|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
รมว.คลังชี้วิกฤตสถาบันการเงินโลกไม่กระทบแบงก์พาณิชย์ไทย เหตุแข็งแกร่งที่สุดในโลก ผลสำรวจของแบงก์ชาติชี้ชัดที่มาแบงก์แข็งแกร่ง เหตุไม่ปล่อยกู้ เผย 3 เดือนแรกของปีนี้เลิกหวังสินเชื่อจะออกจากแบงก์ โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจเอสเอ็มอีรอวันตาย ผลสำรวจยังบอกด้วยว่านายแบงก์มีความเห็นตรงกัน ลูกค้าขอผลัดชำระหนี้มากขึ้น
นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง กล่าวถึงกรณีที่มีสถาบันการเงินในต่างประเทศ 21 ราย ต้องเข้าแผนฟื้นฟูและปรับโครงสร้างหนี้ว่า ไม่ส่งผลกระทบต่อธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินของไทย เพราะธนาคารพาณิชย์ของไทยมีความมั่นคง มีฐานะทางการเงินที่เข้มแข็ง มีสภาพคล่องเพียงพอ ที่สำคัญสภาพคล่องธนาคารพาณิชย์ปัจจุบันเป็นเงินในประเทศ ไม่มีความจำเป็นต้องหาสภาพคล่องจากต่างประเทศ นอกจากนี้ยังมีการกันสำรองเงินทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด
"ขณะนี้ฐานะธนาคารพาณิชย์ของไทยไม่มีปัญหา จนอาจเรียกได้ว่ามีฐานะการเงินแข็งแกร่งที่สุดในโลกก็ว่าได้ โดยเงินฝาก 100 บาท ธนาคารปล่อยกู้ประมาณ 88 บาท แสดงให้เห็นว่าสภาพคล่องยังมีอยู่ล้นเหลือ" นายกรณ์กล่าวแลว่า ขณะนี้ยังไม่มีแนวคิดในการแก้ไขกฎหมายเพื่อขยายเพดานการก่อหนี้ของรัฐบาล
โดยในการจัดกรอบงบประมาณประจำปี 53 ตั้งขาดดุลงบประมาณไว้ 3.9 แสนล้านบาท สัดส่วนหนี้สาธารณะอยู่ที่ 45% ของจีดีพี ใกล้เคียงกับการขาดดุลงบประมาณปี 52 ที่รวมงบกลางปีอยู่ที่ประมาณ 3.5 แสนล้านบาท สัดส่วนหนี้สาธารณะอยู่ที่ประมาณ 41-42% ของจีดีพี ซึ่งสัดส่วนการก่อหนี้สาธารณะในงบประมาณปี 53 ก็ยังไม่เกินเพดานที่กฎหมายกำหนดไว้ไม่เกิน 50% ของจีดีพี
รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แจ้งว่า สายนโยบายสถาบันการเงินได้ทำการสอบถามธนาคารพาณิชย์ไทย สาขาธนาคารต่างชาติและสถาบันการเงินเฉพาะกิจจำนวน 23 แห่ง พบว่า แนวโน้มในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ สถาบันการเงินเข้มงวดมาตรฐานการให้สินเชื่อทุกประเภทมากขึ้น โดยเฉพาะสินเชื่อที่ให้แก่ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ด้านความต้องการสินเชื่อภาคธุรกิจจะทรงตัวใกล้เคียงกับไตรมาส 4 ของปี 2551 ส่วนภาคครัวเรือนมีความต้องการสินเชื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่อครัวเรือนอื่นๆ ในทิศทางที่หดตัว
" 84.2% สถาบันการเงินคาดว่าสินเชื่อโดยรวมจะมีแนวโน้มการผลัดชำระหนี้ (Delinquency) เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะสินเชื่อธุรกิจ เอสเอ็มอี อย่างไรก็ตาม ความช่วยเหลือหลักที่ธุรกิจเอสเอ็มอีต้องการจากภาครัฐ 3 อันดับแรก คือ การให้ค้ำประกันสินเชื่อ การจัดหาแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ และการ ลดอัตราดอกเบี้ย นอกจากนี้ยังเป็นที่น่าสังเกตว่าความต้องการสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่อครัวเรือนอื่นๆ หดตัว 2 ไตรมาสติดต่อกัน ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าความต้องการบริโภคที่อ่อนตัวมาก"
ส่วนการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงินในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2551 พบว่า ความ ต้องการสินเชื่อภาคธุรกิจ โดยรวมเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากไตรมาสก่อน ซึ่งสูงกว่าที่คาดการณ์ไว้จากการสำรวจในไตรมาสที่ 3 ของปี 2551 โดยเป็นการเพิ่มขึ้นของสินเชื่อในธุรกิจเอสเอ็มอีทั้งที่ใช้เป็นเงินหมุน เวียน และปรับโครงสร้างหนี้ ซึ่งเป็นผลจากการแข่งขันการให้สินเชื่อจากสถาบันการเงินอื่น ขณะที่ความต้องการสินเชื่อภาคธุรกิจขนาดใหญ่หดตัวเล็กน้อย เพราะ การลดกำลังการผลิต เพื่อลดสินค้าคงคลังภายใต้ความเข้มงวดในการปล่อยกู้ของสถาบันการเงิน ทำให้เงื่อนไขการให้สินเชื่อแก่ภาคธุรกิจความเข้มงวดมากขึ้นผ่านการตั้งราคาที่สูงขึ้นเห็นได้จากกำไร ที่กว้างขึ้นสำหรับลูกค้าที่มีความเสี่ยงและ ลูกค้าทั่วไป อีกทั้งยังสะท้อนผ่านเงื่อนไขอื่นๆ เช่น วงเงินสินเชื่อ และเงื่อนไขประกอบสัญญาเงินกู้ที่เข้มงวดขึ้น และเป็นที่น่าสังเกตว่าสถาบันการเงินมีเงื่อนไขด้านอายุสัญญาเงินกู้ที่เข้มงวดมากขึ้นสำหรับสินเชื่อที่ให้แก่ธุรกิจเอสเอ็มอีที่มีความเสี่ยงสูงสุด
ผลสำรวจระบุว่า ความต้องการสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยลดลงมากกว่าที่สถาบันการเงินคาดการณ์ไว้ในไตรมาสก่อน ซึ่งเป็นผลจากความเชื่อมั่นของผู้บริโภค ที่ยังคงอยู่ในระดับต่ำ ทำให้มีการรอประเมินทิศทางแนวโน้มตลาดที่อยู่อาศัย โดยเฉพาะจากมาตรการกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์ของทางการ จึงเป็นที่น่าสังเกตว่าไตรมาสนี้อัตรา ดอกเบี้ยไม่ได้เป็นปัจจัยหลักในการตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัยของผู้บริโภค
ขณะที่ความต้องการสินเชื่อบัตรเครดิตเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ซึ่งต่ำกว่าที่สถาบันการ เงินได้คาดการณ์ไว้เป็นผลสำคัญจากปัจจัย ทางด้านอัตราดอกเบี้ยและการแข่งขันจากแหล่งเงินทุนอื่นๆ ทั้งจากสถาบันการเงินอื่นและบริษัทที่ไม่ใช่ธนาคารพาณิชย์ (นอนแบงก์).
|
|
|
|
|