|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ผู้บริหาร บลจ. ประสานเสียงฟันธง กนง.หั่นดอกเบี้ยอีก อย่างน้อย 0.5% ตามที่หลายฝ่ายคาดในการประชุม 25 กุมภาพันธ์นี้ แต่ตลอดทั้งปีเชื่ออาจลดแค่ 1% ขณะที่อัตราดอกเบี้ยในหลายประเทศทั่วโลกอยู่ในระดับตํ่าสุดแล้ว ชี้ ลงทุนหุ้นกู้เอกชนแม้ผลตอบแทนดีแต่ความเสี่ยงมีสูงเช่นกัน
นายกำพล อัศวกุลชัย รองกรรมการผู้จัดการฝ่ายพัฒนาและสนับสนุนตัวแทนขาย บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ทหารไทย จำกัด เผยถึงการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน หรือ กนง. ที่จะมีขึ้นในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2552 นี้ว่า เชื่อว่าในการประชุมของ กนง.ในครั้งนี้ น่าจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีกประมาณ 0.5% ตามที่หลายฝ่ายได้คาดการณ์ไว้ แต่คาดว่าตลอดทั้งปีอัตราดอกเบี้ยน่าจะลดได้ในกรอบ 1% ไม่เกินนี้ โดยการลดอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวจะเป็นการทยอยลดลง โดยจะไม่ลดลงเลยทีเดียว 1%
"หากลดอัตราดอกเบี้ยในอัตราที่เร็วเกินไปจะส่งผลต่อเรื่องของนโยบายทางการเงิน โดยจะมีผลไปถึงเรื่องของอัตราแลกเปลี่ยน รวมถึงปริมาณเงินในระบบ" นายกำพล กล่าว
ขณะที่อัตราดอกเบี้ยของประเทศต่างๆทั่วโลกนั้น อัตราดอกเบี้ยของหลายประเทศทั้วโลกปรับลดลงมาในระดับที่ตํ่าเกือบ 0% แล้ว ทำให้ภาพของอัตราดอกเบี้ยทั่วโลกในระยะต่อจากนี้มีโอกาสน้อยที่จะปรับลดลงไปอีก
ทั้งนี้การปรับลดอัตราดอกเบี้ยนั้น เป็นผลมาจากปัจจัยที่สำคัญ โดยมาจากเรื่องของการคาดการณ์ถึงแนวโน้มต่อระบบเศรษฐกิจว่ากำลังจะเป็นไปในทิศทางใด หากเศรษฐกิจมีแนวโน้มว่าจะชอลอตัวลงการลดอัตราดอกเบี้ยจะเป็นตัวช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่หากเกิดสถานการณ์เศรษฐกิจเกิดภาวะเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น การเพิ่มอัตราดอกเบี้ยจะเป็นตัวช่วยไม่ให้เงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้นได้
นายสุขวัฒน์ ประเสริฐยิ่ง ประธานเจ้าหน้าที่สายการลงทุน บลจ. แมนูไลฟ์ (ประเทศไทย) กล่าวถึง ผลการประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงินหรือ กนง.ในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2551 โดยคาดว่าผลการประชุมในครั้งนี้ จะมีมติปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอีก 0.50 จาก 2.00 ซึ่งทั้งปีคาดว่ากนง.จะปรับลดลง 1%ตามการคาดการณ์ของตลาดในช่วงก่อนหน้านี้
โดยจากการคาดการณ์ เกี่ยวกับการปรับลดอัตราดอกลงในครั้งนี้ ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยปรับตัวลดลงจากที่ต่ำอยู่แแล้วให้ยิ่งต่ำลงไปอีก ทำให้นักลงทุนที่ลงทุนในอุตสาหกรรมกองทุนรวมไม่ได้รับประโยชน์จากภาษีมากเท่าก่อนหน้านี้ เมื่อเทียบกับการนำเงินไปฝากธนาคารที่ได้รับดอกเบี้ยเพียงเล็กน้อย อีกทั้งเมื่อนักลงทุนไถ่ถอนเงินออกมาจากธนาคารจะต้องเสียภาษีอีก 15 ของจำนวนเงินที่นักลงทุนไถ่ถอน จึงทำให้ส่วนของผลตอบแทนของกองทุนและเงินฝากใกล้เคียงกัน
"นักลงทุนรายใหม่ที่ไม่ต้องการความยุ่งยาก จะนำเงินไปฝากธนาคารมากกว่าการลงทุนในอุตสาหกรรมกองทุนรวม เนื่องจากว่าผลตอบแทนที่นักลงทุนจะได้รับนั้นแทบไม่มีความแตกต่างกัน แต่สำหรับนักลงทุนที่ลงทุนอยู่ในกองทุนรวมแล้ว นักลงทุนจะมีการสับเปลี่ยนการลงทุนระหว่างกองทุนหุ้นและกองทุนตราสารหนี้เพื่อสร้างผลตอบแทนให้กับการลงทุน"นายสุขวัฒน์กล่าว
ขณะเดียวกัน การลงทุนในหุ้นกู้เอกชนถึงแม้จะให้ผลตอบแทนที่สูง ความเสี่ยงของการลงทุนจึงสูงตามไปด้วย โดยหากนักลงทุนนำผลตอบแทนที่ได้รับจากหุ้นกู้มาเปรียบเทียบกับความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้ของบริษัทต่างๆไม่คุ้มค่ากับเม็ดเงินที่ได้ลงทุน
ด้านนายวนา พูลผล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บลจ.ยูโอบี (ไทย) กล่าวว่า ในการปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายในครั้งนี้มีโอกาสที่ กนง.จะปรับลดลงไปประมาณ 0.5% เนื่องจากตลาดได้รับรู้ และทำการปรับลงไปแล้ว โดยทั้งปีนี้คาดว่าจะปรับลงไป 1.0% ส่วนที่เหลืออีก 0.50% อาจจะเป็นการทยอยปรับลดไปครั้งละ 0.25% ส่วนแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยนโยบายทั่วโลกในปีนี้คาดว่าธนาคารกลางเยอรมนี ซึ่งปัจจุบันอัตราดอกเบี้นนโยบายอยู่ที่ 2.00% คาดว่าจะปรับลดลงไปจนเหลือ 1.00% ธนาคารกลางอังกฤษซึ่งปัจจุบันอัตราดอกเบี้นนโยบายอยู่ที่ 1.00% คาดว่าจะปรับลดลงไปจนเหลือ 0.50% ธนาคารกลางญี่ปุ่นซึ่งปัจจุบันอัตราดอกเบี้นนโยบายอยู่ที่ 0.10% คาดว่าภายในปีนี้จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงไปจนเหลือ 0.00% ส่วนธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา อัตราดอกเบี้ยนโยบายในปัจจุบันอยู่ที่ 0.25% คาดว่าน่าจะยืนอยู่ในระดับเดิมได้
ส่วนปัจจัยที่คาดว่าจะเข้ากระทบได้แก่ สภาวะเศรษฐกิจเป็นหลัก ภาวะเงินตึงตัว และภาวะเงินเฟ้อ รวมทั้งภาวะเงินฝืด ส่วนในปีนี้จะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงแค่ไหนขึ้นอยู่กับการที่ทั่วโลกรอดูว่าการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย และมาตรการต่างๆ ที่ระดมอัดฉีดเม็ดเงินเข้าไปจะสามารถช่วยได้หรือไม่ หากสามารถช่วยได้ก็จะยืนอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ในระดับเดิม และหากภาวะเศรษฐกิจฟื้นตัวก็จะมีการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้นในอนาคต แต่หากมาตรการดังกล่าวใช้ไม่ได้ผลอาจจำเป็นต้องปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอีก รวมทั้งกระตุ้นภาวะเศรษฐกิจด้วยการอัดฉีดมาตรการต่างๆ เข้าไปอีกครั้ง
|
|
|
|
|