Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน19 กุมภาพันธ์ 2552
RATCHร่วมทุนโรงไฟฟ้าพลังลม แจงปีนี้จ่ายภาษีพุ่งฉุดกำไรหด5%             
 


   
www resources

โฮมเพจ บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน)

   
search resources

ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง, บมจ.
Electricity




ผลิตไฟฟ้าราชบุรีฯยอมรับกำไรปีนี้หด 5% เหตุมีค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้นิติบุคคลพุ่งขึ้น 700 ล้านบาทหลังสิทธิประโยชน์บีโอไอหมด และการซ่อมบำรุงโรงไฟฟ้า เผยปีนี้ใส่งบลงทุน 4,500 ล้านบาทลงทุนโครงการต่างประเทศต่อเนื่อง รวมทั้งเบนเข็มลงทุนSPP-VSPP ในประเทศ ล่าสุด ร่วมลงทุนโรงไฟฟ้าพลังลมเชิงพาณิชย์รายแรกของไทยและรายใหญ่สุดในอาเซียน คาดว่าจะจ่ายไฟเชิงพาณิชย์ได้ในปี 2554 หลังความต้องการใช้ไฟฟ้าในประเทศหดตัวลง

นายนพพล มิลินทางกูร กรรมการผู้จัดการ บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน)(RATCH) เปิดเผยว่า ในปีนี้บริษัทฯจะมีรายได้ต่ำกว่าปีก่อนเล็กน้อย ส่วนกำไรสุทธิอาจลดลงบ้างประมาณ 5 % จากปี 2551 ที่มีกำไรสุทธิ 6,492.90 ล้านบาท เนื่องจากปีนี้โรงไฟฟ้าพลังความร้อนหมดสิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีจากบีโอไอ ทำให้บริษัทฯมีภาระเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มเป็น 700 ล้านบาท และมีค่าใช้จ่ายในการปิดซ่อมบำรุงโรงไฟฟ้าเพิ่มขึ้นด้วย

“ แม้ว่าการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จะมีการสั่งให้หยุดผลิตไฟฟ้าในโรงไฟฟ้าพลังความร้อนตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว ตามความต้องการใช้ไฟฟ้าที่ลดลง แต่เนื่องจากเป็นสัญญาที่ผูกพัน ทำให้ค่า APต่อหน่วยเพิ่มขึ้นแม้ว่าจะเดินเครื่องน้อยลง จึงไม่กระทบต่อรายได้ และปีนี้โรงไฟฟ้าราชบุรีเพาเวอร์จะเดินเครื่องได้ตลอดทั้งปี”

ส่วนแผนการดำเนินธุรกิจในปี2552 บริษัทฯเน้นการลงทุนทั้งในและต่างประเทศ โดยจะแสวงหาพันธมิตรทางธุรกิจเพื่อร่วมลงทุนโครงการใหม่ๆที่มีศักยภาพ โดยโครงการในประเทศจะเน้นขยายการลงทุนสู่โรงไฟฟ้าเอกชนขนาดเล็ก(SPP)และโครงการผลิตไฟฟ้าพลังหมุนเวียนขนาดเล็กมาก (VSPP)มากขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจและความต้องการใช้ไฟฟ้าที่หดตัวลง

นอกจากนี้ บริษัทยังมุ่งแสวงหาการลงทุนโรงไฟฟ้าในภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้ เช่นโครงการผลิตไฟฟ้าเอกชนขนาดใหญ่ (ไอพีพี)และโครงการเหมืองถ่านหินในอินโดนีเซียและเวียดนาม เพื่อลดต้นทุนด้านเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า พบว่ายังมีความต้องการใช้ไฟฟ้าในอินโดนีเซียหลายหมื่นเมกกะวัตต์

ทั้งนี้บริษัทฯวางแผนงบการลงทุนในปีนี้ประมาณ 4,500 ล้านบาท เม็ดเงินงบลงทุนสูงกว่าปีก่อนถึง 3,000 ล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการลงทุนโครงการโรงไฟฟ้าต่อเนื่องอาทิ โครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนหงสา โครงการโรงไฟฟ้าน้ำงึม3 โครงการโรงไฟฟ้าเซเปียน-เซน้ำน้อย ซึ่งบริษัทอยู่ระหว่างการเจรจาในสัญญาสัมปทานกับลาวและราคาซื้อไฟฟ้ากับกฟผ. คาดว่าจะสามารถลงนามสัญญาได้ภายในปีนี้ ส่วนโครงการโรงไฟฟ้าน้ำงึม 2 ก่อสร้างไปแล้ว 71 % คาดว่าจะผลิตไฟฟ้าได้ทันตามกำหนด 2556

สำหรับแหล่งเงินทุนนั้น บริษัทฯมีความพร้อมด้านการเงิน โดยมีเงินทุนหมุนเวียน 10,622 ล้านบาท ดังนั้น ในปีนี้จึงไม่มีแผนที่จะออกหุ้นกู้ แม้ว่าที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯจะอนุมติให้ออกหุ้นกู้ได้ 7,000 ล้านบาทก็ตาม

นอกจากนี้ บริษัทฯยังมีแผนจะรีไฟแนนซ์หนี้เดิมที่มีอยู่ 2.2 หมื่นล้านบาท เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ต่ำ คาดว่าปีนี้ภาระหนี้บริษัทฯจะลดลงเหลือ 1.9 หมื่นล้านบาท

ร่วมลงทุนโรงไฟฟ้าพลังลม

วานนี้ (18ก.พ.) บริษัทผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด(มหาชน)ได้ร่วมลงนามซื้อขายหุ้นและสัญญาระหว่างผู้ถือหุ้นกับบริษัท รีนิวเอเบิล เอนเนอยี คอร์เปอเรชั่น จำกัด เพื่อพัฒนาโครงการผลิตไฟฟ้าจากลมในจังหวัดเพชรบูรณ์ กำลังการผลิต 60 เมกะวัตต์ มูลค่าเงินลงทุน 4,300 ล้านบาท โดยผลิตไฟฟ้าราชบุรีฯถือหุ้น 26%

โครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานลม จะเป็นการติดตั้งกังหันลมแบบทุ่งกันหันลม (WIND FARM) 30 ต้น แต่ละต้นมีกำลังการผลิตติดตั้ง 2 เมกะวัตต์ ในพื้นที่ป่าเสื่อมโทรม เข้าค้อ จ.เพชรบูรณ์ คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างได้ประมาณเดือน ต.ค. 2552 และผลิตไฟฟ้าเข้าระบบได้ประมาณปี 2554 นับเป็นโครงการผลิตไฟฟ้าพลังลมเชิงพาณิชย์รายแรกของไทยและรายใหญ่ที่สุดในอาเซียน

โครงการนี้จะลดปัญหาภาวะเรือนกระจกโดยลดการผลิตก๊าซคอร์บอนไดออกไซด์ประมาณ 63,500 ตันต่อปี ลดการพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิลจากน้ำมันเตา 32 ล้านลิตรต่อปี คิดเป็นเงิน 560 ล้านบาท

“ จากภาวะความต้องการใช้ไฟฟ้าที่หดตัว ทำให้บริษัทผลิตไฟฟ้าต้องชะลอโครงการขนาดใหญ่ แล้วหันมาสร้างโรงไฟฟ้าขนาดเล็ก ซึ่งพลังงานลมได้รับเงินอุดหนุนจากกองทุนส่งเสริมเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน 3.50 บาทต่อหน่วย จึงคุ้มค่าต่อการลงทุน และบริษัทยังหาช่องทางผลิตไฟฟ้ารูปแบบอื่น ๆ เช่น ขยะ เป็นต้น” นายนพพล กล่าว

ทั้งนี้ บริษัทฯได้เข้าไปซื้อหุ้นร่วมทุนบริษัท ซัสเทนเอเบิล เอนเนอยี คอร์ปอเรชั่น ซึ่งเป็นผู้ดำเนินโครงการดังกล่าวและเป็นบริษัทย่อยของรีนิวเอเบิล เอนเนอยีฯ โดยบริษัทฯใช้เงินลงทุนประมาณ 500 ล้านบาทในการซื้อหุ้น 26%

สำหรับผลการดำเนินการปี 2551 บริษัทและบริษัทย่อย มีรายได้รวม 43,801.85 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อน 4.93% มีกำไรสุทธิรวม 6,492.90 ล้านบาท เพิ่มจากปีก่อน 11.38% คิดเป็นกำไรต่อหุ้น 4.48 บาท โดยคณะกรรมการบริษัทฯมีมติให้จ่ายเงินปันผล 2.20 บาทต่อหุ้น ซึ่งบริษัทได้จ่ายเงินปันผลระหว่างกาลไปแล้ว 1.10 บาท จึงเหลือเงินปันผลในงวดนี้ 1.10 บาทต่อหุ้น กำหนดจ่าย 24 เม.ย. 2552   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us