Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน17 กุมภาพันธ์ 2552
ลีสซิ่งเบรกปล่อยกู้รถดาวน์ต่ำหวั่นเศรษฐกิจชะลอหนี้เน่าเพิ่ม             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารธนชาต

   
search resources

ธนาคารธนชาต, บมจ.
Leasing




ธนชาตยันปล่อยสินเชื่อเช่าซื้อปกติ แต่เข้มงวดมากขึ้นหากลูกค้าเสี่ยงสูงหรือกลุ่มดาวน์ต่ำ 5% หรือ 10% งดปล่อยกู้ ด้านลีสซิ่งกสิกรไทยประสานเสียงแนวโน้มเอ็นพีแอลปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น ไม่แข่งดาวน์ต่ำ

นายอนุชาติ ดีประเสริฐ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายพัฒนาผลิตภัณฑ์เช่าซื้อ ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน) หรือ TBANK เปิดเผยว่า การปล่อยสินเชื่อเช่าซื้อของธนาคารในปัจจุบันยังมีการปล่อยกู้ตามปกติ ไม่ได้มีการชะลอแต่อย่างใด ส่วนเกณฑ์ที่ใช้พิจารณาในการปล่อยกู้นั้นก็ยังคงเหมือนเดิม แต่จากภาวะที่เศรษฐกิจมีการชะลอตัว ทำให้มีผลต่อศักยภาพในการชำระหนี้ของผู้บริโภค ซึ่งทางธนาคารจำเป็นต้องมีความเข้มงวดในการปล่อยกู้มากขึ้น โดยลูกค้ารายที่มีความเสี่ยงสูง ธนาคารก็จะปฏิเสธการให้กู้

'ในช่วงที่ผ่านมาต้องยอมรับธนาคารมีความเข้มงวดมากขึ้น แต่ไม่ได้มีการปรับเพิ่มเงินดาวน์ โดยเงินดาวน์ที่ 15% หรือ 20% ยังคงมีเหมือนเดิม โดยธนาคารจะเน้นเรื่องของความสามารถในการชำระหนี้มากขึ้น ส่วนเงินดาวน์ 5% หรือ 10% ที่เคยทำการตลาดในช่วงภาวะเศรษฐกิจดีนั้น ปัจจุบันได้หยุดพัก เนื่องจากลูกค้าในกลุ่มนี้มีความเสี่ยงสูง'

สำหรับสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ต้องยอมรับว่าขณะนี้มี สัญญาณปรับตัวเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นไปตามภาวะเศรษฐกิจ และการตกงานทำให้มีผลกระทบต่อรายได้ ซึ่งลูกค้ากลุ่มนี้ธนาคารได้เข้าไปช่วยเหลือด้วยการยืดระยะเวลาการชำระหนี้ และลดการผ่อนค่างวดลง อย่างไรก็ตาม เอ็นพีแอลที่เพิ่มขึ้นยังไม่น่ากลัว ยังสามารถบริหารจัดการได้โดยยอดเอ็นพีแอลอยู่ที่ 1.8-1.9% ของสินเชื่อรวม ทั้งนี้ในเดือน ม.ค.ที่ผ่าน มาธนาคารได้ปล่อยสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ใหม่ 8,000 คัน ปรับตัวลดลง 6-7% ซึ่งเป็นไปตามภาวะที่ยอดขายรถยนต์ปรับลดลง 20% โดยในเดือน ธ.ค.ที่ผ่านมาได้ปล่อยสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ประมาณ 9,000 คัน

อย่างไรก็ตาม ในปี 51 ที่ผ่านมา ธนาคารได้ปล่อยสินเชื่อเช่าซื้อที่เป็นสินเชื่อใหม่ 93,000-94,000 ล้านบาท แบ่งเป็นสัดส่วนของ สินเชื่อที่ปล่อยกู้ให้กับรถยนต์ใหม่ 75% และอีก 25% เป็นรถมือสอง โดยพอร์ตสินเชื่อเช่าซื้อสิ้นปีที่ผ่านมาอยู่ที่ 210,000-220,000 ล้านบาท โดยปีนี้เป้าสินเชื่ออยู่ระหว่างการทบทวน โดยคาดว่ายอดสินเชื่อใหม่จะปรับลดลง 10% ซึ่งเป็นไปตามภาวะตลาด

ด้านนายอิสระ วงศ์รุ่ง กรรมการผู้จัดการ บริษัทลีสซิ่งกสิกรไทย จำกัด กล่าวว่า บริษัทไม่ได้ชะลอการปล่อยสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์เห็นได้จากในเดือน ม.ค.ที่ผ่านมาสามารถปล่อยสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ได้ 2,022 ล้านบาท ทะลุเป้าที่ตั้งไว้ 1,450 ล้านบาท และปีนี้ทั้งปีตั้งเป้าปล่อยสินเชื่อ 20,000 ล้านบาท หากยังสามารถปล่อยสินเชื่อได้เหมือนกับเดือนม.ค. ก็จะทำให้ยอดสินเชื่อทั้งปีปล่อยได้ 24,500 ล้านบาท หรือสูงกว่าเป้า 20%

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ตลาดสินเชื่อเช่าซื้อ รถยนต์แข่งขันในกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่ำ โดยหากลูกค้าดาวน์สูงก็จะคิดอัตราดอกเบี้ยต่ำ โดยปัจจุบันถ้าลูกค้าดาวน์ 25% อัตราดอกเบี้ย เช่าซื้อจะอยู่ที่ 3.25% จากช่วงปลายปีที่ผ่านมา ดอกเบี้ยเช่าซื้ออยู่ที่ 2.75%

สำหรับหนี้เอ็นพีแอลบริษัทได้มีการติดตามอย่างใกล้ชิด ต้องยอมรับว่ามีสัญญาที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยเอ็นพีแอลเดือนม.ค.ที่ผ่านมาอยู่ที่ 2.4% เพิ่มขึ้นจากเดือนธ.ค.51 ที่อยู่ที่ 2.3% และในเดือน ก.พ.นี้เชื่อว่ายอดเอ็นพีแอลจะลดลงเหลือ 2.35% อย่างไรก็ตาม เอ็นพีแอล ที่เพิ่มขึ้นยังสามารถบริหารจัดการได้

ปีที่ผ่านมาทางบริษัทได้ตั้งเป้าหมายการปล่อยสินเชื่อไว้ที่ 29,000 ล้านบาท แต่สามารถปล่อยได้ 24,000-25,000 ล้านบาท ต่ำกว่าเป้า 15-20% ทำให้ยอดสินเชื่อคงค้างสิ้นปีอยู่ที่ 35,000 ล้านบาท และในปีนี้ถ้าปล่อยสินเชื่อได้ตามเป้าที่ตั้งไว้ก็ทำให้ยอด สินเชื่อคงค้างเพิ่มขึ้นเป็น 45,000 ล้านบาท   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us