Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน20 กุมภาพันธ์ 2552
ฟ้องเรียก670ล้าน-แย่งลูกค้ากองอสังหาฯ"MFC"ส่อป่วน             
 


   
search resources

Funds
Law
นิชดา พร็อพเพอร์ตี้, บจก.




กองทุนอสังหาริมทรัพย์ใหญ่ ‘นิชดาธานี2’ ส่อแววป่วน บริษัทเอกชนบี้ฟ้องเรียกค่าเสียหาย600กว่าล้านพ่วงคดีอาญา เหตุ นิชดาธานี-บลจ.เอ็มเอฟซี ดอดต้อนลูกค้ารายใหญ่ลัดขั้นตอน ก.ล.ต.หวังเพิ่มมูลค่าล่อใจรายย่อย จับพิรุธหนังสือชี้ชวนช่วงเสนอขายหน่วยลงทุนข้อมูลผู้เช่าไม่ตรงความจริง เหตุสถานทูตอเมริกาลูกค้ารายใหญ่ยังติดสัญญากับบริษัทอื่น แต่กลับโฆษณาชวนเชื่อไปก่อน

การดำเนินงานของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์นิชดาธานี 2 (MNIT2) มูลค่าโครงการ 1,004.7 ล้านบาท ภายใต้การจัดการของ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) ส่อเค้าว่าจะมีปัญหาเนื่องจาก บริษัท คำสุขพัฒนา จำกัด ซึ่งเป็นเจ้าของโครงการหมู่บ้านธารดงเฮอริเทจ จ.นนทบุรี ที่มีทำเลที่ตั้งอยู่ละแวกใกล้เคียงกับโครงการลงทุนฟ้องคดีต่อศาลทั้งทางแพ่งและอาญา ฐานการแทรกแซงสัญญาและแย่งลูกค้า

นายณกฤช เศวตนันทน์ ทนายความผู้รับมอบอำนาจของบริษัท คำสุขพัฒนา เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆนี้บริษัทฯ ได้ดำเนินการฟ้องร้องคดีต่อบริษัทนิชดาพร็อพเพอร์ตี้ จำกัด ร่วมกับ กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ นิชดาธานี 2 และ บลจ.เอ็มเอฟซี เพราะละเมิดเข้าแทรกแซงในทางสัญญาและแย่งลูกค้าผู้เช่ารายประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งมีผู้เช่าคือกลุ่มครอบครัวเจ้าหน้าที่สถานทูตอาศัยอยู่ที่หมู่บ้านธารดงเฮอริเทจให้ย้ายไปอยู่ที่โครงการเดอะรีเจนท์แอทนิชดาธานีของบริษัทนิชดาฯใกล้โรงเรียนนานาชาติ ISB หมดทั้งหมู่บ้านจำนวน 36 หลัง

สำหรับคำฟ้องต่อศาลแพ่งระบุว่า เมื่อวันที่ 28 มกราคม ที่ผ่านมา บริษัทนิชดาฯได้โอนขายที่ดินรวม 58 โฉนดและบ้านพักจำนวน 58 หลังให้แก่กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์นิชดาธานี2 ซึ่ง บลจ.เอ็มเอฟซีเป็นบริษัทจัดการเป็นจำนวนเงินประมาณ 851 ล้านบาท และ ตามโครงการจัดการกองทุนรวมที่ได้ยื่นไว้กับสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ก.ล.ต.)นั้น กองทุนฯจะต้องจดทะเบียนให้บริษัทนิชดาฯเช่าที่ดินและบ้านพักทั้งหมดกลับไปเพื่อให้บริษัทนิชดาฯไปหาผู้เช่าช่วงต่อ แล้วนำเงินค่าเช่าจัดส่งให้กองทุนรวมเพื่อเป็นเงินรายได้จัดสรรให้ผู้ถือหน่วยลงทุน

“หากดำเนินการตามขั้นตอนของโครงการที่ยื่นไว้กับก.ล.ต. ก็คงไม่เป็นไร แต่นี่ยังมิทันจะได้จดทะเบียนสัญญาเช่าดังกล่าว แต่กลับทำข้ามขั้นตอนโดยรีบไปแย่งลูกค้าผู้เช่าของบริษัทคำสุขพัฒนา มาไว้ในหมู่บ้านของตนเองเสียก่อน เพราะเกรงว่าหากทำตามขั้นตอนของโครงการที่ได้ยื่นไว้กับก.ล.ต. แล้วอาจใช้เวลาและหาผู้เช่าช่วงบ้านไม่ได้” นายณกฤช กล่าว

นอกจากนี้ กองทุนฯยังมีพฤติกรรมเสนอข้อมูลข่าวสารให้ข่าวผู้สนใจที่จะซื้อหน่วยลงทุนเข้าใจว่า จะมีผู้เช่ารายใหญ่ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่สถานทูตประเทศสหรัฐอเมริกาจะย้ายเข้ามาอยู่ในโครงการก่อนหน้าที่จะมีการเซ็นสัญญาเช่าเกิดขึ้นจริง ถือเป็นเรื่องที่ทั้งบริษัทนิชดาฯ กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์นี้ และ บลจ.เอ็มเอฟซีร่วมกันละเมิด โดยแย่งลูกค้าผู้เช่าของโจทก์มาไว้ตั้งแต่เดือนมกราคม เป็นเหตุให้โจทก์เสียหายขาดรายได้จากค่าเช่า ซึ่งเดิมบริษัทคำสุขพัฒนามีสัญญาเช่าและคำมั่นว่าจะเช่าจากประเทศสหรัฐอเมริกาถึง 9 ปี รวมทั้งค่าเสียหายในทางการเงิน และ ความเสียหายในด้านชื่อเสียง ความน่าเชื่อถือ ทั้งหมดรวมเป็นเงิน 670 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ย 15%ต่อปีจนกว่าจะชำระเสร็จ โดยศาลนัดวันที่ 27 เมษายน ที่จะถึงนี้

ส่วนการฟ้องร้องทางอาญา นายณกฤช กล่าวว่า ได้ฟ้องบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนเอ็มเอฟซี จำกัด(มหาชน) เป็นจำเลยที่ 1 นายพิชิต อัคราทิตย์ กรรมการผู้จัดการเป็นจำเลยที่ 2 ในความผิดทางอาญาต่อศาลอาญากรุงเทพใต้ โดยคำฟ้องได้กล่าวว่า จำเลยทั้ง 2 มิได้จัดให้เป็นไปตามโครงการจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์อย่างเคร่งครัด

“ก่อนหน้านี้ มีอีกคดีหนึ่งซึ่งโจทก์ได้ยื่นคำเสนอข้อพิพาทต่อสถาบันอนุญาโตตุลาการ สำนักงานยุติธรรม เพื่อเรียกร้องให้ประเทศสหรัฐอเมริกาในฐานะคู่สัญญาเช่า และ เป็นผู้คัดค้านในคดีปฎิบัติตามสัญญาเช่ากับคำมั่นว่าจะเช่าระยะยาวมีกำหนด 9 ปีต่อไปพร้อมทั้งให้ชำระค่าเช่าที่ยังค้างอยู่และให้ชดใช้ค่าเสียหาย” ทนายความผู้รับมอบอำนาจของบริษัทผู้เสียหายกล่าว

เปิดปูมกองทุนอสังหาฯนิชดาธานี2

บริษัทนิชดา พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด เป็นบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ โดยได้จัดทำโครงการ The Regent นิชดาธานี ซึ่งเป็นบ้านพักเดี่ยว 2 ชั้น จำนวน 58 หลัง ตั้งอยู่ในซอยสามัคคี ตำบลบางตลาด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี ภายในโครงการนิชดาธานี โดยราคาประเมินซื้ออยู่ระหว่าง 16-17 ล้านบาท รวมมูลค่าโครงการ 1,004.7 ล้านบาท และภายหลังได้ทำข้อตกลงกับทาง บลจ.เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) ทำการจัดตั้งกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ นิชดาธานี 2 (MNIT2) เปิดขายให้แก่นักลงทุนทั่วไปในระหว่างวันที่ 17 พฤศจิกายน- 2 ธันวาคม 2551

สำหรับเงื่อนไขที่ระบุไว้ในหนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนกองทุนรวมนี้ระบุว่า วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งกองทุนก็เพื่อระดมเงินที่ได้ไปซื้อและ/หรือเช่าอสังหาริมทรัพย์และจัดสรรผลประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว โดยกองทุนมีกำหนดจะเข้าซื้อทรัพย์สินจากบริษัทนิชดาฯในเดือนมกราคม 2552 ไม่ว่าทรัพย์สินจะก่อสร้างแล้วเสร็จหรือไม่ และ บริษัทนิชดาฯจะเช่ากลับทันที

กล่าวเฉพาะ โครงการนิชดาธานี เป็นโครงการที่พักอาศัยนานาชาติ ภายในเนื้อที่กว่า 600 ไร่มีทั้งบ้านเดี่ยว ทาวน์เฮาส์ อพาร์ตเมนต์ และคอนโดมีเนียม รวมทั้ง โรงเรียนนานาชาติ ISB ที่อยู่ใกล้เคียง

ข้อมูลที่ปรากฎในหนังสือชี้ชวนลงวันที่ 13 ตุลาคม 2551 ก่อนที่จะดึงผู้เช่าไปจากบริษัท คำสุขพัฒนา กองทุนฯแห่งนี้ได้ระบุรายชื่อผู้เช่าหรือลูกค้าในโครงการ จำแนกตามประเภทธุรกิจ 5 อันดับแรก ประกอบด้วย 1.กลุ่มธุรกิจพลังงานและสาธารณูปโภค เช่น เชฟรอน เอ็กซอน โมบิล 17% 2. กลุ่มสถานทูต 15% 3.กลุ่มองค์กรการกุศลต่างๆเช่น UN UNDOC 7% 4. กลุ่มครู บาทหลวง 6.5% และ 5. กลุ่มอื่นๆเช่น ธุรกิจส่วนตัว 5%

ทั้งนี้ สำหรับสภาพการแข่งขันในพื้นที่แถบซอยสามัคคี และ ถนนแจ้งวัฒนะ หนังสือชี้ชวนระบุว่า โครงการที่พักอาศัยสำหรับชาวต่างชาติในย่านนี้ที่ถือเป็นคู่แข่งกับนิชดาธานีมีหลักๆอยู่ 3 โครงการ ได้แก่ โครงการแมนชั่น อิน เดอะ พาร์ค โครงการสามัคคีเพลส และ โครงการสาละวันการ์เด้น โดยทั้งหมดมียูนิตรวมกันเพียง 170 ยูนิตและมีกลุ่มเป้าหมายเดียวกันคือ ครอบครัวต่างชาติที่มีลูกหลานเรียนที่ ISB แต่จุดด้อยของโครงการคู่แข่งคือ ไม่สามารถเดินทางเข้าสู่โรงเรียนISBได้โดยตรงเพราะต้องผ่านเข้าไปในโครงการ

แหล่งข่าวจากวงการอสังหาริมทรัพย์ กล่าวว่า นิชดาธานีถือว่าเป็นรายใหญ่ในย่านนั้น เมื่อมีการตั้งกองทุนรวมอสังหาฯขึ้นมากลับไปทำลายรายเล็กรายน้อยที่อยู่ตรงนั้น หลายโครงการถูกแย่งลูกค้าไปกลายเป็นโครงการร้าง บางโครงการเพื่อความอยู่รอดต้องยอมจ่ายค่าผ่านทางให้โครงการนิชดาฯปีละหลายสิบล้านบาทเพื่อให้บุตรหลานผู้เช่าในโครงการได้เดินทางไปเรียนที่ISB ได้

สำหรับ ความขัดแย้งในครั้งนี้ มีการตั้งข้อสังเกต ถึงเรื่องความไม่โปร่งใสในการทำสัญญาการเช่าระหว่างสถานทูตสหรัฐฯ กับบริษัทนิชดาฯ เนื่องจากเดิม ทางสถานทูตสหรัฐมีความสัมพันธ์และให้ความไว้วางใจกับบริษัท คำสุขพัฒนาเป็นอย่างดี โดยเคยว่าจ้างให้ร่วมกับบริษัท กานต์เสรี จำกัด จัดการก่อสร้างโครงการหมู่บ้านธารดงวิลล่า ในจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อเป็นบ้านพักของเจ้าหน้าที่สถานกงสุลประเทศสหรัฐอเมริกา ประจำจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งสร้างความพอใจถึงขั้นออกประกาศนียบัตรชมเชย และนำมาสู่การว่าจ้างให้ก่อสร้างโครงการ หมู่บ้านธารดงเฮอริเทจ ในจ.นนทบุรี เพื่อเป็นที่อยู่อาศัยของเจ้าหน้าที่สถานทูตและครอบครัวดังกล่าว

ประเด็นข้างต้น มีการคาดการณ์ว่าความพยายามในการเซ็นสัญญาเช่าดังกล่าวน่าจะมีการใช้สายสัมพันธ์กับผู้บริหารระดับสูงของสถานทูตแห่งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามเงื่อนไขการหาผู้เช่าช่วงต่อ และการจัดการกองทุนรวมตามขั้นตอนของ ก.ล.ต. ซึ่งจะต้องบริหารเงินเพื่อสร้างผลตอบแทนตามที่กำหนดไว้ในหนังสือชี้ชวนให้แก่ประชาชนที่ซื้อหน่วยลงทุน

นอกจากนี้ การนำเสนอหนังสือชี้ชวนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์อสังหาริมทรัพย์ นิชดาธานี 2 ยังได้มีการนำ รายชื่อของผู้เช่ามาเปิดเผยให้นักลงทุนรายย่อยได้รับทราบ โดยมีรายชื่อเป็นกลุ่มสถานทูต ระบุเอาไว้ในอันดับ 2 คิดเป็น 15% ของผู้เช่าทั้งหมด ซึ่งหากดูเงื่อนเวลาในการเปิดขายกองทุน(วันที่ 17 พฤศจิกายน- 2 ธันวาคม 2551) กับการยกเลิกสัญญาเช่ากับทางบริษัท คำสุข พัฒนา จำนวน 33 หลัง ในวันที่ 19 พฤศจิกายน 2551 เปรียบเทียบกัน ระยะเวลาที่ทำการโฆษณาขายกองทุนให้แก่นักลงทุนรายย่อยที่ระบุไว้นั้น จึงยังไม่มีการเซ็นสัญญาเช่ากับทางสถานทูตฯที่ยังมีสัญญาผูกพันกับทางบริษัทคำสุข พัฒนา แต่อย่างใด

ดังนั้น การตั้งข้อสังเกตถึงความโปรงใสในการโฆษณาและเงื่อนเวลาในการทำสัญญาเช่าดังกล่าวว่าเป็นจริงตามที่หนังสือชี้ชวนระบุไว้หรือไม่ การฟ้องร้องทางอาญาในส่วนของการดำเนินการจัดการให้เป็นไปตามโครงการจัดการกองทุนรวมอย่างเคร่งครัด จะเป็นตัวบ่งชี้ว่า กฎหมายหลักทรัพย์ฯของไทย กลไกต่างๆเกี่ยวกับกองทุนรวม มีประสิทธิภาพหรือไม่

“ขณะที่เงินที่นักลงทุนได้ซื้อหน่วยลงทุนจะได้รับการคุ้มครองเพียงใด และ การวางแผนล่วงหน้าเพื่อนำเงินกองทุนจำนวนมหาศาลเป็นพันๆล้านบาทเพื่อแย่งลูกค้าหรือทำลายธุรกิจของผู้ประกอบการขนาดเล็กที่อยู่ใกล้เคียงกับของกองทุนเหล่านี้ล้วนเป็นเรื่องสำคัญ” แหล่งข่าวกล่าว   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us