Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน24 กุมภาพันธ์ 2552
โยน“ปูนใหญ่” ชดใช้คดีใบหุ้นปลอม             
 


   
www resources

โฮมเพจ เครือซิเมนต์ไทย

   
search resources

ปูนซิเมนต์ไทย, บมจ.
Cement




ก.ล.ต. แย้มผู้ที่ได้รับความเสียหายจากการปลอมแปลงใบหุ้นอาจเรียกร้องความเป็นธรรมจากปูนซิเมนไทย เหตุพนักงานบริษัทใช้อำนาจหน้าที่ในการทุจริต แต่ต้องขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของศล ขณะที่นักลงทุนตื่นตระหนกนำใบหุ้นให้ศูนย์รับฝากฯ ตรวจสอบ “โสภาวดี” จูงใจให้นำใบหุ้นเข้าระบบสคริปเลสปลอดภัยสุด ขณะที่เครือ “เอสซีจี” รับผลกระทบวิกฤตการเงินโลกปรับลดยอดลงเหลือ 15 ล้านตัน หลังประเมินการใช้ปุนในประเทศหดตัวลง 10% บวกกับตลาดส่งออกซบ

นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดเผยถึงกรณีเกิดการปลอดใบหุ้นของบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) หรือ SCC ว่า บริษัทปูนซิเมนต์ไทย อาจจะต้องมีการรับผิดชอบในทางเพ่งในการจ่ายค่าเสียหายกับผู้เสียหาย เนื่องจากใช้อำนาจพนักงานในการทุจริต หลังจากนั้นบริษัทจะต้องไปเรียกร้องให้ผู้กระทำความผิดชดเชยค่าเสียหาย

ขณะนี้ขั้นตอนอยู่ในกระบวนการของตำรวจที่จะสามารถเอาผิดทางอาญาได้ โดยไม่ต้องรอเอาผิดทางกฎหมายหลักทรัพย์ ส่วนก.ล.ตจะประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องว่าจะมีขึ้นตอนการดำเนินคดีหรือไม่

นักลงทุนนำใบหุ้นตรวจสอบกับTSD

นางสาวโสภาวดี เลิศมนัสชัย กรรมการผู้จัดการ บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด (TSD) กล่าวว่า หลังจากเกิดเหตการณ์ดังกล่าวขึ้น วานนี้ (23 ก.พ.) ได้สร้างความตื่นตระหนกให้แก่นักลงทุนนำไปหุ้นมาตรวจสอบกับบริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำนวนประมาณ 3-4 ราย รวมทั้งยังมีโทรศัพท์เข้ามาสอบถามอีก 27 สาย

จากกรณีที่มีปัญหาใบหุ้นปลอมเกิดขึ้นนั้น เชื่อว่าจะมีนักลงทุนเอาใบหุ้นมาฝากที่ทางศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ฯ ด้วยระบบไร้ใบหลักทรัพย์ (Scripless) มากขึ้น เนื่องจากหากนำมาฝากเข้าระบบScriplessจะมีความปลอดภัยที่สุดแล้ว และสามารถดำเนินการต่างๆได้ เช่น การ ถอนหลักทรัพย์ โอนหลักทรัพย์ จำนำ และเพิกถอนจำนำหลักทรัพย์ รวมถึงได้สิทธิประโยชน์ในเรื่องการเพิ่มทุน การรับเงินปันผล ซึ่งผู้ลงทุนสามารถทำรายการเหล่านี้ผ่าน TSD ได้

ปัจจุบันมีนักลงทุนที่ยังไม่มีหุ้นมาฝากที่ TSD จำนวน 20% ของหุ้นทั้งหมด ส่วนใหญ่จะเป็นที่สูงอายุและถือหุ้นในบริษัทขนาดใหญ่ที่มีการเปิดดำเนินการมานานแล้ว ส่วนบริษัทใหม่ที่เข้าจดทะเบียนนั้นส่วนใหญ่จะใช้ระบบ Scripless หมดแล้ว ขณะที่กระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย รัฐวิสาหกิจที่มีการลงทุนในหุ้นได้มีการนำใบหุ้นมาฝากไว้กับทาง TSD ทั้งหมด

“ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้รณรงค์ให้นักลงทุนนำหุ้นมาฝากที่ TSD ระบบ Scripless ตั้งแต่ปี 2550 โดยหากจะให้นักลงทุนทั้งระบบมาใช้ระบบ Scripless เชื่อว่าจะใช้เวลา 3 ปี แต่หากมีการบังคับเป็นกฎหมายเชื่อว่าจะใช้เวลา 3 ปีเช่นกัน ในการออกเป็นกฎหมายออกมา”

ทั้งนี้ TSD ตั้งเป้านักลงทุนนำหุ้นมาฝากเพิ่มเป็น 85% จากปีก่อนที่ 80% ซึ่งจาก กรณีที่มีการตรวจสอบพบใบหุ้นปลอมของบริษัทจดทะเบียนในช่วงที่ผ่านมานั้น ขอให้ผู้ถือหุ้นใช้ความระมัดระวัง กรณีมีการมอบอำนาจให้ผู้อื่นเป็นผู้ทำธุรกรรมแทน และแนะนำให้ผู้ถือหุ้นนำหุ้นมาฝากไว้กับระบบอิเล็กทรอนิกส์ (Scripless system) ซึ่งเป็นการเก็บข้อมูลการถือครองหุ้น และสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ในระบบคอมพิวเตอร์ที่ได้มาตรฐานสากลของตลาดหลักทรัพย์ฯ ซึ่งจะช่วยลดปัญหาใบหุ้นชำรุด สูญหาย และการปลอมแปลงใบหุ้น โดยผู้ที่ฝากหุ้นไว้กับระบบอิเล็กทรอนิกส์ จะได้รับข้อมูลแจ้งสถานะการถือครองหุ้นทุกเดือน กรณีมีการซื้อขายหุ้น แต่หากไม่มีการซื้อขายหุ้น จะได้รับรายงานทุก 6 เดือน

ตลท.เข้าเกณฑ์มาตรฐานเทียบตลาดอื่น

นายประเวช องอาจสิทธิกุล ผู้ช่วยเลขาธิการอาวุโส สำนักงาน ก.ล.ต. กล่าวว่า ปัจจุบันมีนักลงทุนนำหุ้นมาฝากกับ TSD แล้วกว่า 80% ซึ่งถือเป็นมาตรฐานเดียวกับต่างประเทศที่มีการบังคับให้นักลงทุนต่างประเทศมีการนำใบหุ้นทั้งหมดมาฝากที่ TSD ต่างประเทศ แม้ตลาดหุ้นไทยยังไม่มีการบังคับใช้

“ต้องให้สิทธิกับผู้ถือหุ้นด้วย หากต้องการที่จะถือใบหุ้นไม่ควรที่จะบังคับนักลงทุน ควรที่จะใช้วิธีในการชักชวนมากกว่าที่จะบังคับ โดยหากนักลงทุนนำใบหุ้นมาฝากนั้นก็จะไม่เกิดปัญหาใบหุ้นปลอม ซึ่งหากมีการปลอมก็จะทราบได้ทันทีจากระบบมีการตรวจสอบ”

ด้านนางภัทรียา เบญจพลชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์ฯ กล่าวว่า เพื่อป้องกันปัญหาดังกล่าวที่อาจเกิดขึ้นอีก ตลาดหลักทรัพย์อยากแนะนำให้นักลงทุนนำมาฝากไว้กับ TSD ในระบบอิเล็กทรอนิกส์ เพราะระบบนี้จะช่วยป้องกันปัญหาใบหุ้นปลอมได้ แต่ที่ผ่านมาส่วนใหญ่จะพบปัญหาการทำใบหุ้นหายมากกว่า โดยจากมีผู้ที่ความกังวลสามารถนำใบหุ้นถืออยู่มาตรวจสอบได้

ตลาดส่งออกปูนซบเซา

นายปราโมทย์ เตชะสุพัฒน์กุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี ซิเมนต์ กล่าวว่า แผนดำเนินธุรกิจซีเมนต์ภายใต้วิกฤตเศรษฐกิจโลกในปีนี้บริษัทฯตั้งเป้ายอดขายปูนซีเมนต์ไว้ 15 ล้านตัน โดยเป็นยอดขายในประเทศ 9 ล้านตันและส่งออก 6 ล้านตัน ลดลงจากปีก่อนที่มียอดขายปูนซีเมนต์รวม 18 ล้านตัน เนื่องจากมองแนวโน้มความต้องการใช้ปูนในประเทศปีนี้จะหดตัวลง10% จากปีก่อน 25 ล้านตัน โดยครึ่งปีแรกนี้จะขยายตัวติดลบ 10-15% และครึ่งปีหลังนี้ติดลบลดลงเหลือ 5-10% เนื่องจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐจะทำให้ความเชื่อมั่นกลับคืนมา และคาดว่าโครงการเมกะโปรเจ็กต์ก็จะเริ่มมีการใช้วัสดุก่อสร้างในปลายปีนี้

ส่วนตลาดส่งออกยอมรับว่าคงได้รับผลกระทบจากวิกฤตการเงินโลกครั้งนี้ ทำให้ยอดการส่งออกของบริษัทฯในปีที่แล้วจาก 8.2 ล้านตัน ลดลงเหลือ 6 ล้านตัน เนื่องจากความต้องการใช้ปูนลดลง และราคาก็อ่อนตัวลงด้วย โดยประเทศที่บริษัทส่งออกปูนต่างก็ได้รับผลกระทบด้านการส่งออกจากวิกฤตเศรษฐกิจโลกครั้งนี้เช่นเดียวกัน

นายปราโมทย์ กล่าวว่า บริษัทฯได้วางกลยุทธ์ในการรับมือวิกฤตการเงินโลกครั้งนี้ โดยการหาตลาดส่งออกใหม่ การเพิ่มสภาพคล่องและเงินทุนหมุนเวียน โดยการชะลอการลงทุนโครงการผลิตปูนในต่างประเทศททั้งอินโดนีเซียและกัมพูชา รวมทั้งดูแลบริหารต้นทุนต่างๆ รวมไปถึงการพัฒนาสินค้าภายใต้นวัตกรรมใหม่เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้ามากขึ้น เนื่องจากเห็นว่าสินค้าคุณภาพสูงยังมีดีมานด์อยู่

บริษัทฯมีกลยุทธ์ในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและลดต้นทุน โดยติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากความร้อนทิ้ง (WHG)ที่โรงปูนของเครือฯทั้ง 8 โครงการใช้เงินลงทุน 5,810 ล้านบาท เริ่มเดินเครื่องจักรไปแล้ว 3 โรงงาน และจะเสร็จสมบูรณ์ทั้งหมดในปลายปีนี้ ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายปีละ 1,640 ล้านบาท ทดแทนการซื้อไฟจากภายนอก 25% และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกถึงปีละ 3แสนตัน

นอกจากนี้ในปีนี้ เอสซีจี ซิเมนต์ยังเตรียมงบลงทุนอีก 200 ล้านบาท สำหรับปรับปรุงประสิทธิภาพเครื่องจักรเพื่อลดการใช้พลังงาน และงบประมาณอีก 180 ล้านบาทสำหรับการวิจัยและพัฒนา โดยปีที่แล้ว ได้ใช้งบประมาณ 60 ล้านบาทในการตั้งPilot Process and Product DevelopmentCenter ซึ่งเป็นโรงงานขนาดเล็กที่ย่อส่วนกระบวนการผลิตเพื่อใช้ในการวิจัยผลิตภัณฑ์ และทดสอบสินค้าใหม่

"ปีนี้ความต้องการใช้ปูนในไทยลดลง 10% ต่อเนื่องจากที่แล้วความต้องการใช้ปูนลดลง 6% โดยบริษัทฯรตั้งเป้ายอดขายซีเมนต์ปีนี้ที่ 15 ล้านตัน เท่ากับยอดขายปูนของบริษัทฯเมื่อ 3 ปีที่แล้ว แต่ราคาขายปูนในประเทศเมื่อเทียบส่งออกพบว่าราคาถูกกว่าโดยราคาขายปูนในไทยอยู่ที่ 79 เหรียญสหรัฐ/ตัน ขณะที่ส่งออกไปอินเดีย บังคลาเทศสูงถึง 90-110 เหรียญสหรัฐ/ตัน ซึ่งราคาส่งออกปูนอยู่ที่ 40-55 เหรียญสหรัฐ/ตัน ไม่รวมค่าขนส่ง"   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us