|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ความล้มเหลวโครงการอิลิท การ์ด เห็นได้ว่าเป็นนโยบายที่พลาดมาตั้งแต่คลอด ซึ่งไม่ต่างกับการวาดวิมานในอากาศ ที่คิดเพียงว่าประเทศไทยจะสามารถดูดเงินตราต่างประเทศถึง 1 ล้านล้านบาท หากบรรลุตามแผน 5 ปี โดยปราศจากแผนรองรับและคำนึงความเป็นไปได้
ทั้งนี้ เพราะโครงการบัตรอีลิท การ์ด เป็นโครงการที่เกิดขึ้นโดยรัฐบาลไทย มีการเปิดตัวอย่างเอิกเกริก อลังการ สมาชิกทั้งหลายต่างได้รับสิทธิประโยชน์กันอย่างเต็มที่ โดยเฉพาะในเรื่องของการใช้สปา สนามกอล์ฟ ฟรีตลอดชีพ รวมถึงยังสามารถโอนสมาชิกต่อให้กับลูกได้อีก
ยังไม่นับถึงสิทธิประโยชน์ การเดินทางเข้า-ออกประเทศโดยยกเว้นวีซ่าเป็นเวลา 5 ปี การอำนวยความสะดวกด้านการลงทุนให้กับสมาชิกที่มาทำธุรกรรมกับภาครัฐหรือเอกชน สิทธิถือครองที่ดินได้ 10 ไร่ ตรวจสุขภาพประจำปี 1 ครั้ง การใช้บริการสนามกอล์ฟ นวดสปา และสิทธิการเข้าเมืองในช่องทางพิเศษ พร้อมบริการรับ-ส่งจากสนามบินถึงที่พัก ทำให้ “มูลค่า” ของบัตรในมือสมาชิก “สูงค่า” มากขึ้น
รวมไปถึงเสียงสะท้อนที่ตามมาจากปัญหาการทุจริตในโครงการที่เริ่มต้นด้วยการอาศัยนโยบายต้องการเร่งเปิดตัว ดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างในหลายส่วนที่ขาดความรอบคอบ ไม่ว่าจะเป็นการโฆษณาบัตรอีลิทการ์ด ที่มีอดีตผู้ว่าการททท.ขณะนั้น ได้มอบหมายให้บริษัท ไทยเรฟพรีเซ็นเทชั่น จำกัด (บจก.) ซึ่งเป็นตัวแทนขายโฆษณาเครือข่ายทีวีดังระดับโลก อย่างซีเอ็นเอ็น ให้มาโฆษณาบัตรอีลิทการ์ดผ่านสื่อซีเอ็นเอ็น โดยที่ไม่มีสัญญาการจัดซื้อจัดจ้างอย่างเป็นทางการ จนทำให้ไม่สามารถจ่ายเงินให้ได้ และถูกบจก.ไทยเรฟวางบิลเรียกเก็บเงิน 200 ล้านบาทจากทีพีซี
ทีพีซี ยังถูกบริษัทตัวแทนโฆษณาชื่อดังอย่าง บจก.แมคแคน-แอริคสัน เวิลด์ กรุ๊ป ประเทศไทย ส่งจดหมายทวงหนี้ 10 ล้านบาทสำหรับค่าไอเดียออกแบบโลโกและบัตรอีลิทการ์ดที่ยังจ่ายไม่ครบ แต่มีการแอบนำผลงานที่แมคแคนเสนอไปจ้างบริษัทอื่น (บจก.แซสโซ ของสหรัฐอเมริกา(SASSO)) รับช่วงทำต่อ ซึ่ง Sasso กลับมีความเกี่ยวพันกับอดีตผู้ว่าการททท. เนื่องจากททท.ได้ว่าจ้างบริษัทดังกล่าวเป็นผู้ดำเนินการจัดงานบางกอกฟิล์ม และบริษัทนี้ยังถูกสอบจากสหรัฐฯถึงเรื่องการรับสินบนจากอดีตผู้ว่าการททท.จนได้รับงานบางกอกฟิล์มด้วย)
ปัญหาการทุจริตในเรื่องการแต่งตั้งตัวแทนขายบัตรอีลิทการ์ด ซึ่งเอเยนต์หลายราย ล้วนมีความเกี่ยวพันใกล้ชิดกับกลุ่มทุนการเมืองในยุคทักษิณ โดยเอเยนต์ดังกล่าวได้ค่าคอมมิสชัน 15% และเอเยนต์เหล่านี้ไม่ได้ถูกประเมินผลหรือถูกกำหนดเป้าหมายของยอดขายที่ชัดเจน หรือแม้กระทั่งการปรับระบบงานของเอเยนต์จากเดิมที่ตั้งตัวแทนการขายในรายประเทศ มาเป็นตัวแทนคุมการขายในระดับภูมิภาค กลุ่มเอเยนต์ที่ได้รับเป็นตัวแทนขายในระดับภูมิภาค เนื้อแท้ก็เป็นกลุ่มพวกเดียวกัน เพียงแต่เปลี่ยนหัวคนที่รับผิดชอบในแต่ละบริษัทเท่านั้น
ขณะที่ผลประกอบการในโครงการไทยแลนด์อีลิทการ์ด พบว่า มียอดขาดทุนทุกปีต่อเนื่อง โดยปี 2546 มีสมาชิก 139 ราย ขาดทุน 134 ล้านบาท, ปี 2547 มีสมาชิก 466 ราย ขาดทุนสะสม 384 ล้านบาท, ปี 2548 มีสมาชิก 251 ราย ขาดทุนสะสม 843 ล้านบาท
ทุกปัญหาที่เกิดขึ้นใน อีลิทการ์ด ถูกเชื่อมโยงมาสู่กระบวนการล่าสุดที่มีมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) จากนายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้สั่งการให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ไปศึกษาเพื่อหาแนวทางยกเลิกโครงการบัตรไทยแลนด์ อีลิทการ์ด ลง
ความเปลี่ยนแปลงของโครงการขายฝัน “อิลิทการ์ด”จะเกิดอะไรขึ้น?...นับจากนี้ต่อไป
เรื่องราวทั้งหมดจึงร้อนใจถึงคณะผู้บริหารและเอเย่นต์ขายบัตรสมาชิกในทันที ส่งผลให้บัตรสมาชิกอีลิทการ์ดหยุดชะงักลงทั้งหมด ขณะที่ผู้ให้บริการร่วม เช่น สปา สนามกอล์ฟ ก็มีการติดต่อเข้ามาเพื่อขอยกเลิกการร่วมให้บริการ เนื่องจากไม่มั่นใจว่าจะได้รับเงินค่าบริการ
ทางเลือกของบัตรเทวดาจึงต้องถูกกำหนดไว้ 3 แนวทางหลัก คือ 1.ปิดบริษัท ซึ่งจะต้องมีการสรุปผลการประเมินความเสียหาย ทั้งจากการขอซื้อบัตรคืนจากสมาชิก และกรณีที่สมาชิกฟ้องร้อง 2.การขายหุ้นของบริษัทให้ภาคเอกชนรับไปดำเนินการต่อ และ 3.ดำเนินงานต่อไป โดยไม่พึ่งพางบประมาณของรัฐ
ว่ากันว่าผู้บริหาร ทีพีซี รีบนำโครงการไปศึกษาถึงความเป็นไปได้ในการเดินหน้าต่อไปนั้น เป็นเพียงการ “ซื้อเวลา” ให้กับบัตรอีลิท การ์ด เท่านั้น
ที่ผ่านมาการบริหารงานของ อีลิท การ์ด นั้นเป็นเหมือน “องค์กรอิสระ” ที่ไม่มีหน่วยงานใดเข้าไปก้าวก่ายได้เลย ทั้งในเรื่องของแผนการตลาดและการใช้จ่ายเงิน แม้ว่าการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่ 100% ในทีพีซีก็ตาม แต่ดันมีสิทธิส่งตัวแทนเพียงคนเดียว เข้าไปนั่งในคณะกรรมการทีพีซี แต่ไม่มีสิทธิกำหนดทิศทางใดๆ ให้กับ ทีพีซี ด้วยซ้ำ
ขณะเดียวกัน “ก้างขวางคอ” ในโครงการนี้ที่ทำให้ไม่ถูกล้มได้ง่ายๆ ก็คือ การฟ้องร้องของสมาชิกบัตรอีลิท ที่มีอยู่กว่า 2,600 ราย หากมีการฟ้องร้องขึ้นจริงน่าจะส่งผลให้รัฐบาลไทยต้อง “คิดหนัก” กับการยกเลิกโครงการบัตรดังกล่าว
นับเป็นระเบิดเวลาลูกใหญ่ ที่ฝ่ายกฎหมายของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังคิดไม่ตกว่าหากยกเลิกบัตรสมาชิกอีลิท การ์ด แล้วจะ “ชดใช้-ชดเชย” ให้กับสมาชิกอย่างไร
ทั้งนี้ เพราะรัฐบาลไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่า สมาชิกบัตรแต่ละรายจะฟ้องร้องรัฐบาลไทยที่ทำให้สมาชิกบัตร “เสียหาย” เป็นจำนวนเท่าใด?... มีการคำนวณคร่าวๆ กันว่า หากแค่สมาชิกบัตรเรียกร้องค่าเสียหายเฉพาะค่าบัตรสมาชิก ประเทศไทยก็ต้องควักกระเป๋าจ่ายเป็นเงินเกือบ 3,000 ล้านบาท
ยังไม่นับรวมสมาชิกบัตรประเภท “หัวหมอ” ที่ต้องฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายในลักษณะ “เกินจริง” กับรัฐบาลไทย ในฐานะเป็นผู้ยกเลิกบัตรสมาชิก ซึ่งหากสมาชิกแต่ละรายฟ้องร้อง “ค่าเสียหาย” มากกว่านี้ ไม่มีใครสามารถประเมินความเสียหายได้ว่าจะมีจำนวนเท่าใด เพราะที่ผ่านมาเคยมีสมาชิกฟ้องร้องค่าเสียหายจากทีพีซีแล้วเป็นเงินกว่า 10 ล้านบาท กรณีเรื่องสิทธิประโยชน์ไม่ตรงกับที่โฆษณาไว้
เมื่อเป็นเช่นนั้น หากฝ่ายกฎหมายไม่สามารถหา “ทางลง” ในเรื่องของการฟ้องร้องนี้ได้ อีลิท การ์ด ก็ยังคงเดินหน้าต่อไป แต่จะไม่มีการขยายจำนวนสมาชิก เพื่อไม่ให้เกิดภาระที่มากขึ้น…แต่หากมี “ทางลง” เรื่องนี้เมื่อไรก็เชื่อได้ว่าบัตรเทวดา “อีลิท การ์ด” คงต้องถึงเวลาปิดตำนานทันที!!อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เช่นกัน
|
|
|
|
|