Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน20 กุมภาพันธ์ 2552
บาทอ่อนดันราคาทองคำพุ่ง             
 


   
search resources

Currency Exchange Rates




นายแบงก์กังวลการเคลื่อนไหวเงินบาท ชี้ช่วงนี้อ่อนค่าค่อนข้างรวดเร็วเป็นผลจากเงินดอลลาร์ที่แข็งค่าขึ้น แต่ยังมีปัจจัยเฉพาะของไทยที่ต้นปีบาททรงตัวขณะที่เพื่อนบ้านที่อ่อนค่า

เหตุ ธปท.ที่ต้องการตรึงให้นิ่งจนกระทบยอดส่งออกที่ลดลง เผยบาทวานนี้แตะ 35.60 บาทต่อดอลลาร์ ผู้ว่าแบงก์ชาติชี้ค่าบาทจากนี้มีทิศทางอ่อนตัว แต่เป็นไปตามภูมิภาค ด้านทองคำล่าสุดวานนี่้ย่อตัวลงมา ผู้บริหาร บลจ. ชี้เป็นไปตามแรงเทขายทางเทคนิคของนักลงทุนที่เข้ามาเก็งกำไร สมาคมทองเชื่อแนวโน้มผันผวนขาขึ้น

นายกอบสิทธิ์์ ศิลปชัย ผู้บริหารงานวิจัยเศรษฐกิจและตลาดทุน ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า การอ่อนค่าของเงินบาทในช่วงสัปดาห์นี้ นับว่าอ่อนค่าลงค่อนข้างรวดเร็ว ซึ่งก็มีปัจจัยส่วนหนึ่งมาจากค่าเงินดอลลาร์ที่แข็งค่าขึ้น และอีกส่วนมาจากตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมาเงินบาทค่อนข้างนิ่ง ในขณะที่ค่าเงินสกุลอื่นในภูมิภาคอ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่อง ทำให้เงินบาทแข็งค่ากว่าเงินสกุลอื่น อาทิ แข็งค่ากว่าเงินเยน 1% ดอลลาร์ไต้หวัน 2.3% ดอลลาร์สิงคโปร์ 2% ริงกิตติมาเลเซีย 3.2% รูเปียะอินโดนีเซีย 6.8% และยูโร 7.7% ขณะที่เงินสกุลที่แข็งค่ากว่าเงินบาทมีไม่กี่สกุล อาทิ เงินดองเกาหลี 2.4% เงินดอลลาร์ฮ่องกง 2.4% เป็นต้น

ซึ่งสาเหตุที่ทำให้เงินบาทแข็งค่ากว่าเงินสกุลอื่นนั้น ก็น่าจะมาจากนโยบายการดูแลค่าเงินบาทที่ต้องการให้นิ่งหรือแกว่งตัวไม่มากนัก ซึ่งตรงนี้ทำให้ส่งผลกระทบต่อการส่งออก รวมถึงการปรับลดดอกเบี้ยนโยบายที่น่าจะทำให้เงินบาทอ่อนค่าลง ดังนั้น เมื่อมีการปรับเปลี่ยนท่าทีก็อาจจะทำให้เงินบาทอ่อนค่าค่อนข้างแรงในสัปดาห์นี้

"ค่าเงินบาทตั้งแต่ช่วงต้นปีที่ผ่านมาค่อนข้างหนืดมาก ขณะที่เงินสกุลอื่นอ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งก็จะส่งผลกระทบในด้านของการแข่งขันของผู้ส่งออก แม้ว่าค่าเงินที่แข็งจะไม่ได้กระทบมาก แต่ตอนนี้ปัจจัยในด้านอุปสงค์ลดลงมาก ก็กระทบส่งออกมากอยู่แล้ว ก็ไม่ควรจะมีเรื่องเงินบาทที่แข็งค่ากว่าประเทศคู่ค้ามาซ้ำเติมอีก คิดว่าตรงนี้น่าจะเป็นเหตุผลให้ผู้ที่ดูแลอยู่ปรับเปลี่ยนนโยบายไปบ้าง"

สำหรับทิศทางของเงินในช่วงนี้ก็คงจะยังอ่อนค่าลงอีก โดยปัจจัยที่ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐน่าจะแข็งค่าต่อเนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจของประเทศในแถบยุโรปตะวันออกที่แย่ลง ทำให้นักลงทุนส่วนหนึ่งหันกลับมาถือเงินดอลลาร์สหรัฐไว้ ประกอบกับในการประชุมคณะกรรมการกำหนดนโยบายเศรษฐกิจ(กนง.)ในสัปดาห์นั้น คาดว่าจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีก 0.50% จึงน่าจะทำให้เงินบาทมีทิศทางที่อ่อนค่าลงอีก โดยคาดว่าในช่วงที่เหลือของไตรมาสแรกปีนี้ค่าเงินจะอยู่ที่ระดับ 35.90-36.00 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ

"การปล่อยให้เงินบาทอ่อนค่าลงนั้น ถือว่าเป็นทิศทางที่ถูกต้อง กับนโยบายของทางการที่ต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจ รวมถึงการส่งออกของไทยที่ลดลงมาก และทิศทางดอกเบี้ยที่ยังจะลดลงอยู่ ขณะที่ปัญหาทางด้านเงินเฟ้อไม่น่ากังวลแล้ว"

สำหรับวานนี้ (19 ก.พ.)นักบริหารเงินธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้ที่ระดับ 35.38-35.40 บาทต่อดอลลาร์สหรับ โดยปรับตัวอ่อนค่าลงจากช่วงปิดตลาดวันก่อนหน้าที่ระดับ 35.35-35.37 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ และการเคลื่อนไหวระหว่างวันเงินบาทยังอ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่อง และมีปริมาณการซื้อขายค่อนข้างหนาแน่น

ทั้งนี้ การอ่อนค่าลงของเงินบาทเป็นไปในทิศทางเดียวกับค่าเงินสกุลอื่นในภูมิภาคโดยเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นเนื่องจากมีแรงเข้าซื้ออย่างหนักหลังนักลงทุนประเมินว่าเป็นสกุลเงินที่มีความปลอดภัยท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจโลกที่มีความผันผวนในขณะนี้

ขณะที่ในช่วงเย็นค่าเงินบาทที่ระดับ 35.49-35.55 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ปริมาณการทำธุรกรรมค่อนข้างหนาแน่นอน เนื่องจากกลุ่มผู้ส่งออกทำการซื้ออัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้าค่อนข้างมาก โดยระหว่างวันค่าเงินบาทอ่อนค่าสุดที่ระดับ 35.60 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ และแข็งค่าสุดที่ระดับ 35.40 บาทต่อดอลลาร์ ถือว่าอ่อนค่าสุดในรอบเกือบ 2 เดือน

ส่วนวันนี้คาดว่าค่าเงินบาทจะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 35.45-35.65 บาทต่อดอลลาร์ ซึ่งพรุ่งนี้แนวโน้มอาจจะแข็งค่าได้เล็กน้อย เนื่องจากมีการทำกำไรเข้ามา หลังจากที่อ่อนค่าค่อนข้าสูงมาก แต่ทิศทางระยะยาวยังเป็นทิศทางอ่อนค่า

ธาริษาท่องบทบาทอ่อนตามภูมิภาค

เมื่อวานนี้ (19ก.พ.) ในเวลา 14.15 น. ทางสมาคมนิสิตเก่า สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้จัดงานสัมมนาเรื่อง “วิกฤตเศรษฐกิจโลกกับทางออกของคนไทย” โดยนางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ได้ปาฐกถาพิเศษหัวข้อ “วิกฤตเศรษฐกิจโลกที่ส่งผลกระทบต่อประเทศไทย”ถึงแนวโน้มค่าเงินบาทว่า ปีนี้คาดว่าจะอ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่อง เพราะค่าเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้น ทำให้ค่าเงินในภูมิภาคอ่อนค่าลง รวมถึงค่าเงินบาทไทยด้วย

ณ วันที่ 2 ก.พ.ที่ผ่านมา ค่าเงินบาทไทยเคลื่อนไหวค่อนข้างอ่อนค่า 0.7% ขณะที่ทั้งปี 51 อ่อนค่าถึง 3% ซึ่งค่าเงินบาทในขณะนี้กลับไปสู่ระดับเดียวกับในช่วง 2 ปีก่อน หรือปี50 ดังนั้น บทบาทธปท.ในระยะต่อไปจะดูแลนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนไม่ให้ผันผวนและให้เงินบาทเกาะกลุ่มไปกับประเทศภูมิภาค

ทั้งนี้ ดัชนีค่าเงินบาทแท้จริง(REER) ซึ่งได้หักอัตราเงินเฟ้อ ต้นทุนที่ถูกลง ทำให้ไทยสามารถแข่งขันต่างประเทศได้ดีขึ้น ค่าเงินบาทไม่ใช่ปัจจัยเดียวที่ทำให้ไทยเสียความสามารถในการแข่งขันด้านการส่งออก ขึ้นอยู่กับอำนาจซื้อต่างประเทศหรือรายได้ประเทศคู่ค้า โดยจากการประเมินธปท.พบว่า หากเศรษฐกิจคู่ค้าลดลง 1% ส่งผลต่อการส่งออกให้ลดลง 1.6% และหากค่าเงินอ่อนค่าลง 1% ทำให้การส่งออกสูงขึ้น 0.2%

แรงขายทำทองราคาตกก่อนทะยานต่อ

นายศุภกร สุนทรกิจ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) เอ็มเอฟซี จำกัด กล่าวว่า ราคาทองคำที่ปรับตัวลดลงมามากในรอบเดือนนี้ เป็นผลมาจากการเทขายเพื่อทำกำไรของกลุ่มนักลงทุนเป็นหลัก เนื่องจากในช่วงก่อนหน้านี้ราคาทองคำได้ปรับตัวขึ้นอย่างแรงในตลาดต่างประเทศ ซึ่งเมื่อปรับตัวขึ้นไปถึงระดับหนึ่งแล้วจึงมีการเทขายเพื่อทำกำไรตามปกติ

"ราคาทองคำที่ปรับตัวลดลงมานั้น เป็นผลมาจากการเทขายเพื่อทำกำไรตามเทคนิค ซึ่งไม่มีปัจจัยอะไรนอกเหนือจากนี้ที่มากดดันให้ราคาทองคำปรับลดลงแต่อย่างใด แต่เชื่อว่าราคาทองคำจากนี้จะมีความผันผวนมาก" นายศุภกร กล่าว

นายจิตติ ตั้งสิทธิ์ภักดี นายกสมาคมค้าทองคำ กล่าวการเคลื่อนไหวของราคาทองคำวานนี้ (19 ก.พ.) ว่า ในช่วงเช้าราคาทองคำในตลาดโลกดีดขึ้นไปต่อเนื่อง ทำให้ราคาทองคำในประเทศไทยเพิ่มขึ้นตามไปด้วย โดยช่วงเช้าราคาขายทองคำแท่งไปอยู่ที่ 16,100 บาทต่อน้ำหนักทอง 1 บาท และราคาขายทองคำรูปพรรณไปอยู่ที่ 16,500 บาท หลังจากนั้นราคาทองคำในตลาดโลกก็ปรับลดลงประมาณ 10 ดอลลาร์/ออนซ์ โดยราคาอยู่ที่ 972 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ ทำให้ต้องปรับราคาขายทองคำในประเทศ โดยปรับลดลง 50 บาทต่อน้ำหนักทองคำ 1 บาท ถือเป็นการปรับลดของราคาทองคำเป็นครั้งแรกในรอบเดือน เพราะก่อนหน้านี้ราคาทองคำเพิ่มขึ้นมาโดยตลอด

ทั้งนี้ เวลา 17.00น. สมาคมค้าทองคำกำหนดราคาทองคำแท่งซื้อ15,900 ขาย16,000 บาท ส่วนทองรูปพรรณซื้อ 15,675.44 ขาย16,400 บาท

นายกฤชรัตน์ หิรัณยศิริ รองเลขาธิการ สมาคมผู้ค้าทองคำ กล่าวว่า จากการที่ราคาทองได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นเยอะทำให้มีการเทขายทองคำออกมาเพื่อทำกำไรจากนักลงทุนต่างประเทศและได้รับแรงเทขายจากตลาดภายในประเทศอีกปัจจัยหนึ่ง จึงทำให้ราคาทองในตลาดปรับตัวลดลง แต่นี่เป็นเพียงการปรับลดลงเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เนื่องจากที่ผ่านมาราคาทองถือได้อยู่ในช่วงขาขึ้นมาตลอด ทำให้ราคาทองคำพุ่งสูงขึ้น นักลงทุนจึงหันมาลงทุนในทองคำมากขึ้นเพื่อสร้างผลตอบแทนจากการลงทุน

"ราคาทองได้ปรับตัวอยู่ที่ 978 เหรียญดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ และปรับตัวลดลงอยู่ที่ 970 เหรียญดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ โดยราคานี้ถือว่าไม่ได้ปรับตัวลดลงมาก ยังเป็นราคาที่สูงอยู่สำหรับนักลงทุน อีกทั้งราคาค่าเงินที่อ่อนค่าลง ได้ส่งผลให้ราคาทองคำปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งบางช่วงที่ราคาทองปรับตัวลดลงเนื่องมาจากแรงเทขายของนักลงทุนเพื่อทำกำไรนั่นเอง" นายกฤชรัตน์กล่าว   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us