Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน5 มีนาคม 2552
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพทรุด 150บริษัทจ่อเลิกกระทบลูกจ้างกว่า2.3หมื่นคน             
 


   
search resources

Economics
อารยา ธีระโกเมน




วิกฤตเศรษฐกิจพ่นพิษซัดกองทุนสำรองเลี้ยงชีพอ่วม สมาคมบลจ.เผยลูกจ้าง 2.3 หมื่นรายได้รับผลกระทบ หลังนายจ้างจ่อคิวขอยุบกองทุนเพื่อความอยู่รอดช่วงเศรษฐกิจชะลอตัวกว่า 150 บริษัท นายกสมาคมบลจ. เตรียมชงกระทรวงการคลัง งดจ่ายเงินสมทบ 1 ปี หวังลดภาระบริษัทต่อชีวิตให้กองทุน หลังยอดเดือนมกราคมขนาดทั้งอุตสาหกรรมทรุดกว่า 1.4 พันล้านบาท ด้าน"ก.ล.ต."ยันพร้อมช่วยเหลือตามหน้าที่ แต่ต้องรอพ.ร.บ.ใหม่เท่านั้น เหตุฉบับเก่าปิดช่องงดจ่ายเงินสมทบชั่วคราว

นางสาวอารยา ธีระโกเมน ประธานกลุ่มธุรกิจกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ สมาคมบริษัทจัดการลงทุน (สมาคมบลจ.) เปิดเผยว่า หลังจากวิกฤตการเงินของประเทศสหรัฐอเมริกาส่งผลลุกลามต่อระบบเศรษฐกิจทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยนั้น ปัจจุบันยังส่งผลกระทบต่อกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของบริษัทต่างๆ อีกด้วย

ทั้งนี้ นายจ้างหลายรายต้องลดกำลังการผลิต แต่ยังต้องแบกรับภาระต้นทุนในระดับสูง และต้องหาทางลดต้นทุนเพื่อความอยู่รอด ทำให้นายจ้างส่วนหนึ่งได้พยายามลดต้นทุนโดยการลดอัตราการนำส่งเงินสมทบในส่วนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

นอกจากนี้ บางส่วนที่ได้แจ้งลดอัตราการนำส่งเงินสมทบจนถึงอัตราต่ำสุดแล้ว แต่ยังมีแนวโน้มที่จะไม่สามารถรักษาสถานะของบริษัทไว้ได้ก็มีการแสดงความประสงค์ที่จะยกเลิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเพิ่มขึ้นเช่นกัน

นางสาวอารยา กล่าวอีกว่า จากการรวบรวมข้อมูลนายจ้างที่ได้แจ้งความประสงค์มายังบริษัทจัดการฯ พบว่า ณ วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2552 มีจำนวนนายจ้างที่ประสงค์จะขอหยุดนำส่งเงินเป็นการชั่วคราว และยกเลิกกองทุนสูงถึงกว่า 150 บริษัท โดยแยกเป็นหลายกลุ่มธุรกิจ ทั้งธุรกิจผลิตและขายส่ง ผลิตและแปรรูปสินค้าทางการเกษตร ชิ้นส่วนอิเลคทรอนิกส์ ขนส่ง ค้าปลีก อาหารและเครื่องดื่ม อสังหาริมทรัพย์ ฯลฯ โดยมีสมาชิกที่ได้รับผลกระทบจำนวน 23,256 คน คิดเป็นมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมทั้งสิ้นประมาณ 3,462 ล้านบาท

ทั้งนี้ สามารถแบ่งเป็นบริษัทที่ยกเลิกกองทุนไปแล้วจำนวน 20 บริษัท ซึ่งขนาดกองทุนรวม 58,699,185.82 บาท และมีสมาชิกที่ได้รับผลกระทบรวม 1,351 ราย ส่วนบริษัทที่อยู่ในระหว่างการหารือเบื้องต้นว่าจะยกเลิกกองทุนมีอยู่ทั้งสิ้น 17 บริษัท มีสมาชิก 2,639 ราย รวมเป็นขนาดกองทุนประมาณ 274,364,086.67 บาท

ขณะที่บริษัทที่กำลังอยู่ในระหว่างการหารือเบื้องต้นว่าจะขอหยุดนำส่งเงินเข้ากองทุนมีทั้งสิ้น 69 บริษัท ซึ่งมีจำนวนสมาชิกทั้งหมด 7,965 ราย และมีขนาดกองทุรวม 989,884,642.02 บาท และบริษัทที่ลดอัตราเงินนำเข้ากองทุน 13 บริษัท โดยมีสมาชิกที่ได้รับผลกระทบจำนวน 11,062 ราย และมีขนาดกองทุนประมาณ 2,116,486,395.31 บาท

โดยส่วนที่เหลือจะเป็นบริษัทที่ปิดกิจการ และบริษัทที่ตั้งกองทุนแล้วแต่ยังไม่จ่ายเงินเข้ากองทุนรวม 13 บริษัท คิดเป็นขนาดกองทุนรวมประมาณ 22,240,150.80 บาท และมีสมาชิกที่ได้รับผลกระทบ 239 ราย

นางสาวอารยา กล่าวอีกว่า เพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนของนายจ้างที่ประสบปัญหาดังกล่าว สมาคมจึงได้ทำหนังสือไปยังสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (สำนักงาน ก.ล.ต.)ในฐานะผู้กำกับดูแลธุรกิจกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ นำเสนอต่อกระทรวงการคลังพิจารณาอนุมัติให้นายจ้างที่ประสบปัญหาด้านการเงินหยุดนำส่งเงินเป็นการชั่วคราวได้เป็นระยะเวลา 1 ปี ซึ่งสำนักงาน ก.ล.ต.จะได้นำเสนอไปยังกระทรวงการคลังพิจารณาต่อไป

“ปัญหาดังกล่าวน่าจะมีแนวโน้มทวีความรุนแรงและส่งผลกระทบต่อสมาชิกกองทุนมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเงินทุนดังกล่าวเป็นเงินออมเพื่อการเกษียณอายุ ซึ่งจะเป็นแหล่งรายได้ที่สำคัญของผู้ออมในวัยชรา ลดปัญหาการพึ่งพิงผู้อื่น และแบ่งเบาภาระของรัฐบาล การที่นายจ้างไม่สามารถนำส่งเงินสมทบเข้ากองทุนจนถึงขั้นต้องยกเลิกกองทุนจะส่งผลกระทบอย่างมากต่อเงินออมเพื่อการเกษียณอายุของสมาชิกกองทุน อีกทั้งสิทธิประโยชน์ทางภาษีของเงินออมที่ควรได้รับเมื่อเกษียณอายุก็จะหมดไปด้วยเช่นกัน”นางสาวอารยากล่าว

ด้านนายประเวช องอาจสิทธิกุล ผู้ช่วยเลขาธิการอาวุโส สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เรื่องของการหยุดนำส่งเงินชั่วคราวของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพนั้น ตนเองทราบเรื่องและมีการพูดคุยกับสมาคมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพแล้ว ซึ่งเบื้องต้นคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ก.ล.ต.)ตามหน้าที่นายทะเบียนของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หากนายจ้าง หรือลูกจ้างประสบปัญหา ก.ล.ต.จะเป็นผู้รวบรวมเรื่องทั้งหมดเพื่อนำเสนอให้กระทรวงการคลังพิจารณาว่าจะมีมติให้แก้ไขอย่างไรต่อไป โดยก.ล.ต.จะไม่มีอำนาจในการตัดสินใจได้ด้วยตนเอง

"ตอนนี้ยังไม่มีหนังสือมาถึงเรา แต่มีการพูดคุยกันมาบ้างแล้ว โดยในทางปฏิบัติตามกระบวนการ หน้าที่ของก.ล.ต.คือนายทะเบียน ซึ่งหากใครเดือดร้อนเราจะรับฟังและไม่ปิดกั้น ซึ่งหลังจากนี้หากมีหนังสือเข้ามาเราจะต้องนำเสนอต่อทางกระทรวงการครั้งตามขั้นตอน และเชื่อว่าคงใช้เวลาไม่นานนัก โดยก.ล.ต.มีความยินดีที่จะเข้าพบกระทรวงการคลังพร้อมกับทางสมาคมฯ หากต้องการความช่วยเหลือหรือมีปัญหาอะไรอยู่แล้ว"นายประเวชกล่าว

อย่างไรก็ตาม ในส่วนของการหยุดนำส่งเงินชั่วคราวนั้น พ.ร.บ.กองทุนสำรองเลี้ยงชีพในปัจจุบันมิได้มีการเปิดช่องเอาไว้ ทำให้ต้องส่งเรื่องไปถึงกระทรวงการคลังก่อนว่าจะมีการพิจารณาอย่างไร ซึ่งยังไม่สามารถคาดการณ์เรื่องเวลาได้ เนื่องจากเป็นข้อจำกัดทางด้านกฎหมาย

สำหรับการพูดคุยกับสมาคมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่ผ่านมา การช่วยเหลือผู้ประกอบการ และลูกจ้างยังไม่มีข้อสรุปอะไร และมีเพียงประเด็นที่จะให้ความช่วยเหลือเพียงเรื่องเดียวเท่านั้นคือการ หยุดนำส่งเงินสบทบเข้ากองทุนเป็นการชั่วคราว ส่วนเรื่องอื่นนั้นยังไม่ความคืบหน้า แต่ตามหน้าที่แล้วหากมีการยืนเรื่องมาทางก.ล.ต.ก็ยินดีจะรับฟังปัญหาที่เกิดขึ้น

ยอดโพวิเด้นท์เดือนม.ค.ทรุด1.4พันล้าน

รายงานจากบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน เปิดเผยว่า ณ วันที่ 31 เดือนมกราคม 2552 ยอดการลงทุนรวมของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพทั้งอุตสาหกรรมมีการปรับตัวลดลงประมาณ 1,460.98 ล้านบาท จากเดือนธันวาคม 2551 ที่ 465,296.44 ล้านบาท มาอยู่ที่ 463,835.47 ล้านบาท

สำหรับบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน(บลจ.)ที่มีขนาดสินทรัพย์รวมของกองทุนสำรองเลี้ยง 5 อันดับประกอบด้วย อันดับ 1.บลจ.กสิกรไทย มีขนาดกองทุน 64,092.45 ล้านบาท และมีสมาชิกจำนวน 328,850 ราย อันดับ 2.บลจ. กรุงไทย จำกัด (มหาชน) มีขนาดกองทุน 59,114.73 ล้านบาท และมีสมาชิกจำนวน 91,507 ราย อันดับ 3. บลจ.ไทยพาณิชย์ มีขนาดกองทุน 58,775.09 ล้านบาทและมีสมาชิกรวม 185,928 ราย

ส่วน 2 อันดับสุดท้ายได้แก่ บลจ.เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) มีขนาดกองทุน 58,198.47 ล้านบาท และมีสมาชิกจำนวน 175,184 ราย และบลจ.ทิสโก้ จำกัด มีขนาดกองทุน 57,286.21 ล้านบาท และมีสมาชิกจำนวน 355,687 ราย   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us