|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
สภาพแวดล้อมทางธุรกิจและทางการตลาดที่ไม่เอื้ออำนวยอย่างยิ่งต่อการทำกำไร เป็นความเสี่ยงเชิงระบบที่สำคัญที่สุดและกระทบต่อผลดำเนินงานของธุรกิจในแทบจะทุกสาขาอุตสาหกรรม
นั่นทำให้กิจการเครื่องสำอางยักษ์ใหญ่ของญี่ปุ่นอย่างชิเชโด้ ตัดสินใจปรับลดจำนวนสินค้าในพอร์ตที่บริหารงานทางการตลาดลงไป โดยหวังว่าจะมีผลปรับเพิ่มความสามารถในการทำกำไร
ที่เรื่องนี้น่าสนใจก็เพราะว่า การลดสายผลิตภัณฑ์เป็นเรื่องที่สวนทางกับกลยุทธ์การเติบโตทางธุรกิจ และกรณีของชิเชโด้นั้น การปรับลดจำนวนสินค้าที่พร้อมจำหน่ายในตลาดหรือจำหน่ายในตลาดอยู่แล้ว จะนำสู่กระบวนการทางการตลาดอย่างมีนัยสำคัญ จนมีผลทำให้พอร์ตสินค้าของชิเชโด้เปลี่ยนแปลงสัดส่วนทางธุรกิจไปอย่างมากเทียบกับพอร์ตเดิม
เป้าหมายประการแรก คือ ด้านความสามารถในการทำกำไรที่ผู้บริหารของชิเชโด้กำหนดไว้ อยู่ที่ระดับขั้นต่ำ 10% ภายในปี 2010 เทียบกับประมาณ 8.3% ในปีงบประมาณที่ผ่านมา
เป้าหมายประการที่สอง คือ การมียอดการจำหน่ายไม่น้อยกว่า 1 ล้านล้านเยนภายในช่วง 10 ปีที่จะถึงนี้ โดยมากกว่า 50% ของยอดการจำหน่ายมาจากลูกค้าในตลาดต่างประเทศเพียง 20-30% เท่านั้น
พอร์ตของสินค้าของชิเชโด้ ที่ว่าลดลงอย่างมีนัยสำคัญนั้น ก็เพราะเป้าหมายที่กำหนดให้ทำการลดพอร์ตสินค้าของชิเชโด้มากถึง 30% โดยเฉพาะแบรนด์ที่จำหน่ายภายในตลาดญี่ปุ่นเอง จะมีการลดลงจาก 27 แบรนด์ เหลือเพียง 21 แบรนด์เท่านั้น
โมเดลการปรับลดจำนวนแบรนด์สินค้าของชิเชโด้ มาจากสมมุติฐานทางการตลาดว่าทีมงานการตลาดจะทำกิจกรรมและประสบความสำเร็จทางการตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น หากมีสินค้าในพอร์ตที่คอยทุ่มเทและจัดสรรงบประมาณทางการตาดน้อยรายการลง หรือลดลงสู่ระดับที่เหมาะสม
นอกจากนั้น การมีจำนวนสินค้าในพอร์ตลดลงไป ก็น่าจะทำให้ชิเชโด้มีความคล่องตัวและง่ายในการลงทุนและการจัดสรรทรัพยากรมากขึ้น ขณะเดียวกัน การทำวิจัยและพัฒนาทางการตลาดก็จะรวดเร็ว ทันกาลมากขึ้น
ประเด็นที่สาม คือ ที่ผ่านมาทีมงานบริหารของชิเชโด้ได้ลดจำนวนของสินค้าในพอร์ตลงมาโดยตลอด เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามในการเสริมสร้างความแข็งแกร่งของแบรนด์หลักๆ และการประหยัดต้นทุนทางการตลาด
สิ่งที่เป็นผลพลอยได้ที่ติดตามมาคือ การเพิ่มโอกาสในการสร้างนวัตกรรมของนโยบายทางการตลาด ที่รวมนโยบายการปรับภาพแบรนด์ไว้ด้วย ส่วนการที่ประสิทธิภาพด้านต้นทุนทางการตลาด ที่ทำให้การทุ่มเทและมุ่งเน้นการมีประสิทธิผลมากขึ้น
ในเมื่อชิเชโด้มุ่งเป้าหมายในการเพิ่มอัตราส่วนของรายได้ที่มาจากตลาดต่างประเทศมากขึ้น ดูเหมือนว่าจะกำหนดเป้าหมายอยู่ที่ตลาดเอเชียไว้พอสมควร โดยเฉพาะในจีน ส่วนที่เหลือน่าจะมุ่งไปที่ตลาดยุโรปอีกตลาดหนึ่ง
การใช้กลยุทธ์การปรับลดจำนวนสินค้าในพอร์ต ไม่ได้กินความหมายเพียงแค่การลดจำนวนสินค้าในแต่ละสายผลิตภัณฑ์ของเครื่องสำอางลงไปแบบตรงๆ เท่านั้น หากแต่รวมไปถึงการที่ชิเชโด้ได้ตัดสินใจประกาศถอนตัวทางธุรกิจออกจากการดำเนินธุรกิจส่วนของตลาดแฟชั่นและเครื่องประดับ เพื่อให้มั่นใจว่าพลังทางการตลาดจะทุ่มเทไปยังการส่งเสริมการตลาดของเครื่องสำอางในส่วนตลาดหลักๆ จนสามารถนำชิเชโด้สู่ความเป็นผู้นำในโลกเครื่องสำอางได้อย่างมั่นใจ
ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้ กิจการย่อยในเครือของชิเชโด้ที่ชื่อ “เดอะ กินซ่า” เป็นกิจการส่วนที่เน้นหนักการจำหน่ายเครื่องสำอาง ในระดับขายส่งและขายปลีก และธุรกิจแฟชั่นบูติกเป็นหลัก
หลังจากการตัดสินใจไปแล้ว เดอะ กินซ่า ได้เตรียมที่จะยุบเลิกการดำเนินงานของกิจการร้านค้าถึง 18 แห่งจากทั้งหมดที่มีอยู่ 21 แห่ง หมายความว่าเหลือร้านค้าที่เปิดดำเนินกิจการต่อไปเพียง 3 แห่ง
ร้านค้าที่โชคดียังหลงเหลืออยู่ 3 แห่งด้งกล่าว ก๊ได้ถูกปรับเปลี่ยนบทบาทของการดำเนินงานจากการเน้นและมุ่งอยู่ที่การจำหน่ายสินค้าอย่างเดียว มาทำหน้าที่เป็นศูนย์ข้อมูลสารสนเทศและช่องทางของการสื่อสารทางการตลาด เพื่อช่วยให้ลูกค้ามีการตระหนักเพิ่มมากขึ้นเกี่ยวกับคุณค่าของแบรนด์ของชิเชโด้นั่นเอง
|
|
 |
|
|