Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กันยายน 2546








 
นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2546
Happy ในแบบ DYR             
โดย ไพเราะ เลิศวิราม
 

   
related stories

In house Agency
เรียนรู้ Brand ข้ามชาติ
Exclusive

   
www resources

โฮมเพจ DTAC

   
search resources

โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น, บมจ.
เดนท์สุ ยังค์ แอนด์ รูบิแคม, บจก. - DYR
ดลชัย บุณยะรัตเวช
เยาวพรรณ ชัยปราณี




จะตั้งใจหรือไม่ก็ตาม บรรยากาศในการสัมภาษณ์ช่วงเช้าวันนั้น ดูจะเต็มไปด้วยรอยยิ้มและเสียงหัวเราะ

เป็นเสียงหัวเราะของดลชัย บุณยะรัตเวช Chairman & CEO ของบริษัทเดนท์สุ ยัง แอนด์ รูบิแคม จำกัด หรือ DYR และเยาวพรรณ ชัยปาณี ที่ปรึกษาประชาสัมพันธ์ของ DTAC ทั้งดลชัยและเยาวพรรณคือผู้ที่ถูกเลือกมาร่วมในการยกเครื่อง บริการบัตรเติมเงิน Dprompt ไปสู่ความหมายของคำว่า Happy ซึ่งถือว่าได้ผลตอบรับอย่างดี

สำหรับ DTAC แล้วการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ไม่ใช่แค่การ re-launch แบรนด์เท่านั้น แต่เป็นการเปลี่ยนรูปแบบการทำงานทั้งหมด ทั้งระบบภายใน เทคโนโลยีที่ต้องรองรับได้ คนทำงานที่ต้อง เปลี่ยนตั้งแต่วิธีคิด การทำงาน รูปแบบของโฆษณาและประชาสัมพันธ์ (อ่านกะเทาะวิธีคิด เบื้องหลัง Happy Dprompt ใน "ผู้จัดการ" ฉบับ กรกฎาคม 2546)

เยาวพรรณเข้ามารับหน้าที่เป็นที่ปรึกษาที่ต้องดูแล Marketing Communication ของโครงการนี้ โดยดูแลเนื้อหาที่จะสื่อไปทั้งภายใน และภายนอกให้ตอบโจทย์เดียวกัน รวมทั้งเข้าร่วมในการคัดเลือกเอเยนซี่

ขณะที่ดลชัยเข้ามาในฐานะ CEO ของบริษัท DYR ที่ถูกเลือก ให้เป็นเอเยนซี่ที่ต้องสร้าง Brand Happy ไปสู่การรับรู้ของผู้คนให้มากที่สุด โดยที่การรับรู้ brand ของผู้บริโภค จะต้องเกิดเป็นรายได้ หรือพูดง่ายๆ คือได้ทั้งกล่องและทั้งเงิน

งานนี้ดลชัยลงมาดูแลลูกค้าด้วยตัวเอง พร้อมกับทีมงานและเครื่องมือต่างๆ ที่ DYR มีอยู่เพื่อใช้วิเคราะห์แง่มุมพฤติกรรมของผู้บริโภค และการรับรู้เรื่องของ Brand

ขั้นตอนแรกที่ DYR ทำ เริ่มต้นด้วยการศึกษาหาข้อมูลพฤติกรรมผู้ใช้บริการ Dpropmt ซึ่งการวิเคราะห์วิจัยครั้งนี้จะต้องมากกว่าการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน เช่น เงินเดือน อาชีพ แต่ต้องลงลึกถึงพฤติกรรมกลุ่มเป้าหมายอย่างแท้จริง

"ที่ DYR เรามีเครื่องมือตัวหนึ่งที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลเบื้องลึกของลูกค้า เราเรียกว่า Culturally Character Consumer Restrict เป็นการวิจัยจิตวิทยาของผู้บริโภค โดยจะแบ่งออกเป็น 7 กลุ่ม"

ความปลอดภัยในการใช้ชีวิตอย่างมีความสุข ไม่ต้องการแสวงหาภาพลักษณ์หรือความสำเร็จคือฐานข้อมูลพฤติกรรมลูกค้ากลุ่มเป้าหมายที่ได้รับ จากนั้นจะนำข้อมูลเหล่านี้ซึ่งถือว่าเป็นแกนความคิด เพื่อใช้ต่อยอดออกมาเป็น งานครีเอทีฟ ยึดเอาพฤติกรรมผู้บริโภคที่ได้รับเป็นหลัก

"ความสุขพร้อมเติม" คือประโยคทองที่กลายเป็นแคมเปญที่ได้รับจากการนำเอาผลวิจัยพฤติกรรมมาบวกผสมกับงานครีเอทีฟ ที่ทำให้เอเยนซี่รายนี้โดนใจทีมงานของ DTAC ที่คิดคอนเซ็ปต์ออกมาใกล้เคียงกัน

โจทย์ขั้นต่อไปของ DYR คือ นำเอา แคมเปญเหล่านี้สื่อความหมายไปถึงกลุ่มเป้าหมายอย่างชัดเจน เพื่อให้สอดคล้องกับ กลุ่มเป้าหมายหลัก ยึดหลักที่ว่าต้องง่ายที่สุด

"เราจะพูดแบบกำกวมเหมือนเดิมไม่ได้ เพราะกลุ่มเป้าหมายเป็นกลุ่มชอบอะไรที่ง่ายๆ ไม่ต้องคิดมาก ซึ่งแคมเปญใน อดีตส่วนใหญ่เป็นแค่ความรู้สึก ไม่ชัดเจน แต่คราวนี้ต้องไม่ใช่ ทุกอย่างต้องชัดเจน โดยเฉพาะผลกำไรที่ลูกค้าจะได้รับ" ดลชัย บอก

เพราะสิ่งที่เขาต้องทำหลังจากนั้น คือการที่ต้องสื่อความหมายไปยังผู้บริโภค และต้องทำให้เป็น mass มากที่สุด คือในลักษณะของ Total Communication โดย ที่ทุกสื่อจะต้องเชื่อมโยงความหมายของแบรนด์โดยมีสโลแกนความสุขพร้อมเติม เป็นตัวควบคุม

"ไม่ว่าจะเปิดบูธ ทำประชาสัมพันธ์ ทำโปรโมชั่น หรือทำ event บุคลิกของแบรนด์ จะเป็นตัวคุม"

เพื่อสร้างความชัดเจนมากขึ้นกว่าเก่า ดลชัยนำเอาเครื่องมือ (tool) มาใช้สำหรับวิเคราะห์ตัวตนของแบรนด์สะท้อนผ่านบุคลิกของบุคคล

"พอมาเปรียบเทียบคู่แข่งอย่างแบรนด์ One 2 Call จะมีบุคลิกของ explorer คือนักค้นพบตัวเอง อาจจะเครียด เล็กน้อย ส่วนออเร้นจ์เป็น relationship เป็นเรื่องของความเข้าใจซึ่งกันและกัน เมื่อมาวิเคราะห์ตัวเอง เราพบว่าเป็นพวกที่มีสีสัน ชอบสนุก เป็นคนขี้เล่น มีมุขใหม่ๆ มาให้ประหลาดใจเสมอ"

นี่คือที่มาของการใช้สีแดงเพื่อสื่อความหมายบุคลิกของแบรนด์ที่ต้องให้ภาพความแปลกใหม่ผ่านไปยังสื่อต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งพนักงานภายในองค์กร งานแถลงข่าว โฆษณา สื่อต่างๆ ทีวี วิทยุ หนังสือพิมพ์ บูธแสดงสินค้า หรือแม้แต่แผ่นพับ และพรมหน้าบริษัท

ทั้งหมดนี้คือเบื้องหลังของการทำงานของเอเยนซี่ สื่อความหมายของการสร้างแบรนด์ Happy และนำเอาสัญลักษณ์รอยยิ้มสีแดงไปสู่การรับรู้ของผู้คน

ข้อมูลจำเพาะ

- Prepaid Business Unit เป็นหน่วยงานที่เกิดขึ้นจากการปรับโครงสร้างองค์กร DTAC เปลี่ยนจากการแบ่งตามสายงานมาเป็นการแบ่งตามสายผลิตภัณฑ์
- ยอดจดทะเบียนล่าสุดของบริการบัตรเติมเงิน 259,000 เลขหมาย
- ยอดจดทะเบียนทั้งหมดของ DTAC 5,899,395 เลขหมาย
- บริการจ่ายค่าบริการรายเดือน My เลือกใช้บริษัท Creative Juice ของวิทวัส ชัยปาณี เป็นเอเยนซี่โฆษณา

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us