Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน25 กุมภาพันธ์ 2552
เตือน4อุตสาหกรรมพังพาบรับเออีซี             
 


   
search resources

Electric
อัทธ์ พิศาลวานิช




จับตาอาเซียนรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ปี 2558 เตือน 4 อุตสาหกรรม ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เทคโนโลยีสารสนเทศ บริการการบิน และโลจิสติกส์ ส่อแววพังพาบ เหตุจะถูกเวียดนาม มาเลเซีย สิงคโปร์ ตีตลาด แนะรัฐทำแผนคุ้มกันด่วน เตือนรัฐ รับมือสินค้าเกษตรเพื่อนบ้าน แห่สวมสิทธิเข้าโครงการจำนำแน่ ห่วงชาติที่สาม ใช้ช่องว่างผูดขาดธุรกิจไทย

นายอัทธ์ พิศาลวานิช ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยผลประเมินศักยภาพการแข่งขันของสินค้าและบริการไทยภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ว่า ผู้ประกอบการไทยใน 4 อุตสาหกรรม ได้แก่ ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เทคโนโลยีสารสนเทศ บริการการบิน และโลจิสติกส์ ต้องเร่งปรับตัวรับมือการรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ในปี 2558 เป็นการด่วน ไม่เช่นนั้นอาจถูกประเทศเวียดนาม สิงคโปร์ และมาเลเซีย แซงหน้าและยึดตลาดการค้าได้ เพราะปัจจุบันประเทศเหล่านี้มีการพัฒนาองค์ความรู้ มีเม็ดเงินลงทุนไหลเข้าประเทศจำนวนมาก ซึ่งไทยยังมีศักยภาพเป็นรองอยู่

“หากไม่เร่งปรับตัว ต่อไปคงสู้ไม่ได้และอาจต้องเสียตลาด รวมถึงจะถูกสินค้าและบริการจากประเทศเพื่อนบ้าน ส่งออกเข้ามาตีตลาดภายในไทย เพราะประเทศเหล่านี้มีสินค้าคุณภาพดีและต้นทุนการผลิตต่ำกว่า ดังนั้น รัฐบาลต้องวางแผนจัดทำแผนยุทธศาสตร์รับมือ เพราะขณะนี้เหลือเวลาอีก 6 ปี ยังมีเวลาปรับตัวได้ทัน ส่วนอีก 8 อุตสาหกรรมที่จะมีการเปิดเสรีพร้อมกันนั้น ในภาพรวมไทยยังมีศักยภาพแข่งขันได้ดี ทั้งผลิตภัณฑ์เกษตร ผลิตภัณฑ์ประมง ผลิตภัณฑ์ไม้ ผลิตภัณฑ์ยางพารา สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม บริการด้านสุขภาพ และบริการการท่องเที่ยว”นายอัทธ์กล่าว

สำหรับนโยบายที่ภาครัฐควรสนับสนุน สำหรับอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ การสร้างท่าเรือน้ำลึกเพื่อลดต้นทุนการขนส่งไปยังอินเดียและตะวันออกกลาง การสนับสนุนกฎหมาย และยกเว้นภาษีเพื่อลดต้นทุนการผลิต ด้านอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศ ควรศึกษาพื้นฐานโครงค่าย (บอร์ดแบรนด์) ของประเทศเพื่อให้ประเทศเป็นศูนย์ของอาเซียน ขณะที่บริการการบิน รัฐควรจัดตั้งคณะกรรมการกลางเพื่อปรับปรุงกฎหมาย ระเบียบข้อบังคับของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งทางอากาศ การพัฒนาสถาบันการบินพลเรือน และธุรกิจบริการโลจิสติกส์ แม้ไทยมีความเข็มแข็งด้านขนส่งทางบก แต่มีจุดอ่อนด้านโลจิสติกส์ทางน้ำ รัฐจึงให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการรายย่อยปรับตัว การทำความเชื่อมโยงธุรกิจระหว่างผู้ประกอบการ และปรับปรุงการเดินรถระบบรางให้มีประสิทธิภาพ

นายอัทธ์กล่าวว่า การรวมตัวเป็นเออีซี เป็นทั้งโอกาสและช่องว่างที่กระทบต่ออุตสาหกรรมไทย หากเตรียมพร้อมดีจะมีประโยชน์ต่อการขยายการค้าการลงทุนมาก เพราะเมื่ออาเซียนรวมตัวกันจะมีขนาดเศรษฐกิจ 1,281 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี มีการลงทุนปี 50 มูลค่า 2,803 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มีประชากร 575 ล้านคน และประเมินว่าหลังความร่วมมือเออีซีมูลค่าการส่งออกไทยไปอาเซียนจะเพิ่มจาก 40,000 ล้านเหรียญสหรัฐในปัจจุบัน เป็น 48,000 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 22.4%

นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล กรรมการรองเลขาธิการหอการค้าไทย กล่าวว่า ต้องการให้รัฐบาลให้ความสำคัญพัฒนากลุ่มสินค้าเกษตร และการท่องเที่ยว ให้ไทยเป็นศูนย์กลางอาเซียนให้ได้เมื่อมีการเปิดเออีซี เพราะระบบเศรษฐกิจของไทยพึ่งพาสินค้าเกษตรและการท่องเที่ยวเป็นหลัก นอกจากนี้ ต้องการให้รัฐบาลเร่งปรับปรุงระบบบริหารสินค้าเกษตร โดยเฉพาะข้าวเพื่อรับการลดภาษีเหลือ 0% ในปีหน้า ทั้งเรื่องการลดต้นทุนการผลิต และการอุดหนุนจากภาครัฐ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาสินค้าเกษตรจากประเทศเพื่อนบ้านที่มีราคาถูกกว่า เข้ามาตีตลาดและสวมสิทธิ์เข้าโครงการรับจำนำของรัฐบาลไทย เช่น ปัญหาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในปัจจุบัน

ส่วนความร่วมมือด้านการลงทุน กังวลว่ามีช่องโหว่ผู้เกี่ยวข้องกับข้อตกลงในอาเซียน เพราะเบื้องต้นอาเซียนกำหนดให้สมาชิกลงทุนระหว่างกันได้โดยมีความเป็นเจ้าของได้ถึง 70% นั้น ส่วนประเทศที่เป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก (ดับบลิวทีโอ) ที่กำหนดให้ประเทศที่หนึ่งที่เข้าไปลงทุนในประเทศที่สองมีสถานะเทียบกับประเทศที่เข้าไปลงทุน ซึ่งอาจทำให้กลุ่มทุนขนาดใหญ่ในชาติที่สาม ซึ่งไม่ได้เป็นสมาชิกอาเซียน ฉวยโอกาสเข้ามาลงทุนในกลุ่มสมาชิกได้

"ภายใต้ข้อตกลงอาเซียนนี้ประเทศลงทุนที่หนึ่ง สามารถเข้าไปลงทุนในประเทศที่สามได้ ทำให้ประเทศนอกกลุ่มอาเซียนที่ได้รับสิทธิลงทุนจากสมาชิกอาเซียนบางประเทศสามารถเข้าไปลงทุนในอาเซียนอื่นๆ เช่น สหรัฐ ที่แข็งแกร่งด้านบริการโทรคมนาคม เข้าไปลงทุนในสิงคโปร์ก็มีสถานะเป็นนักลงทุนสิงคโปร์จึง สามารถเข้าไปลงทุนในประเทศอาเซียนอื่นได้ด้วย เมื่อถึงเวลานั้นด้วยขีดความสามารถและเม็ดเงินมหาศาลในธุรกิจจากสหรัฐจะทำให้ธุรกิจท้องถิ่นอาเซียนไม่สามารถแข่งขันได้และเกิดการผูกขาดในที่สุด”นายพรศิลป์กล่าว   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us