Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กันยายน 2546








 
นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2546
ความเสี่ยงของแบงก์ใช่ว่ามีเฉพาะสินเชื่อ             
โดย ปัณฑพ ตั้งศรีวงศ์
 

   
related stories

วิชิต แสงทองสถิตย์ กับประสบการณ์หลากหลาย

   
www resources

PricewaterhouseCoopers Homepage
โฮมเพจ ธนาคารนครหลวงไทย
Deloitte & Touch Homepage

   
search resources

ไพร้ซวอเตอร์เฮาส์คูเปอร์ส ประเทศไทย, บจก.
ธนาคารนครหลวงไทย, บมจ.
Deloitte Touche Tohmatsu
อภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์
นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
สุจิต สุวรรณเขต
วิชิต แสงทองสถิตย์
Banking




คนส่วนใหญ่ยังคิดว่างานบริหารความเสี่ยงในสถาบันการเงิน มีจุดโฟกัสใหญ่อยู่ที่เรื่องของการปล่อยสินเชื่อ แต่ความจริงในการทำงานทุกกระบวนการล้วนมีโอกาสเกิดความเสี่ยงได้ทั้งสิ้น

หลายคนอาจสงสัยเมื่อเห็นผังโครง สร้างการบริหารงานของธนาคารนครหลวง ไทย เพราะในเมื่อได้มีการตั้งฝ่ายบริหารความเสี่ยงขึ้นมาแล้ว ทำไมจึงต้องแยกฝ่าย บริหารความเสี่ยงสินเชื่อออกมาอีกต่างหาก

"ความเสี่ยงในการทำธุรกิจธนาคาร หรือสถาบันการเงินมีหลายอย่าง เรื่องสินเชื่อก็เป็นเรื่องหนึ่ง" วิชิต แสงทองสถิตย์ ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารความเสี่ยง ธนาคารนครหลวงไทย อธิบายกับ "ผู้จัดการ"

วิชิตเพิ่งได้รับการแต่งตั้งจากธนาคาร ให้ดำรงตำแหน่งดังกล่าว เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคมที่ผ่านมา

เขาอธิบายว่า ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในกระบวนการทำงานของธุรกิจสถาบันการเงิน สามารถแยกออกได้เป็น 4 ประเภท

ประเภทแรกคือความเสี่ยงจากการปล่อยสินเชื่อ ซึ่งคนส่วนใหญ่เข้าใจว่าเป็นหลักใหญ่ของการบริหารความเสี่ยง เพราะเป็นต้นเหตุสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้เกิดวิกฤติเศรษฐกิจขึ้นในประเทศไทยเมื่อ 6 ปีก่อน

ธนาคารนครหลวงไทยก็ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ ดังนั้นในการบริหารสินเชื่อ จึงจำเป็นต้องแยกให้มีทีมที่ดูแลความเสี่ยงเรื่องนี้เป็นการเฉพาะ โดยมีสุจิต สุวรรณเขต เป็นผู้บริหาร

แต่ความเสี่ยงอีก 3 ประเภท ก็มีความสาคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน ได้แก่ความเสี่ยงในเรื่องสภาพคล่อง ความเสี่ยงด้านการตลาด และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในการปฏิบัติงาน ซึ่งทั้ง 3 ด้านอยู่ในความรับผิดชอบของวิชิต

ความเสี่ยงในเรื่องสภาพคล่องก็คือ การบริหารสินทรัพย์และหนี้สินให้เกิด ความสมดุล ให้ธนาคารมีเงินสดเหลือพอที่จะให้ประชาชนทั่วไปสามารถมาถอนออกไปได้ตลอดเวลา

ความเสี่ยงทางด้านการตลาด คือการติดตามปัจจัยทั้งภายในและภายนอกที่จะมีผลกระทบต่อรายได้และเงินกองทุนของธนาคาร เช่น อัตราดอกเบี้ย และอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ตลอด จนขอบข่ายการลงทุนของธนาคาร เช่นการถือครองหลักทรัพย์ ตราสาร พันธบัตร ทั้งภาครัฐและเอกชน รวมถึงหุ้นกู้

ส่วนความเสี่ยงในการปฏิบัติงาน คือการเจาะลึกลงไปในรายละเอียดของขั้นตอนการทำงานของฝ่ายงานต่างๆ ซึ่งมีอยู่ทั้งสิ้น 63 ฝ่าย กับอีก 1 สำนัก ว่าจะมีกระบวนการใดที่อาจผิดพลาดและก่อความเสียหายให้เกิดขึ้น

"เนื้องานหลักของฝ่ายนี้ คือการเฝ้า ติดตามสถานการณ์และปัจจัยต่างๆ ทั้งจากภายในและภายนอก รวมถึงรายงานที่ฝ่ายงานต่างๆ นำเสนอขึ้นมาเกี่ยวกับการทำงานของเขา เพื่อหาทางป้องกันจุดบกพร่องและหาแนวทางแก้ไข แล้วนำเสนอเป็นรายงานขึ้นไปถึงระดับคณะกรรมการ" วิชิตบอก

คณะกรรมการที่เขากล่าวถึงมีอยู่ด้วยกัน 2 ชุด คือ คณะกรรมการบริหารสินทรัพย์และหนี้สิน และคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง ซึ่งประกอบด้วยผู้บริหาร ระดับสูงตั้งแต่ระดับผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ขึ้นไป

คณะกรรมการทั้ง 2 ชุดจะดูภาพรวม และตัดสินใจสั่งการตามรายงานที่หน่วยงานระดับฝ่าย ทั้งฝ่ายบริหารความเสี่ยง และฝ่ายบริหารความเสี่ยงสินเชื่อเป็น ผู้นำเสนอ

ธนาคารนครหลวงไทยเริ่มให้ความ สำคัญกับการบริหารความเสี่ยง ตั้งแต่ได้มีการปรับโครงสร้างการบริหาร หลังดึงอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ จากบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย มาเป็นกรรมการผู้จัดการ เมื่อกลางปี 2544 โดยในเดือนธันวาคมปีเดียวกันได้จัดตั้งหน่วยงานที่รับผิดชอบการบริหารความเสี่ยงทั้ง 2 ฝ่ายนี้ขึ้น โดยทั้ง 2 ฝ่ายอยู่ในความรับผิดชอบของนิเวศน์ เหมวชิรวรากร

ในช่วงแรกได้ว่าจ้างให้บริษัทดีลอยท์ ทู้ช แอนด์ โทมัทสุ เข้ามาเป็นที่ปรึกษาในการวางระบบบริหารความเสี่ยง ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนที่ปรึกษาเป็นไพร้ซ์วอเตอร์ เฮาส์ แอนด์ คูเปอร์ส หลังจากสัญญาที่ทำกับดีลอยท์ ทู้ช หมดลง

วิชิตยอมรับว่าความรู้เรื่องการบริหารความเสี่ยงของสถาบันการเงินในประเทศไทย ยังต้องมีการส่งเสริมกันอีกมาก เพราะเพิ่งมีการตื่นตัวในเรื่องนี้มาได้เพียง 4-5 ปี และวิชาการส่วนใหญ่เป็นการนำเข้ามาจากต่างประเทศ ดังนั้นยังจะต้องมีการปรับปรุงบางจุดให้เหมาะสมสำหรับการนำมาใช้ในประเทศไทย

แต่เรื่องนี้เป็นสิ่งจำเป็นที่ทุกสถาบันการเงินจะต้องมี

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us