Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน19 กุมภาพันธ์ 2552
จีเอ็มขอรบ.ไทยช่วยการเงินจ่อปลดพนักงานอีก 800 คน             
 


   
www resources

โฮมเพจ เจนเนอรัล มอเตอร์ส คอร์ปอเรชั่น

   
search resources

Automotive
เจนเนอรัล มอเตอร์ส คอร์ปอเรชั่น, บจก.




เจนเนอรัล มอเตอร์ส (จีเอ็ม) และไครสเลอร์ ร้องขอเม็ดเงินเพิ่มอีก 21,600 ล้านดอลลาร์จากรัฐบาลสหรัฐฯ เพื่อจะได้หลีกหนีภาวะล้มละลาย และยืดเวลาสำหรับการปรับโครงสร้างไปอีกช่วงหนึ่ง ขณะเดียวกัน จีเอ็มก็ยังพยายามขอความช่วยเหลือทางการเงินรวม 6,000 ล้านดอลลาร์จากรัฐบาล 5 ประเทศ ซึ่งรวมทั้งไทยด้วย แต่ถูก “อภิสิทธิ์” บอกปัด พร้อมเตรียมปลดพนักงานในไทยอีก 800 คน

จีเอ็ม ซึ่งมีฐานะเป็นผู้ผลิตรถยนต์ใหญ่ที่สุดของสหรัฐฯ แถลงว่า กำลังเจรจาอยู่กับทางการในเยอรมนี, สหราชอาณาจักร, สวีเดน, แคนาดา, และไทย เพื่อขอให้ได้รับเงินช่วยเหลือจำนวนดังกล่าวภายในวันที่ 31 มีนาคม ซึ่งจะสอดคล้องกับกำหนดเส้นตายที่รัฐบาลสหรัฐฯขีดเอาไว้ ในการพิจารณาว่าจะยังคงให้และขยายความช่วยเหลือแก่บริษัทต่อไปหรือไม่

อย่างไรก็ดี ในกรณีประเทศไทยนั้น ทางรัฐบาลได้แสดงท่าทีตั้งแต่ต้นเดือนนี้แล้วว่า จะไม่ให้ความช่วยเหลือแก่บริษัทลูกของจีเอ็มในประเทศไทย โดยที่มีรายงานว่า กิจการลูกของจีเอ็มในไทยนั้น หาทางขอเงินช่วยเหลือเป็นมูลค่า 15,000 ล้านบาท (429 ล้านดอลลาร์) ในโครงการผลิตรถกระบะ

ตอนที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีไทยแถลงข่าวระหว่างการเยือนญี่ปุ่นเป็นเวลา 3 วันเมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์นั้น เมื่อถูกสอบถามเรื่องนี้ เขาก็ตอบว่า “ผมเข้าใจซาบซึ้งเป็นอย่างดีถึงความยากลำบากที่อุตสาหกรรมนี้กำลังต้องก้าวผ่าน แต่แผนการของเราในขณะนี้ ไม่ได้มีการให้ความช่วยเหลือเป็นพิเศษแก่บริษัทเป็นรายๆ “

สำหรับบริษัทแม่ของจีเอ็มที่อเมริกา ตลอดจนบริษัทไครสเลอร์ เมื่อวันอังคารต่างก็ได้ยืนยันในบันทึกรายงานความสามารถที่จะปรับตัวตลอดจนแผนการปรับโครงสร้าง ซึ่งจัดส่งไปให้กระทรวงการคลัง ว่าพวกตนมีความสามารถจ่ายคืนเงินช่วยเหลือของรัฐบาลได้ การยื่นรายงานเช่นนี้เป็นส่วนหนึ่งของเงื่อนไขที่รัฐบาลกำหนดขึ้น เมื่อตอนอนุมัติแผนช่วยเหลือก้อนแรกไปในเดือนธันวาคมปีที่แล้ว

ทางด้านท่าทีของรัฐบาลอเมริกันนั้น รอเบิร์ต กิบส์ โฆษกทำเนียบขาวแถลงในวันเดียวกัน โดยมุ่งมองภาพในองค์รวมว่า เป็นที่ชัดเจนอยู่แล้วว่า บริษัทรถยนต์เหล่านี้จะอยู่รอดได้ จำเป็นที่จะต้องมีหลายๆ ฝ่ายเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ตั้งแต่เจ้าหนี้, ซัปพลายเออร์, ดีลเลอร์, พนักงาน และผู้บริหารบริษัททั้งหมด

ในรายงานที่ส่งถึงกระทรวงการคลัง จีเอ็มได้พูดถึงแผนการปรับตัวของบริษัทว่า จะลดจำนวนพนักงานทั่วโลกลง 47,000 ตำแหน่ง, ปิดโรงงาน, ยกเลิกแบรนด์ที่ไม่ค่อยทำเงิน, ลดกำลังการผลิต, รวมทั้งปรับเปลี่ยนข้อเสนอผลิตภัณฑ์เสียใหม่ เพื่อให้บริษัทกลับมาแข็งแกร่งและทำกำไรได้อีกภายในเวลา 24 เดือน

“นี่เป็นสิ่งที่เราต้องทำหากว่าต้องการอยู่รอดในวิกฤตปัจจุบัน รวมทั้งทำให้จีเอ็มกลับมาประสบความสำเร็จอย่างยืนยงอีกครั้ง” ริค แวกอนเนอร์ ประธานจีเอ็มและซีอีโอ กล่าว

จีเอ็มบอกด้วยว่าอาจต้องการเงินอีก 16,600 ล้านดอลลาร์ในรูปของเงินกู้จากรัฐบาลภายในปี 2011 เพิ่มเติมจาก 13,400 ล้านดอลลาร์ที่ได้มาแล้ว จีเอ็มขู่ด้วยว่าหากไม่ทำอะไร มูลค่าความเสียหายจะสูงกว่านี้ เพราะหากปล่อยให้ล้มละลาย จีเอ็มก็คาดว่าเม็ดเงินที่ใช้ในการปรับโครงสร้างจะสูงถึง 100,000 ล้านดอลลาร์ และคนงานจะต้องตกงานราว 3 ล้านคน

ในขณะเดียวกัน ทางด้านไครสเลอร์ ก็แจ้งว่าจะต้องขอเงินช่วยเหลือจากรัฐบาลสหรัฐฯเพิ่มอีก 5,000 ล้านดอลลาร์

“เราเชื่อว่าเงินกู้ที่จะนำมาเป็นเม็ดเงินดำเนินการซึ่งเราร้องขอไปนี้ เป็นทางเลือกที่ใช้เงินน้อยที่สุดแล้ว และจะสามารถช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของสหรัฐฯรวมทั้งก่อให้เกิดผลในททางบวกแก่ผู้เสียภาษีชาวอเมริกันทั้งหลาย” ประธานของไครสเลอร์ บ๊อบ นาร์เดลลีกล่าว

“การปรับโครงสร้างอย่างเป็นระเบียบโดยไม่เข้าสู่ภาวะล้มละลาย เมื่อรวมกับแผนการที่จะทำให้บริษัทอยู่รอด และการเป็นพันธมิตรแน่นแฟ้นกับเฟียตก็ทำให้มันเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุด”

ไครสเลอร์มีแผนจะยกเลิกโมเดลรถ 3 แบบ, ลดกำลังการผลิตลง 100,000 คันต่อปี, ลอยแพคนงาน 3,000 คน, และลดต้นทุนประจำลงไป 700 ล้านดอลลาร์

ก่อนหน้านี้ “บิ๊กทรี” หรือบริษัทรถยนต์ยักษ์ใหญ่สามแห่งในดีทรอยท์ ซึ่งมีจีเอ็ม, ไครสเลอร์และฟอร์ด ต่างก็สามารถตกลงเบื้องต้นได้กับสหภาพแรงงานบริษัทรถยนต์ (ยูเอดับเบิลยู) ให้ช่วยลดต้นทุนด้านค่าแรง ซึ่งทางสหภาพบอกว่าตามข้อตกลง บริษัทสามารถปรับสัญญาว่าจ้างให้เปลี่ยนไปจากของเมื่อปี 2007 อันจะช่วยให้บริษัทสามารถฝ่าฟันสถานการณ์ยากลำบากไปได้

ทางด้านกระทรวงการคลังแจ้งว่าจะพิจารณาแผนการที่บริษัทรถยนต์ทั้งสองส่งมา และตัดสินใจภายในวันที่ 31 มีนาคมนี้ว่าจะให้เงินกู้ต่อไป หรือจะเรียกคืน ซึ่งนั่นจะทำให้บริษัทล้มละลาย แต่รัฐบาลก็จะเข้ามาดูแลเพื่อให้มีการถ่ายโอนสินทรัพย์และปรับโครงสร้างได้อย่างรวดเร็วมากขึ้น

สำหรับอีก 1 “บิ๊กทรี” ที่เหลือ คือ ฟอร์ด ยังคงยืนยันว่ามีเม็ดเงินสำรองเพียงพอต่อการดำเนินงานโดยไม่ต้องพึ่งเงินกู้ แม้ว่าจะขาดทุนไปถึง 5,900 ล้านดอลลาร์ในไตรมาสสี่ของปีที่แล้ว นักวิเคราะห์ทำนายว่ายอดขายรถยนต์ในปีนี้จะอยู่ที่ 10 – 11 ล้านคัน ซึ่งเป็นยอดขายที่ย่ำแย่ที่สุดนับตั้งแต่สงครามโลกครั้งสองเป็นต้นมา

จีเอ็มไทยปลดอีก 800 คน

บริษัท เจนเนอรัล มอเตอร์ส (ประเทศไทย) ล่าสุดได้เปิดโครงการสมัครใจลาออก และการลดพนักงานประจำในสายการผลิตจำนวน 800 คน ในต้นเดือนกุมภาพันธ์ พร้อมออกแถลงการณ์ว่า แม้การเลย์ออฟถือเป็นหนทางสุดท้าย แต่ด้วยวิกฤตเศรษฐกิจได้ส่งผลกระทบต่อทุกอุตสาหกรรม รวมถึงอุตสาหกรรมยานยนต์ บริษัทจึงต้องปรับโครงสร้างแผนการผลิตเพื่อฝ่าวิกฤตความต้องการซื้อของลูกค้าที่ลดลงนี้ไปให้ได้

“เป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ที่แผนการปรับโครงสร้างนี้จะส่งผลกระทบต่อองค์กรด้วยการลดจำนวนพนักงานลง เราจึงใช้มาตรการโครงการสมัครใจลาออก พนักงานในฝ่ายการผลิตสามารถร่วมโครงการนี้ได้ และจะได้รับค่าตอบแทนตามกฎหมายแรงงาน หากโครงการสมัครใจลาออกไม่เป็นไปตามเป้าหมาย บริษัทฯ อาจจะต้องใช้มาตรการอื่นในการดำเนินการตามแผนปรับโครงสร้าง ถึงกระนั้น พนักงานทุกคนไม่ว่าจะเข้าร่วมแผนใด ก็สามารถแน่ใจได้ว่าจะได้รับเงินชดเชยตามกฎหมายแรงงานอย่างแน่นอน”

บริษัทเชื่อว่า นี่เป็นทางออกที่ดีที่สุดที่บริษัทสามารถทำได้ หลังจากได้ประเมินหาหนทางอื่นอย่างรอบคอบแล้ว โครงการสมัครใจลาออกเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับพนักงาน เพราะจะได้รับเงินทดแทนมากกว่าที่กฎหมายแรงงานระบุ ขณะที่โครงการหยุดพักงานชั่วคราวไม่ใช่ทางแก้ปัญหาที่ตรงจุดนัก เพราะพนักงานจะรับเงินตอบแทนเพียงครึ่งหนึ่ง หรือน้อยกว่าครึ่งหนึ่งของเงินเดือนในระยะสั้น ยิ่งไปกว่านั้น บริษัทฯไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าสถานการณ์ในอนาคตจะดีขึ้น พนักงานจะประสบความยากลำบากยิ่งขึ้นเมื่อบริษัทฯไม่สามารถใช้มาตรการหยุดพักงานชั่วคราวในระยะยาวได้ ดังนั้นบริษัทเชื่อว่า โครงการสมัครใจลาออกเหมาะสมที่สุดในสถานการณ์ขั้นวิกฤติที่ไม่มีความมั่นคงอย่างในปัจจุบัน   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us