|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
ผ่ายุทธศาสตร์ยักษ์ใหญ่ค่ายไอที-มือถือเดินเกมปั้นกระแสอินเทอร์เน็ตออนโมบาย
ตำนานบทใหม่ที่กำลังถูกเขียนเพื่อลบภาพความล้าสมัยท่องโลกไซเบอร์ผ่านคอมพิวเตอร์
โลกการสื่อสารแห่งอนาคตที่พร้อมเปิดโลกออนไลน์มาไว้บนฝ่ามือทุกๆ คน
โอกาสทางการตลาดและธุรกิจมหาศาลจากฐานผู้ใช้โทรศัพท์มือถือหลายพันล้านทั่วโลก
"คอมพิวเตอร์เท่านั้นที่จะสามารถใช้บริการอินเทอร์เน็ตได้ ปัจจุบันกลายเป็นเรื่องที่ล้าสมัยไปแล้ว"
เป็นคำกล่าวของ คริส แชนด์เลอร์ หัวหน้าหน่วยธุรกิจบริการบนโทรศัพท์มือถือ ไมโครซอฟท์ ออนไลน์ เซอร์วิส กรุ๊ป ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และว่า
"มือถือเป็นอุปกรณ์ที่ได้รับการใช้งานอย่างแพร่หลาย และบนมือถือทุกเครื่องที่รองรับจีพีอาร์เอส การท่องอินเทอร์เน็ตก็ไม่จำเป็นต้องพึ่งคอมพิวเตอร์อีกต่อไป"
เมื่อยักษ์ใหญ่แห่งวงการซอฟต์แวร์อย่างไมโครซอฟท์มองเห็นโอกาสที่จะผลักดันการใช้งานอินเทอร์เน็ตจากคอมพิวเตอร์ไปสู่มือถือ ด้วยการยอมรับว่าทุกวันนี้ผู้ใช้งานโทรศัพท์มือถือทั่วโลกมีหลายพันล้านคน และในประเทศไทยเองก็มีตัวเลขของผู้ใช้โทรศัพท์มือถือสูงถึง 65 ล้าน หรือคิดเป็น 86% ซึ่งตัวเลขดังกล่าวถือเป็นตัวเลขที่มากหากจะเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคนี้
ที่สำคัญตัวเลขของผู้ใช้งานโทรศัพท์มือถือในประเทศไทย ณ วันนี้ มีสัดส่วนที่มากกว่าผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ในประเทศค่อนข้างมาก การที่จะผลักดันให้ผู้ใช้มือถือหันมาใช้บริการอินเทอร์เน็ตบนโมบายจึงเป็นโอกาสทองของไมโครซอฟท์ หลังจากบริการต่างๆ ของไมโครซอฟท์เป็นที่ยอมรับจากผู้ใช้งานในประเทศไทยที่มีสูงถึง 9 ล้านราย จากผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตในประเทศไทยที่มีอยู่ทั้งสิ้นประมาณ 15 ล้านรายในปัจจุบัน
ไมโครซอฟท์ แอดเวอร์ไทซิ่ง ประเทศไทย มีความมั่นใจว่าจากบริการวินโดวส์ ไลฟ์สำหรับคอมพิวเตอร์พีซี ซึ่งเป็นเครือข่ายออนไลน์ที่ได้รับความนิยมสูงสุดในประเทศ ด้วยจำนวนผู้ใช้ที่เป็น active user กว่า 9 ล้านราย จะเป็นการเปลี่ยนผ่านไปสู่การใช้งานบนแพลตฟอร์มของโทรศัพท์มือถือ
"วินโดวส์ ไลฟ์และเอ็มเอสเอ็นของไมโครซอฟท์ได้สร้างมิติใหม่ในการสื่อสาร แบ่งปัน และสืบค้นข้อมูลออนไลน์ การที่ไมโครซอฟท์ แอดเวอร์ไทซิ่ง ให้บริการเหล่านี้บนโทรศัพท์มือถือจะช่วยขยายวงของผู้ใช้ในประเทศไทย จากกลุ่มผู้ใช้อินเทอร์เน็ต 15-16 ล้านราย ไปยังกลุ่มผู้ใช้โทรศัพท์มือถือกว่า 65 ล้านราย" เคร็ก ลอว์-สมิธ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด ไมโครซอฟท์ ออนไลน์ เซอร์วิส กรุ๊ป ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวและว่า
โทรศัพท์มือถือจะนำมาซึ่งความรวดเร็วยิ่งขึ้นในการทำกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวัน ซึ่งจะสอดคล้องกับสิ่งที่ไมโครซอฟท์พยายามผลักดันให้ผู้ใช้โทรศัพท์มือถือเปิดโลกออนไลน์เพียงแค่ใช้โทรศัพท์มือถือ
"เราต้องการผลักดันให้ผู้ใช้มือถือเริ่มต้นใช้งานอินเทอร์เน็ตเป็นครั้งแรกบนโทรศัพท์มือถือ"
บริการวินโดวส์ ไลฟ์สำหรับโทรศัพท์มือถือได้ถูกพัฒนาให้มีความสะดวกในการใช้งาน และเชื่อมต่อเช่นเดียวกับเวอร์ชั่นที่พัฒนาขึ้นมาใช้บนคอมพิวเตอร์พีซี ขณะเดียวกันก็ช่วยให้ผู้ใช้สามารถแชร์ข้อมูลข่าวสารหรือสิ่งที่น่าสนใจกับเพื่อนหรือคนสนิทได้ทุกที่ทุกเวลา
"หลังจากใช้เวลาหลายปีในการพัฒนา ไมโครซอฟท์มั่นใจว่าบริการวินโดวส์ ไลฟ์พร้อมที่จะใช้กับโทรศัพท์มือถือทุกเครื่องที่รองรับจีพีอาร์เอส และเอดจ์ รวมถึงโทรศัพท์รุ่นใหม่ๆ ที่มาพร้อมกับเทคโนโลยี 3G" กมลภัทร แสวงกิจ ผู้จัดการธุรกิจออนไลน์ ไมโครซอฟท์ แอดเวอร์ไทซิ่ง กล่าวและว่า "เราเชื่อว่าผู้บริโภคในประเทศไทยพร้อมแล้วสำหรับการสื่อสารและเชื่อมต่อยุคใหม่ เห็นได้จากพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์ที่พบเห็นได้ในทุกที่"
ไมโครซอฟท์ยังมีการพัฒนาเวอร์ชั่นพิเศษเพื่อให้การใช้งานวินโดวส์ไลฟ์และเอ็มเอสเอ็นเป็นเรื่องง่ายยิ่งขึ้นบนโทรศัพท์มือถือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโทรศัพท์มือถือโนเกียเอ็นซีรีส์และอีซีรีส์ สมาร์ทโฟนที่ใช้ระบบปฏิบัติการวินโดวส์โมบาย และ Blackberry
และเพื่อเป็นการผลักดันให้ผู้ใช้มือถือในประเทศไทยหันมาใช้งานอินเทอร์เน็ตบนมือถือกันมากขึ้น ไมโครซอฟท์ประเทศไทยได้รับงบสนับสนุนพิเศษจากไมโครซอฟท์ที่ประเทศสหรัฐอเมริกาในการจัดทำแคมเปญ "Everything is Now" โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มการรับรู้เกี่ยวกับบริการของวินโดวส์ ไลฟ์และเอ็มเอสเอ็นที่พัฒนามาเพื่อใช้บนแพลตฟอร์มมือถือ ไม่ว่าจะเป็นเอ็มเอสเอ็น ฮอตเมล เมสเซนเจอร์ การแชร์ภาพถ่าย และบริการด้านโซเชียล เน็ตเวิร์กกิ้ง โดยไม่ต้องพึ่งพาพีซีอีกต่อไป
กิจกรรมหลักส่วนหนึ่งของการเปิดตัวแคมเปญนี้ คือการทำโรดโชว์เพื่อประชาสัมพันธ์บริการ Windows Live และ MSN ตามมหาวิทยาลัยใหญ่ๆ ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด เนื่องจากนักศึกษาเป็นกลุ่มที่มีแนวโน้มจะใช้บริการวินโดวส์ ไลฟ์บนมือถือ กลุ่มใหญ่ที่สุดกลุ่มหนึ่ง โดยไมโครซอฟท์ แอดเวอร์ไทซิ่ง มองว่าผู้ใช้กลุ่มนี้เป็นกลุ่มเป้าหมายสำหรับฟรีเซอร์วิสดังกล่าว ซึ่งสามารถเปิดใช้งานได้ทันทีบนโทรศัพท์มือถือที่รองรับจีพีอาร์เอส
นอกจากนี้ Windows Live และ MSN จะจัดกิจกรรมแข่งขันชิงรางวัล เช่น แข่งขันตอบคำถาม "Everything is Now Quiz" และ "MSN Quiz" รวมทั้งการประกวดภาพถ่าย "Photo Hunt" ภายใต้แคมเปญการตลาดนี้ในระยะเวลาทั้งสิ้น 3 เดือน โดยถือเป็นสเตปแรกที่จะผลักดันให้คนเปลี่ยนพฤติกรรมมาใช้งานอินเทอร์เน็ตบนมือถือ
นอกจากประเทศไทยแล้ว ไมโครซอฟท์ยังมีการผลักดันให้ผู้ใช้มือถือหันมาใช้อินเทอร์เน็ตบนมือถือมากขึ้น ในประเทศอินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ โดยมองว่าประเทศเหล่านี้เป็นประเทศที่กำลังมีการเติบโต ที่สำคัญเป็นประเทศที่มีจำนวนผู้ใช้โทรศัพท์มือถือจำนวนมากด้วย น่าที่จะตามรอยประเทศอย่างสหรัฐอเมริกา อังกฤษ จีน อินเดียได้
ไมโครซอฟท์ยังมองโอกาสทางธุรกิจที่จะตามมาหลังจากมีฐานผู้ใช้อินเทอร์เน็ตบนโทรศัพท์มือถือจำนวนมาก คือเรื่องของรายได้จากโมบายแอดเวอร์ไทซิ่ง ในอนาคตน่าจะเป็นรายได้ที่มากกว่าที่ไมโครซอฟท์สามารถทำได้จากการให้บริการอินเทอร์เน็ตผ่านทางคอมพิวเตอร์
พลิกโฉมอินเทอร์เน็ต ด้วยโทรศัพท์มือถือ
ไม่เพียงแต่ยักษ์ใหญ่ทางด้านไอทีเท่านั้นที่จะเป็นกลไกสำคัญในการเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้งานผู้บริโภคที่เคยชินกับการใช้อินเทอร์เน็ตบนคอมพิวเตอร์ไปสู่มือถือ ค่ายมือถือยักษ์ใหญ่อย่างโนเกีย ก็มีแนวยุทธศาสตร์ที่จะพลิกโฉมหน้าอินเทอร์เน็ตมาไว้บนมือคุณผ่านโทรศัพท์มือถือเช่นกัน
"เราจะพลิกโฉมอินเทอร์เน็ต เพราะว่ามือถือปัจจุบันไม่ใช่เพียงการสื่อสารด้วยเสียงเท่านั้น แต่โทรศัพท์มือถือเป็นอะไรได้มากกว่านั้นมากมาย"
เป็นคำกล่าวของ วิภู ซาบาวาล ผู้จัดการทั่วไป บริษัท โนเกีย (ประเทศไทย) จำกัด และว่า "โนเกียจะทำให้การใช้งานอินเทอร์เน็ตเป็นส่วนตัวสำหรับผู้ใช้งานยิ่งขึ้น โดยทำให้ผู้ใช้งานสามารถรู้ความเป็นไปต่างๆ รอบตัวทุกที่ทุกเวลา รู้ว่าเพื่อนของคุณทำอะไร อยู่ที่ไหน และรู้สึกอย่างไร หรือที่เรียกว่า Social Location"
โนเกียมีแนวความคิดที่ว่าความเปลี่ยนแปลงของอินเทอร์เน็ตกลายเป็นสิ่งที่ใช้งานได้ตามความต้องการของแต่ละคนอย่างสมบูรณ์และเกี่ยวกับชีวิตของผู้คนตลอดเวลา
ตามยุทธศาสตร์ที่โนเกียได้วางไว้นั้น โนเกียต้องการมีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนแปลงของยุคอินเทอร์เน็ตและนำอินเทอร์เน็ตมาไว้ในมือของผู้ใช้โทรศัพท์มือถือ ทั้งนี้ความแตกต่างของโนเกียจากผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตรายอื่นคือการนำเสนอโซลูชั่นเพื่อการสื่อสารเคลื่อนที่ โดยมุ่งเน้นโซลูชั่นที่ใช้งานง่าย ซึ่งประกอบด้วยอุปกรณ์ ระบบปฏิบัติการ และบริการที่ทำงานร่วมกันได้อย่างสมบูรณ์แบบ
หนึ่งในไฮไลต์โปรดักส์มือถือของโนเกียที่จะมาพลิกโฉมหน้าอินเทอร์เน็ต ก็คือโนเกีย เอ็น97 ที่ได้มีการเปิดตัวไปเมื่อช่วงปลายปี 2551 ที่ผ่านมา โดยจะมีการวางจำหน่ายจริงในปีนี้ โดยโนเกียเชื่อว่า โนเกีย เอ็น97 จะพลิกโฉมการติดต่อสื่อสารระหว่างคุณกับคนอื่น
|
|
 |
|
|