Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กันยายน 2546








 
นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2546
ปรวรรณ สุดศก "บัตรเครดิตเป็นงานที่สนุก"             
โดย ปัณฑพ ตั้งศรีวงศ์
 

   
related stories

เมื่อแชมป์เก่ากำลังกลับมา

   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารกสิกรไทย

   
search resources

ธนาคารกสิกรไทย, บมจ.
บัณฑูร ล่ำซำ
ปรวรรณ สุดศก
ชนะ รุ่งแสง




การกลับเข้ามาทวงส่วนแบ่งตลาดในธุรกิจบัตรเครดิต ขณะที่ธุรกิจนี้กำลังมีการแข่งขันกันอย่างรุนแรงจากผู้เล่นรายใหม่จากต่างประเทศที่มีความได้เปรียบทางด้านเทคโนโลยี ทำให้บัณฑูร ล่ำซำ จำเป็นต้องเลือกใช้คนรุ่นใหม่ที่มิได้มีแนวคิดติดยึดอยู่กับกรอบเดิมๆ เป็นผู้นำทัพ

ปรวรรณ สุดศก เป็นคนที่บัณฑูรเลือก

ปรวรรณ ถือเป็น 1 ในทีมงานผู้บริหารรุ่นหนุ่ม-สาวเลือดใหม่ของธนาคารกสิกรไทย ในยุคที่มีการปรับตัวครั้งใหญ่ เพื่อนำพาให้ธนาคารผ่านพ้นจากห้วงวิกฤติ

เธอถูกแต่งตั้งให้เข้ามารับตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายบัตรเครดิต เมื่อต้นปี 2544 ขณะที่อายุเพิ่งก้าวเข้าสู่เลขหลัก 3 ได้เพียง 1 ปี และมีอายุงานอยู่ในธนาคารกสิกรไทยเพียง 6 ปีเท่านั้น

ปรวรรณเป็นลูกสาวคนเล็กของชนะ รุ่งแสง อดีตรองประธานกรรมการ อำนวยการ ซึ่งเป็นผู้บริหารระดับสูงที่ทำงานให้ธนาคารกสิกรไทยมาตั้งแต่ยุคเริ่มต้น

ในสังคมไทยคงห้ามไม่ได้ถ้าบางคนที่รู้จักพื้นฐานครอบครัวของปรวรรณ แต่ยังไม่รู้จักตัวตนของเธอดี จะคิดว่าการเติบโตอย่างรวดเร็วในหน้าที่การงานของเธออาจได้รับแรงสนับสนุนจากบิดา

แต่ในใจของเธอมิเคยคิดเช่นนั้น หนำซ้ำเธอกลับคิดตรงกันข้ามว่า ด้วยปัจจัยนี้ยิ่งเป็นการเพิ่มแรงกดดันให้กับเธอที่จะต้องพิสูจน์ตัวเองด้วยการทำการบ้าน และทำงานให้หนักกว่าพนักงานคนอื่นๆ

"ตั้งแต่มาอยู่ที่นี่ ต้องทำงานถึง 2 ทุ่ม 3 ทุ่มทุกวัน" เธอบอก

แม้แต่ในวันที่ 30 กรกฎาคมที่ผ่านมา ซึ่งธนาคารกสิกรไทยได้จัดงานเปิดตัวบริการ Platinum Signature ซึ่งเธอจำเป็นต้องลงมาร่วมงานด้วย ว่ากันว่าหลังงานเลิกเมื่อเวลา 3 ทุ่มกว่าๆ เธอยังต้องขึ้นไปนั่งทำงานต่ออีกพักใหญ่จึงจะได้กลับบ้าน

ปรวรรณมิได้เพียงแค่เติบโตเร็วในหน้าที่การงานเท่านั้น สมัยเรียนหนังสือเธอก็เรียนเร็วกว่าเพื่อนรุ่นเดียวกัน 1 ปี

เธอจบชั้นมัธยม 3 จากโรงเรียนสาธิตฯ จุฬา และสอบเข้ามัธยมปลายสายวิทย์ที่โรงเรียนเตรียมอุดม แต่เธอใช้เวลาเรียนที่นี่เพียง 2 ปี ก็สามารถสอบเทียบและเอ็นทรานซ์ติดคณะบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เธอจบปริญญาตรีพ่วงด้วยดีกรีเกียรตินิยม ในปี 2531 และใช้เวลาอีก 2 ปี เรียนต่อปริญญาโทบริหารธุรกิจ สาขาการเงินจากสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์

ปรวรรณเริ่มต้นทำงานที่แรกในตำแหน่งพนักงานสินเชื่อทั่วไป บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ภัทรธนกิจ ทำงานได้เพียงปีเศษก็ย้ายมาทำสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ที่บริษัทเงินทุนเอกธนกิจ ซึ่งเป็นช่วงที่บริษัทเงินทุนที่มีสินทรัพย์ใหญ่กว่าธนาคารแห่งนี้อยู่ในยุคเฟื่องฟูสุดๆ

"อยู่ที่นี่เคยได้รับโบนัสปีหนึ่งถึง 12 เดือน"

ด้วยความเป็นคนกระตือรือร้นต้องการเรียนรู้งานใหม่ๆ อยู่เสมอ หลังทำงานที่เอกธนกิจได้ประมาณ 2 ปี ปรวรรณได้เปลี่ยนงานอีกครั้ง โดยเข้ามาเป็นพนักงานในฝ่ายวาณิชธนกิจ ธนาคารกสิกรไทย ยุคที่มีบุญทักษ์ หวังเจริญ เป็นผู้อำนวยการฝ่าย

"ตอนนั้นที่กสิกรไทยมีชื่อเสียงมากในเรื่องการออกหุ้นกู้ เราก็เห็นว่าเรื่องนี้เป็นสิ่งใหม่ เป็นบริการทางการเงินที่มีความสลับซับซ้อนมากกว่าสินเชื่อทุกประเภทที่เคยทำมาแล้ว จึงย้ายมาที่นี่"

ปี 2538 ซึ่งเป็นปีแรกที่ปรวรรณเข้ามาเป็นพนักงานธนาคารกสิกรไทย เป็นช่วงที่ธนาคารแห่งนี้มีส่วนแบ่งการตลาดการเป็นผู้จัดจำหน่ายหุ้นกู้สูงเป็นอันดับ 1 มีลูกค้ารายใหญ่หลายราย เช่น บริษัทผลิตไฟฟ้า บริษัทผลิตไฟฟ้าระยอง บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์เกียรตินาคิน ฯลฯ

เธอได้เรียนรู้งานเกี่ยวกับการออกหุ้นกู้ได้เพียง 2 ปี เมื่อเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ ภาระหน้าที่ก็ต้องเปลี่ยนแปลงไปอีกครั้ง

วิกฤติเศรษฐกิจทำให้สถาบันการเงินของไทยต้องเริ่มตื่นตัวกับคำว่าการบริหารความเสี่ยง ธนาคารกสิกรไทยเองก็ไม่แตกต่างจากสถาบันการเงินแห่งอื่นๆ ฝ่ายบริหารความเสี่ยงองค์การของธนาคารกสิกรไทยเพิ่งเริ่มจัดตั้งขึ้นในกลางปี 2541 โดยมีประสพสุข ดำรงชิตานนท์ เป็นผู้อำนวยการฝ่ายคนแรก

ประสพสุขเป็นนักเรียนทุนของธนาคาร และเป็นหัวหน้าโดยตรงของปรวรรณในฝ่ายวาณิชธนกิจ เมื่อประสพสุขได้รับมอบหมายให้มาดูแลเรื่องการบริหารความเสี่ยง ปรวรรณได้ขอย้ายตามมาอยู่ด้วย

"มองว่าเรื่องนี้จะเป็นสิ่งที่จำเป็นที่สุดในอนาคต จึงขอคุณบุญทักษ์ย้ายมาทำตรงนี้ เริ่มต้นในฝ่ายก็ทำงานกับคุณประสพสุขอยู่เพียง 2 คน จนเกือบ 1 ปี จึงเริ่มมีคนเข้ามาเพิ่ม"

ด้วยความที่เป็นพนักงานรุ่นแรกของฝ่ายบริหารความเสี่ยงองค์การ ทำให้ปรวรรณได้มีโอกาสเรียนรู้หลักวิชาการบริหารความเสี่ยงของสถาบันการเงินอย่างช่ำชอง เมื่อธนาคารกสิกรไทยจำเป็นต้องรุกในตลาดธุรกิจบัตรเครดิต ซึ่งจำเป็นต้องใช้หลักการบริหารความเสี่ยงเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยแทบทุกด้าน เธอจึงถูกบัณฑูร ล่ำซำ เลือกให้เข้ามาดูแลส่วนงานนี้

ปรวรรณบอกว่าตั้งแต่เรียนจบและได้ทำงานมาหลากหลายสายงาน ธุรกิจบัตรเครดิตเป็นงานที่เธอรู้สึกว่าสนุกที่สุด เพราะเวลาที่ได้นำเสนองานใหม่ๆ ออกไป จะได้รับผลตอบสนองจากผู้บริโภคคืนมาอย่างรวดเร็ว และเป็นรูปธรรม

ซึ่งเป็นลักษณะงานที่ทำให้เธอต้องใช้เวลานั่งคิด และสร้างสรรค์งานใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา

ปัจจุบันปรวรรณอายุ 34 ปี แต่ด้วยวัยเพียงเท่านี้ เธอกลับได้มีโอกาสเข้าไปมีส่วนร่วมอยู่ในพลวัตของธุรกิจไทยทั้งในยุคเฟื่องฟูอย่างสุดขั้ว จนมาถึงยุคตกต่ำสุดขีด "ตอนวิกฤติยังเคยนั่งมองกันเลยว่าหุ้นของบริษัทที่เราเคยมองว่าดี ทำไมถึงกลายเป็นอย่างนี้ไปได้"

ด้วยประสบการณ์ที่หลากหลาย บวกกับความรู้เรื่องการบริหารความเสี่ยง การที่ปรวรรณได้ขึ้นมาเป็นผู้นำในฝ่ายบัตรเครดิต น่าจะมีส่วนช่วยให้การกลับมาทวงความยิ่งใหญ่ในธุรกิจนี้ของธนาคารกสิกรไทยเป็นไปด้วยความมั่นคงยิ่งขึ้น

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us