Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน5 มีนาคม 2552
4เดือนจัดเก็บต่ำเป้า7หมื่นล.             
 


   
www resources

สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง

   
search resources

สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
สมชัย สัจจพงษ์
Economics




ผลพวงเศรษฐกิจปลายปีพ่นพิษ 4 เดือนแรกปีงบประมาณ 52 รัฐบาลจัดเก็บรายได้ต่ำเป้า 7 หมื่นล้าน บิ๊กคลังคาดทั้งปีต่ำกว่าประมาณการ 1.3 แสนล้าน ขณะที่เงินคงคลังปรับเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว ส่วนการเบิกจ่ายงบฯ รสก.ขนาดใหญ่ 15 ราย เบิกแค่ 1.8 หมื่นล้าน ชี้ปัญหาเศรษฐกิจในปัจจุบันการลดภาษีไม่ใช่ทางออก แต่รัฐบาลต้องอัดฉีดงบประมาณเข้าระบบ ครม.เศรษฐกิจไฟเขียวแผนกู้วิกฤตชุด 2 อนุมัติกรอบกู้เงิน 7 หมื่นล้าน เริ่มเจรจา เม.ย.นี้ มาร์คฝันอยู่ยาวถึงปี 2558 สั่งจัดมหกรรมเฉลิมฉลอง 777 ปีประเทศไทย

นายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า วานนี้ (4 มี.ค.) ได้รายงานฐานะทางการคลังต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เศรษฐกิจ ถึงยอดการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลโดยในช่วง 4 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2552 (ต.ค.51-ม.ค.52) ว่า รัฐบาลสามารถจัดเก็บรายได้ต่ำกว่าประมาณการถึง 7 หมื่นล้านบาท เนื่องจากได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว หากสถานการณ์ยังคงอยู่ในลักษณะนี้จะทำให้อัตราการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลทั้งปีงบประมาณ 2552 ต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้สูงถึง 1.1-1.3 แสนล้านบาท

อย่างไรก็ตาม ในส่วนของเงินคงคลังที่หลายฝ่ายต่างมีความวิตกกังวลว่ามีเงินคงคลังในปริมาณที่น้อยนั้นยอดเงินคงคลัง ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมามีจำนวนเงินเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 5 หมื่นล้านบาทถือว่ามีความเหมาะสมกับปริมาณการใช้จ่ายของรัฐบาล

“ตอนนี้เงินคงคลังยังไม่มีปัญหาแต่อย่างใดเดือนที่แล้วอยู่ที่ระดับ 5 หมื่นล้านบาทและในเดือนมีนาคมนี้หลังจากที่มีการยื่นแบบเสียภาษีบุคคลธรรมดาเข้ามาก็จะทำให้เงินคงคลังเพิ่มขึ้น รวมไปถึงเดือนพฤษภาคมและมิถุนายนเป็นช่วงที่ยื่นแบบเสียภาษีนิติบุคคลก็จะมีเงินเพิ่มมากขึ้นเช่นเดียวกัน” นายสมชัยกล่าวและว่า เงินที่เข้ามาเหล่านี้ไม่ได้เข้ามากองอยู่ในเงินคงคลังแต่จะต้องมีการใช้จ่ายออกไปตามโครงการต่างๆ เพื่อให้เศรษฐกิจสามารถเดินหน้าต่อไปได้และทำให้เงินคงคลังอยู่ในระดับปกติที่ 3-6 หมื่นล้านบาท

สำหรับในช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจของประเทศและเศรษฐกิจโลกกำลังชะลอตัวมาตรการที่เหมาะสมที่จะนำมากระตุ้นเศรษฐกิจคือการใช้จ่ายเงินของภาครัฐซึ่งจะเป็นวิธีที่ดีกว่าการปรับลดมาตรการทางด้านภาษีให้กับกลุ่มอุตสาหกรรมต่างๆ และประชาชนในภาคส่วนต่างๆ เพราะที่ผ่านมารัฐบาลได้ออกมาตรการทางด้านภาษีเพื่อช่วยมากแล้ว ทั้งนี้ หากลดภาษีให้อีกจะกระทบต่อการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลเอง

“ส่วนข้อเสนอของกลุ่มอุตสาหกรรมรถยนต์ที่ต้องการให้กระทรวงการคลังลดภาษีสรรพสามิตรถยนต์ลงเหลือ 3% นั้นเห็นว่าการปรับลดภาษีลงไม่ว่าจะในส่วนไหนก็ตามนั้นไม่ใช่นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจที่เหมาะสมในช่วงนี้ แต่แนวทางที่เหมาะสมคือการเร่งรัดเบิกจ่ายงบประมาณให้เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ที่ 94% ของวงเงินงบประมาณปี 2552 จำนวน 1.83 ล้านล้านบาท” นายสมชัยกล่าว

นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า กระทรวงการคลัง ได้รายงานการเบิกจ่ายงบประมาณปี 2552 (ต.ค.51-ก.พ.52) สามารถเบิกจ่ายได้แล้ว 706,889.63 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 38.52 สูงกว่าเป้าหมายคิดเป็นร้อยละ 0.35 และสูงกว่าช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 1.57 การเบิกจ่ายรายจ่ายลงทุนคิดเป็นร้อยละ 32.20 สูงกว่าเป้าหมาย ร้อยละ 2.36 แต่ต่ำกว่าการเบิกจ่ายในช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 3.37

ขณะที่การเบิกจ่ายของรัฐวิสาหกิจ ที่ได้รับอนุมัติงบลงทุนปี 52 จำนวน 308,199.93 ล้านบาท โดยเป็นวงเงินเบิกจ่ายลงทุนที่พร้อมให้เบิกจ่าย จำนวน 275,153.74 ล้านบาท ณ สิ้นเดือนมกราคม 2552 รัฐวิสาหกิจ ขนาดใหญ่ 15 แห่งสามารถเบิกจ่ายได้จริงเพียง 18,477.11 ล้านบาท หรือร้อยละ 57.41 จากเป้าหมายการเบิกจ่ายงบลงทุนสะสมทั้งสิ้น 32,182.38 ล้านบาท โดยมีโครงการที่ต้องเร่งรัด เช่น โครงการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน เป็นต้น ขณะเดียวกัน ครม.เศรษฐกิจ ยังมอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการประสานกับ บมจ.ทีโอที ให้รายงานความก้าวหน้าของการดำเนินโครงการ 3G ให้ครม.เศรษฐกิจรับทราบด้วย

ไฟเขียวกรอบกู้เงิน 7 หมื่นล้าน

นายพุทธิพงษ์กล่าวว่า ที่ประชุมคณะกรรมการรัฐมนตรีเศรษฐกิจวานนี้ ได้อนุมัติกรอบการดำเนินการกู้จากต่างประเทศ ตามมาตรการเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและโครงสร้างพื้นฐานจำนวน 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 7 หมื่นล้านบาท โดยจะยื่นเรื่องขอกู้จากสถาบันการเงินต่างประเทศ 3 แห่ง ประกอบด้วย ธนาคารโลก ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (เอดีบี) และไจก้า ซึ่งรัฐบาลจะต้องดำเนินการตามกรอบรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 ที่กำหนดให้ต้องผ่านความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎรก่อน

โดยกรอบวงเงินกู้ดังกล่าว คาดว่า ครึ่งหนึ่งจำนวน 1,000 ล้านดอลลาร์ จะมาจากธนาคารโลก โดยกระทรวงการคลังจะเริ่มเจรจาขอกู้เงินในเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2552 เพื่อนำรายละเอียดกลับมาเสนอขออนุมัติต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) และรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน ก่อนที่จะรวบรวมรายละเอียดเสนอให้ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาได้ ในช่วงก่อนสิ้นเดือนพฤษภาคม 2552 โดยคาดว่า สภาผู้แทนราษฎรจะผ่านการพิจารณาได้ในเดือนมิถุนายน 2552 หลังจากนั้น คาดว่า จะสามารถดำเนินการกู้เงินได้ในเดือนกันยายน 2552

ส่วนการกู้เงินจากเอดีบี และ ไจก้า แห่งละ 500 ล้านดอลลาร์ จะดำเนินการในเวลาใกล้เคียงกัน โดยเริ่มการเจรจาขอกู้เงินในเดือนพฤษภาคม ถึงเดือนกรกฎาคม 2552 หลังจากนั้น จะนำรายละเอียดกลับมาเสนอขออนุมัติต่อที่ประชุม ครม.และรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน ซึ่งคาดว่าจะเสนอให้ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาได้ภายในวันที่ 31 กรกฎาคม 2552 โดยคาดว่าจะผ่านการพิจารณาภายในเดือนสิงหาคม 2552 และจะสามารถเบิกจ่ายเงินกู้ได้ในเดือนกันยายน 2552 ทั้งนี้ มอบหมายให้กระทรวงการคลัง รายงานสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อจีดีพีของประเทศอังกฤษ สหรัฐ ญี่ปุ่น เยอรมัน และประเทศต่าง ๆให้ที่ประชุมรับทราบทุกระยะ

นายพุทธิพงษ์กล่าวว่า กระทรวงแรงงานยังรายงานด้านแรงงานสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2552 มีผู้ว่างงาน 100,599 คน ขณะที่ยังไม่มีรายงานว่า แรงงานที่ทำงานอยู่ต่างประเทศมีการถูกเลิกจ้าง ขณะที่ช่วงเดือน พ.ย.51-ท.ค.52 ชดเชยเงินช่วยเหลือผู้ว่างงานไปแล้ว 600 ล้านบาท

จัดมหกรรมเฉลิมฉลอง 777 ปีประเทศ

นายพุทธิพงษ์กล่าวว่า ที่ประชุมรับทราบข้อเสนอคณะที่ปรึกษาเศรษฐกิจ โดยมอบหมายให้นายกษิต ภิรมย์ รมว.ต่างประเทศ นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ และนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ที่ปรึกษาฯ จัดตั้งศูนย์ประสานงานเร่งรัดทางธุรกิจ หรือ One-Start Serviice และจัดทำแผนดำเนินการในการฟื้นฟูภาพลักษณ์ของประเทศ นอกจากนั้นยังเห็นชอบและมอบหมายให้จัดทำเวปไซต์ “Thailand Portal” เพื่อให้นักลงทุนผู้ดำเนินธุรกิจสามารถติดต่อผ่านจุดเดียวกัน และมอบหมายให้นายกอร์ปศักดิ์ สภาวุ รองนายกฯ เร่งรัดการลงทุนโครงการที่สำคัญเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและสร้างรากฐานสำหรับอนาคต รวมทั้งให้นักนายกรัฐมนตรีร่วมกับกระทรวงท่องเที่ยวฯ จัดทำแนวคิดจัดงามเฉลิมฉลอง 777 ปีของประเทศไทยในปี 2558 เสนอให้กระทรวงพาณิชย์ไปหารือสำนักงบประมาณจัดงาน “ไทยรวมพลัง กู้เศรษฐกิจชาติ” ในการจัดงานแสดงสินค้าเกษตรที่ประเทศจีนอีกด้วย   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us