Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กันยายน 2546








 
นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2546
เมื่อธุรกิจขาดเงินทุน AJF ช่วยคุณได้             
โดย ปัณฑพ ตั้งศรีวงศ์
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา
โฮมเพจ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน อยุธยาเจเอฟ จำกัด - เอเจเอฟ

   
search resources

ธนาคารกรุงศรีอยุธยา
อยุธยาเจเอฟ, บลจ.
เจ พี มอร์แกน เฟลมมิ่ง
เรืองวิทย์ นันทาภิวัฒน์
Funds




บทบาทของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนกำลังเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ในภาวะที่สภาพคล่องกำลังล้นแบงก์ นอกจากการออกกองทุนมาดูดสภาพคล่องออกไปแล้ว ยังมีบทบาทอื่นที่ผู้จัดการกองทุนเหล่านี้ยังสามารถเล่นได้อีก

อีกไม่นานนี้ ไม่เพียงเฉพาะผู้มีเงินออมซึ่งต้องการแหล่งลงทุนที่ให้ผลตอบแทนดีกว่าการฝากเงินไว้กับธนาคารพาณิชย์ หากแต่นักธุรกิจผู้ซึ่งต้องการเงินทุน เพื่อนำไปใช้ในการขยายกิจการหรือใช้หมุนเวียน ภายในบริษัท หากได้มาปรึกษากับบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน อยุธยาเจเอฟ (AJF) แล้ว อาจจะไม่พบกับความผิดหวัง

เพราะขณะนี้ AJF กำลังอยู่ระหว่าง การกำหนดรายละเอียดของโครงสร้างและรูปแบบของกองทุนรวมประเภทใหม่ ซึ่งเป็นการระดมเงินจากผู้ลงทุนประเภทสถาบัน เพื่อนำมาซื้อตราสารหนี้ ซึ่งออกโดยกิจการที่ดี แต่ต้องประสบกับความลำบากในการไปกู้เงินจากธนาคารพาณิชย์โดยเฉพาะ

"กองทุนรูปแบบนี้ไม่เคยมีมาก่อนในประเทศไทย" เรืองวิทย์ นันทาภิวัฒน์ กรรมการผู้จัดการ AJF บอกกับ "ผู้จัดการ"

AJF เป็นบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนที่เกิดจากการร่วมทุนกันระหว่างธนาคารกรุงศรีอยุธยา กับเจพี มอร์แกน เฟลมมิ่ง และถือเป็นบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนที่ดำเนินกลยุทธ์ทางการตลาดแบบ aggressive อย่างต่อเนื่อง จน ทำให้มูลค่าหน่วยลงทุนประเภทกองทุนรวมที่ขายให้กับประชาชนทั่วไป เพิ่มสูงเป็นอันดับ 1 ของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมทั้งระบบได้เมื่อต้นปีที่ผ่านมา

AJF เริ่มมีแนวคิดในการออกกองทุน ประเภทใหม่นี้ตั้งแต่เมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว ซึ่งเป็นช่วงที่ปัญหาสภาพคล่องล้น ระบบเริ่มส่งสัญญาณที่ชัดเจนขึ้น จากการนำร่องประกาศลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์ต่างชาติ หลังจากนั้นได้เริ่มจัดทำรายละเอียดเสนอต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) จนล่าสุดเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ก.ล.ต.ก็ได้อนุมัติโครง สร้างเบื้องต้นของกองทุนดังกล่าวแล้ว

ด้วยรูปแบบใหม่ของกองทุนนี้ บทบาทของ AJF ดูเหมือนจะขยายขึ้นจากการที่เป็นเพียงผู้บริหารเงินทุนอย่างเดียว แต่จะทำหน้าที่เสมือนเป็นตัวกลางในการนำผู้ที่ต้องการใช้เงินทุนไปพบกับผู้ที่มีเงินและกำลังมองหาลูกค้าดีๆ เพื่อปล่อยกู้

"เพียงแต่กระบวนการมันจะสลับกัน การออกกองทุนรวมขายให้กับประชาชน เราต้องไปหาคนที่มีเงินและต้องการลงทุนก่อน แล้วค่อยนำเงินของเขาไปลงทุน แต่กองทุนรูปแบบใหม่นี้ เราต้องหาธุรกิจที่ต้อง การเงินทุนด้วยวิธีการนี้ให้ได้จำนวนหนึ่งก่อน แล้วค่อยไปหาผู้ลงทุนสถาบันเพื่อเสนอขายหน่วยลงทุนให้กับเขา" เรืองวิทย์อธิบาย

โครงสร้างโดยคร่าวๆ ของกองทุนนี้ จะเป็นกองทุนปิด อายุระหว่าง 7-10 ปี มีวงเงินรวมประมาณ 5,700 ล้านบาท โดย AJF จะขายหน่วยลงทุนให้กับนักลงทุนประเภทสถาบันโดยเฉพาะ กำหนดวงเงินขั้นต่ำสำหรับผู้ต้องการซื้อหน่วยลงทุนแต่ ละรายต้องซื้อไม่ต่ำกว่ารายละ 50 ล้านบาท

เงินที่ระดมได้จะนำไปซื้อตราสารหนี้ ซึ่งออกโดยบริษัทที่ AJF ได้คัดเลือกมาแล้ว ว่าเป็นบริษัทที่ดี ซึ่งมีกระจายอยู่ในอุตสาห-กรรมต่างๆ โดยจะซื้อหุ้นกู้รายละประมาณ 150-500 ล้านบาท

"บริษัทเหล่านี้แม้เป็นบริษัทที่ดีแต่ ก็ต้องพบกับความยุ่งยากในการไปขอเงินกู้จากธนาคารพาณิชย์ ขณะเดียวกันเขาก็ไม่มีชื่อเสียงถึงขนาดที่จะออกหุ้นกู้ขายเองโดยตรงให้กับประชาชนทั่วไปได้"

ผลตอบแทนที่ผู้ซื้อหน่วยลงทุนจะได้รับแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ผู้ซื้อหน่วย ลงทุนคลาส A จะได้รับผลตอบแทน 4% ต่อปี ส่วนผู้ซื้อหน่วยลงทุนคลาส B ได้รับผลตอบแทน 8%

"เราแบ่งอย่างนี้เพื่อความคล่องตัว ในการขายหน่วยลงทุน โดยการแยกระดับความเสี่ยงของกองทุนออกเป็น 2 ระดับ ผู้ซื้อหน่วยลงทุนที่ต้องการผลตอบแทนสูง ก็ซื้อคลาส B แต่ต้องรับความเสี่ยงมากกว่า ขณะที่ผู้ที่ไม่ต้องการเสี่ยงมาก ก็ซื้อคลาส A แต่ผลตอบแทนที่ได้รับจะต่ำกว่า"

ความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นกับหน่วยลงทุนประเภทนี้มีเพียงอย่างเดียว คือกรณีที่บริษัทผู้ออกตราสารหนี้เกิดมีปัญหาทางการเงิน จนไม่สามารถจ่ายดอกเบี้ยให้กับหุ้นกู้ที่ออกมาขายให้กับกองทุนได้ ซึ่งจัดว่ามีความเป็นไปได้ค่อนข้างน้อย

สำหรับ AJF ผลตอบแทนที่ได้รับ คือค่าธรรมเนียมในการจัดการกองทุน

กองทุนนี้อาจดูยุ่งยากในช่วงแรกของการจัดตั้ง เพราะ AJF ในฐานะคนกลาง จะต้องวิ่งหาธุรกิจที่ต้องการเงินทุนเข้ามาไว้ในมือจำนวนหนึ่งก่อนจึงจะสามารถจัดตั้งกองทุนได้ แต่เมื่อกองทุนนี้ได้มีการจัดตั้งขึ้นเรียบร้อยแล้ว บทบาทของ AJF คือ เฝ้าติดตามว่าธุรกิจที่ได้รับเงินไปจะสามารถจ่ายดอกเบี้ยหุ้นกู้ได้ตามกำหนดระยะเวลาหรือไม่ โดยไม่จำเป็นต้องนำเงินไปลงทุนประเภทอื่น ที่ต้องอาศัยเวลาในการติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดมากกว่า

AJF ตั้งเป้าหมายว่าจะเปิดตัวกองทุนนี้ ในอีก 1-2 เดือนข้างหน้า

แม้วงเงินขั้นต้นที่ตั้งไว้ 5,700 ล้านบาท ดูจะน้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับสภาพคล่องส่วนเกินที่มีอยู่ในระบบถึง 8 แสนล้านบาท แต่หากกองทุนแรกที่ถูกจัดตั้งขึ้นประสบความสำเร็จ และมีผู้สนใจจะใช้วิธีการนี้ในการระดมทุนหรือระบายสภาพคล่องเพิ่มขึ้น โอกาสที่ AJF จะจัดตั้งกองทุนที่ 2 หรือบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนแห่งอื่นจะเอาแบบบ้าง ก็มีความเป็นไปได้

ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นจริง กองทุนประเภทนี้ก็จะเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่จะดึงเงิน ที่กองล้นอยู่ในระบบหมุนเวียนออกไปสู่ภาคการผลิตที่แท้จริง ซึ่งยังคงมีความต้องการเงินทุนอยู่เป็นจำนวนมากในขณะนี้

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us