Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน17 กุมภาพันธ์ 2552
เฮดจิ้งทำไทยแอร์เอเซียขาดทุน"อัดงบเพิ่ม-ขยายนักธุรกิจ"แก้ตัว             
 


   
www resources

โฮมเพจ แอร์เอเชีย

   
search resources

ไทยแอร์เอเชีย, บจก.
ทัศพล แบเลเว็ลด์
Low Cost Airline




ไทยแอร์เอเชีย ลุยเปิดบริการเสริม เรียกลูกค้ากลุ่มนักธุรกิจเพิ่มเป็น 3-5% ยอมรับวิกฤตเศรษฐกิจโลกส่งผลทุกธุรกิจแข่งขันสูง อัดงบการตลาดและประชาสัมพันธ์เพิ่มจากปีก่อน 50% เป็น 180 ล้าน ยอมรับพิษเก็งซื้อน้ำมันล่วงหน้าทำประกอบการปีก่อนขาดทุน แต่ปีนี้ยังฝันโต 10-15%

นายทัศพล แบเลเว็ลด์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายการบิน ไทยแอร์เอเชีย เปิดเผยว่า กำลังซื้อที่ลดลงจากผลกระทบของวิกฤตเศรษฐกิจโลกทำให้ทุกธุรกิจเกิดการแข่งขันสูงเพื่อรักษาฐานลูกค้าเก่าและช่วงชิงลูกค้าใหม่ โดยเฉพาะธุรกิจที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยวที่จะเป็นลำดับต้นๆที่จะได้รับผลกระทบ เพราะเป็นค่าใช้จ่ายลำดับต้นๆที่คนจะตัดทิ้ง ภาคธุรกิจจึงต้องปรับตัวเพื่อความอยู่รอด

ในส่วนของ ไทยแอร์เอเชีย ปีนี้ เตรียมใช้งบตลาดและประชาสัมพันธ์เพิ่ม 50% เป็น 150-180 ล้านบาท จากปีก่อนที่ใช้ 120 ล้านบาท เพื่อการโฆษณาประชาสัมพันธ์ และจัดแคมเปญส่งเสริมการขายตลอดปี ด้วยวิธีปรับเปลี่ยนการใช้สื่อให้เจาะตรงถึงกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น รวมถึงการศึกษาความต้องการของลูกค้าเพื่อเพิ่มบริการได้ตรงใจ

ขยายฐานลูกค้านักธุรกิจ

ล่าสุดเปิดตัวบริการเสริมใหม่ “เลือกที่นั่งให้ถูกใจ”(Pick A Seat) ลูกค้าใช้บริการดังกล่าวจะสามารถเลือกที่นั่งได้ โดยแบ่งเป็นสองประเภท คือ แถวที่นั่งพิเศษ(Hot Seat) และที่นั่งแบบมาตรฐาน(Standard Seat) โดยผู้โดยสารสามารถเลือกซื้อที่นั่งแถวพิเศษ ได้แก่ ที่นั่งใน 5 แถวแรก และที่นั่ง 2 แถวที่ติดประตูทางออกฉุกเฉินของเครื่อง ในอัตราค่าบริการ 250 บาท ต่อที่นั่งต่อเที่ยว ผู้โดยสารที่เลือกบริการนี้จะได้สิทธิพิเศษในบริการขึ้นเครื่องก่อนใคร (Xpress boarding) ด้วย สำหรับที่นั่งแบบมาตรฐาน คือที่นั่งทั้งหมดที่เหลืออยู่นอกเหนือจากตำแหน่ง 5 แถวแรก และ 2 แถวที่ประตูฉุกเฉิน ที่กล่าวมา โดยจะเสียค่าบริการที่นั่งละ 50 บาท ต่อเที่ยว

“นับจากวันที่ 17 กุมภาพันธ์นี้ไปแอร์เอเชียในทุกประเทศจะเริ่มบริการให้เลขที่นั่งแก่ผู้โดยสารทุกคน ส่วนคนที่ไม่ได้ใช้บริการเสริมทางสายการบินจะเป็นผู้เลือกที่นั่งให้เองโดยจะระบุเลขที่นั่งลงไปในตั๋วโดยสาร โดยได้ออกหนังโฆษณาทีวี 1 เรื่องใช้งบรวมเกือบ 40 ล้านบาท”

บริการเสริมใหม่นี้จะช่วยเพิ่มความสะดวกสบายให้แก่ลูกค้า โดยเฉพาะกลุ่มนักธุรกิจ คาดว่าจะเพิ่มสัดส่วนลูกค้ากลุ่มนักธุรกิจได้เป็น 3-5% ต่อเที่ยวบิน จากปัจจุบันสัดส่วนลูกค้ากลุ่มนี้อยู่ที่ 1-2% นอกจากนั้นยังรองรับกับผู้โดยสารที่เดินทางเป็นครอบครัว หรือเป็นหมู่คณะได้ดี

“เมื่อรวมบริการใหม่นี้แล้วทำให้ปัจจุบันเรามีบริการเสริมรวมทั้งสิ้น 4 รายการ สร้างรายได้ให้บริษัท 7-8% จากรายได้รวม ตั้งเป้าอีก 5 ปี รายได้จากบริการเสริมจะเพิ่มสัดส่วนเป็น 15% ของรายได้รวม และเพิ่มเป็น 25% ในอีก 10 ปีข้างหน้า ซึ่งเป็นสัดส่วนเท่ากับสายการบินใหญ่ๆในโลก และ บริการเสริมนี้จะทำให้เราสามารถปรับลดค่าตั๋วโดยสารได้ถูกลง เรียกลูกค้ามาใช้บริการได้เพิ่มขึ้น”

ปี51’ขาดทุนจากซื้อน้ำมันล่วงหน้า

ด้านผลประกอบการ ในปี 2551 ขนส่งผู้โดยสารทั้งปีได้รวม 4.2 ล้านคน ต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ว่าจะได้ 4.5 ล้านคน เพราะปัญหาการเมืองและการปิดสนามบิน แต่ปีนี้จากนโยบายการส่งเสริมการท่องเที่ยวของ ททท.และรัฐบาลรวมถึงภาคเอกชน ไทยแอร์เอเชียจึงตั้งเป้าว่าปีนี้จะขนส่งผู้โดยสารได้รวมทั้งปีที่ 5.1 ล้านคน เพิ่มขึ้นเกือบ 1 ล้านคนจากปีก่อน และมีรายได้รวมปีนี้อยู่ที่ 1 หมื่นล้านบาท เติบโตจากปีก่อนราว 10-15% ขณะที่ปีก่อน ยอมรับว่า ผลประกอบการขาดทุนซึ่งส่วนหนึ่งเป็นการขาดทุนจากการทำสัญญาซื้อน้ำมันล่วงหน้า(เฮดจิ้ง)

“ช่วงต้นปี 2551 ราคาน้ำมันปรับตัวสูงมาก เราจึงทำสัญญาซื้อล่วงหน้าเพื่อประกันความเสี่ยง แต่พอช่วงครึ่งปีหลัง ราคาน้ำมันลดลงเร็วมาก ทำให้เราขาดทุนตรงนี้เยอะ แต่ปีนี้เรายังไม่ทำสัญญาซื้อล่วงหน้า ต้องรอดูภาวะตลาด ซึ่งขณะนี้ต้นทุนค่าเชื้อเพลิงของธุรกิจอยู่ที่สัดส่วน 25-30%ของต้นทุนทั้งหมด ลดลงจากช่วงที่ราคาน้ำมันแพงทำให้ต้นทุนค่าเชื้อเพลิงพุ่งขึ้นไปแตะที่เกือบ 60%”

แผนธุรกิจปีนี้จะขยายเส้นทางบินตามแผนเดิม โดยปีนี้จะส่งมอบเครื่องบินใหม่อีก 4 ลำ โดยลำแรกส่งมอบไปแล้วเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา ส่วนอีก 3 ลำจะทยอยส่งมอบช่วงกลางปี และปลายปี ทำให้สิ้นปีนี้ ไทยแอร์เอเชียจะมีฝูงบินรวม 19 ลำ จากปัจจุบันมี 16 ลำ และเมื่อได้เครื่องใหม่มา ไทยแอร์เอเชียก็จะขยายเส้นทางบินไปประเทศ อินเดีย และ จีน ประเทศละ 2-3 เส้นทาง ซึ่งการเพิ่มเส้นทางบินใหม่จะช่วยสร้างรายได้ให้เพิ่มขึ้น   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us