Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์23 กุมภาพันธ์ 2552
เปิดโมเดลขยายธุรกิจอารียา ปรับพอร์ตรายได้รับเศรษฐกิจฝืด             
 


   
www resources

โฮมเพจ อารียา พร็อพเพอร์ตี้

   
search resources

อารียา พรอพเพอร์ตี้, บมจ.
Real Estate
วิศิษฏ์ เลาหพูนรังสี




อารียา พร็อพเพอร์ตี้ ประกาศปรับโครงสร้างธุรกิจใหม่หลังโดนพิษเศรษฐกิจกระหน่ำ ทำยอดขายวูบต่อเนื่อง 2-3 ปี ขยายไลน์สู่ธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง ลดต้นทุนค่าก่อสร้างลง 5% เล็งปรับพอร์ตรายได้ทั้งจากการขายและเช่า

ผลประกอบการของ บริษัท อารียา พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด(มหาชน) ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาไม่ค่อยดีนัก มาจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว ความเชื่อมั่นหดหายจากสถานการณ์ทางการเมืองที่วุ่นวายอย่างต่อเนื่องในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา แต่ส่วนหนึ่งต้องยอมรับว่าเกิดจากความผิดพลาดของแผนการดำเนินธุรกิจของวิศิษฏ์ เลาหพูนรังสี ประธานและกรรมการผู้จัดการ ที่โหมลงทุนอย่างหนัก เพราะเห็นว่าเป็นช่วงขาขึ้นของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ โดยในปี 2547-2548 เป็นช่วงที่มีโอกาสสร้างยอดขายและผลกำไรอย่างมหาศาล ทั้งที่อารียาเองไม่ได้มีเงินสดมากพอที่จะลงทุนโครงการมากนัก

โดยวิศิษฏ์ ยึดนโยบายการดำเนินงานว่าบริษัทไม่จำเป็นต้องมีเงินสดสำหรับลงทุนทำโครงการมากนัก เพียงแค่มีแหล่งเงินกู้เพียงพอก็สามารถกู้เงินมาลงทุนโครงการได้ ทำให้ในช่วง 2-3 ปีก่อนอารียาฯกู้เงินมาลงทุนโครงการใหม่จำนวนมาก ทำให้มีภาระหนี้สินต่อทุน(D:E) พุ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ค่อนข้างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บริษัทขนาดใหญ่ทั้ง ในและนอกตลาดหลักทรัพย์ ล้วนมีภาระหนี้สินต่อทุนเพียงไม่ถึง 1:1 เท่านั้น ขณะที่อารียาฯมีหนี้สินต่อทุนมากกว่า 2:1

และเมื่อภาระเศรษฐกิจเข้าสู่ช่วงขาลง สถาบันการเงินเข้มงวด ปล่อยสินเชื่อทั้งโครงการและรายย่อย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โครงการที่มียอดขายไม่ดี หรือมีความเสี่ยงสูง สถาบันการเงินจะเบรกปล่อยเงินกู้ทันที ทำให้อารียาฯได้รับผลกระทบอย่างหนัก เพราะอารียาฯพึ่งพาเงินกู้จากสถาบันการเงินเป็นหลัก ที่สำคัญในช่วงนั้นอารียาฯมีโครงการอาคารชุดหลายโครงการที่จำเป็นต้องใช้เงินจำนวนมากถึงหลักพันล้านบาท เพื่อใช้ก่อสร้างให้แล้วเสร็จ และโอนกรรมสิทธิ์ให้ได้ เพราะจะได้เงินจากการโอนมาใช้หนี้และหมุนเวียนทำโครงการต่อให้แล้วเสร็จ

อย่างไรก็ตาม ในปี 2552 คงจะเป็นปีที่ทำให้อารียาฯเริ่มลุกขึ้นมาทำธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ต่อได้อย่างไม่มีปัญหาหรือมีน้อยที่สุด เพราะปลายปี 2551 โครงการเอ สเปซเริ่มโอนได้ ซึ่งจะทำให้อารียาฯมีเงินสดเข้าองค์กรตั้งแต่ปลายปี 2551 และจะเข้ามามากถึง 3,000 ล้านบาท ในปี 2552 ซึ่งวิศิษฏ์ คงจะนำเงินไปชำระหนี้ เพื่อลดค่าใช้จ่ายจากดอกเบี้ยซึ่งเป็นต้นทุนที่ค่อนข้างมาก ส่วนหนึ่งจะนำไปใช้หมุนเวียนในโครงการที่อยู่ระหว่างดำเนินงาน

สำหรับก้าวต่อไปของอารียาฯ ภายใต้การนำของมือการเงินอย่างวิศิษฏ์นั้น วิศิษฏ์ได้ปรับเปลี่ยนแนวคิดการทำธุรกิจไปค่อนข้างมาก จากเดิมใช้นโยบายด้านการเงินนำ แต่จากบทเรียนอันเจ็บปวดจากการโหมลงทุนโดยไม่ให้ความสำคัญต่อภาระหนี้สินต่อทุน ทำให้ปีนี้วิศิษฏ์จะลงทุนอย่างระมัดระวังยิ่งขึ้น รวมทั้งปรับโครงสร้างรายได้ใหม่ให้สอดคล้องกับองค์กร ภาวะเศรษฐกิจ และตลาดอสังหาริมทรัพย์

โดยหาทางสร้างรายได้จากธุรกิจผู้รับเหมาก่อสร้างเพิ่มขึ้น ผ่านบริษัท วัน อัพ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในเครือ ที่เปิดดำเนินงานมาแล้ว 1 ปี ซึ่งวัน อัพ ทำหน้าที่ก่อสร้างโครงการให้กับอารียาฯมาแล้ว 5 โครงการ มูลค่า 527 ล้านบาท เช่น โครงการเอ สเปซ อโศก-ดินแดง โครงการเอ สเปซ อ่อนนุช โครงการอารียา โมวาและโครงการเดอะคัลเลอร์ และอยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้างอีก 6 โครงการมูลค่า 1,474 ล้านบาท อีกทั้งในอนาคตจะรับงานเพิ่มอีก 6 โครงการ มูลค่า 1,882 ล้านบาท

วิศิษฏ์ กล่าวว่า การใช้บริษัท วัน อัพ เป็นผู้ก่อสร้างให้บริษัท อารียาฯ ทำให้ลดต้นทุนค่าก่อสร้างลงมากกว่า 5% เพราะใช้เทคโนโลยี Tunnel Formwork ซึ่งเป็นเทคโนโลยีก่อสร้างที่สามารถควบคุมเวลาการทำงาน ลดขั้นตอนการซับซ้อนของระบบก่อสร้างอาคารที่มีลักษณะเดียวกัน เช่น คอนโดมิเนียม อพาร์ทเมนท์ โรงแรม ซึ่งได้รับความนิยมอย่างมากในยุโรป สิงคโปร์ และมาเลเซีย

“เป้าหมายของวัน อัพปีแรก รับงานก่อสร้างให้อารียาฯ ส่วนปีที่ 2 จะขยายการรับงานสู่ภายนอก ในสัดส่วนรายได้อยู่ที่ 70:30 ตามลำดับ และมีแผนจะขยายการรับงานสู่ภาครัฐด้วย ส่วนโครงสร้างรายได้ของอารียาฯ นอกจากจะมีรายได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์และรับเหมาก่อสร้างแล้ว ประมาณกลางปี 2552 ยังวางเป้าหมายว่าจะมีรายได้จากค่าเช่าอีกด้วย”วิศิษฏ์ กล่าว   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us