Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กันยายน 2546








 
นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2546
City Space Shop and Office Design             
โดย ไพเราะ เลิศวิราม
 

   
related stories

Shops & Offices
ยุทธศาสตร์ของสำนักงาน
ยกเครื่อง Shop AIS
Exclusive

   
www resources

โฮมเพจ DTAC
ทีเอ ออเร้นจ์ โฮมเพจ
โฮมเพจ ฮัทชิสัน ซีเอที ไวร์เลส มัลติมีเดีย

   
search resources

โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น, บมจ.
ทีเอ ออเร้นจ์, บจก.
ฮัทชิสัน ซีเอที ไวร์เลส มัลติมีเดีย, บจก.
City Space
คริสติน่า ซานิค




บริษัทรับออกแบบตกแต่งภายในแห่งนี้มีลูกค้าที่เป็นโทรศัพท์มือถือ 3 ราย ในจำนวนนี้มีการออกแบบสาขาถึง 2 ราย คือ Orange และ Hutch และการปรับปรุงสำนักงานให้ DTAC

คงไม่ใช่เรื่องบังเอิญที่บริษัทรับออกแบบตกแต่งรายนี้ถูกเลือกสำหรับการออกแบบตกแต่ง shop ที่นอกจากจะเป็นสถานที่ให้ บริการรับชำระเงิน จำหน่ายให้กับลูกค้าโดยตรงแล้ว สถานที่แห่งนี้ ทุกวันนี้สาขาเหล่านี้ยังทำหน้าเป็นสื่อกลางในการนำเสนอเรื่องราวของบริการรูปแบบต่างๆ ในการสร้างประสบการณ์ร่วมกับลูกค้า ซึ่งกำลังเพิ่มลำดับความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ

City Space เป็นบริษัทถือกำเนิดในไทยเมื่อปี 1994 ทำงาน ออกแบบตกแต่งภายใน ภูมิสถาปัตย์ บริหารอาคาร และโครงการต่างๆ

บริษัทแห่งนี้เกิดจากนักลงทุนชาวไทย ลงทุนร่วมกับคริสติน่า ซานิค นักออกแบบตกแต่งชาวออสเตรเลียที่เคยทำงานออกแบบตกแต่งภายใน ทั้งในยุโรป สหรัฐอเมริกา และออสเตรเลีย ผลงานออกแบบล่าสุด ก่อนบินมาทำงานในไทยคือ Canary Wharf ที่ลอนดอน มาเป็นผู้อำนวยการของ City Space ควบคุมดูแลงานออกแบบทั้งหมด

การเข้ามาเมืองไทยในช่วงปี 1992 ของเธอเป็นช่วงที่เมืองไทย เริ่มนำเอาเทคนิคการก่อสร้างสมัยใหม่เข้ามาใช้ในการออกแบบสำนักงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเฟอร์นิเจอร์ วัสดุตกแต่งสำนักงาน

เธอพบว่าไม่มีข้อแตกต่างของการออกแบบในไทย เมื่อเทียบ กับประเทศในยุโรป สหรัฐอเมริกา หรือออสเตรเลีย เพราะทุกประเทศต้องใช้มาตรฐานในการทำงาน ทั้งเรื่องการวางแผน ประสาน งาน ยกเว้นเรื่องฮวงจุ้ยซึ่งเป็นวิถีแห่งตะวันออก ที่ต้องนำไปใช้พิจารณาในงานออกแบบ

City Space ชำนาญในเรื่องการออกแบบตกแต่งสำนักงาน ที่เน้นความทันสมัยเป็นหลัก

ลูกค้ากลุ่มแรกที่เลือกใช้บริการของ City Space คือ กลุ่มธนาคาร สำนักงานกฎหมาย และสถาบันการเงิน เช่น Citybank HSBC ธนาคารเอเชีย ไทยธนาคาร และธนาคารอิสลามแห่งประเทศ ไทย ซึ่งลูกค้าเหล่านี้เติบโตและมีบทบาทในระบบเศรษฐกิจ

เมื่อประเทศไทยเข้าสู่วิกฤติเศรษฐกิจ และสถาบันการเงินหลายแห่งประสบปัญหาปัญหาด้านการเงิน City Space ได้ขยายไปยังกลุ่มลูกค้าอื่นๆ เช่น บริษัทเอเยนซี่โฆษณาที่ต้องการความทันสมัยของสำนักงาน ช่วยในเรื่องงานครีเอทีฟ เช่น Lowe Lintas Reuters ออกแบบสำนักงานให้กับบริษัทรถยนต์ BMW บริษัทไอที ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) AT&T โมโตโรล่า

รวมทั้งปรับปรุงสำนักงานใหม่ให้กับบริษัทไอบีเอ็ม ประเทศไทย เพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ใหม่ของธุรกิจที่ต้องการสำนักงานที่มีความคล่องตัวในการทำงานนอกสถานที่มากขึ้น ในรูปแบบของ Mobile office (อ่าน "ผู้จัดการ" ฉบับ ส.ค.2544 )

การเติบโตของ City Space นอกจากขึ้นกับระบบเศรษฐกิจ ของไทย การขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมต่างๆ มีส่วนต่อการขยายตัวของบริษัทรับออกแบบแห่งนี้

ชื่อของ City Space เริ่มเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องในอุตสาห-กรรมโทรศัพท์มือถือ ในระยะ 2 ปีมานี้ ซึ่งเป็นช่วงที่โทรศัพท์มือถือ มีการขยายตัวของจำนวนผู้ใช้และแข่งขัน

การเข้ามาลงทุนของผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือข้ามชาติ ออเร้นจ์ได้เลือกให้ City Space เป็นผู้ออกแบบ Shop Orange

การให้ความสำคัญกับการสร้าง Brand ที่ต้องทำภายในปรัชญา 5 ประการ ที่ออเร้นจ์ใช้เป็นหลักการในการขยายธุรกิจไปทั่วโลก การดีไซน์ Shop ของออเร้นจ์จึงอยู่ภายใต้คอนเซ็ปต์ที่เน้นการสร้างประสบ การณ์ในการเลือกซื้อของด้วยบรรยากาศที่เป็นมิตรและเชื้อเชิญ

สำหรับผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือรายใหม่อย่าง Hutch ความแตกต่างในเรื่อง ของระบบ CDMA ที่มุ่งเน้นไปที่บริการด้าน เนื้อหาเป็นบริการมัลติมีเดียความเร็วสูง ทำให้ การออกแบบตกแต่ง Shop ของ Hutch จะมุ่งใช้คอนเซ็ปต์ในเรื่องการสื่อสารข้อมูล ที่ต้องให้ประโยชน์และความสนุกสนาน

สีขาวถูกเลือกใช้เพื่อให้ Shop ดูโปร่ง โดยมี 6 สีของโลโกของ Hutch มาสะท้อน Brand Idea มีส่วนร่วม เปิดเผย รับฟัง พูดคุย และแสดงความคิดเห็น

Shop แต่ละแห่งของ Hutch นอกจากจะดึงเอาสีทั้ง 6 มาใช้แตกต่างกันไปแล้ว เช่น Shop บนอาคาร IFCT จะใช้สีแดงมาเป็นไฮไลท์

สัญลักษณ์ต่างๆ ที่สะท้อนความหมายของบริการเนื้อหาที่หลากหลายมาเป็นองค์ประกอบในการจัดร้าน เช่น หากเป็นสาขาที่อยู่ในย่านวัยรุ่น ใช้แป้นบาสเกตบอลมาประกอบ ภายในร้าน หรือใช้ทีวีเป็นแรงดึงดูดวัย Teen ในย่านนั้น แต่สำหรับสาขาในย่านธุรกิจ จอรายงานราคาหุ้นถูกนำมาใช้สะท้อนความหมายของบริการไฟแนนซ์มาเป็นองค์ประกอบ

ทีมงานของ City Space เล่าว่า ข้อแตกต่างระหว่าง Shop ของออเร้นจ์ และ Hutch อยู่ที่ออเร้นจ์จะมีมาตรฐานกำหนดมาให้ โดยบริษัทจะต้องเลือกใช้วัสดุที่เหมาะสม ในขณะที่ Hutch นั้น City Space จะเข้าไปมีส่วนร่วมในการออกแบบตกแต่งร่วมกับทีมงานการตลาด ผลิตภัณฑ์และบริการตั้งแต่ต้น

ส่วนสำนักงานทั้ง 11 ชั้น ของ Hutch บนอาคาร IFCT ริมถนนเพชรบุรี ได้ออกแบบ ในลักษณะของ Open Space เน้นรูปแบบการดีไซน์ทันสมัย

6 สีของโลโกยังคงถูกใช้สะท้อนความหมายของการทำงานในแต่ละส่วนงานไฟแนนซ์ ใช้สีเขียวและเงิน เพื่อสะท้อนความหมายของความร่ำรวย

สีแดง ที่ฝ่าย Human Resource เลือกใช้เพื่อสะท้อนถึงความสดใส ไม่หยุดนิ่ง ในขณะที่ Product and Service เลือกใช้สีเหลืองในการสะท้อนความหมายของความ innovative ในการพัฒนาสินค้าและบริการใหม่ๆ

ที่ขาดไม่ได้ในแต่ละชั้นจะมีห้องประชุมขนาดเล็กใหญ่ ชั้นละไม่ต่ำกว่า 4-5 ห้อง รองรับกับวิถีการทำงานที่ต้องระดมความคิดที่ไม่หยุดนิ่ง และคาเฟทีเรียเล็กๆ ใช้สำหรับพักผ่อน มีมุมเล็กๆ สำหรับการพูดคุย

ขณะเดียวกันฟังก์ชั่นในการจัดวาง โต๊ะ เก้าอี้ ไม่ยึดรูปแบบตายตัว สามารถปรับเปลี่ยนได้ตลอดเวลา เพื่อง่ายต่อการเปลี่ยน แปลงของธุรกิจโทรศัพท์มือถือที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

ในขณะที่ชั้นของผู้บริหารระดับสูง ที่อยู่เหนือสุดของทั้ง 11 ชั้น บริษัทที่มาจากวัฒนธรรมตะวันออกอย่าง Hutchison ความเชื่อในศาสตร์ฮวงจุ้ย เป็นเรื่องจำเป็นที่ใช้เป็นองค์ประกอบในการออกแบบที่ตั้งของตำแหน่งที่นั่งผู้บริหาร

เช่นเดียวกับใน shop ของออเร้นจ์ทุกแห่ง จะมีตู้ปลาทอง 8 ตัว วางอยู่ประจำทุกร้าน

สำหรับ DTAC ผลจากการปรับโครงสร้างองค์กรเมื่อต้นปี เพื่อรับมือกับการแข่งขันภายใต้การนำของ Co-CEO ทั้งสอง ด้วยการแบ่งทีมงานออกเป็น 4 ทีม คือ ทีมดูแลบริการ ซื้อบัตรเติมเงิน (Prepaid) Re-Brand เป็น Happy ทีม ดูแลบริการชนิดจ่ายค่าบริการรายเดือน ที่ใช้ชื่อบริการ My และส่วนบริการเสริม

สำนักงานบนชั้น 17 ที่ว่าจ้างให้ City Space เป็นผู้ออกแบบ ถูกแปลงโฉมใหม่ให้เป็นเน้นการทำงาน Open Office เป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมการทำงานแบบใหม่ที่ทีมงานของ Happy และ My จะต้องทำงานประสานกันตลอดเวลา และต้องประสานงานกับทีม non voice ที่จะมาอยู่ร่วมในการทำงานอย่างใกล้ชิดมากขึ้น

สไตล์สำนักงานทันสมัย ซึ่งเชื่อกันว่าจะช่วยในเรื่องของความคิดสร้างสรรค์และการที่ต้องใช้ชีวิตอยู่ในสำนักงานนานขึ้น เป็นอีกเรื่องที่ธุรกิจโทรศัพท์มือถือต้องคำนึงถึงเพื่อหา ไอเดียใหม่ๆ สำหรับเตรียมพร้อมในการแข่งขัน

นอกเหนือจากทีมออกแบบตกแต่งที่มีคริสติน่า ซานิก เป็นผู้อำนวยการออกแบบ และมีมัณฑนากรออกแบบ ส่วนของทีมงานที่ขาดไม่ได้คือ 3D Visulization จะมีหน้าที่จำลองแบบที่ดีไซน์ออกมาด้วยภาพ 3 มิติหรือภาพนิ่ง ก่อนจะลงมือตกแต่งจริง

จุดแข็งอีกด้านหนึ่งของที่นี่คือ AECsia เป็นส่วนงานอินเทอร์เน็ต รวบรวมฐานข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทผู้ผลิตวัสดุทั้งหมดที่ใช้ตกแต่ง เฟอร์นิเจอร์ พื้น ผนัง ช่วยในการนำมาใช้ในการออกแบบตกแต่ง

City Space ได้จัดตั้ง DWP City Space รวบรวมสมาชิก บริษัทออกแบบตกแต่ง 5 แห่งในเอเชีย จีน (ปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ ฮ่องกง) ดูไบ อินเดีย (บังกาลอร์) ไทย และเวียดนาม สร้างเป็นเครือข่ายที่อยู่ภายใต้ DWP Design Worldwide Partnership เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล ความรู้และประสบการณ์ร่วมกัน เพื่อสร้างบริการและทำงานออกแบบเป็นมาตรฐานเดียวกัน

สำหรับในไทย City Space ได้ขยายงานฐานลูกค้าไปที่งานสถาปัตย์ ที่อยู่อาศัยอสังหาริมทรัพย์ โรงพยาบาล โรงแรม การออกแบบสาขาให้กับธนาคารอิสลามแห่งประเทศ ไทย ซึ่งเป็นไปตามวิถีการขยายตัวของอุตสาหกรรม เช่นเดียวกับการเข้าไปมีส่วนในการสภาพ แวดล้อมของการทำงานให้กับผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือถึง 3 ราย

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us