Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน24 กุมภาพันธ์ 2552
สภาพัฒน์คาดจีดีพีติดลบ             
 


   
www resources

โฮมเพจ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

   
search resources

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
อำพน กิตติอำพน
Economics




สภาพัฒน์ปรับลดคาดการณ์จีดีพีปี 52 ลงเหลือ -1 ถึง 0% จากที่ขยายตัวในระดับ 2.6% ในปี 51 ชี้ตัวเลขหดเพราะเศรษฐกิจโลกพ่นพิษ-ส่งออกทรุด เผยไตรมาส 4 ปี 51 จีดีพีติดลบ 4.3% เป็นครั้งแรกในรอบ 10 ปี แต่ยังไม่เท่าวิกฤตต้มยำกุ้ง ส.อ.ท.ประเมินส่งออกไตรมาส 2 ส่อเค้าแย่กว่าไตรมาส 1 เหตุคำสั่งซื้อมาต่ำกว่าที่คาดไว้ แนะรัฐรับมือปัญหาแรงงานตกงานพุ่งสูงหากจีดีพีไตรมาส 2 ติดลบ 2.5% แรงงานตกงาน 1.2 ล้านคน เตรียมจับมือกรมจัดหางานจัดตลาดนัดพบแรงงานเน้นระดับปริญญาตรีวันที่ 20-21 มี.ค.ที่สยามพารากอน

นายอำพน กิตติอำพน เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) แถลงปรับลดคาดการณ์จีดีพีปี 52 ลงเหลือ -1 ถึง 0% จากที่ขยายตัวในระดับ 2.6% ในปี 2551 ต่ำกว่าที่คาด จากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ทรุดตัวอย่างรวดเร็ว เกินกว่าที่หลายๆ ฝ่ายคาดการณ์ไว้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ได้ปรับลดประมาณการรายได้ทั้งโลกเมื่อเดือนมกราคม 2552 ครั้งสุดท้ายไว้ที่ ร้อยละ 0.5 จากเดิมที่ประมาณไว้ที่ร้อยละ 1.5-2 และคาดว่าคำแถลงของไอเอ็มเอฟในเดือนมีนาคมนี้ เศรษฐกิจโลกจะปรับลดลงอีก

ขณะที่การส่งออกของไทยโดยเฉพาะเดือนมกราคม 51 ที่หดตัวถึงร้อยละ 26 โดยเฉพาะสินค้าประเภทเหล็กมีการหดตัวถึงร้อยละ 43 เฉพาะฉะนั้นตัวเลขที่รวบรวมในไตรมาส 4 อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) ปี 51 จะขยายตัวติดลบหนักถึง 4.3% เป็นการหดตัวครั้งแรกในรอบ 10 ปี ตั้งแต่ปี 2540 ที่จีดีพีติดลบประมาณร้อยละ 10

"แนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปีนี้ชะลอตัวลงมาก เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอยมากกว่าที่คาดไว้ และส่งผลกระทบให้การส่งออกและการท่องเที่ยวของไทยหดตัวมากและเร็วกวาที่คาดไว้เดิม โดยเฉพาะช่วงครึ่งแรกของปี ประกอบกับ สถาบันการเงินเข้มงวดในการขยายสินเชื่อ ความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจอยู่ในระดับต่ำ ทำให้คาดว่าภาคธุรกิจจะลดการผลิตและการจ้างงาน โดยเฉพาะสาขาอุตสาหกรรมติดลบครั้งแรกร้อยละ 6.8 ภาคก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์ ติดลบร้อยละ 12.8 และการลดลงของจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติส่งผลให้ภาคโรงแรมและภัตตาคารหดตัวมากถึงร้อยละ 8.3 ดังนั้นทำให้การลงทุนโดยรวมติดลบที่ร้อยละ 33"

ทั้งนี้ การหดตัวของเศรษฐกิจในไตรมาส 4/51 มาจากปัจจัยหลักจากการลดลงของการส่งออก และการลงทุน รวมทั้งการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคของครัวเรือนขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง เป็นการหดตัวต่อเนื่องจากไตรมาส 2-3 ปี 2551 และสภาพัฒน์ยังคาดว่าในไตรมาส 1/52 เศรษฐกิจจะหดตัวต่อเนื่องจากปลายปี 2551 และอาจจะรุนแรงกว่า แต่อัตราเงินเฟ้อลดลงจากราคาน้ำมันที่ลดลงอย่างรวดเร็ว ทั้งปี 51 ที่ร้อยละ 7-8 จากการใช้นโยบายการลดค่าใช้จ่ายของรัฐบาล ส่วนอัตราการว่างงานโดยเฉลี่ยอยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 1.3 และเฉลี่ยทั้งปีเท่ากับร้อยละ 1.4 โดยเฉพาะมาขอรับเงินชดเชยมากกว่า 6 หมื่นราย อย่างไรก็ตามมีสัญญาณว่าอัตราว่างงานจะเพิ่มขึ้นเนื่องจากการผลิตและการลงทุนที่หดตัว

อย่างไรก็ตาม หากงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมงบกลางปี 2552 จำนวน 1.167 แสนล้านเข้าไปยังระบบได้ตั้งแต่เดือนมีนาคม และเข้าสู่ระบบได้ในเดือนพฤษภาคม รวมทั้งการเบิกจ่ายงบประมาณปี 52 มีการเร่งรัดได้ตามเป้าหมาย ร้อยละ 94 และหากสามารถเบิกจ่ายงบปี 53 ได้ทันทีในไตรมาสแรกของปีงบประมาณ รวมทั้งการเร่งรัดการดำเนินการโครงการลงทุนของรัฐทั้งในระยะปานกลาง และระยะยาว

ขณะที่การพยุงราคาสินค้าเกษตรไม่ให้ตกต่ำจนเกินไปโดยการประกันราคาสินค้าเกษตรที่สำคัญ การเพิ่มมาตรการค้ำประกันสินเชื่อและขยายสินเชื่อของสถาบันการเงินเฉพาะกิจและการดำเนินนโยบายการเงินอย่างผ่อนคลาย ขณะที่ราคาน้ำมันดิบดูไบต้องเฉลี่ยไม่เกิน 60 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลล์

ปลอบใจปัจจัยพื้นฐานแกร่งขึ้น

นายอำพนกล่าวว่า ประเทศไทยยังมีทุนทางเศรษฐกิจและทางสังคมที่มีความเข้มแข็ง ประการแรก วิกฤติเศรษฐกิจปี 2540 เรายังไม่มีสำนักงานประกันสังคม (สปส.) เพื่อช่วยเหลือผู้ว่างงาน แต่วิกฤติในปี 2551 มีการนำผู้ที่ถูกเลิกจ้างเข้าสู่ระบบ 5-6 แสนคน สามารถได้รับเงินชดเชย 50% ของรายได้ ประกอบกับรัฐบาลมีงบประมาณ 6.9 พันล้านบาทเข้ามาฝึกอาชีพให้กับผู้ถูกเลิกจ้างและนักศึกษาจบใหม่ ทั้งนี้เป็นเงินที่ไม่ได้มาจากเงินงบประมาณ แต่เป็นเงินที่มีจากเงินสมทบของกองทุนประกันสังคมด้วย เพราะหากรัฐเข้ามาดูแล วิกฤติเศรษฐกิจโดยเฉพาะการว่างงานจะต้องนำงบประมาณกว่าแสนล้านบาทมาแก้ปัญหา

ประการที่สอง งบประมาณที่รัฐผลักดันทั้ง เบี้ยยังชีพ อสม. งบประมาณโครงการเอสเอ็มแอล ฯลฯ ที่จะลงสู่ประชาชนในเดือนพฤษภาคมนี้ จะสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจได้ และเชื่อว่าทั้งปี 52 ก็คงจะไม่เกิดการติดลบอย่างแน่นอน

"7-8 เดือนข้างหน้า เรากำลังเจอกับพายุโลก เราจะทำอย่างไรให้พายุพัดน้ำเข้ามาในเรือน้อยที่สุดเพื่อช่วยกันฝ่ามรสุม ดังนั้นทุกภาคส่วนทั้งรัฐที่วางแผนไว้ เอกชน และประชาชน จะต้องร่วมมือกันแก้ไขปัญหาร่วมกันถือเป็นหัวใจสำคัญที่เราจะไม่ติดลบ”นายอำพนกล่าว

รมว.คลังหวังไตรมาส 4 กระเตื้อง

นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวถึงคาดการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ สศช.แถลงว่า กระทรวงการคลังได้ออกมาเปิดเผยก่อนหน้านี้แล้วว่าจีดีพีจะติดลบในช่วงไตรมาส 4/51 จนถึงช่วงไตรมาส 1 และ 2 ของปีนี้ด้วย ซึ่งก็สอดคล้องกับข้อมูลที่ออกมาจากสภาพัฒน์ เพราะเศรษฐกิจขณะนี้ยังไม่ฟื้น ทำให้เรามองว่าในไตรมาส 1-2/52 จีดีพีจะติดลบต่อเนื่องจากไตรมาส 4/51 อีก แต่เท่าไรนั้น คงไม่สามารถประมาณการได้ ส่วนในไตรมาส 4/52 จะฟื้นหรือไม่นั้นคิดว่าต้องดูประเทศคู่ค้าเป็นหลักว่าเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้ามีการฟื้นตัวหรือไม่ หากประเทศคู่ค้าไม่ฟื้นก็จะทำให้เศรษฐกิจไทยเข้าสู่สถานการณ์ที่ลำบาก อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยพึ่งพาการส่งออก 70% มีสัดส่วนการส่งออกน้อยกว่าหลายประเทศในเอเชีย ที่บางประเทศมีสัดส่วนการส่งออกถึง 100%

ทั้งนี้ รัฐบาลได้เตรียมนโยบายต่างๆ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านงบประมาณกลางปี 2552 มูลค่า 1.16 แสนล้านบาท ซึ่งมองว่าจะสามารถช่วยพยุงเศรษฐกิจและสามารถช่วยสร้างกำลังซื้อในประเทศได้ รวมถึงทดแทนการหดตัวเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้า

รมว.คลังกล่าวว่า ข้อได้เปรียบอีกอย่างของไทยคือสถานะทางการเงิน การคลังและระบบธนาคารพาณิชย์ปัจจุบันยังมีความเข้มแข็งเมื่อเทียบกับประเทศทั่วโลก จากการพูดคุยกับนางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ก็มั่นใจว่า การไหลเข้าออกของเงินทุนต่าง ๆ ไม่น่าเป็นห่วง ไม่มีผลกระทบต่ออัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งเป็นเหตุผลที่ทุนสำรองระหว่างประเทศของไทยยังอยู่ในระดับสูง สามารถรักษาขีดความสามารถทางการแข่งขันไว้ได้

"สิ่งที่รัฐบาลดำเนินการขณะนี้ เพื่อรักษาสภาพเศรษฐกิจไว้ ดูแลผู้ที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ แต่กลไกหลักที่จะกระตุ้นให้เศรษฐกิจขับเคลื่อน คือ ภาคเอกชนที่ต้องเข้ามามีส่วนร่วมกับรัฐบาล" นายกรณ์กล่าว

บิ๊ก ส.อ.ท.ผวาคนตกงาน 1.2 ล้าน

นายธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ) เปิดเผยภายหลังการประชุมสมาชิกสภาอุตสาหกรรมจังหวัดวานนี้ (23ก.พ.) จากการสอบถามสมาชิกส่วนใหญ่พบว่าคำสั่งซื้อไตรมาส 2 ยังเข้ามาน้อยมากจึงมีแนวโน้มว่าภาคส่งออกไตรมาส 2 มีโอกาสที่จะติดลบมากกว่าไตรมาสแรกหรือเฉลี่ยจะติดลบ 15-20% ซึ่งปัจจัยหลักมาจากทิศทางเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าหลักคือสหรัฐ ญี่ปุ่น ยุโรป ยังคงชะลอตัวอยู่และทิศทางยังไม่ฟื้นตัวเร็วนัก

“เวลานี้สต็อกสินค้าในไทยเองก็ยังมีอยู่สูงซึ่งสอดคล้องกับต่างประเทศจนถึงต้นไตรมาส 2 สต็อกสินค้าน่าจะทยอยหมดลง ทำให้คำสั่งซื้อมาแบบระยะสั้นๆ เท่านั้นจนกว่าสต็อกจะหมดลงจึงคาดว่าการส่งออกน่าจะเห็นการฟื้นตัวชัดเจนในช่วงไตรมาส 3-4 “นายธนิตกล่าว

จากการหารือปัญหาแรงงานแล้วพบว่าผลพวงดังกล่าว ถ้าหากอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจหรือจีดีพีไตรมาส 2 ติดลบ 2.5% อัตราการว่างงานจะอยู่ในระดับ 1.2 ล้านคน

"มาตรการรัฐบาลที่ออกมาจะเน้นการดูแลแรงงานที่ตกงานไปแล้วซึ่งเม็ดเงินดังกล่าวอาจไม่เพียงพอในระยะยาวซึ่งประเทศอื่นจะเน้นแก้สภาพคล่องก่อนเพื่อป้องกันไม่ให้ปลดคนงาน" นายธนิตกล่าว

นายสันติ วิลาสศักดานนท์ ประธาน ส.อ.ท.กล่าวว่า คำสั่งซื้อจากต่างประเทศทยอยเข้ามาระดับหนึ่งแต่ยังถือว่าน้อยเนื่องจากเศรษฐกิจคู่ค้ายังไม่ฟื้นตัวเท่าที่ควรนักประกอบกับสต็อกสินค้าเก่ายังคงมีอยู่โดยมองว่าสต็อกเก่าน่าจะทยอยหมดลงในช่วงไตรมาสแรกปีนี้และหวังว่าการผลิตน่าจะเริ่มเข้ามาได้ในไตรมาส 2 จึงยังคาดหวังว่าไตรมาส 2 ส่งออกน่าจะใกล้เคียงกับไตรมาสแรก

“เราเองพยายามหวังว่าการส่งออกไตรมาส 2 ไม่น่าจะเลวร้ายไปกว่าไตรมาสแรกแต่ก็ยอมรับว่าคงจะต้องติดตามคำสั่งซื้อในช่วงมี.ค.ว่าจะเป็นอย่างไรแต่ยอมรับว่าเวลานี้ยังมีเข้ามาไม่มากนัก”นายสันติกล่าว

นักศึกษาจบใหม่ส่อเคว้ง 5 แสนคน

นายทวีกิจ จตุรเจริญคุณ รองประธานสายงานแรงงาน ส.อ.ท. กล่าวว่า จากการสอบถามสมาชิกส่วนใหญ่พบว่าคำสั่งซื้อไตรมาส 2 ยังเข้ามาน้อยมากจึงมีแนวโน้มว่าภาคส่งออกไตรมาส 2 จะติดลบมากกว่าไตรมาสแรกซึ่งปัจจัยหลักมาจากทิศทางเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าหลักคือสหรัฐ ญี่ปุ่น ยุโรป มีแนวโน้มไม่ฟื้นตัวเร็วอย่างที่หลายฝ่ายคาดขณะที่ตลาดใหม่ๆ ก็มีปัญหาเศรษฐกิจชะลอตัวเช่นกัน ดังนั้นปัญหาแรงงานจะเป็นปัญหาหนักที่ต้องหามาตรการรองรับไว้พอสมควรโดยเฉพาะนักศึกษาจบใหม่ 5 แสนคนนั้นคาดว่าจะตกงานทั้งหมดเว้นแต่จะต้องไม่เลือกงาน

“เราเป็นห่วงแรงงานจะเป็นปัญหาตามมาหากส่งออกไตรมาส 2 ยังชะลอตัวต่อเนื่องซึ่งเรามองว่าปีนี้น่าจะทะลุหลักล้านคน แต่ส่วนหนึ่งของภาคอุตสาหกรรมโดยเฉพาะจ.สมุทรสาคร โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการประมงต้องการแรงงานต่างด้าวเพิ่มขึ้นซึ่งเดิมกลางปีที่แล้วได้เสนอให้รัฐจดทะเบียนต่างด้าวเพิ่มอีก 7 แสนคนดังนั้นจากที่จดทะเบียนอยู่แล้ว 5 แสนกว่าคนทางกรมการจัดหางานจึงต้องการให้มีการจัดตลาดัดพบแรงงานเพื่อที่จะประเมินตัวเลขให้ชัดเจนก่อนที่จะดำเนินการ”นายทวีกิจกล่าว

เล็งจัดงานนัดพบแรงงาน 20-21 มี.ค.

นายพิชัย เอกพิทักษ์ดำรง อธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าวว่า ได้หารือกับ ส.อ.ท.เพื่อที่จะจัดตลาดนัดพบแรงงานภาคอุตสาหกรรมระหว่างวันที่ 20-21 มี.ค.นี้ที่สยามพารากอนซึ่งจะเน้นระดับแรงงานปริญญาตรีซึ่งจะมีอัตราการรับสมัครหลายตำแหน่งรวม 1.2 แสนคน โดยเวทีนี้น่าจะช่วยลดปัญหาแรงงานว่างงานได้อีกระดับหนึ่งหากแรงงานไม่เลือกงาน

อย่างไรก็ตาม กรมฯได้มีการเปิดให้แรงงานมายื่นใบสมัครที่กรมฯและจัดงานตลาดพบแรงงานที่ผ่านมาแต่ยังพบว่ามีแรงงานเข้ามาสมัครค่อนข้างต่ำกว่าที่คาดหวังไว้โดยเข้าใจว่าแรงงานส่วนหนึ่งได้รับเงินชดเชย และอาจจะมีเงินประกันสังคมช่วยเหลืออยู่จึงยังทำให้แรงงานที่ตกงานแล้วมีเวลาที่จะรองานที่เหมาะสม   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us