Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มกราคม 2544








 
นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2544
โมบายอินเทอร์เน็ต             
 

   
related stories

ตลาดมือถือร้อนๆ

   
search resources

แอดวานซ์ อินโฟร์เซอร์วิส, บมจ.
โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น, บมจ.
Telenor
อาภัทรา ศฤงคารินกุล
WAP
djuice.co.th
mPocket4u
Mobile Phone




ในขณะที่ทั่วโลกกำลังตื่นเต้นกับบริการ i-mode ที่ทำให้ชาวญี่ปุ่นมากกว่า 3 ล้านคนสามารถเข้าสู่โลก ของอินเทอร์เน็ต เรียกดูข้อมูล เช็กราคาหุ้น เช็กอีเมล chat ถึงกัน ส่งภาพการ์ตูน ผ่านเครื่องโทรศัพท์เคลื่อนที่เครื่องเล็กๆ สีสันสดใส

ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ของไทยเอง ได้ฤกษ์เปิดตัวบริการ "โมบายอินเทอร์เน็ต" หรือ บริการที่ให้ ผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่เรียกดูข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต ผ่านเทคโนโลยี WAP (Wireless Application Protocal) อย่างเป็นทางการ

ก่อนหน้าที่จะเปิดให้บริการโมบายอินเทอร์เน็ต ผู้ให้บริการทั้งสองได้ชิมลางทดสอบตลาดด้วยการเปิดให้บริการข้อมูลมาแล้ว ผ่านบริการ "โมบายไลฟ์" เป็นบริการของเอไอเอส และบริการ "short messaging ให้บริการโดยบริษัทแทค แต่เทคโนโลยีทั้ง 2 ประเภท ก็ยังคงมีข้อจำกัดหลายอย่าง ตัวเลขผู้ใช้บริการโมบายไลฟ์ จะมีอยู่เพียงแค่ 20,000 คน จากจำนวนผู้ใช้บริการ จีเอสเอ็มทั้งหมด แต่ผู้ให้บริการทั้งสองยังคงเดินหน้าต่อไป กับการนำ WAP มาให้บริการ

บริการโมบายอินเทอร์เน็ต จะเป็นบริการที่ทำให้ ผู้ใช้สามารถรับส่งอีเมล เรียกดูข้อมูล ราคาหุ้น ดูผลฟุตบอล หางาน ดูข่าวจากทั้งใน และต่างประเทศ เล่นเกม ดูดวง ดูผลสลากกินแบ่ง ขึ้นอยู่กับว่า ผู้ใช้บริการทั้งสองจะสรรหาข้อมูล content และรูปแบบของบริการมาตอบสนองความต้องการได้มากน้อยเพียงใด ซึ่งเวลานี้มี wap site ประมาณ 7,000 แห่ง ทั้งใน และต่างประเทศ ที่ผู้ใช้สามารถเรียกดูได้

นอกจากนี้ ความพร้อมของตัวเครื่องโทรศัพท์เคลื่อนที่รุ่นใหม่ๆ ที่ใช้เทคโนโลยี wap จากเดิม ที่มีไม่ กี่รุ่น จะออกวางตลาดมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเครื่องโนเกีย อีริคสัน ซีเมนส์ "wap จะกลายเป็นมาตรฐานปกติของโทรศัพท์เคลื่อนที่รุ่นใหม่ๆ ที่จะออกวางตลาดในปีนี้" สุวรรณี สิงห์ฤาเดช ผู้ช่วยรองประธาน ฝ่ายสื่อสาร การตลาด บริษัทซีเมนส์ อินฟอร์เมชั่น แอนด์ คอมมูนิเคชั่นส์ จำกัด บอก

สิ่งเหล่านี้เอง ที่ทำให้เอไอเอส และแทค เชื่อว่า จะเป็นแรงผลักดัน ที่ทำให้ปริมาณความต้องการของผู้ใช้ขยายตัวมากขึ้น จากขีดความสามารถในการให้บริการข้อมูล ที่จะตอบสนองความต้องการของลูกค้า ได้หลากหลายมากกว่าบริการทางด้านเสียง

นอกจากนี้ WAP ยังเป็นก้าวแรกของการสร้างความพร้อมในการพัฒนาไปสู่ 3G เทคโนโลยี ที่ทั่วโลกกำลังให้ความสำคัญ สื่อสารด้วยภาพวิดีโอ ภาพเคลื่อนไหว เป็นสิ่งที่ผู้ให้บริการหนีไม่พ้นกับวิวัฒนาการ ในเรื่องเหล่านี้

แต่พวกเขาก็จำเป็นต้องทำการบ้านอย่างหนัก ในการสร้างวิธีคิดแบบใหม่ รูปแบบของการทำตลาดใหม่ๆ ให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้บริการของไทย ที่ยังอยู่ในขั้นเริ่มต้นของการเรียนรู้

ประเด็นของบริการโมบายอินเทอร์เน็ต ไม่ได้อยู่กับตัวเทคโนโลยี ซึ่งสามารถซื้อหาได้เหมือนๆ กัน แต่จะต้องขึ้นอยู่กับ "เนื้อหา" และวิธีคิด ที่ถือเป็นกุญแจความสำเร็จของบริการประเภทนี้ และจะสร้างความแตกต่าง ให้กับบริการ

ข้อมูลที่ผู้ใช้บริการ โมบายอินเทอร์เน็ต จะต้องเป็นข้อมูลที่ถูกพัฒนาบนภาษา WML ทำหน้าที่ในการแปลงข้อมูลให้สามารถแสดงผลบนโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้ เพราะปกติแล้ว ข้อมูลในอินเทอร์เน็ต จะใช้ภาษา HTML ดังนั้น บรรดาเจ้าของเว็บไซต์ ถ้าอยากให้บริการผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้ด้วย แทน ที่จะให้บริการจากหน้าจอพีซี หรือ โน้ตบุ๊ค ก็จะต้องแปลงข้อมูลให้เป็นภาษา WML สิ่งที่เอไอเอส และแทคต้องทำก็คือ การผลักดันให้เจ้าของ content เหล่านี้พัฒนาไปสู่การให้บริการผ่านโมบายอินเทอร์เน็ต

ไม่มีใครคาดเดาได้ว่าผู้ใช้บริการโมบายอินเทอร์เน็ตจะมากน้อยเท่าใด และชื่นชอบเนื้อหาแบบไหน ด้วยวัฒนธรรม ที่แตกต่างไม่มีหลักประกันอะไร ที่จะบอกได้ว่า การส่งตัวการ์ตูน หรือเล่นเกม ที่ให้ในบริการ i-mode จะเป็นที่ชื่นชอบของผู้ใช้ชาวไทยเหมือนกับชาวญี่ปุ่น ชื่นชอบหรือไม่

"มันเหมือนกับการจับปลา คุณต้องทอดแหไปก่อน เพื่อให้ได้ปลาตัวโต" วิเชียร เมฆตระการ ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการ สายงานวิศวกรรม บริษัท แอดวานซ์ อินโฟ เซอร์วิส บอกถึงสิ่งที่ผู้ให้บริการต้องทำ ในการแสวงหาข้อมูล

สิ่งที่เอไอเอส และแทคต้องทำ นอกเหนือไปจากการใช้ประโยชน์จากฐานข้อมูลลูกค้า โดยมีไอทีมาช่วยประมวลผลการนำซอฟต์แวร์ช่วยในการพยากรณ์พฤติกรรมการใช้งานของลูกค้ามาช่วย สิ่งที่จำเป็นมากๆ ของผู้ให้บริการ ก็คือ การแสวงหาพันธมิตรทางด้านเนื้อหาให้มากที่สุด เพื่อสนองตอบความต้องการของลูกค้า ซึ่งทั้งเอไอเอส และแทค ก็มีหลักวิธีคิดของการให้บริการที่ไม่แตกต่างกันนัก

หน้าที่ของธนา และทีมงานในฝ่าย conver-gence ก็คือ การคิดหาโมเดลทางธุรกิจของบริการ โมบายอินเทอร์เน็ต

นอกเหนือจากเนื้อหาทั่วไป เช่น ข่าว หุ้น กีฬา สิ่งที่ธนา และทีมงานต้องการทำมากกว่านั้น ก็คือ customize คือ การนำไปใช้ประโยชน์ภายในหน่วยงาน ตัวอย่าง ก็คือ การร่วมมือกับ "แอมเวย์" ก็มาจากแนว คิดเหล่านี้ บริการโมบายอินเทอร์เน็ตจะถูกนำไปใช้แก่ตัวแทนจำหน่ายของแอมเวย์ในการเช็กยอดขายของ ลูกทีม

"แอมเวย์สามารถลดค่าใช้จ่ายลงได้ ส่วนเราก็ได้ค่าแอร์ไทม์" ธนากล่าว เขาเชื่อว่า นี่คือ สูตรการร่วมมือกับ content provider ในลักษณะของการได้ประโยชน์ร่วมกันในแบบ win win

เช่นเดียวกับกรณี ที่มหาวิทยาลัยเอแบค จะให้ข้อมูลตารางเรียน และตารางวิชาแก่นักศึกษา ซึ่งนับเป็นหนึ่งในบริการ ส่วนร้านขายไก่ทอดเคเอฟซี และ ร้านอาหารเอสแอนด์พี ให้บริการแจ้งเมนูอาหาร และรับสั่งอาหารผ่านหน้าจอโทรศัพท์เคลื่อนที่ ซึ่งผู้สั่งจะได้รับส่วนลดหลังจาก ที่มีการสั่งผ่านบริการ

ธนายกตัวอย่าง สมาคมร้านทอง สามารถให้บริการข้อมูลราคาทองหรืออัตราแลกเปลี่ยน และข่าวสารแก่สมาชิกในกลุ่มผ่านโมบายอินเทอร์เน็ต เช่นเดียวกับสมาคมชาวประมง ที่ให้สมาชิกตรวจสอบราดูราคาปลาในท้องตลาด และสหกรณ์

ธนาเชื่อในโมเดลของการ ให้บริการแก่ลูกค้าแบบเฉพาะเจาะจง หรือการ customize เพราะเว็บไซต์ djuice ที่เทเล นอร์พัฒนาขึ้นมาก็มาจากหลักคิด ที่ว่านี้ ซึ่งจะมีทั้งส่วน ที่เป็นข้อมูลทั่วไป และฟังก์ชั่น ที่ให้ผู้ใช้เลือกเฉพาะแต่ข้อมูลเฉพาะ ที่ตัวเองชื่นชอบได้

"แทคเป็นเจ้าภาพให้ทุกคนลอง เพราะเมื่อมีประโยชน์ ตลาดก็จะโต หลักของเราคือ ทุกคนได้ประโยชน์ร่วมกัน มันเป็น win win" ธนาเชื่อว่า จากแรงผลักดันเหล่านี้จะทำให้ผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ wap จะมาใช้บริการโมบายอินเทอร์เน็ตมากกว่าครึ่ง

ถึงแม้ว่า ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่จะมีรายได้จากค่าแอร์ไทม์ นาทีละ 3 บาท เป็นปกติแล้วก็ตาม แต่พวกเขาก็ยังคิดหาสูตรการทำเงินจากอินเทอร์เน็ต เหมือนอย่างที่หลายประเทศทำอยู่ในเวลานี้

สำหรับอาภัทรา ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการ ส่วนงานสนับสนุนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ บริษัท เอไอเอส นอกเหนือจากดูแลระบบไอทีภายในแล้ว ภารกิจใหม่ของเธอ ก็คือ การรับผิดชอบบุกเบิกทำเว็บไซต์ mPocket4U ซึ่งเป็น portal site ให้บริการเนื้อหาต่างๆ ที่ผู้ใช้งานโมบายอินเทอร์เน็ต สามารถเข้าไปใช้งานได้โดยตรงจากเมนูบาร์ของ mPocket4U สิ่งที่เธอต้องทำต่อจากนั้น ก็คือ การวางระบบวิธีการเก็บเงิน และค่าคอมมิชชั่นจากผู้ให้บริการเนื้อหา ในการที่จะนำเว็บของพวกเขามาใช้งานบน mPocket4U เพราะพวกเขาจะเป็นด่านแรก ที่ผู้ใช้จะเข้าถึงบริการ ซึ่งเป็นโมเดลไม่ต่าง ไปจากแบบจำลอง ที่บริการ i-mode ใช้อยู่เวลานี้

เอไอเอสได้กำหนด business model 3 รูปแบบ เพื่อให้เหมาะสมกับผู้ให้บริการข้อมูลแต่ละราย

โมเดลแรก การให้ผู้ให้บริการข้อมูลนำเว็บไซต์ ที่มีอยู่เชื่อมต่อ (link) กับเว็บไซต์ mPocket4U วิธีเดียวกันกับการฝาก link ไว้กับ portal web ทั่วไป แต่ต้องเปลี่ยนเป็นภาษา wml

โมเดล ที่สอง คือ การที่เจ้าของเนื้อหาจะนำเอาเว็บไซต์มาเชื่อมโยงเข้ากับเกตเวย์ของเอไอเอส และเก็บเงินค่าเนื้อหาเอง

โมเดล ที่สาม ผู้ให้บริการเนื้อหาการลงทุนทำ เกตเวย์เอง มีระบบเก็บเงิน (billing) จะเหมาะสำหรับองค์กรขนาดใหญ่ เพราะต้องใช้เงินลงทุนสูง และอาจเป็นไปได้ยากในไทย

สำหรับผู้ให้บริการเนื้อหาส่วนใหญ่ยังอยู่ ที่โมเดลแรก เพราะทำได้เร็ว และไม่ต้องลงทุนมาก แต่โมเดลแรกจะไม่สามารถนำเว็บไซต์ไปอยู่บนเมนูบาร์ของ mPocket4U ได้เหมือนกับโมเดล ที่สอง ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้ มีโอกาสเห็นข้อมูลได้มากกว่าโมเดลแรก แต่ผู้ให้บริการข้อมูลจะต้องเสียค่าเชื่อมต่อให้กับเอไอเอสด้วย

"ถ้าเขามาอยู่บนเมนูบาร์ของเรา เราจะเอาเขาขึ้นบนเมนูบาร์ก่อน ไม่ต้องอยู่ในกล่องข้อมูล ผู้ใช้จะมีโอกาสเลือกเขาได้มากขึ้น อย่างเว็บร้านอาหาร ถ้าเขามาอยู่กับเรา เราก็เอาเขาขึ้นก่อน โอกาส ที่ลูกค้าจะสั่งซื้ออาหาร หรือจองโต๊ะก็มีมาก เป็นอีกช่องทาง ที่เขาจะมี รายได้เพิ่มขึ้น"

อาภัทรา ไม่เชื่อว่า ในอินเทอร์เน็ตจะมีข้อมูลฟรีทั้งหมด "มีข้อมูลบางอย่างไม่ฟรี เช่น ข้อมูลหุ้น หรือ รายงานผลฟุตบอล สิ่งเหล่านี้ลูกค้ามีความต้องการ

หลังจาก ที่โปรโมชั่นเก็บค่าใช้นาทีละ 1 บาทหมดลงในเดือนกุมภาพันธ์ อัตราค่าข้อมูลผู้ใช้จะต้องจ่ายจะมี ตั้งแต่ 60 สตางค์ ถึง 2 บาทต่อ 1 ข้อมูล ขึ้นอยู่กับประเภทของข้อมูล ซึ่งเป็นส่วน ที่ content provider จะเก็บกับลูกค้าโดยตรง

แรงจูงใจ ที่จะนำพาผู้บริการข้อมูลเหล่านี้มาใช้งาน mpocket4u ของเอไอเอส และใช้บริการเว็บไซต์ djuice ของแทค ก็คือ การเพิ่มเติมบริการ Location Base Service หรือบริการข้อมูลอัตโนมัติแต่ละพื้นที่ และบริการ Push service หรือบริการให้ข้อมูลตามความต้องการในรูปแบบต่างๆ

สิ่งที่เกิดขึ้นจากการบริการ location base service เหล่านี้ ก็คือ ร้านอาหาร หรือร้านขายสินค้าในห้างสรรพสินค้า จะสามารถทำกิจกรรมขายสินค้าด้วย การส่งข้อความไปยังผู้ใช้ หรือบริการแก่ผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ ที่อยู่บริเวณนั้น

ในแง่ของผู้ใช้ บริการนี้เป็นเสมือนแผนที่ให้ผู้ใช้ตรวจสอบเส้นทาง หรือสถานที่ ที่กำลังจะเดินทางไป "มันขึ้นอยู่กับว่า เราจะคิดค้นอะไรลงไปกับการใช้เทคโนโลยีเหล่านี้" ธนาบอก

กระนั้น ก็ตามในช่วงของการเริ่มต้น ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ก็ยังจำเป็นต้องลงทุนจ่ายเงินซื้อ "ข้อมูล" จากผู้ให้บริการบางราย เช่น การซื้อข้อมูลจากสำนักข่าว เว็บไซต์เกม ข้อมูลหุ้น

มีเจ้าของ content จำนวนไม่น้อยมองเห็นถึง "โอกาส" จากประโยชน์ บริการโมบายอินเทอร์เน็ต เช่น ไทเกอร์เว็บ เจ้าของเว็บไซต์ ที่ให้บริการข้อมูลสินค้าให้บริการผ่านโมบายอินเทอร์เน็ต ความมุ่งหวังของ ไทเกอร์เว็บ ซึ่งเป็นหนึ่งในพันธมิตรด้านข้อมูลของ เอไอเอส คือ การเพิ่มช่องทางใหม่ให้กับลูกค้ามากขึ้น และความสะดวก ที่ลูกค้าได้รับจากการสามารถสั่งซื้อสินค้าได้ในเวลาอันสั้น จะส่งผลต่อการลดต้นทุนสินค้า ในสต็อกลงได้

มีเว็บไซต์จำนวนไม่น้อย ที่ยังไม่สามารถหารายได้จากอินเทอร์เน็ต การทดลองเพิ่มช่องทางผ่านโมบาย อินเทอร์เน็ต พวกเขาหวังแค่ว่าจะเป็นช่องทางทำรายได้ให้พวกเขาได้บ้าง ถึงแม้ว่าจะยังเป็นแค่การคาดเดาก็ตาม

อย่างไรก็ตาม มีเจ้าของ content รายเล็กๆ บางราย อาจยังไม่ตัดสินใจ ที่จะก้าวไปกับโมบายอินเทอร์เน็ต การลงทุนซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์ และอุปกรณ์บางส่วนเพิ่มเติมทำให้พวกเขาต้องคิดหนักกับค่า content ที่เคยทดลองให้บริการผ่าน sim tool kits แล้ว บางเดือนก็ยังได้เพียงแค่ 1,000 บาท

ในด้านเทคโนโลยีเองเมื่อเทียบกับบริการ i-mode ของญี่ปุ่นแล้ว บริการโมบายอินเทอร์เน็ต ยังต้องแค่เริ่มต้นเท่านั้น เพราะผู้ใช้บริการโมบายอิน เทอร์เน็ต ที่ใช้เทคโนโลยี WAP ยังต้องเรียกสายทุกครั้ง ที่ผู้ใช้งานต้องการใช้อินเทอร์เน็ต ต่างจากผู้ใช้ i-mode ที่จะเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตตลอดเวลา ตราบ ที่ยังรับสัญญาณได้ และยังมีแบตเตอรี่เหลืออยู่

ที่สำคัญไปกว่านั้น ก็คือ WAP เกตเวย์ ที่ผู้ให้บริการทั้งสองรายให้อยู่เวลานี้ มีหลายจุดที่ทำให้การใช้งานยังไม่สมบูรณ์เท่า ที่ควร แต่ด้วยสภาพการแข่งขัน ที่ต้องช่วงชิงความเหนือกว่า ทำให้ผู้ให้บริการทั้งสองรายต้องเร่งรีบเปิดให้บริการภายในเดือนธันวาคม

"ความเร็วในการส่งข้อมูล ยังเป็นข้อจำกัดของการให้บริการ" และยังไม่รวมข้อจำกัดในเรื่องภาษา ที่ ยังเป็นอุปสรรค ที่ทำให้เกิดข้อจำกัดของการใช้งานสำหรับ ผู้บริโภคคนไทยในช่วงนี้

การลงทุนติดตั้งระบบ GPRS ที่เอไอเอส และแทคคาดว่าจะเปิดให้บริการได้ในเดือนมิถุนายนนี้ จึงถูกคาดหมายไว้ว่า จะมาอุดช่องว่างเหล่านี้ ด้วยระบบการ ส่งข้อมูลของ GPRS ที่เป็นแพ็กเกจสวิตช์ จะทำให้ความเร็วในการส่งข้อมูลเพิ่มขึ้น 9.6 กิโลไบต์ต่อวินาที เป็น 126 กิโลบิตต่อวินาที ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้สามารถเชื่อมต่อเข้าสู่บริการอินเทอร์เน็ตได้ตลอดเวลา เหมือนอย่างที่ i-mode ให้บริการอยู่ในเวลานี้

นอกจากนี้ยังทำให้การคิดค่าบริการโมบายอินเทอร์เน็ตก็จะมีความยืดหยุ่นมากขึ้น นั่นก็คือ การคิด ค่าบริการจากจำนวนข้อมูล (bit) แทน ที่จะคิดในลักษณะค่าแอร์ไทม์

อย่างไรก็ตาม พวกเขาก็ยังคงต้องรอให้มีผู้ผลิตเครื่องลูกข่ายในระบบ GPRS เริ่มออกวางตลาด ซึ่งยังอยู่ในขั้นตอนทดสอบในเชิงพาณิชย์ นั่นหมายความว่า ในช่วงแรกยังมีราคาแพงอยู่ คงต้องรออีกพักใหญ่

นักวิเคราะห์อาวุโส ในสถาบันการเงินแห่งหนึ่งเชื่อว่า บริการโมบายอินเทอร์เน็ตจะไม่มีผลต่อการขยายตัวของตลาดโทรศัพท์เคลื่อนที่ ในปี 2544 มากไปกว่าการสร้างสีสันให้กับตลาดได้บ้าง เขาเชื่อว่าความต้องการเครื่องโทรศัพท์ราคาถูก ที่ยังเป็นพื้นฐาน

"มันยังเร็วเกินไป ที่จะบอกได้ว่า มีลูกค้าใช้บริการนี้เท่าไร" ยรรยงบอก "ช่วงแรกเราต้องให้ความรู้แก่ตลาดก่อน"

ถึงแม้ว่า จะยังไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่า ปริมาณความต้องการของผู้ใช้บริการโมบายอินเทอร์เน็ตจะมีเท่าไรก็ตาม แต่สิ่งที่เอไอเอสจะทำได้เวลานี้ อาศัยบริการ "โมบายอินเทอร์เน็ต" เป็นตัวสร้างจุดขายของบริการจีเอสเอ็ม ซึ่งเอไอเอสจะใช้งบประมาณโฆษณา ปีละ 200-300 ล้านบาท

ที่สำคัญบริการโมบายไลฟ์ จะสำเร็จหรือไม่ และการแข่งขัน ที่จะรุนแรงขึ้นหรือไม่ก็ตาม แต่สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นไม่ได้ หากผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ขาดความพร้อม ทั้งในด้านของโครงข่ายการให้บริการ

"อย่าลืมว่า wap เองก็ต้องมีพื้นฐานดีด้วย ถ้าสัญญาณอ่อนใช้ไม่ได้ ก็ไม่มีประโยชน์ ถ้าอยู่ในออฟฟิศ คุณจะใช้มือถือทำไม มันเหมาะสำหรับคนที่ อยู่ไกลๆ หรืออยู่ต่างประเทศ หนีไม่พ้นเรื่องของโครงข่าย ปัจจัยความสำเร็จมันอยู่ตรงนี้" ยรรยงกล่าว

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us