Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา มีนาคม 2552
ขายความปลอดภัย             
 


   
www resources

โฮมเพจ ซัน ไมโครซิสเต็มส์
โฮมเพจ ไพร้ซวอเตอร์เฮาส์คูเปอร์ส ประเทศไทย

   
search resources

ไพร้ซวอเตอร์เฮาส์คูเปอร์ส ประเทศไทย, บจก.
ซัน ไมโครซิสเต็มส์ ประเทศไทย, บจก.
Consultants and Professional Services




จากงานวิจัยระบบความปลอดภัยข้อมูลทั่วโลกของบริษัท ไพร้ซ วอเตอร์ เฮาส์ คูเปอร์ส พบว่ากลุ่มบุคคลที่ทำให้ระบบข้อมูลไม่มีความปลอดภัยสูงสุดเกิดจากพนักงานในบริษัทนั่นเอง

บริษัทไพร้ซเปิดเผยกลุ่มที่เข้าถึงระบบเทคโนโลยีที่ส่งผลเสียถึงระบบฐานข้อมูลและข้อมูลความลับของบริษัทกลุ่มแรกจากพนักงานภายในบริษัทสามารถเข้าถึงข้อมูลสูงสุดมี 5 กลุ่มด้วยกัน

กลุ่มแรก พนักงานบริษัทที่มีตัวเลขเข้าถึงข้อมูลได้ง่ายที่สุดถึงร้อยละ 41.90 กลุ่มที่สอง แฮกเกอร์ ร้อยละ 33.18 กลุ่มที่สาม อดีตพนักงาน ร้อยละ 22.20 กลุ่มที่สี่ ที่ปรึกษาผู้ให้บริการ ร้อยละ 11.44 และกลุ่มสุดท้ายคือลูกค้า ร้อยละ 11.33

จากงานวิจัยบริษัท คูเปอร์สฯ ได้แสดงให้เห็นว่าพนักงานของบริษัทกลายเป็นผู้ทำให้ระบบเทคโนโลยีไม่มีความปลอดภัยมากที่สุด

ปัญหาส่วนใหญ่ที่ทำให้ระบบเทคโนโลยีไม่มีความปลอดภัย เพราะไม่มีใครรู้ว่าคนในองค์กรเข้าระบบข้อมูลได้ในระดับใด หรือองค์กรที่เริ่มเติบโตขยายใหญ่ขึ้น ทำให้จัดการระบบความปลอดภัยได้ยากจนทำให้ระบบมีช่องโหว่และคดโกงเกิดขึ้น

ช่องว่างที่เกิดขึ้นเป็นเพราะว่าระบบการทำงานของหน่วยงานแต่ละฝ่ายอาจเกิดจากการไม่ประสานงานกันระหว่างฝ่ายบุคคล ฝ่ายดูแลระบบไอทีในองค์กร และฝ่ายบริหาร

เมื่อพนักงานลาออกจากบริษัทจะมีฝ่ายบุคคลที่รับรู้ แต่ไม่มีการแจ้งไปยังฝ่ายระบบไอทีในทันทีทำให้พนักงานที่ลาออกไปสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ง่ายดาย

ด้วยช่องว่างของระบบเทคโนโลยีดังกล่าวทำให้บริษัทไพร้ซ วอเตอร์ เฮาส์ฯ ร่วมกับบริษัท ซัน ไมโครซิสเต็มส์ (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมมือกันเปิดตัวระบบการบริหารจัดการการรักษาความปลอดภัย หรือ Role Base Access Control (RBAC) ซึ่งซัน เรียกว่า โรล

หน้าที่ของระบบโรลจะควบคุมการเข้าถึงระบบที่จะช่วยลดความซ้ำซ้อนในการดูแลรักษาความปลอดภัย และช่วยให้ผู้ดูแลระบบสามารถกำหนดการเข้าใช้ระบบ โดยยึดตามบทบาทหน้าที่ของพนักงานและบริหารว่ามีอำนาจในการเข้าถึงข้อมูลของบริษัทได้ในระดับใด

ธนชาติ นุ่มนนท์ ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ บริษัท ซันฯ บอกว่าการนำระบบโซลูชั่นโรลเข้ามาทำตลาดในเมืองไทยในสถานการณ์เศรษฐกิจช่วงนี้ว่า พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ รวมถึงธุรกิจธนาคารเริ่มให้ความสนใจเรื่องความปลอดภัยในการเข้าถึงข้อมูลมากขึ้น

ความร่วมมือของทั้งสองบริษัทจะแบ่งหน้าที่กันรับผิดชอบ บริษัท ซัน เป็นเจ้าของเทคโนโลยีทำหน้าที่ให้บริการติดตั้ง ส่วนบริษัท ไพร้ซ วอเตอร์ เฮาส์ฯ เป็นผู้นำเสนอระบบดังกล่าวให้กับลูกค้า

ซึ่งก่อนหน้านี้ทั้งสองบริษัทได้เคยร่วมมือขายโซลูชั่นระบบบริหารจัดการ Id (Identity Management หรือ Idm เมื่อ 2 ปี ที่ผ่านมา

และระบบโรลที่นำมาจำหน่ายในปีนี้เป็นส่วนหนึ่งของโซลูชั่นไอดีเอ็ม

กลยุทธ์การทำตลาดของซันในช่วงเวลา 1-2 ปีที่ผ่านมาจะเน้นพัฒนาผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์เพื่อให้เข้าถึงอินเทอร์เน็ตที่เชื่อมโยงธุรกิจและบุคคลให้มีความใกล้ชิดกันมากขึ้น

การเลือกโซลูชั่นโรลเข้ามาทำในตลาดในช่วงนี้ถือได้ว่าเป็นจังหวะและโอกาสหลังจากที่เห็นสถาบันการเงินเกิดวิกฤติขึ้นอีกครั้งที่จะช่วยกระตุ้นให้ตระหนักถึงความปลอดภัยมากขึ้น

รวมถึงซัน มองว่าเป็นโอกาสที่จะหาลูกค้าใหม่ โอกาสใหม่ และเปิดสินค้าใหม่   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us