ภ า พ ร ว ม
ออเรนจ์เป็นผู้ดำเนินการโทรศัพท์มือถือรายใหญ่ที่สุดในสหราชอาณาจักร มีฐานกิจการอยู่ที่ลอนดอน
และเป็นกิจการสาขาของ "ฟรานซ์ เทเลคอม" และเป็นกิจการหน้าใหม่ ที่ก้าวขึ้นติดอันดับสี่ผู้เล่นในตลาดโทรศัพท์ไร้สายของสหราชอาณาจักร
ออเรนจ์มีลูกค้ากว่า 7 ล้านราย ส่วนใหญ่เป็นผู้ใช้ระบบดิจิตอลจีเอสเอ็ม
บริษัทรั้งอันดับสามในตลาดโทรศัพท์ไร้สายในสหราชอาณาจักร เป็นรองโวดาโฟน และบีทีเซลเน็ต
และเมื่อตลาดยุโรปผ่อนคลายข้อกำหนดด้านกิจการโทรคมนาคมมากขึ้นออเรนจ์จึงเล็งที่จะขยายตลาดของตนเช่นกัน
โดยได้เข้าไปซื้อหุ้น "คอนเน็คต์ ออสเตรีย" กิจการด้านโทรศัพท์ในออสเตรีย
"เคพีเอ็น ออเรนจ์" แห่งเบลเยียม และ "ออเรนจ์ คอมมิวนิเคชันส์" ในสวิตเซอร์แลนด์
ทั้งนี้ "ฮัทชิสัน วัมเปา" แห่งฮ่องกง ซึ่งเคยเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของออเรนจ์ได้ขายไลเซนส์ชื่อยี่ห้อ ที่แปลกสะดุดตานี้ในออสเตรีย
ฮ่องกง และอิสราเอล
กลุ่มธุรกิจมานเนสมานน์แห่งเยอรมนีเข้าถือครองกิจการออเรนจ์ในปี 1999 หลังจากซื้อหุ้นคืนจากฮัทชิสันวัมเปา และผู้ถือหุ้นรายอื่น
แต่มานเนสมานน์ก็ถูกโวดาโฟนซื้อกิจการในปี 2000 จึงต้องยินยอมขายกิจการ ออเรนจ์ออกไป
เพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดด้านธุรกิจโทรคมนาคม "ฟรานซ์ เทเลคอม" ประกาศแผนว่าจะรวมกิจการออเรนจ์กับกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่อื่น และขายหุ้นส่วนน้อยจำนวนหนึ่งแก่สาธารณชน
ค ว า ม เ ป็ น ม า
ออเรนจ์ก่อตั้งกิจการเมื่อปี 1994 เมื่อ "ฮัทชิสัน เทเลคอมมิวนิเคชันส์"
ซึ่งอยู่ในเครือของกลุ่มธุรกิจ ฮัทชิสัน วัมเปาแห่งฮ่องกงเข้าไปทำธุรกิจบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในอังกฤษ
โดยก่อนหน้านั้น ในปี 1989 ได้เริ่มเข้าสู่ธุรกิจแขนงนี้ด้วยการซื้อกิจการเพจจิ้งในออสเตรเลีย และกิจการโทรศัพท์มือถือในสหราชอาณาจักร
ปี 1990 ฮัทชิสันเปิดตัวโครงการดาวเทียมเอเชียแซท 1 ซึ่งเป็นการร่วมทุนโครงการหนึ่ง
ซึ่งทำให้สินทรัพย์กิจการมีทั้งการกระจายเสียงผ่านดาวเทียม และวิทยุ โทรศัพท์แบบติดตั้งคู่สาย
โทรศัพท์ไร้สาย และบริการเพจจิ้ง (แต่ในปี 1999 ฮัทชิสันก็ขายหุ้นเอเชียแซทออกไป)
ปี 1992 ฮัทชิสันเข้าไปร่วมทุนทางด้านโทรคมนาคมในสหราชอาณาจักรเป็นครั้งแรกในกิจการ
"แรบบิต เทเลพอยท์" (Rabbit Telepoint) แต่กลับประสบความล้มเหลวเพราะตลาดอังกฤษมีการแข่งขันสูงมาก และฐานลูกค้ามีลักษณะกระจัดกระจายต่างจากในฮ่องกง
หลังจาก ที่มีลูกค้าเพียง 9,000 ราย บริษัทก็ปิดตัวลงในปี 1993 และรับรู้ว่าบริการโทรศัพท์พกพาแบบสื่อสารทางเดียวราคาถูก ซึ่งชื่อ
"เทเลพอยท์" นั้น ไม่อาจแข่งขันได้กับโวดาโฟน และเซลเน็ต แต่ฮัทชิสัน วัมเปาก็ไม่ย่อท้อ
เล็งหาลู่ทางใหม่ โดยต่อมาได้ตั้งกิจการ "ฮัทชิสัน เทเลคอม" ซึ่งมีบริติช
แอโรสเปซถือหุ้น 30% และบาร์เคลส์ถือหุ้น 5% และเริ่มดำเนินการระบบการสื่อสารไร้สายในสหราชอาณาจักร
ฮัทชิสันเริ่มให้บริการการสื่อสารส่วนบุคคลแบบ พีวีเอสในชื่อ "ออเรนจ์"
ในปี 1994 นับเป็นกิจการแห่งสุดท้าย ที่เข้าไปแทรกตลาดโทรศัพท์เคลื่อนที่ ที่แข่งกันมากในสหราชอาณาจักร
โดยมีคู่แข่งทั้งโวดาโฟน เซลเน็ต (กิจการในเครือบีที) และวันทูวัน (กิจการร่วมทุนระหว่างเคเบิลแอนด์ไวร์เลส และยูเอสเวสต์
ซึ่งต่อมาดอยชต์ เทเลคอมเข้าซื้อกิจการในปี 1999) ในตอนแรกเครือข่ายของออเรนต์ครอบคลุมพื้นที่ในสหราชอาณาจักรเพียงครึ่งเดียว
แต่ในปี 1995 ก็ขยายพื้นที่บริการได้ถึง 90% และยังอ้างว่ามีส่วนแบ่งตลาดสมาชิกผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ดิจิตอลถึง
25% ปีถัดมาบริษัทได้ลูกค้าเพิ่มกว่า 400,000 ราย เมื่อกิจการประสบความสำเร็จ
ฮัทชิสัน วัมเปาจึงนำกิจการจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในชื่อ ออเรนจ์
ปี 1997 ออเรนจ์ร่วมกับกลุ่ม VUAG ซึ่งได้ ไลเซนส์ดำเนินการโทรศัพท์ระบบจีเอสเอ็ม
"คอนเน็คต์ ออสเตรีย" ต่อมายังได้ไลเซนส์ใน สวิตฯ และเบลเยียมด้วย นอกจากนั้น ยังพยายามเสริมความแข็งแกร่งชื่อออเรนจ์ด้วยการขาย
ไลเซนส์ชื่อออเรนจ์ให้กับฮัทชิสัน เทเลคอมในฮ่องกง และพาร์ตเนอร์ชิพ คอมมิวนิเคชันในอิสราเอลด้วย
มานเนสมานน์แห่งเยอรมนีเข้าถือหุ้นส่วนใหญ่ในออเรนจ์ด้วยการซื้อหุ้นมูลค่า
33,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 1999 และเป็นเจ้าของกิจการเต็มรูปในปีต่อมา
แต่ปรากฏว่ามานเนสมานน์กลับถูกโวดาโฟนซื้อกิจการ จึงต้องขายกิจการออเรนจ์ออกไปตามกฎหมายป้องกันการผูกขาดธุรกิจ
โดยมีฟรานซ์ เทเลคอมเข้าซื้อกิจการมูลค่า 37,500 ล้านดอลลาร์ทั้งในรูปเงินสด และหุ้น