|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ตลาดหลักทรัพย์ เห็นด้วยกรณี ก.ล.ต.แก้ไขเกณฑ์ออกตราสารหนี้ รับสถานการณ์ปัจจุบัน เอื้อบจ.ระดมทุนสะดวกขึ้น –เพิ่มช่องทางในการสร้างผลตอบแทนให้แก่นักลงทุนในช่วงภาวะดอกเบี้ยขาลง “ชนิตร” แจง 2 เดือนแรกปีนี้มีบจ.ออกหุ้นกู้แล้ว 9 หมื่นล้านบาท คาดทั้งปีแตะ4แสนล้านบาท ด้านที่ปรึกษาทางการเงิน แจง ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว ดอกเบี้ยต่ำ เป็นตลาดของการออกหุ้นกู้ พอใจก.ล.ต.แก้เกณฑ์ลดขั้นตอนหนุนความคล่องตัว
นายชนิตร ชาญชัยณรงค์ ผู้ช่วยผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เปิดเผยว่า จากการที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)มีการปรับปรุงแก้ไขหลักเกณฑ์การออกและเสนอขายตราสารหนี้ ในช่วงนี้ถือว่าเป็นจังหวะที่ดีจากการที่ดอกเบี้ยมีการปรับตัวลดลง ซึ่งทำให้มีความเหมาะสมในการที่บริษัทจดทะเบียนจะมีการออกหุ้นกู้ เพื่อเป็นทางเลือกในการลงทุนให้กับนักลงทุนมากขึ้น เพราะจะได้รับผลตอบแทนที่ดีในช่วงที่ดอกเบี้ยขาลง และส่งผลดีต่อบริษัทที่จะมีทางเลือกในการระดมทุน
ทั้งนี้เรื่องดังกล่าวเชื่อว่า จะส่งผลดีมากกับบริษัทขนาดกลางและขนาดเล็กที่จะมีช่องทางในการระดมทุนมากขึ้น หลังจากที่ธนาคารพาณิชย์จะปล่อยสินเชื่อให้ยากกว่าบริษัทขนาดใหญ่ โดยในช่วง 2 เดือนแรก ปีนี้ มีบริษัทจดทะเบียนออกหุ้นกู้แล้วจำนวน 90,000 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าสิ้นปีนี้จะมีการออกหุ้นกู้มูลค่า 400,000 ล้านบาท
นางสาวสุนันท์ เลิศสีทอง ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายวาณิชธกิจ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.)ธนชาต กล่าวว่า จากที่ภาวะเศรษฐกิจมีการชะลอตัว อัตราดอกเบี้ยอยู่ในช่วงลาลงนั้น ทำให้เป็นจังหวะของการออกหุ้นกู้ เพื่อระดมทุนจากนักลงทุนทั่วไป เพื่อเป็นการเพิ่มสภาพคล่องทางการเงิน จากการที่ธนาคารพาณิชย์จะมีการปล่อยสินเชื่อที่จำกัด และยากขึ้น ด้านนักลงทุนเองจะได้มีช่องทางในการลงทุนที่จะได้รับผลตอบแทนที่ดีกว่าเงินฝาก
ทั้งนี้บริษัทมีงานด้านการเป็นที่ปรึกษาทางการเงินในการเสนอขายหุ้นกู้อย่างต่อเนื่อง ล่าสุดที่จะมีการขายคือ หุ้นกู้ของบมจ.น้ำประปา ไทยแต่ยังไม่สามารถเปิดเผยได้ว่ามีลูกค้ากี่รายที่กำลังจะเสนอและสนใจ
“จากการที่ดอกเบี้ยปรับตัวลดลงนั้น ถือว่าเป็นโอกาสของการออกหุ้นกู้ จากนั้นบริษัทจะหันออกมาออกหุ้นกู้ เพื่อระดมทุนเพิ่มสภาพคล่องทางการเงินเพิ่มขึ้น เพราะมีต้นทุนต่ำ อีกทั้งถือเป็นโอกาสของนักลงทุนนจากการที่เศรษฐกิจไม่ดี และต้องการช่องทางในการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนที่สูง ซึ่งดีกว่าการลงทุนแบบฝากเงินกับธนาคารพาณิชย์ ” นางสุนันท์ กล่าว
สำหรับหุ้นกู้ที่จะได้รับความสนใจจากนักลงทุนนั้น หากเป็นบริษัทขนาดใหญ่ก็จะได้รับความไว้วางใจ แต่หากเป็นบริษัทขนาดกลางเล็กนั้นหากให้ผลตอบแทนที่สูง ถือว่าจะเป็นแรงจูงใจให้นักลงทุนเข้ามาลงทุนได้ ซึ่งการที่ก.ล.ต.มีการปรับปรุงแก้ไขเกณฑ์ฯในครั้งนี้ถือว่าเป็นเรื่องที่ดี ที่จะช่วยให้มีการออกหุ้นกู้ได้ สะดวกรวดเร็ว มากมากขึ้น
นายสิทธิไชย มหาคุณ หัวหน้าสายงาน วาณิชธนกิจ บล.ซีไอเอ็มบี –จีเค (ประเทศไทย) กล่าวว่า แนวโน้มการออกหุ้นจะเป็นการออกหุ้นกู้ระยะกลางและสั้นประมาณ 1-3 ปี มากกว่าหุ้นกู้ระยะยาว เพราะ ในช่วงนี้นักลงทุนจะต้องการลงทุนในหุ้นกู้ระยะสั้นมากกว่า และการออกหุ้นกู้ระยะยาวนั้นจะเหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจที่เติบโตที่ดี โดยการแก้ไขเกณฑ์ฯนั้นมีประโยชน์ต่อบริษัทจดทะเบียนให้สามารถออกหุ้นกู้ได้รวดเร็วขึ้น และมีความยืดหยุ่นมากขึ้น จากสภาพคล่องทางการเงินของบริษัทอยู่ในช่วงตึงตัว
นางดวงดาว พันธุมวนิช ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมบรรษัทภิบาล สำนักงานก.ล.ต.กล่าวว่า ก.ล.ต.จะมีการประกาศบังคับใช้เกณฑ์การออกและเสนอขายตราสารหนี้ใหม่ได้ในเดือนมีนาคมนี้หลังจากที่มีการเปิดรับฟังความคิดเห็น(เฮียร์ริ่ง)จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยการแก้ไขหลักเกณฑ์การออกและเสนอขายตราสารหนี้นั้นเพื่อ ลดปัญหาและอุปสรรคในการออกหุ้นกู้ ทำให้สามารถออกได้รวดเร็วมากขึ้น และเพื่อยกระดับสินค้ามีความน่าเชื่อถือและเตรียมความพร้อมในการเชื่อโยงกับตลาดทุนต่างประเทศ
ทั้งนี้เกณฑ์ที่มีการแก้ไขหลักเกณฑ์นั้น ได้มีการปรับปรุงนิยามของการเสนอขายPP โดยแก้ไขให้การเสนอขายแบบนักลงทุนเฉพาะเจาะจง(PP) ประกอบด้วยPPวงแคบ และPP ในกลุ่ม นักลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ (II&HNW)ที่มีมูลค่าการลงทุน 40 ล้านบาท ขึ้นไป ได้มีการแก้ไขโดยยุบรวม PPวงแคบ กับPP ในกลุ่ม(II&HNW)เข้าเป็นกลุ่มPP ทั้งหมด จากเดิมที่กำหนดว่าหากเสนอขาย(II&HNW)มากกว่า 100 ล้านบาท จะต้องยื่นแบบข้อมูลการเสนอขายหุ้นกู้แบบ PO เพราะหากเสนอขาย II&HNW ต้องน้อยกว่า 100 ล้านบาท เนื่องจาก เชื่อว่าเป็นกลุ่มนักลงทุนที่ดูแลตนเองได้
รวมถึงได้มีการแก้ไขการเสนอขายแบบPPได้รับอนุญาตเป็นการทั่วไป จากเดิมที่จะต้องมีขั้นตอนการขออนุญาต ยกเว้นกรณีที่ยังต้องมีการพิจารณาคุณสมบัติเฉพาะของผู้ออกเช่น ออกหุ้นกู้ตามโครงการแปลงสินทรัพย์เป็น และการออกหุ้นกู้อนุพันธ์ และจากการที่กลุ่ม II&HNWยังต้องการข้อมูลเรทติ้งประกอบการตัดสินใจลงทุนรวมถึงข้อมูลไฟลิ่งเพื่อให้ฟ้องร้องได้หากเปิดเผยข้อมูลเป็นเท็จ จึงได้กำหนดเสนอขายแบบPP ต่อกลุ่มผู้ลงทุนดังกล่าวยังคงต้องยื่นไฟลิ่งและจัดให้มีเรทติ้งและขึ้นทะเบียนกับสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (ThaiBMA) รวมทั้งมีการอัพเดทงบการเงินภายหลังการขาย จากเดิมเกณฑ์PPนั้นไม่ต้องมีการยื่นไฟลิ่ง เรทติ้งและขึ้นทะเบียน กับทางThaiBMA
ส่วนด้านการเสนอขายหุ้นกู้ในการณีทั่วไป (PO)นั้นได้มีการปรับเกณฑ์การพิจารณาการเสนอขายหุ้นกู้ระยะสั้นและระยะยาวโดยใช้เกณฑ์เดียวกัน ซึ่งจะมีเกณฑ์การคุ้มครองนักลงทุนเท่าเทียมกันทุกอายุของหุ้นกู้ เช่น เกณฑ์การอนุญาต การเปิดเผยข้อมูลก่อนและภายหลังการขาย โดยได้แก้ไขหลักเกณฑ์อนุญาตให้ชัดเจนขึ้นในทางปฏิบัติและกำหนดหลักเกณฑ์และวิธียื่นไฟลิ่งในลักษณะเป็นโครงการ (Shelf Filing)ให้สอดคล้องกับสากลและปรับวิธีลงนามรับรองความถูกต้องของไฟลิ่งให้ยืดหยุ่นขึ้นไม่เป็นภาระในการดำเนินการมากนัก
อย่างไรก็ตามได้มีการปรับเกณฑ์เสนอขายตราสารหนี้ระยะยาวแบบ PO จะต้องให้มีการจัดทำเรทติ้งของหุ้นกู้ที่จะออก หรือ มีผู้ค้ำประกันเท่านั้น จากเดิมที่กำหนดให้สามารถเลือกจัดเรทติ้งขององค์กรได้
|
|
|
|
|