ถ้าถามว่า ทำไมการที่บริษัทอาปิโก ไฮเทค ได้เข้าไปซื้อหุ้นทั้งหมดในบริษัทแพริช
สตรัคเชอรัล โปรดัคส์ (ประเทศไทย) : PSPT จากบริษัทดาน่า คอร์ปอเรชั่น สหรัฐอเมริกา
จึงเป็น deal ที่ เย็บ ซู ชวน ประธานกรรมการบริหารอาปิโกภูมิใจมากที่สุด
คำตอบจะมีอยู่ 2 ประการ
ประการแรก deal นี้ อาปิโกเป็นฝ่ายถูกเลือก เพราะผู้มีอำนาจในการพิจารณาว่าจะให้ใครเข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่รายใหม่ใน
PSTP ไม่ใช่แค่ดาน่า ผู้ถือ หุ้นเดิมเพียงฝ่ายเดียว แต่น้ำหนักของการตัดสินใจอยู่ที่บริษัทอีซูซุ
มอเตอร์ ประเทศญี่ปุ่น เนื่องจาก PSTP เป็นผู้ผลิตโครงรถกระบะอีซูซุ ดีแมกซ์
เพียงรายเดียวในประเทศไทย ที่ผลิตป้อนให้โรงงานของอีซูซุ (ประเทศไทย) และโรงงานของบริษัทเจเนอ
รัล มอเตอร์
ข่าวที่ดาน่าจะถอนตัวจาก PSPT ได้ ปรากฏออกมาตั้งแต่ต้นปี 2546 มีผู้ผลิตชิ้นส่วนในประเทศหลายรายเสนอตัวขอซื้อหุ้นต่อ
เพราะโรงงานนี้มีตลาดที่แน่นอน อยู่แล้วคือ อีซูซุ ซึ่งเป็นเจ้าตลาดรถกระบะ
ในไทย และยังมีแผนว่าจะใช้ไทยเป็นฐานในการส่งออก
อาปิโกก็เป็น 1 ในผู้เสนอขอซื้อหุ้น โรงงานแห่งนี้
ที่สำคัญแม้อาปิโกจะก่อตั้งมาแล้วเป็นเวลาหลายปี แต่ไม่เคยทำธุรกิจร่วมกับอีซูซุ
มาก่อน สัญญาแรกที่อาปิโกได้ รับจากอีซูซุในการเป็นผู้ผลิต ชิ้นส่วนให้ เพิ่งเซ็นไปเมื่อเดือน
มกราคม 2543 และเพิ่งมีการส่งมอบสินค้า ล็อตแรกไปเมื่อเดือนพฤษภาคม 2545
ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องของสายสัมพันธ์ที่ เป็นเหตุผลให้อีซูซุเลือกอาปิโก
เย็บเชื่อว่า มีเหตุผลมา จากคุณภาพของผลงานของอาปิโกล้วนๆ
"ก่อนที่อีซูซุจะตัดสินใจ เขาได้ส่งตัวแทนมาเยี่ยมชมโรงงาน ดูกระบวนการผลิตทั้งหมดของเราก่อน
จึงค่อยประกาศออกมาว่าเราเป็นผู้ที่เขาเลือก"
เหตุผลอีกประการหนึ่ง ก็คือผู้ถือหุ้นเดิมของ PSPT คือดาน่า ซึ่งเป็นบริษัทของสหรัฐอเมริกา
ซึ่งเย็บเคยมีประสบการณ์ที่ฝังใจเขาอยู่นานมากในการทำธุรกิจกับชาวอเมริกัน
เย็บเข้ามาทำธุรกิจในประเทศไทย ตั้งแต่เมื่อปี 2528 โดยตั้งบริษัทนิวเอร่าเป็นตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ฟอร์ดในประเทศไทย
แต่การเป็นตัวแทนจำหน่ายของฟอร์ดในช่วงนั้น เขากลับไม่ได้รับความช่วยเหลืออะไรจากฟอร์ดในสหรัฐอเมริกา
ซึ่งเป็นบริษัทแม่
"ช่วงนั้นสงครามในเวียดนามเพิ่งยุติได้ไม่กี่ปี พวกอเมริกันเขายังกลัวอยู่
จึงไม่สนใจประเทศไทยเลย พอเราเอาฟอร์ดเข้ามาขาย เขาก็ไม่สนใจจะช่วย เราก็ต้อง
ทนทำตลาดด้วยตัวเองอยู่หลายปี”เขาระลึก ถึงความหลัง
นอกจากนั้นครั้งหนึ่งเขาเคยมีกิจการที่ร่วมทุนกับชาวอเมริกัน ชื่อบริษัทอาร์วิน
เป็นโรงงานผลิตท่อไอเสียส่งให้โรงงานออโต อัลไลน์แอนซ์ ที่ฟอร์ดเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่
แต่เขาต้องขายบริษัทนี้ไปช่วงที่เกิดวิกฤติค่าเงินบาท
ดังนั้นเมื่อเขามีโอกาสซื้อกิจการจากบริษัทอเมริกันอีกครั้ง เขาจึงมีแรงจูงใจมากเป็นพิเศษ
"ผมมองว่าถ้าบริษัทไทยสามารถซื้อบริษัทอเมริกันได้ ก็ถือเป็นกำลังใจ เป็น
reverse globalization แสดงให้เห็นถึงความพยายามของคนไทยที่ใจสู้"