|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
กนง.ไม่นิยมยาแรง ลงมติวานนี้ปรับลดดอกเบี้ยลงแค่ 0.5% ส่งผลดอกเบี้ยนโยบายล่าสุดอยู่ที่ 1.5% บอร์ด กนง.เตือนสติเอกชนอย่าหวังเศรษฐกิจบูมเหมือนที่ผ่านมา แจงลดดอกเบี้ยไม่ใช่ยาวิเศษฟื้นเศรษฐกิจเช่นเดียวกับส่งออกจะพึงพาค่าบาทอ่อนอย่างเดียวไม่ได้ ผู้บริหารซีพีจำนนตอนนี้ลดดอกเบี้ยช่วยได้น้อยมาก บิ๊ก ธปท.ยอมรับเศรษฐกิจไทยมีโอกาสติดลบต่อเนื่อง 3 ไตรมาส แต่ไม่ถึงเข้าสู่ภาวะถดถอย ก่อนจะผงกหัวในไตรมาสที่ 4 จวกมูดี้ส์ข้อมูลมั่ว ชี้เฉพาะตัวเลขส่งออก "ไต้หวัน เกาหลี สิงคโปร์" ดิ่งนรกกว่าพี่ไทยเยอะ ขณะที่ รมว.คลังออกโรงกางข้อมูลมูดี้ส์ หวั่นคนแตกตื่นทั้งๆ ที่ในบทวิเคราะห์ทำนายจีดีพีไทยดีกว่าสิงคโปร์ไต้หวันและญี่ปุ่น
เมื่อวานนี้ (25ก.พ.) คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ประชุมทิศทางอัตราดอกเบี้ยและแนวโน้มเศรษฐกิจไทยในช่วงต่อไป โดย น.ส.ดวงมณี วงศ์ประทีป ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แถลงภายหลังการประชุมฯ ว่า กนง.มีมติให้ปรับลดดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วัน หรือดอกเบี้ยนโยบายลง 0.50% ส่งผลให้ดอกเบี้ยดังกล่าวลดลงจาก 2.00% เหลือ 1.50% เป็นไปตามภาวะเศรษฐกิจโลกที่กำลังอ่อนตัวแรงและเร็วเกินไป ประเทศไทยจึงต้องมีนโยบายออกมาช่วยกระตุ้นอุปสงค์ภายใน
น.ส.ดวงมณีระบุว่าภาวะเศรษฐกิจโลกเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ประเทศที่พัฒนาแล้วและกำลังพัฒนาได้รับผลกระทบจากการส่งออกที่ลดลง ส่วนมาตรการรัฐบาลที่ออกมากระตุ้นเศรษฐกิจคงต้องใช้เวลาสักระยะหนึ่ง อย่างไรก็ตาม แม้ไตรมาส 4 ของปี 51 เศรษฐกิจไทยจะติดลบ 4.3% ซึ่งในทางทฤษฎีหากเศรษฐกิจติดลบ 2 ไตรมาส ถือว่าเข้าสู่ภาวะถดถอย แต่ กนง.มองว่าเศรษฐกิจไทยในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้จะดีกว่าไตรมาสสุดท้ายของปีก่อน หากภาครัฐจะมีการใช้จ่ายมากขึ้น และจากปัญหาการเมืองที่นิ่ง ทำให้การลงทุนที่เคยเลื่อนมาอาจเห็นในไตรมาสนี้มากขึ้น
ขณะที่การนำเข้าอาจลดลงจากในช่วงไตรมาส 4 ปีก่อนได้สั่งสินค้ามาเก็บสต็อกไว้จำนวนมากแล้วและการส่งออกจะดีกว่าเดิมส่งผลให้ดุลการค้าขยายตัวดีขึ้นและเศรษฐกิจสามารถเดินหน้าต่อไปได้
“เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อนมีโอกาสติดลบในช่วงไตรมาส 1-3 แต่คาดว่าจะกลับเป็นบวกในช่วงไตรมาสที่ 4 จึงคาดว่าเศรษฐกิจไทยจะฟื้นตัวได้ภายในปลายปีนี้”
ส่วนสถานการณ์หลังจากที่ กนง.ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเมื่อวันที่ 3 ธ.ค.51 และวันที่ 14 ม.ค.52 พบว่าห้สถาบันการเงินปรับลดอัตราดอกเบี้ยในในตลาดทั่วไปและต้นทุนการเงิน รวมถึงอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้น โดยพาณิชย์ในระบบปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากลงมา 1.31% และเงินกู้ลด 0.75% ถือเป็นการส่งสัญญาณปรับลดต่อเนื่อง ส่วนการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของสถาบันการเงินในระยะต่อไป ขึ้นอยู่กับต้นทุนของสถาบันการเงินแต่ละแห่งเป็นสำคัญ
ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยไม่ได้ต่ำสุดหรือสูงสุดในเอเชีย โดยขณะนี้ไทยมีอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่แท้จริง ซึ่งหักอัตราเงินเฟ้อแล้วอยู่ที่ระดับ 1.9% ขณะที่จีนอยู่ที่ระดับ 4.3% ส่วนอังกฤษติดลบ 0.2% ไต้หวันติดลบ 0.35% ญี่ปุ่นลบ 0.3% สหรัฐติดลบ 0.125% จึงมองว่าไม่น่าจะมีปัญหาเรื่องเงินทุนเคลื่อนย้ายในระยะต่อไป
เงินเฟ้อต่ำกว่ากรอบนโยบายการเงิน
สำหรับอัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มลดลงและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานมีโอกาสต่ำกว่าเป้าหมายในบางช่วงของปีนี้ ซึ่งอาจต่ำกว่า 0.5% และอาจต่ำกว่ากรอบอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่ใช้เป็นเป้าหมายในการดำเนินนโยบายการเงินแบบใหม่ คือ 0.5-3.5% รวมถึงผลต่อราคาที่อยู่ในตะกร้าใช้วัดต่ำไปด้วย แต่เชื่อว่าไม่มีผลต่อเศรษฐกิจ เพราะช่วยช่วยกำลังซื้อ อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าจากมาตรการภาครัฐในการแบ่งเบาภาระค่าครองชีพของประชาชนช่วยลดปัญหาเงินเฟ้อได้ในระดับหนึ่ง พร้อมทั้งการผ่อนคลายนโยบายการเงินต่อเนื่อง จึงสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและดูแลเสถียรภาพของระดับราคาในช่วงต่อไปได้
จวกมูดี้ส์มั่ว ศก.ไทยแย่สุดในเอเชีย
กรณีที่สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ มูดี้ส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิสได้ระบุว่าเศรษฐกิจไทยต่ำสุดในภูมิภาคเอเชียนั้น ผู้ช่วยผู้ว่าการธปท. กล่าวว่า ธปท.เห็นว่าไม่สอดคล้องกับสิ่งที่เกิดขึ้นจริง เพราะเศรษฐกิจไทยไม่ได้เลวร้ายสุดในเอเชีย และจะทำความเข้าใจกับมูดี้ส์ต่อไป โดยจากข้อมูลที่ ธปท.มีอยู่ชี้ให้เห็นว่าประเทศอื่นในภูมิภาคยังแย่กว่าไทย โดยในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 51 เศรษฐกิจไต้หวันติดลบถึง 8.4% เทียบกับไทยติดลลบ 4.3% ส่วนการส่งออกในเดือนม.ค.ไทยติดลบ 26.5% ถือว่าเด็กๆ เพราะประเทศอื่นๆ ติดลบเยอะกว่า เช่น ไต้หวันลบ 44.1% เกาหลีติดลบ 32.8% สิงคโปร์ลบ 40.0% เป็นต้น
บอร์ด กนง.แจงที่มาลดแค่ 0.5%
นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช หนึ่งในกรรมการกนง. กล่าวภายหลังการประชุมว่า การปรับลดดอกเบี้ยนโยบายเพียงอย่างเดียวไม่ได้ช่วยให้เศรษฐกิจกลับมารุ่งเรืองได้ เพราะช่วยแค่เพิ่มกำลังซื้อและลดภาระด้านต้นทุนเท่านั้น แต่หากเศรษฐกิจไม่ดี การขายของก็จะลำบาก ดังนั้น การลดอัตราดอกเบี้ยต้องดูผลข้างเคียงด้วย เพราะหากลดดอกเบี้ย 1% ทำให้รายได้ของบุคคลที่อาศัยดอกเบี้ยหดหายไปถึง 3-4 หมื่นล้านบาท รวมถึงการบริโภคด้วย ดังนั้น การลดอัตราดอกเบี้ยจึงไม่ใช่การแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียว เช่นเดียวกับนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนจะให้เงินบาทอ่อนค่า เพื่อช่วยภาคส่งออกก็เป็นไปไม่ได้ เพราะที่ผ่านมาเกิดจากความต้องการจากต่างประเทศหดตัว ฉะนั้นแม้รายได้ผู้ส่งออกจะเพิ่มขึ้นในช่วงที่เงินบาทอ่อนก็ไม่ทำให้ส่งออกดีขึ้น ถือว่าเกาไม่ถูกที่คัน
“การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยในปีนี้จะลำบาก และไม่มีโอกาสเหมือนปี 51 ซึ่งเศรษฐกิจขยายตัว 6.1% ซึ่งเศรษฐกิจในไตรมาสสุดท้ายปีก่อนที่แย่เกิดจากการปิดสนามบิน ทำให้การส่งออกแย่ แต่ในไตรมาสแรกปีนี้ผลกลับที่เราประเมินไว้ว่าจะมีผลมูลค่าส่งออก 60% กลับไม่ถึงขนาดนั้น และแม้ขณะนี้การท่องเที่ยวในเขตกรุงเทพไม่ดี แต่ในภาคใต้ยังดีอยู่ ฉะนั้นกว่าเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวได้ต้องใช้เวลาอย่างน้อย 2 ปี หรือปลายปี 53”
ซีพียอมรับลดดอกเบี้ยช่วยได้น้อย
นายอาชว์ เตาลานนท์ รองประธานกรรมการ เครือเจริญโภคภัณฑ์ เปิดเผยว่า ปัญหาบ้านเราตอนนี้คือ เรื่องวิกฤติเศรษฐกิจ เพราะเรื่องการเมืองดูจะคลี่คลายไปแล้ว รัฐบาลพยายามหาทางแก้ไขอยู่เหมือนกัน ทุ่มเทเต็มที่ เช่น การผันเงินออกมาช่วยเหลือกระตุ้นการจับจ่าย การให้เงินประชาชน 2,000 บาท แต่ว่ามันต้องกว้างกว่านี้ น่าจะลงไปถึงเกษตรกร ชาวนา เพราะคนเหล่านี้ได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจจำนวนมาก แต่ว่ามาตรการต่างๆที่รัฐบาลที่ออกมายังไม่เพียงพอ จะต้องมีมากกว่านี้ รัฐบาลต้องหามาตรการมาช่วยมากกว่านี้ เพราะว่าวิกฤติมันรุนแรงมาก
“รัฐบาลต้องหันมาเพิ่มมาตรการอื่นที่มีปัญหามากเวลานี้ เช่นการส่งออก การท่องเที่ยว อุตสาหกรรมต่างๆ เราต้องกระตุ้น เห็นรัฐบาลบอกว่าจะมีมาตรการรอบที่ 2 ออกมาอีก ซึ่งเราอยากให้มองระยะกลางและระยะยาวด้วย เพราะว่าวิกฤติเศรษฐกิจไม่รู้ว่าจะจบลงเมื่อใด แผนระยะสั้นคงช่วยอะไรได้ไม่มาก”
มองว่าปีนี้จีดีพีติดลบแนยอน แต่จะเท่าไรนั้ไม่แน่ บางคนบอกว่า ติดลบ1 ถึง ติดลบ 4 แต่ผมคิดว่าอยู่ที่ ลบ 1 ซึ่งขึ้นอยุ่กับว่ามาตรการรัฐที่จะออกมา และความรุนแรงของปัญหาเศรษฐกิจของต่างประเทศด้วยที่จะกระทบเรา เช่น สิงคโปร์ เขาติดลบ 5 ฮ่องกงติดลบ 4 เราไม่น่าจะต่ำสุดกว่านี้ ที่สิงคโปร์เขายอมรับว่าอาจจะต่ำกว่าลบ 5 ด้วยซ้ำไป เพราะเขาพึ่งการส่งออกมากกว่า 100% แต่ไทยประมาณ 75% ที่พึ่งส่งออก ดังนัhนเราควรจะหันมากระตุ้นการจับจ่ายภายในประเทศให้มากขึ้น เพื่อสร้างจีดีพีให้โตกว่านี้ “
นายอาชว์กล่าวต่อว่า มาตรการที่ภาครัฐออกมาเช่น การลดอัตราดอกเบี้ยนั้น คิดว่าคงไม่ได้ช่วยอะไรมากนัก กับสภาพแบบนี้ คงกระตุ้นไม่มาก เพราะว่าระยะนี้การลงทุนไม่มีเลย เศรษฐกิจหดตัว กำลังผลิตโดยรวมของประเทศลดลงกว่า 50 % ดังนั้นภาครัฐควรมองการลงทุนในระยะต่อไป
“ประเทศไทยต้องปรับยุทธศาสตร์ใหม่โดยเร็ว และจริงจัง จากเดิมที่เราพึ่งพาการส่งออกและการท่องเที่ยวเป็นหลักในการสร้างรายได้เข้าประเทศ เราต้องหันมาพึ่งการบริโภคภายในประเทศมากขึ้น กระตุ้นให้เกิดการจับจ่ายใช้สอยเพื่อให้เศรษฐกิจเติบโตเร็วขึ้น” นายอาชว์กล่าว
รมว.คลังพอใจ กนง.-โต้มูดี้ส์
นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง กล่าวถึงการปรับลดดอกเบี้ยของ กนง.ที่ระดับ 0.5% ว่า อยู่ในแนวทางที่ถูกต้อง เพราะอย่าลืมว่า กนง.มีโอกาสที่จะประชุมอีกหลายครั้ง หากปรับลดเร็วเกินไปก็จะไม่เหลือเครื่องมือ ก็ต้องให้เวลากับ กนง.ด้วย
รมว.คลังยังกล่าวถึงถึงกรณีที่ มูดี้ส์ อีโคโนมิค ดอทคอม แผนกวิจัยเศรษฐกิจ การเงิน และอุตสาหกรรมของ มูดี้ส์ อะนาไลซิส ระบุว่าเศรษฐกิจไทยส่อเค้าเกิดวิกฤติหนักสุดในเอเชีย ว่า ประเทศไทยไม่ได้มีปัญหาเศรษฐกิจหนักกว่าประเทศอื่น ถึงแม้ว่าเราจะพึ่งพาการส่งออกค่อนข้างมาก แต่ก็ไม่มากเท่ากับหลายประเทศ ซึ่งประเทศเหล่านั้นเมื่อการส่งออกได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกก็ย่อมเกิดปัญหามากกว่าไทยอยู่แล้ว โดยเฉพาะไต้หวันที่พึ่งพาการส่งออก 100% ของจีดีพี
"จุดแข็งของเศรษฐกิจไทยคือการมีเสถียรภาพด้านการเงินการคลังที่เข้มแข็งมาก และสถาบันการเงินแข็งแกร่ง มีเงินกองทุนในระดับสูงมาก หนี้ต่างประเทศทั้งภาครัฐและเอกชนอยู่ในระดับต่ำมาก ความเสี่ยงเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนและการเคลื่อนไหวของเงินทุนต่ำกว่าประเทศอื่น"
นายกรณ์กล่าวว่า ข้อมูลที่มูดี้ส์ประเมินเศรษฐกิจในเอเชีย พบว่า มูดี้ส์คาดว่าเศรษฐกิจไทยปีนี้อาจจะติดลบ 2.3% ขณะที่หลายประเทศในเอเชีย อย่างไต้หวันก็ติดลบถึง 5.23% ญี่ปุ่นติดลบ 4.8% และสิงคโปร์ติดลบ 4.37% อย่างไรก็ตามขณะนี้ประเทศไทยก็ต้องยอมรับความจริงว่า เศรษฐกิจของเรายังคงต้องหดตัวต่อเนื่องในไตรมาสแรกของปีนี้ โดยคาดว่าจะหดตัวมากกว่าไตรมาส 4/51 ที่มีปัญหาการปิดสนามบินและการส่งออกเริ่มหดตัวรุนแรง และในไตรมาส 2 ของปีนี้ก็คงจะยังไม่ค่อยดี แต่ก็จะเริ่มเห็นผลมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐบ้างแล้ว
ทั้งนี้ การหดตัวของการส่งออกเริ่มชะลอลงในเดือน ม.ค.52 เมื่อเทียบกับไตรมาสสุดท้ายของปีก่อน แม้ว่าเมื่อเทียบปีต่อปีแล้วอาจจะเห็นการหดตัวค่อนข้างมาก เพราะฐานในช่วงต้นปีก่อนอยู่ในระดับสูง นอกจากนั้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศยังมีอยู่ โดยไตรมาส 4/51 เห็นการส่งออกที่หดตัวทำให้เศรษฐกิจติดลบ แต่การบริโภครัฐและเอกชนยืนได้ เมื่อรัฐมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศมากขึ้นทั้งการบริโภคและการเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณภาครัฐ และกำลังจะมีการฉีดงบประมาณต่อเนื่องในปีงบ 53 ที่จะมีวงเงินไม่แตกต่างจากปีนี้ ซึ่งเป็นอาวุธหนึ่งที่เตรียมไว้ ยังไม่นับการกู้ยิมเงินจากต่างประเทศ และการค้ำประกันการรับจำนำพืชผล ก็จะช่วยลดผลกระทบกจากความต้องการสินค้าของต่างประเทศที่หายไปได้
"วิกฤตเศรษฐกิจครั้งนี้เป็นวิกฤติระดับประวัติศาสตร์ ไม่มีประเทศไหนไม่ได้รับผลกระทบ ต้องมาดูว่ากระสุนที่เรามีใช้แก้ไขปัญหาให้กับใคร หน้าที่รัฐบาลคือดูแลผู้ที่ดูแลตัวเองได้น้อยที่สุดก่อน แนววิธีการต่างๆ รัฐบาลมีอยู่แล้ว และประเมินกำลังทางการคลังอยู่ในวิสัยที่จะทำได้"
นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเศรษฐกิจมหภาค สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กล่าวว่าเศรษฐกิจไทยส่อเค้าเกิดวิกฤติหนักสุดในเอเชีย เนื่องจากได้รับปัจจัยลบจากส่งออกที่ทรุดลงอย่างหนักและมองว่าจีดีพีไทยปีนี้อาจคติดลบ 2.4% ว่า ข้อมูลที่ออกมาอาจทำให้นักลงทุนที่ไม่เคยติดตามข้อมูลของประเทศไทยเกิดความตกใจ ส่วนผู้ที่ติดตามอยู่แล้วก็จะทราบว่าช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีก่อนสถานการณ์ในประเทศของไทยอยู่ในภาวะผิดปกติ จากการปิดสนามบินที่ส่งผลกระทบต่อการส่งออกและการท่องเที่ยว
อย่างไรก็ตามบทวิเคราะห์ดังกล่าวเป็นเพียงการให้ข้อมูลนักลงทุน ไม่ใช่การแถลงข่าวของทางมูดี้ส์จึงไม่จำเป็นต้องมีการชี้แจงข้อมูลเพิ่มเติม และในรายดังกล่าวก็ไมได้โจมตีประเทศไทย โดยเฉพาะการระบุว่าเศรษฐกิจไทยจะวิกฤตหนักในเอเชีย นั้นตามจริงแล้วมูดี้ส์เพียงระบุว่าไทยเสี่ยงเข้าข่ายที่จะแข่งเป็นที่โหล่ในเอเชีย แต่การคาดาการณ์จีดีพีปี 52 นี้ไม่ได้แย่สุดในเอเชีย เพราไต้หวัน ติดลบมากถึง 5.23% ญี่ปุ่น-4.8% ฮ่องกง-4.01%
“มูดีส์ใช้ตัวเลขของสภาพัฒน์มาประกอบรายงานซึ่งก็เป็นตัวเลขจริงโดยเฉพาะตัวเลขการส่งออกที่ลดลงอย่างมาก และคงไม่ต่างจากที่สศค. คดาการณ์ไว้เพราะเราพึ่งพาการส่งออกถึง 70% แต่ทางมูดีส์อาจจะมองเศรษฐกิจโลกเลวร้ายกว่าทำให้มองจีดีพีของไทยติดลบมกากว่าที่สภาพัฒน์ประเมินล่าสุด” นายเอกนิติ กล่าวและว่าที่ออกมาจี้แจงไม่ใช่การตอบโต้แต่เป็นการให้ข้อมูลที่ถูกต้อง อีกทั้งมูดีส์ยังชื่นชมว่าภาคการเงินไทยมีความแข็งแกร่งและมองว่ารัฐบาลมีความเข้าใจโครงการสสร้างเศรษฐกิจและออกมาตรการมาแก้ไขปัญหาได้ล่วงหน้า ทำให้ไทยจะไม่เข้าแข่งขันเพื่อชิงที่โหล่แน่นอน
นอกจากนั้น ขณะนี้ สศค.กำลังรวบรวมตัวเลขเครื่องชี้วัดเศรษฐกิจเดือน ม.ค.และรอดูตัวเลขเดือนก.พ.เพื่อให้เกิดความชัดเจนก่อนจะปรับจีดีพีใหม่ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะประเทศคู่ค้า 14 ประเทศ และการดำเนินมาตรการของรัฐบาลต้องเป็นผลในการกระตุ้นเศรษฐกิจได้จริง รวมทั้งการเร่งลงทุนโดยใช้เงินงบประมาณที่เพิ่มเติมเข้ามาหากเศรษฐกิจโลกฟื้นตัวช้าจีดีพีไทยก็มีโอกาสจะติดลบสูง
|
|
|
|
|