Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา มีนาคม 2552
Hoon ปัญหาจากนักซิ่งรถแต่งในนิวซีแลนด์             
โดย ชาคริต เทียบเธียรรัตน์
 


   
search resources

Social




เมื่อหลายปีก่อนมีภาพยนตร์ฮอลลีวูดเรื่อง Fast and Furious และมีภาคต่างๆ ตามออกมารวมเป็น 3 ภาค ซึ่งบ่งชี้ว่าภาพยนตร์ชุดนี้ประสบความสำเร็จ นอกจากนี้ยังมีภาพยนตร์ฮ่องกงซึ่งผมมาทราบทีหลังว่าเอาเค้าโครงเรื่องมาจากการ์ตูนญี่ปุ่นชื่อ Initial D ซึ่งมีชื่อภาษาไทยว่า "ถนนสายนี้ข้าจอง" ออกมาฉาย ซึ่งท่านผู้อ่านคงพอทายได้ว่าเรื่องจะออกมาแนวไหน มีตลาดผู้ชมคือใคร ทำให้วัฒนธรรมของบรรดา Boy Racer หรือที่ชาวออสเตรเลียและนิวซีแลนด์เรียกว่า Hoon นั้นได้ถูกนำมาเผยแพร่ผ่านแผ่นฟิล์ม จอแก้ว และหนังสือการ์ตูนกันอย่างกว้างขวาง

ก่อนเดือนมีนาคมปีที่แล้ว ชาวนิวซีแลนด์ส่วนมากจะไม่ให้ความสนใจกับปัญหาพวก Hoon มากนัก เพราะชาวกีวีที่มีอายุมักจะมองด้วยเหตุผลว่าทุกๆ คนต้องเคยผ่านวัยรุ่นซึ่งเต็มไปด้วยความคึกคะนอง ชอบทำอะไรที่ผิดกฎระเบียบสังคมไปบ้าง ดังนั้นเมื่อวัยรุ่นที่เป็นรุ่นลูกรุ่นหลานจะทำอะไรที่แหกกฎไปบ้างก็ควรที่จะให้อภัย แม้ว่าหนังสือพิมพ์จะลงข่าวโจมตีบรรดานักซิ่งในที่ต่างๆ แต่คนส่วนมากก็ไม่ได้ให้ความสนใจกับปัญหาดังกล่าว และถึงจะไม่พอใจแต่พวก Hoon ก็จะอาละวาดเพียงในเขตเล็กๆ ในโอ๊กแลนด์ ไครส์เชิร์ช หรือเวลลิงตัน ในบางเมืองที่เป็นภูเขาทั้งเมือง พวก Hoon จะมีจำนวนน้อยจนไม่เป็นที่สนใจของประชาชน

ในบรรดาเมืองต่างๆ ในนิวซีแลนด์ เทศบาลเซลวิน และเทศบาลไวมาคาริริในแคว้นแคนเทอเบอรี่เป็นสองเทศบาลที่ออกมาต่อต้านพวก Hoon อย่างชัดเจนที่สุด เพราะถ้ามองตามภูมิประเทศแล้วก็จะเข้าใจเหตุผลได้ไม่ยาก เพราะแคว้นแคนเทอเบอรี่เป็นแคว้นเดียวจากทั้งนิวซีแลนด์ที่เป็นที่ราบขนาดใหญ่และมีถนนกว้างกว่าที่อื่น นอกจากนี้พอออกนอกตัวเมืองไปจะเป็นเขตปศุสัตว์ที่มีคนอาศัยอยู่น้อย ตำรวจก็มีน้อย แถมโรงพักตั้งอยู่ห่างกันหลายสิบกิโลเมตร ถนนเหล่านี้ไม่มีกล้องตรวจจับความเร็วติดตั้งไว้ ผู้เสียหายก็มีเพียงชาวไร่ปศุสัตว์ไม่กี่สิบคนบนพื้นที่ดังกล่าว เขตติดต่อระหว่างเทศบาลนครไครส์เชิร์ช กับเทศบาลเซลวินก็เป็นเขตที่บรรดา Hoon ชอบ เพราะว่าถ้าไม่เป็นทางบนภูเขาคดเคี้ยวเหมาะแก่การ drift ก็จะเป็นถนนตรงๆ กว้างๆ เมื่อเขตภูเขาเป็นเขตป่าจึงไม่มีตำรวจมาดูแลเท่าที่ควร เทศบาลทั้งสองแห่งก็ยากที่จะแบ่งเขตความรับผิดชอบกันในพื้นที่ดังกล่าว "เมื่อมีทั้งถนนตรงๆ กว้างๆ ให้พวกนักซิ่งที่ชอบแข่ง ทางลาดและทางภูเขาให้พวก drift มาแข่ง แคว้นแคนเทอเบอรี่จึงกลายเป็นสวรรค์ของเด็กซิ่ง

ในขั้นแรก บรรดา Hoon ยึดเอาเขตเทมเพิลตัน สังกัดเทศบาลไครส์เชิร์ชกับเทศบาลเซลวินเข้าด้วยกันเป็นถนนแข่ง ซึ่งชาวบ้านในเขตเทมเพิลตันออกมาเรียกร้องให้เทศบาลของตนออกมาเคลียร์ ซึ่งไม่เป็นที่แปลกใจว่าพอเทศบาลไครส์เชิร์ชออกมาไล่ พวก Hoon ก็มาโผล่ที่พื้นที่ของเทศบาลเซลวิน พอเทศบาลเซลวินออกมาไล่พวกนี้ก็จะไปโผล่ในเขตไครส์เชิร์ช โดยที่ในระยะแรกตำรวจก็ไม่ได้ให้ความสนใจ และรัฐบาลพรรคแรงงานของนิวซีแลนด์ยังไม่ห้ามในการแต่งรถทำให้ปัญหาเพิ่มขึ้นไปอีกขั้นหนึ่ง ขณะที่พวก Hoon เมื่อรวมได้เป็นกลุ่มใหญ่ ก็จะไปทำการชุมนุมตามลานจอดรถของห้าง จนทำให้ห้างบางแห่งต้องมีทางเลือกแค่ปิดตัวลง หรือปิดลานจอดรถในตอนกลางคืน หลังจากเทศบาลทั้งสองเมืองสั่งแบนตามถนนต่างๆ อย่างหนัก โดยออกกฎแบนรถที่แต่งผิดมาตรฐานโรงงาน บนถนนที่บรรดา Hoon ได้สร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชน เพราะว่าปัญหาที่เกิดขึ้นไม่ได้มาจากการแข่งรถเพียงอย่างเดียว แต่มาจากเสียงและพฤติกรรมของพวก Hoon ซึ่งนิยมเอารถมาเร่งท่อไอเสียหรือแข่งเครื่องเสียงกัน จากนั้นก็จะดื่มเหล้าจนเมา บางครั้งก็จะอาละวาดตีกันเองเพื่อแย่งผู้หญิง หลายหน ที่คึกคะนองทำการเทน้ำมันลงบนถนนและ จุดไฟเผาเลียนแบบภาพยนตร์ และถ้าไปตามเขตฟาร์มพวก Hoon ก็จะนิยมทะเลาะกับชาวนาในย่านนั้น รวมทั้งทำลายทรัพย์สินตั้งแต่ทุบกระจก ทำลายรถของชาวนา เอาขวดเหล้าขว้างใส่วัว กวาง ม้า และแกะของชาวนาให้ตกใจ บางตัววิ่งหนีหกล้มขาหักพิการ ทำให้ชาวนาต้องเสียค่าจ้างสัตวแพทย์มารักษา

เมื่อโดนไล่จากเขตเซลวิน บรรดา Hoon ก็หาที่แข่งรถกันใหม่ ซึ่งย้ายมาลงที่ชายแดนของเทศบาลไครส์เชิร์ชกับเทศบาลไวมาคาริริ ซึ่งเหยื่อคือบรรดาชาวไร่และฝูงสัตว์เช่นเคย ผมได้พูดคุยกับชาวไร่ในเขตไวมาคาริริตอนทำวิจัย ซึ่งทุกฝ่ายพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า เกลียดพวก Hoon และพ่วงความโกรธมาแถมให้รัฐบาลก่อนหน้านี้เป็นโบนัสเพราะมีพฤติกรรมให้ท้ายพวกเด็กซิ่งเหล่านี้ หลังจากอาละวาดไปได้ระยะหนึ่ง หนังสือพิมพ์ก็ประโคมข่าวกันอย่างครึกโครม แต่ปัญหาตามมาคือถนนที่ Boy Racers ไปอาละวาดเป็นถนนไฮเวย์จึงไม่สามารถแบนรถยนต์ได้ ในช่วงแรกตำรวจก็ไม่ได้ลงมือขั้นเด็ดขาด ในบรรดาถนนไฮเวย์ทั้งหมด เส้นแมครีนซึ่งมีสวนสัตว์โอราน่าตั้งอยู่กลายเป็นเหยื่อรายใหม่ของเด็กซิ่ง เพราะพวก Hoon ไปยึดเอาลานจอดรถสวนสัตว์มาชุมนุมและทำพฤติกรรมเผาน้ำมัน ดื่มเหล้าตีกันจนหนำใจสร้างความแตกตื่นให้ฝูงสัตว์เป็นจำนวนมาก เมื่อ Complain กับทางการแล้วพวก Hoon ก็ไม่ไปไหน ทางสวนสัตว์จึงออกมาขู่ว่าถ้ายังมาอาละวาดอีกจะไม่รับรองความปลอดภัยว่าอาจจะเกิดอุบัติเหตุ เช่นสิงโตกับเสือในสวนสัตว์เกิดตกใจหลุดออกมาจากกรงก็คงจะไม่ว่ากัน ซึ่งถ้าแปลง่ายๆ คือ ถ้ายังมาอีกสวนสัตว์จะปล่อยเสือกับสิงโตให้ออกมาเป็นยามแทน เพราะยาม 2-3 คนนั้นสู้ Hoon หลายร้อยคนไม่ได้ แต่สิงโตสักฝูงนั้นไม่แน่ เจอไม้นี้เข้าไป พวก Hoon เลยหนีไปแข่งกันบนเขาแทน แต่ก็ไม่ได้ แปลว่าหยุดสร้างปัญหาแต่อย่างใด เพราะว่าชาวบ้านที่อยู่บนภูเขากลายเป็นผู้เดือดร้อนแทน ในประเทศนิวซีแลนด์จะนิยมสร้างบ้านราคาแพงบนเขาเป็นขั้นบันได เพื่อจะได้ชมวิวกันอย่างเต็มที่ ดังนั้นการที่บรรดาเด็กซิ่งไปแข่ง drift กันบนเขา บรรดาชาวบ้านย่อมเดือดร้อนเป็นธรรมดา ที่ยิ่งกว่านั้นคือฝีมือ การขับของเด็กซิ่งบางคนห่วยมาก ทำให้เกิดอุบัติเหตุแหกโค้งไปชนบ้านชาวบ้านชาวเมืองกันประจำ

เนื่องจากรถยนต์ในประเทศนิวซีแลนด์นั้นถูกมาก การจะหารถยนต์สักคันในเมืองกีวีเป็นเรื่องง่าย แต่ปัญหาที่ตามมาอีกอย่างคือการที่เจ้าของรถวัยรุ่นไม่มีทั้งประกัน บางรายอาจไม่มีแม้แต่ใบขับขี่เพราะซื้อรถมือสองต่อจากคนที่ประกาศขายในเว็บไซต์ สนนราคาคันหนึ่งเริ่มจากไม่กี่หมื่นบาท ซึ่งก็เพียงพอต่อการนำมาดัดแปลงเอาไปสร้างความเดือดร้อนให้กับชาวบ้าน นอกจากนี้ยังมีกลุ่มที่เป็นปัญหาใหญ่กว่ากลุ่มเด็กวัยรุ่นที่ไม่มีจิตสำนึก คือไปเอารถยนต์ของชาวบ้านมาแข่ง ซึ่งก็ทำได้ไม่ยากนักเพราะบรรดาวัยรุ่นเหล่านี้ก็อาจจะทำท่าว่าเป็นคนที่สนใจจะซื้อรถยนต์จากผู้ที่ลงโฆษณาขายรถและขอเอารถไปลองขับ แต่ที่จริงแล้วเอาไปแข่ง จากนั้นเอามาคืนเจ้าของรถ ส่วนถ้าไปชนขึ้นมาหรือมีใบสั่งตามมาปรับเจ้าของรถ ก็ถือว่าเป็นคราวเคราะห์ของเจ้าของรถที่ให้คนเอารถไปใช้เอง

นอกจากนี้ยังมีพวกที่โดนเรียกว่า Joyride ซึ่งมีสภาพกึ่งๆ กับการเป็นโจร คืองัดรถยนต์ของชาวบ้านเอาไปแข่งเมื่อเสร็จแล้วก็เอาไปจอดคืนเจ้าของ ด้วยความที่ประชาชนส่วนมากของนิวซีแลนด์นั้นมีความซื่อสัตย์สูงมาก ดังนั้นการที่ใครจะจอดรถทิ้งไว้ข้างถนนในตอนกลางคืนนั้นย่อมเป็นเรื่องปกติ ส่งผลให้กลายเป็นเหยื่อของบรรดาเด็กซิ่งวัยรุ่นที่คึกคะนองและหยิบยืมรถยนต์ของชาวบ้านออกไปแข่งปัญหาไม่ได้อยู่แค่เอาไปขับเล่นหรือผลาญน้ำมันเท่านั้น แต่ทำให้เจ้าของรถหลายคนโดนใบสั่งหรือโดนตำรวจตามมายึดใบขับขี่ เพราะกล้องตรวจจับพบว่ารถคันดังกล่าวทำผิดกฎจราจร ขณะที่เจ้าของรถตัวจริงนอนหลับไม่รู้เรื่องอยู่ในบ้าน การระบาดของพวก Joyride จะอยู่ในกลุ่มวัยรุ่นที่ยังไม่มีเงินมากพอที่จะซื้อรถยนต์

คดี Joyride นั้นที่มีชื่อที่สุดคือ กรณีเด็กซิ่งกลุ่มหนึ่งไปงัดรถบีเอ็มซีรีส์ 3 จากหน้าบ้านของนายหน้าค้าที่ดินในกรุงเวลลิงตันเพื่อเอาไป drift แต่เนื่อง จากบรรดา Joyride เหล่านี้ไม่มีความสามารถในการควบคุมรถจึงแหกโค้งพุ่งเข้าชนกับหลังคาโรงรถของบ้านหลังใหญ่ที่อยู่ตรงทางโค้ง ทำให้เกิดประติมากรรมที่เจ้าของบ้านไม่พึงประสงค์ จากนั้นบรรดา Hoon มาช่วยเพื่อนพบว่าในโรงรถของบ้านผู้โชคร้ายจอดรถจากัวร์ XK-R เปิดประทุน ทำให้เด็กซิ่งเกิดอิจฉาตาร้อนจึงแจกโบนัสเจ้าของบ้านด้วยการเอาสีทาบ้านสาดเข้าไปในรถจากัวร์คันงามก่อนขับรถหนีไป ผู้อ่านหลายท่านคงทราบว่ารถหรูหราของอังกฤษนั้น เขามีจุดขายอยู่ว่าไม้ที่ตกแต่งภายในนั้นเป็น Burr Walnut แท้ๆ พรมทำมาจากขนแกะ เบาะและอุปกรณ์ที่บุตามประตูนั้นมาจากหนังแท้ๆ เกรดดี พอมาโดนสีสาดเข้าไปในรถ แน่นอนครับ พอเช้าขึ้นมาต้องมีคนเหวอไปอย่างน้อยสองราย รายแรกคือนายหน้าที่ดิน ซึ่งรถคู่ชีพหายไปจากหน้าบ้าน ส่วนที่อึ้งมากกว่าคือเจ้าของบ้านที่ได้ประติมากรรมจากฟากฟ้ามาปักอยู่บนหลังคาโรงรถ แถมรถจากัวร์คันงามจะต้องเปลี่ยนพรมขนแกะ บุหนังกับไม้ใหม่ทั้งคัน งานนี้ คนที่โชคร้ายที่สุดคือบริษัทประกันที่ต้องจ่ายค่าซ่อมบ้านและรถ ในขณะที่จับมือใครดมไม่ได้

แต่ปัญหาเด็กซิ่งมาถึงจุดแตกหักจริงๆ คือช่วงเดือนมีนาคม 2008 เมื่อบรรดาฮูนถือโอกาสที่มีงานมอเตอร์โชว์ที่ไครส์เชิร์ชเพื่อรวมตัวและขับรถรอบเมืองเหมือนถนนเป็นของตนเอง แต่ที่ร้ายที่สุดคือกลุ่มที่คะนองถึงขีดสุดที่ทำการปิดถนนดีนส์ ซึ่งเป็นถนนหลักที่เชื่อมระหว่างตัวเมืองกับชุมชนด้านตะวันตก บรรดาวัยรุ่นต่างนำรถมาปิดถนนและราดน้ำมันแล้วเผาถนนและแข่งรถกันอย่างเมามัน กินเหล้า เมายาและหาเรื่องกับนักท่องเที่ยวและประชาชนในเมือง รวมทั้งลักขโมยของในบ้านแถวนั้นที่ไม่มีคนอยู่ ส่งผลให้กลายเป็นข่าวใหญ่ไปทั้งประเทศ โดยประชาชนออกมาโจมตีทั้งรัฐบาลและเทศบาล ซึ่งรู้ว่ามีวัยรุ่นออกมาอาละวาดแต่ไม่ได้เตรียมรับสถานการณ์ทันท่วงที ประชาชนต่างสาปส่งทั้งตำรวจและนักการเมืองกันขรม เนื่องจากผู้เดือดร้อนขยายวงกว้างจากบรรดาชาวบ้านในเขตเล็กๆ ไปเป็นชาวเมืองทั้งเมือง ซึ่งโดนรบกวนทั้งทางร่างกายและจิตใจ นอกจากนี้บรรดาวัยรุ่นตัวแสบยังทำลายรถที่จอดอยู่ข้างถนนในเขตชุมชนที่ผ่านทั้งยังขว้างก้อนหินใส่กระจกบ้านของประชาชนในละแวกนั้น เหตุการณ์ดังกล่าวทำให้ประชาชนหันมาสนใจปัญหาฮูนมากขึ้น จึงมีการกดดันหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องกับการปราบปรามเหล่าฮูนกันอย่างจริงจัง จนตำรวจต้องเริ่มจับรถยนต์ที่ไม่ได้มาตรฐาน และพยายามตั้งด่านตรวจจับวัยรุ่น ล่าสุดทางตำรวจ ยึดรถยนต์กว่า 40 คัน แจกใบสั่งนับร้อยใบและดำเนินคดีพวกฮูนหลายร้อยคนในคืนที่พวกฮูนนัดรวมพล นอกจากนี้บทลงโทษทางกฎหมายต่อพวก Joyride ก็สูงขึ้นเรื่อยๆ

ที่จริงแล้วปัญหาวัยรุ่นแข่งรถนั้นเป็นปัญหาเรื้อรังที่เกิดจากวัยรุ่นคึกคะนองตามวัย แม้ว่าการแหกกฎหมายเล็กน้อย เช่นขับรถเร็วกว่าที่กำหนดไว้ อาจจะเป็นความสุขของวัยรุ่นที่คึกคะนองเป็นครั้งคราว แต่พวกเขาก็ต้องเรียนรู้ว่ากฎหมายจราจรนั้นมีขึ้นมาเพื่อความปลอดภัยทั้งของคนที่ใช้รถและถนน การทำผิดกฎหมายแม้แต่เพียงเล็กน้อยถือเป็นบ่อเกิดของการไม่เคารพกฎระเบียบของสังคม และถ้ากฎหมายไม่สามารถนำมาบังคับประชาชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งได้ ก็จะทำให้ปัญหาความไม่มีระเบียบในสังคมถูกขยายวงกว้างไปจนเกินขอบเขตได้ในที่สุด ดังนั้นการที่วัยรุ่นกีวีคึกคะนองจนเกินขอบเขตของกฎหมายและสร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนทำให้ความเมตตาของประชาชนต่อวัยรุ่นกลุ่มดังกล่าวจึงถึงจุดสิ้นสุดและนำไปสู่มาตรการลงโทษที่รุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ในอนาคต   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us