Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์23 กุมภาพันธ์ 2552
วิบากกรรมจัดรูปที่ดิน4 ปียังไม่ถึงฝั่งราคาที่ดินกลางกรุงแพงอุปสรรคใหญ่             
 


   
search resources

Real Estate




*4 ปีโครงการนำร่องจัดรูปที่ดินยังไม่คืบ
*อุปสรรคใหญ่เจ้าของที่ดินยังไม่เข้าใจ-ไม่ยอมรับ เพราะเป็นเรื่องใหม่
*จัดสรรเห็นพ้องเป็นเรื่องดี ชี้ กทม.-ปริมณฑลจัดรูปยาก เหตุราคาที่ดินแพง

สภาพที่ดินตาบอดที่มีให้เห็นมากมายทั่วประเทศ สะท้อนถึงปัญหาการใช้ที่ดินอย่างไม่คุ้มค่า เพราะขาดการวางแผนการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างเหมาะสม เป็นอุปสรรคทำให้เมืองไม่สามารถพัฒนาได้เต็มศักยภาพ ทำให้ที่ดินตาบอดมีมูลค่าประเมินต่ำกว่าที่ควรจะเป็น กลายเป็นโอกาสที่ต้องสูญเสียไปปอย่างน่าเสียดาย

ปัญหาดังกล่าวเป็นเรื่องที่กรมโยธาธิการและผังเมืองมองเห็นและพยายามผลักดันกฎหมายจัดรูปที่ดินมากว่า 10 ปี หวังที่จะเป็นเครื่องมือแก้ปัญหา จนเมื่อปลายปี 2547 สามารถผลักดันพระราชบัญญัติจัดรูปที่ดินเพื่อพัฒนาพื้นที่ พ.ศ. 2547 ออกมาได้สำเร็จ และจัดตั้งสำนักงานจัดรูปที่ดินเพื่อพัฒนาพื้นที่ ทำหน้าที่ดูแลเรื่องดังกล่าวโดยเฉพาะ โดยได้รับการสนับสนุนจากองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของประเทศญี่ปุ่น (JICA) แต่เพราะแนวคิดเรื่องการจัดรูปที่ดินเป็นเรื่องใหม่สำหรับเมืองไทย เป็นความเปลี่ยนแปลงที่ต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายฝ่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคประชาชน จึงจำเป็นที่จะต้องเร่งสร้างความรู้ความเข้าใจให้ประชาชนรวมถึงเอกชนที่เป็นดีเวลลอปเปอร์ บริษัทที่ปรึกษา เพื่อร่วมกันผลักดันโครงการจัดรูปที่ดินให้ประสบความสำเร็จ

อุปสรรคใหญ่เจ้าของไม่ร่วมมือ

ผ่านมากว่า 4 ปีแล้วที่กฎหมายประกาศใช้ แต่กลับพบว่าโครงการจัดรูปที่ดินในเมืองไทยยังเดินหน้าไปไม่ถึงไหน โครงการนำร่อง 10 แห่ง มีความคืบหน้าชัดเจนเพียงแค่ 3 โครงการเท่านั้น ได้แก่ ยะลา น่าน ลำปาง ซึ่ง 3 โครงการดังกล่าวสามารถเจรจากับเจ้าของที่ดินส่วนใหญ่ได้ลงตัวแล้ว แต่ก็ยังไม่สำเร็จเป็นตัวอย่างให้เห็นเป็นรูปธรรม รวมถึงยังไม่สามารถออกกฎกระทรวงได้ครบ ในขณะที่การดำเนินโครงการในต่างประเทศ เช่น อินโดนีเซียใช้เวลาจัดรูปที่ดินเพียง 2 ปีเท่านั้น

สาเหตุที่โครงการล่าช้า เพราะการจัดรูปที่ดินเป็นเรื่องละเอียดอ่อน มีผลกระทบต่อวิถีชีวิต ต้องใช้เวลาในการเจรจาสร้างความเข้าใจให้กับประชาชน ซึ่งอุปสรรคใหญ่ที่พบ คือ เจ้าของแปลงที่ดินที่ติดถนนอยู่แล้วมักไม่ให้ความร่วมมือ เพราะไม่เล็งเห็นถึงความสำคัญ ในขณะที่ความสนใจของภาคเอกชนที่เป็นดีเวลลอปเปอร์ในการเข้าร่วมโครงการยังไม่ชัดเจน ส่วนใหญ่กล่าวว่าอยากรอดูความสำเร็จของโครงการนำร่องก่อน

เร่งออกมาตรการจูงใจเอกชน

อุดม พัวสกุล อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง มีแนวคิดที่จะผลักดันมาตรการต่างๆ เพื่อจูงใจให้เอกชนสนใจเข้าร่วมโครงการจัดรูปที่ดิน เช่น มาตรการลดหย่อนภาษี การสนับสนุนสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ เพื่อดำเนินงานโครงการ และขณะนี้อยู่ในระหว่างจัดทำรายละเอียดว่าจะนำเงินกองทุนนจัดรูปที่ดินไปใช้ในรูปแบบใดบ้าง จะต้องของบประมาณสนับสนุนเพิ่มอีกเท่าใด ซึ่งปัจจุบันมีเงินประเดิมกองทุนอยู่แล้ว 70 ล้านบาท

อย่างไรก็ตามแนวคิดของการจัดรูปที่ดินนอกจากจัดแปลงที่ดินใหม่ให้สวยงาม มีถนนตัดผ่านทุกแปลงแล้ว อาจมีการแบ่งแปลงที่ดินส่วนหนึ่งเป็นที่ดินจัดหาประโยชน์ (Reserved Land) นำไปขายให้กับดีเวลลอปเปอร์ นำไปพัฒนาโครงการต่างๆ ได้ หรือเจ้าของที่ดินในโครงการจะรวมตัวกันเพื่อพัฒนาที่ดินเองก็ได้ ซึ่งทั้งหมดเป็นแนวทางในการระดมทุนด้วยตัวเอง เป็นนำเงินมาใช้ในการดำเนินการโครงการ ร่วมกับงบอุดหนุนที่ได้จากกองทุนจัดรูปที่ดิน โดยพึ่งพางบประมาณรัฐให้น้อยที่สุด

เร่งหาทางออกกลไกตลาดเงินไม่เอื้อ

สำหรับแนวคิดเรื่องการจัดรูปที่ดิน แม้จะมีรายได้จากการขายที่ดินจัดหาประโยชน์ แต่ในช่วงแรกของการดำเนินโครงการ ซึ่งเป็นขั้นตอนของการเจรจากับเจ้าของที่ดินให้เข้าร่วมโครงการ ตั้งที่ปรึกษา วางผังที่ดินใหม่ ประชุมรับฟังความคิดเห็น ก่อสร้างสาธารณูปโภค ก่อนจะถึงขั้นได้แปลงที่ดินจัดหาผลประโยชน์ ซึ่งจะนำไปขาย เป็นรายรับของโครงการ จะต้องใช้เวลานานหลายปี ซึ่งหากใช้กลไกการระดมเงินผ่านสถาบันการเงินเหมือนที่ภาคธุรกิจใช้ ในมุมมองของอธิป พีชานนท์ กรรมการและรองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน) เห็นว่า สถาบันการเงินอาจจะไม่ให้ความสนใจ เพราะไม่ใช่โครงการที่เน้นผลกำไร รวมทั้งเป็นโครงการที่ไม่มีหลักทรัพย์ไปค้ำประกันการขอสินเชื่อจากธนาคาร ทำให้สถาบันการเงินอาจมองว่ามีความเสี่ยง หากปล่อยกู้แล้วไม่สามารถดำเนินโครงการได้จบ

เมื่อคาดว่าจะไม่สามารถพึ่งพากลไกตลาดเงินได้ กิตติ พัฒนพงศ์พิบูล กรรมการบริหารกองทุนจัดรูปที่ดิน ประธานสมาคมสินเชื่อที่อยู่อาศัย จึงคิดจะหาทางออกในการระดมทุนของโครงการ ด้วยการขอให้กรมฯ กำหนดระเบียบ อนุมัติให้กองทุนสามารถปล่อยสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำให้แก่โครงการรได้ เพราะมีรูปแบบเป็นโครงการเพื่อสังคม โดยอาศัยวงเงินสนับสนุนจากภาครัฐ

ในมุมมองของดีเวลลอปเปอร์ที่เป็นภาคเอกชนต่างเห็นตรงกันว่า การจัดรูปที่ดินถือเป็นแนวคิดที่ดี แต่สำหรับในเมืองไทยยังเป็นเรื่องยากที่จะสำเร็จในระยะสั้น เพราะมีปัญหาหลายด้าน ประสงค์ เอาฬาร นายกสมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร เห็นว่า ที่ดินในกรุงเทพฯ และปริมณฑลจะจัดรูปได้ยากกว่าที่ดินในต่างจังหวัด เนื่องจากที่ดินมีราคาแพง บางส่วนเป็นตึกสูง หากต้องมีการทุบตึกจะกระทบกับคนจำนวนมาก หากจะใช้วิธีเข้าหาผู้นำชุมชน ที่เป็น Opinion Leader เพื่อจูงใจเจ้าของที่ดินให้เข้าร่วมโครงการจนสำเร็จแบบโครงการในต่างจังหวัดก็เป็นเรื่องยาก เพราะสังคมในกรุงเทพฯ มีลักษณะเป็นปัจเจก ต่างคนต่างอยู่

“การจัดรูปที่ดินเป็นเรื่องที่ดี เพราะเป็นการนำที่ดินที่พัฒนาอยู่แล้วมาพัฒนาใหม่ให้ใช้ประโยชน์ได้คุ้มค่า เป็นโอกาสที่ดีเวลลอปเปอร์จะได้เข้าไปพัฒนาโครงการในทำเลดี เป็นแนวคิดใหม่ในการพัฒนาเมือง ไม่ต้องรอให้มีสาธารณูปโภคใหม่ๆ เกิด ไม่ต้องเสี่ยงกับการไปกว้านซื้อที่ดินตามแนวรถไฟฟ้า ที่ราคาซื้อขายก็ผันผวนมาก และไม่รู้ว่าโครงการจะเกิดเมื่อไหร่ และหากรถไฟฟ้าไม่เกิด นักลงทุนที่ซื้อไว้ก็เจ็บตัว” ประสงค์กล่าว

อิสระ บุญยัง กรรมการผู้จัดการ บริษัท กานดา พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด เห็นตรงกันว่า เป็นแนวคิดที่ดี เพราะบางแห่งแม้จะมีโครงการรถไฟฟ้าผ่าน แต่ที่ดินบางแปลงกลับใช้ประโยชน์ไม่ได้ เพราะถนนแคบ ถูกผังเมืองล็อค ทำให้ไม่สามารถสร้างตึกสูงได้ ซึ่งในกรุงเทพฯ มีหลายแห่ง

Reserved Land ถือเป็นโอกาสที่ดีเวลลอปเปอร์จะได้ที่ดินแปลงงามในทำเลดีสำหรับพัฒนาโครงการ แต่ความล่าช้าของการจัดรูปที่ดินอาจจะเป็นอุปสรรคใหญ่ ซี่งอธิปเห็นว่า แม้ปัจจุบันจะหาที่ดินพัฒนาโครงการได้ยากขึ้น แต่ก็ยังมีที่ดินแปลงอื่นพอทดแทนได้ ไม่จำเป็นที่ดีเวลลอปเปอร์จะต้องรอซื้อ Reserved Land เพียงอย่างเดียว   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us