Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน20 กุมภาพันธ์ 2552
แฉ!ธุรกิจสร้างบ้านภาษีรั่วไหลรัฐสูญหลายพันล.-จูงใจผู้บริโภคขอคืนแวตได้             
 


   
search resources

Construction
พิศาล ธรรมวิเศษ




พีดีเฮ้าส์ฯ เผยรับเหมาก่อสร้าง-รับสร้างบ้านกว่า70% แจ้งรายได้เท็จต่ำกว่าปกติ เลี่ยงภาษีแวต ทำรัฐสูญเงินภาษีปีละหลายพันล้านบาท แนะปลุกจิตสำนึกผู้ประกอบการปฏิบัติตามกม.ภาษี สร้างการแข่งขันที่เป็นธรรม กระตุ้นให้ผู้บริโภคขอใบเสร็จรับเงินรวมแวตจากผู้ประกอบการ แจงรัฐอาจต้องให้ผู้บริโภคขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มได้ โดยการลดหย่อนภาษีรายได้บีบผู้ประกอบการเข้าระบบ ด้านผู้บริหารโฮม สแตนดาร์ดฯ ผวาสงครามราคา ระบุตลาดล่างแข่งขันลดราคาก่อสร้างสูง 20% หวั่นปัญหารับเหมาสร้างบ้านไม่ได้ วิจัยกสิกรฯคาดปี52 ตลาดหดตัวอย่างน้อย13.6%

นายพิศาล ธรรมวิเศษ กรรมการผู้จัดการ บริษัท พีดี เฮ้าส์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด และผู้บริหาร “ศูนย์รับสร้างบ้าน พีดี เฮ้าส์” เปิดเผยว่า ฝ่ายวิจัยและพัฒนาธุรกิจ ได้ทำการศึกษาเก็บข้อมูลตลาดรวมบ้านสร้างเองในปี51พบว่า มีจำนวนบ้านสร้างเองทั่วประเทศรวม 70,000 หน่วย แบ่งเป็นบ้านที่ประชาชนสร้างเอง ในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล และจังหวัดใกล้เคียงมีปริมาณการก่อสร้างทั้งสิ้นประมาณ 18,900 – 19,000 หน่วย คิดเป็นมูลค่ารวม47,000-48,000 ล้านบาท โดยผู้รับเหมาทั่วไป มีส่วนแบ่งตลาด 83% คิดเป็นมูลค่าประมาณ 39,000-40,000 ล้านบาทเศษ และกลุ่มบริษัทรับสร้างบ้าน มีส่วนแบ่ง17% คิดเป็นมูลค่า7,900-8,000 ล้านบาท ที่เหลือเป็นบ้านที่ประชาชนสร้างเองในต่างจังหวัดประมาณ 45,000-50,000 หน่วย

“หากพิจารณาจากมูลค่าบ้านสร้างเองปี51 แยกเป็น กลุ่มผู้รับเหมาฯที่มีส่วนแบ่งตลาด 39,000-40,000 ล้านบาท คิดเป็นส่วนที่ต้องถูกจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม(แวต) 7% เท่ากับ 2,500 ล้านบาทเศษ และกลุ่มบริษัทรับสร้างบ้าน ที่มีส่วนแบ่งตลาด 7,900-8,000 ล้านบาท คิดเป็นภาษีแวต 500 ล้านบาทเศษ เมื่อคิดรวมทั้ง2ส่วนรัฐน่าจะจัดเก็บภาษีได้ประมาณ 3,000 ล้านบาทเศษ แต่ในข้อเท็จจริงพบเห็นการฮั้วหรือตกลงกับจ้าของบ้าน โดยหลีกเลี่ยงไม่เข้าระบบภาษี ทำให้รัฐสูญเสียรายได้ปีละกว่า 3,000 ล้านบาท”

ทั้งนี้ ที่ผ่านมารัฐบาลและกรมสรรพกรได้ประกาศนโยบาย ที่จะหาช่องทางเรียกเก็บภาษีรายได้นิติบุคคลเพิ่มจากกลุ่มผู้รับเหมาก่อสร้างบ้าน เนื่องจากเห็นว่า นิติบุคคลหรือคณะบุคคลมีการสร้างรายจ่ายเกินจากความเป็นจริง ซึ่งเป็นการการตรวจสอบและแก้ปัญหาปลายเหตุ เพราะหากกรมสรรพกรตรวจสอบผลประกอบการหรืองบดุลบัญชีของกลุ่มผู้รับเหมาทั่วไปและกลุ่มบริษัทรับสร้างบ้าน จะพบว่าผู้ประกอบการมากกว่า 70% แจ้งรายได้ต่ำผิดปกติ เช่น บางรายมีรายได้ต่ำกว่าปีละ 1 ล้านบาท หรือมีรายได้ไม่ถึง 5 ล้านบาทต่อปี หรือเมื่อพิจารณาแล้วเท่ากับว่า 1 ปี มีงานรับเหมาสร้างบ้านเพียง 1-2 หลัง แต่หากประเมินจากต้นทุนค่าก่อสร้าง ค่าการตลาด ค่าจ้างพนักงาน และค่าบริหารงานของแต่ละรายมีรายจ่ายไม่ต่ำกว่าปีละ5-10 ล้านบาทขึ้นไป จึงสะท้อนให้เห็นว่ามีการหลบเลี่ยงนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือแจ้งรายได้ต่ำกว่า ความเป็นจริง

ดังนั้น เมื่อผู้ประกอบการต่างปกปิดรายได้ จึงไม่มีทางเป็นไปได้ที่แต่ละปีงบดุลจะแสดงผลกำไร เพราะว่ามีแต่รายจ่าย โดยเฉพาะเมื่อพิจารณาถึงสภาพการแข่งขันในธุรกิจสร้างบ้าน ก็จะพบว่างานรับเหมาสร้างบ้านมีผลกำไรหรือผลตอบแทนต่ำมาก โดยเฉลี่ยจะคำนวณกำไรจากค่างานรับเหมาไว้เพียง 2-8% ของมูลค่างานก่อสร้างหรือราคาขาย ในขณะที่ธุรกิจก่อสร้างมีตัวแปรและมีความเสี่ยงระหว่างทำงานก่อสร้างสูง

นายพิศาล กล่าวว่า จากกรณีศึกษาธุรกิจสร้างบ้านดังกล่าว รัฐบาลควรหาแนวทางที่จะปลุกจิตสำนึกผู้ประกอบการให้ปฏิบัติตามกฎหมายภาษี เพื่อสร้างการแข่งขันที่เป็นธรรมแก่ผู้ประกอบการที่นำส่งภาษีแวตตามจริง หรือกระตุ้นให้ผู้บริโภคเรียกขอใบเสร็จรับเงิน(รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) จากผู้ประกอบการหรือผู้รับจ้าง ทั้งนี้ รัฐอาจจำเป็นต้องเลือกใช้วิธีให้ผู้บริโภคสามารถขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มได้ โดยอาจมิใช่คืนเป็นเงินสดแต่จะเป็นการนำไปลดหย่อนภาษีรายได้หรือลดดอกเบี้ยเงินกู้ธนาคาร เพื่อจะเป็นการบังคับผู้ประกอบการหรือผู้รับจ้างเข้าสู่ระบบภาษีอย่างถูกต้อง

วิจัยกสิกรฯคาดอย่างดีตลาดหดตัว 13.6%

ด้านบริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด คาดการณ์แนวโน้มที่อยู่อาศัยสร้างเสร็จจดทะเบียนในเขตกทม.และปริมณฑลประเภทบ้านปลูกสร้างเองปี52 ว่า ภายใต้สมมุติฐาน 2สถานการณ์ ปกติแม้ว่ารัฐบาลชุดใหม่สามารถผลักดันนโยบายในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ และฟื้นฟูความเชื่อมั่นให้กลับมาสู่ภาคเอกชนและผู้บริโภค อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ปรับลดลง รวมถึงราคาวัสดุก่อสร้างที่ทรงตัว แต่เนื่องจากกำลังซื้อของผู้บริโภคโดยส่วนใหญ่ยังคงอ่อนแอ รวมถึงสถาบันการเงินเพิ่มความระมัดระวังในการอนุมัติสินเชื่อ จึงคาดว่าจำนวนที่อยู่อาศัยสร้างเสร็จประเภทปลูกสร้างเองในเขตกทม.และปริมณฑลจะหดตัวลง13.6%จากปี51 แต่ในกรณีที่เลวร้าย คาดว่าจำนวนที่อยู่อาศัยสร้างเสร็จประเภทที่อยู่อาศัยปลูกสร้างเองจะหดตัวลง18.2% ขณะที่ตลาดรับสร้างบ้านในปี 52 นี้ คาดว่าต้องเผชิญกับความท้าทายอย่างหนัก เมื่อธุรกิจโดยรวมยังคงได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจ

เตือนแข่งตัดราคาสุดท้ายเจ๊ง

นายบุญลือ วงศ์พรเพ็ญภาพ กรรมการผู้จัดการ บริษัท โฮม สแตนดาร์ด ดีเวลอปเม้นท์ จำกัด กล่าวว่า จากภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันอยู่ในช่วงชะลอตัว ส่งผลกระทบต่อธุรกิจรับสร้างบ้านทำให้ตลาดชะลอตัวในบางกลุ่ม โดยเฉพาะตลาดล่างราคา 1-3 ล้านบาท มีส่วนแบ่งตลาดประมาณ 30% ซึ่งลูกค้ากลุ่มนี้ยังได้รับผลกระทบจากการเข้มงวดของสถาบันการเงิน ส่วนใหญ่ขอสินเชื่อเพื่อสร้างบ้านจากสถาบันการเงิน เมื่อลูกค้าได้รับผลกระทบทำให้ผู้รับเหมาในตลาดนี้แข่งขันกันสูงขึ้น ปัจจุบันมีประกาศลดราคาค่าก่อสร้างสูงถึง 20% จนทำให้หลายฝ่ายเกรงว่าผู้รับเหมาจะสร้างบ้านไม่ได้ตามที่ตกลงกับลูกค้าไว้

ส่วนตลาดกลาง-บน มีการแข่งขันกันบ้างแต่ไม่มากนัก ปัจจุบันเริ่มเห็นการลดราคาที่ประมาณ 5-10% แยกระดับและส่วนแบ่งตลาดออกเป็น ระดับกลางราคา 3-7 ล้านบาท ส่วนแบ่งตลาด 40%, ระดับบนราคา 8-15 ล้านบาท 20% และระดับบน 15 ล้านบาทขึ้นไปมีจำนวน 10% ซึ่งตลาดบน-ไฮเอนด์ จะยังมีกลุ่มลูกค้าที่ไม่ได้รับผลกระทบมาก เพราะมีการวางแผนก่อนสร้างบ้าน มีเงินออม ซึ่งเกือบ 100% ไม่ขอสินเชื่อ

สำหรับแผนการดำเนินงานของบริษัทฯจะเน้นไปที่ตลาดบนขึ้นไป โดยตั้งเป้ายอดขาย 220 ล้านบาท แบ่งเป็นยอดขายของ Home Standard เป็นบ้านระดับราคา 8-10 ล้านบาท ประมาณ 20 หลัง มูลค่า 160 ล้านบาท และHome Develop บ้านราคา 15 ล้านบาทขึ้นไป ตั้งเป้า 4 หลัง มูลค่า 60 ล้านบาท ส่วนปีที่ผ่านมามียอดขาย 190 ล้านบาท ต่ำกว่าเป้า 10%

นอกจากนี้ ยังเพิ่มโครงการบ้านป้องกันแผ่นดินไหวเป็นแห่งแรกของบริษัทรับสร้างบ้าน และเพิ่มพื้นที่ใช้สอย(ฟังก์ชขั่น)การใช้งาน ซึ่งเหล่านี้ทำให้ต้นทุนการก่อสร้างเพิ่มขึ้นอีก 3-5% แต่ไม่ได้ปรับราคาขึ้น ส่วนงานรับสร้างบ้าน ที่จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 27 ก.พ. – 1 มี.ค. 52 ณ เซ็นทรัลลาดพร้าว บริษัท ได้จัดโปรโมชันส่วนลดเงินสด 10%   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us