองเบตง

โดยเฉพาะตามแนวทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 410 ที่วิ่งมาจากยะลา ช่วง 4-5 กิโลเมตร ก่อนเข้าสู่ตัวเมืองเบตง มีคนจากชุมชนเหล่านี้กระจายลงจากเขา ออกมาสร้างบ้านเรือนไว้เป็นจุดๆ   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us