Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา มีนาคม 2552
มังกร 5 หัวที่เบตง ฐานรากที่แน่นหนาของจีนศึกษา             
โดย ปิยะโชติ อินทรนิวาส เจษฎา สิริโยทัย
 

   
related stories

หนีห่าว...สลามัท...เบตง
เปิดประตูสู่...เบตง
สถาบันขงจื๊อเบตง ตัวช่วยทรงพลัง: WIN-WIN GAME
ติดสปริง "เบตง" โกอินเตอร์ ต้องใช้ศูนย์ภาษาเป็นฐานรอง
สามเหลี่ยมจีนศึกษา IMT-GT
หมู่บ้านปิยะมิตร: อีก 1 กลุ่มชาวจีนที่แสดงบทบาท “ลึก” แต่เงียบๆ

   
search resources

Education
มูลนิธิอำเภอเบตง
โรงเรียนจงฝามูลนิธิ




บริเวณลานด้านหน้าอาคารเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษาบรมราชินีนาถ บนเนินเขาสูงด้านตะวันตกของเมือง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่โครงการจัดตั้งสถาบันส่งเสริมและพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษาเพื่อการขยายโอกาสสู่การเป็นมหาวิทยาลัยนานาชาติ

ณ จุดนี้หากมองลงไปยังตัวเมืองเบตงก็จะสามารถจินตนาการได้ว่า มีมังกรตัวโตนอนทอดร่างสงบนิ่งอยู่ในแอ่งกระทะ ซึ่งล้อมรอบไปด้วยขุนเขาเสียดแทงยอดสลับซับซ้อน

มังกรตัวนี้มี 5 หัว...?!

เป็นที่รับรู้กันว่า มนตร์เสน่ห์เมืองแห่งการท่องเที่ยวชายแดนของเบตงอยู่ที่วิถีชีวิตของผู้คนที่แสดงถึงความเป็นจีนไว้เกือบจะทุกกระเบียด แถมภาษาที่ผู้คนใช้สื่อสารกันส่วนใหญ่ก็เป็นภาษาจีน

จึงไม่แปลกที่สิ่งที่เทศบาลร่วมกับชาวเมืองเบตงปลุกปั้นแผ่นดินนี้ให้เป็นศูนย์กลางการศึกษาระดับนานาชาติมาหลายปีแล้วนั้น โดยมีสิ่งที่โดดเด่นที่สุดอยู่ที่ความเป็น "ศูนย์กลางจีน ศึกษา"

แม้สภาพทางสังคมของเมืองเบตงจะประกอบด้วย 2 กลุ่มชนใหญ่ที่มีสัดส่วนใกล้เคียงกันคือ คนไทยที่นับถือศาสนาอิสลามประมาณร้อยละ 51 ส่วนคนไทยที่นับถือศาสนาพุทธ และคนไทยเชื้อสายจีนมีประมาณร้อยละ 47 ที่เหลือเป็นกลุ่มคนไทยนับถือคริสต์และฮินดูประมาณร้อยละ 2 จากประชากรรวมกว่า 5 หมื่นคน

ทว่า ความเข้มแข็งของชุมชนชาวไทยเชื้อสายจีนกลับเป็นที่ประจักษ์ ชัดยิ่งนัก

ในบรรดาพี่น้องชาวไทยเชื้อสายจีนของเบตงมีหลายแซ่หลากเชื้อชาติ โดยเกือบทั้งหมดเป็นผู้อพยพจากหลายๆ มณฑลของจีนแผ่นดินใหญ่เมื่อนับร้อยปีมาแล้วและเข้าสู่เมืองเบตง ใน 2 เส้นทางหลักคือ ผ่านภูมิภาคอื่นๆ ของแผ่นดินไทย กับผ่านมาทางผืนแผ่นดินของประเทศมาเลเซีย

ความที่สภาพภูมิศาสตร์ของเบตงเป็นเมืองในหุบเขา แถมยังตั้งอยู่ใต้สุดสยาม ชายแดนไทย-มาเลเซีย ซึ่งห่างไกลและไปมาหาสู่กับอำเภออื่นๆ และตัวจังหวัดยะลาได้ยากลำบาก วัฒนธรรมและประเพณีจีนในเบตงจึงยังคงความหลากหลายที่เป็นอัตลักษณ์ของแต่ละกลุ่มชน แต่ก็สามารถหลอมรวมจนสะท้อนถึงความเป็นจีน ที่เป็นเอกลักษณ์แห่งเมืองในหุบเขาแห่งนี้

ปัจจุบันคนไทยเชื้อสายจีนในเบตงมีการรวมตัวกันก่อตั้งเป็นมูลนิธิหรือสมาคมแล้วถึง 5 องค์กร ประกอบด้วย บำเพ็ญบุญ มูลนิธิ (กวางไส), สมาคมกว๋องสิ่ว เบตง, สมาคมบำรุงราษฎร์ (แต้จิ๋ว) เบตง, สมาคมฮากกา และสมาคมฮกเกี้ยน

แล้วทั้ง 5 มูลนิธิหรือสมาคมจีนเหล่านี้ก็ได้ผูกร้อยรวมตัวกันเป็นหนึ่งเดียว ภายใต้ป้ายยี่ห้อของมูลนิธิอำเภอเบตงอีกทอดหนึ่ง โดยแต่ละมูลนิธิหรือสมาคมจะส่งตัวแทน ซึ่งก็คือประธานหรือนายกสมาคม กับระดับรองเข้ามาร่วมเป็นคณะกรรมการบริหารมูลนิธิ

ส่วนตำแหน่งประธานคณะกรรมการบริหารมูลนิธิก็ใช้วิธีสับเปลี่ยนหมุนเวียนกันไประหว่างประธานหรือนายกสมาคมต่างๆ ภายใน 5 องค์กรดังกล่าว โดยมีวาระคราวละ 2 ปี ซึ่งข้อตกลงนี้ดำเนินมาแล้วถึง 48 ปีหรือรวมแล้วได้ 24 สมัย

ขุมพลังแห่งความหลากหลายที่สามารถหลอมรวมเป็นหนึ่งได้อย่างมีเอกภาพนี้เอง ซึ่งได้หนุนส่งให้แนวคิดผลักดันการพัฒนาเมืองเบตงให้เป็นศูนย์การศึกษาระดับนานาชาติ โดยใช้ความเป็นศูนย์กลางจีนศึกษาเป็นหัวหอกทะลุทะลวงจะปรากฏได้เป็นจริง

แล้วความเป็นฐานรากที่แน่นหนาในการหนุนส่งความเป็นศูนย์กลางจีนศึกษาก็ได้ปรากฏเป็นภาพแจ่มชัดแล้ว ซึ่งในวันนี้มูลนิธิอำเภอเบตงที่เกิดจากการรวมตัวของ 5 มูลนิธิ และสมาคมจีนได้เข้าไปโอบอุ้มสถาบันการศึกษา ที่เป็นเหมือนศูนย์กลางการเกี่ยวร้อยเอาพี่น้องชาวจีนเบตงไว้ด้วยกัน นั่นคือ...

โรงเรียนจงฝามูลนิธิ

อันถือเป็นโรงเรียนที่สอนภาษาจีนแห่งแรกของเบตง และในวันนี้ยังมั่นคงทำหน้าที่ได้อย่างเป็นที่ยอมรับของผู้คนทั้งสังคม โดยขยับขยายการเรียนการสอนได้อย่างครอบคลุมตั้งแต่ชั้นอนุบาลสู่ประถมศึกษา ก้าวขึ้นเป็นมัธยมศึกษาตอนต้น แล้วไปจบที่มัธยมศึกษาตอนปลายได้อย่างครบถ้วนกระบวนความ

ครบถ้วนในความเป็นพื้นฐานทางด้านจีนศึกษา ที่พร้อมจะหนุนส่งเด็กนักเรียนให้ก้าวขึ้นไปสู่ความเป็นนิสิตหรือนักศึกษาที่จะร่ำเรียนด้านจีนศึกษาในระดับอุดมศึกษาต่อไป

สำหรับโรงเรียนจงฝามูลนิธิมีชื่อสั้นๆ ว่าโรงเรียนจงฝา จัดตั้งขึ้นโดยพ่อค้าและประชาชนชาวเบตง โดยเปิดการเรียนการสอนขึ้นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2466 หรือราว 86 ปีมาแล้ว แต่มาดำเนินการให้ถูกต้องตามระเบียบของกระทรวงศึกษาธิการก็เมื่อปี พ.ศ.2492

แต่เดิมโรงเรียนจงฝาถือเป็นกิจการโรงเรียนราษฎร์ที่มีเอกชนเป็นเจ้าของ แล้วมาถูกโอนกิจการให้กับมูลนิธิอำเภอเบตงในปี พ.ศ.2511 จึงได้เปลี่ยนชื่อมาเป็นโรงเรียนจงฝามูลนิธิมาจนถึงทุกวันนี้

นับแต่เริ่มต้นเปิดการเรียนการสอนในระดับชั้นประถมปีที่ 1-4 จนล่วงเข้าปี พ.ศ.2521 จึงได้รับอนุญาตให้ขยายชั้นเรียนถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และในปีถัดมาขยายสู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

ปี พ.ศ.2530 มูลนิธิอำเภอเบตงได้แบ่งที่ดินส่วนหนึ่งของโรงเรียนจงฝามูลนิธิไปจัดตั้งโรงเรียนอนุบาลเสริมวิทย์ขึ้นมาใหม่ ซึ่งถือเป็นเหมือน 2 โรงเรียนตั้งอยู่ในที่เดียวกัน ต่อมาปี พ.ศ.2549 จึงให้ยุบโรงเรียนอนุบาลมารวมอยู่ในโรงเรียนจงฝามูลนิธิแห่งเดียว

ปี พ.ศ.2542 ได้รื้ออาคารเรียนหลังเก่าแล้วสร้างอาคารเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา เป็นอาคารขนาด 3 ชั้นรวม 39 ห้องขึ้นมาใหม่ ด้วยงบประมาณราว 50 ล้านบาท ซึ่งอาคารหลังนี้ได้ถูกตกแต่งให้เป็นเสมือนการจำลองกำแพงเมืองจีนมาไว้ที่เบตงนั่นเอง พร้อมๆ กับจัดสร้างหอประชุมขึ้นมาใหม่ด้วยงบประมาณ 16 ล้านบาท

ทั้งนี้ งบประมาณก่อสร้างปรับปรุงโรงเรียนจงฝามูลนิธิดังกล่าวนั้น 5 มูลนิธิหรือสมาคมได้ร่วมกันรับผิดชอบ โดยคราวนั้นมีคุณวุฒิ มงคลประจักษ์ เป็นโต้โผใหญ่ในฐานะ ที่นั่งเป็นประธานคณะกรรมการบริหารมูลนิธิอำเภอเบตง

ดังนี้แล้วมังกรเบตงที่มีอยู่ 5 หัว จึงเป็นอีกหนึ่งกลไกสำคัญยิ่งที่จะค้ำชูและเกื้อหนุนให้เกิดศูนย์กลางการศึกษานานาชาติขึ้นที่เบตงอย่างแท้จริง   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us