Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน16 กุมภาพันธ์ 2552
ธปท.ป้องแบงก์ปล่อยกู้ส่งออก             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารแห่งประเทศไทย

   
search resources

ธนาคารแห่งประเทศไทย
เกริก วณิกกุล
Loan




ธปท.รับยอดสินเชื่อคงค้างปี 51 มีบางภาคธุรกิจได้รับสินเชื่อลดลง แต่มั่นใจไม่มีธุรกิจใดถึงขั้นล้มหายตายจากเหมือนวิกฤตปี40 แจงแบงก์ไม่ได้จำกัดให้สินเชื่อธุรกิจภาคส่งออก ระบุคำสั่งซื้อสินค้าลดลง ทำให้ความต้องการขอสินเชื่อจากแบงก์ลดลงตาม ส่วนยอดสินเชื่อปี 51 แบงก์อนุมัติสินเชื่อให้ภาคธุรกิจเพิ่มขึ้น 1.32 ล้านล้านบาท คิดเป็น 21.20%

นายเกริก วณิกกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผยว่า ในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 51 ระบบธนาคารพาณิชย์ไทยมีอัตราการขยายตัวของสินเชื่อโดยรวม 11.8% ซึ่งยอมรับว่าเป็นเรื่องปกติที่บางธุรกิจที่ได้รับสินเชื่อลดลงบ้าง แต่ไม่ได้เกิดเฉพาะในยามวิกฤตการณ์การเงินโลกเท่านั้น อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าธุรกิจเหล่านั้นจะไม่เกิดปัญหาจนส่งผลให้ภาคธุรกิจต่างๆ ต้องล้มหายตายจากกันเหมือนช่วงวิกฤตปี 40 และไม่ได้ห่วงว่าสภาพแวดล้อมไม่ดีแล้วยิ่งส่งผลร้ายให้ภาคธุรกิจอยู่ไม่ได้

ส่วนที่หลายฝ่ายห่วงธุรกิจที่เชื่อมโยงกับภาคการส่งออกจะได้รับผลโดยตรงจากปัญหาต่างประเทศนั้น มองว่ายังไม่มีสัญญาณอะไรที่แสดงให้เห็นว่าธนาคารพาณิชย์ไม่ปล่อยสินเชื่อให้กลุ่มนี้ แต่กลับกันหากธุรกิจเหล่านี้ถูกยกเลิกคำสั่งซื้อสินค้า ทำให้ความต้องการขอสินเชื่อน้อยลงมากกว่า

รายงานข่าวจากธปท.แจ้งว่า สายนโยบายสถาบันการเงินได้ประกาศยอดคงค้างเงินให้สินเชื่อแยกตามประเภทธุรกิจของธนาคารพาณิชย์ทั้งระบบล่าสุดในเดือนธ.ค.หรือไตรมาสที่ 4 ของปี 51 พบว่า ในระบบธนาคารพาณิชย์มียอดคงค้างสินเชื่อทั้งสิ้น 7. 55 ล้านล้านบาท เทียบกับไตรมาส 3 ของปี 51เพิ่มขึ้น 3.87 แสนล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 5.40% และเมื่อเทียบกับธ.ค.50 เพิ่มขึ้น 1.32 ล้านล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 21.20%

ทั้งนี้ ธนาคารพาณิชย์ได้ให้สินเชื่อแก่ธุรกิจตัวกลางทางการเงินมากที่สุดในระบบถึง 112.81% เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อน 7.64 แสนล้านบาท ซึ่งเป็นธุรกิจที่มีเม็ดเงินที่ธนาคารพาณิชย์ในระบบให้สินเชื่อมากที่สุดด้วย รองลงมาเป็นธุรกิจการทำเหมือนแร่และถ่านหิน 109.54% เพิ่มขึ้น 2.06 หมื่นล้านบาท และธุรกิจที่เกี่ยวกับการบริหารราชการ และการป้องกันประเทศ รวมทั้งการประกันสังคมภาคบังคับ 47.19% เพิ่มขึ้น 3.15 หมื่นล้านบาท

อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาเป็นรายธุรกิจเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน พบว่า ธุรกิจใน 6 ประเภท จาก 18 ประเภทขนาดใหญ่ ธนาคารพาณิชย์ในระบบมีสัดส่วนการให้สินเชื่อลดลง ได้แก่ ธุรกิจลูกจ้างในครัวเรือนส่วนบุคคลลดลงมากที่สุดถึง 82.61% หรือมียอดลดลง 133 ล้านบาท จากยอดคงค้างปัจจุบันอยู่ที่ 28 ล้านบาท และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 161 ล้านบาท รองลงมาเป็นธุรกิจองค์การระหว่างประเทศ และองค์การต่างประเทศอื่นๆ และสมาชิกลดลง 26.58% วงเงินลดลง 21 ล้านบาท ซึ่งสิ้นปี 51 มียอดคงค้างขอสินเชื่อรวมทั้งสิ้น 58 ล้านบาท เทียบกับช่วงเดียวกันกับปีก่อนหน้าที่มียอดคงค้าง 79 ล้านบาท

ธุรกิจการบริการด้านสุขภาพ และงานสังคมสงเคราะห์มีสัดส่วนการขอสินเชื่อลดลง 9.23% ลดลงมูลค่า 3.47 พันล้านบาท จากยอดคงค้างของปัจจุบัน 3.41 หมื่นล้านบาท ธุรกิจเกษตรกรรม การล่าสัตว์ และการป่าไม้ 8.73% หรือมียอดเงินลดลง 7.62 พันล้านบาท ซึ่งมีปริมาณเงินลดลงมากที่สุดในระบบ จากยอดคงค้างที่มีอยู่ 7.97 หมื่นล้านบาท เทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน 8.73 หมื่นล้านบาท

นอกจากนี้ ธุรกิจการประมงลดลง 6.26% คิดเป็นมูลค่า 908 ล้านบาท จากยอดคงค้างที่มีอยู่ 1.36 หมื่นล้านบาท ขณะที่ช่วงเดียวกันปีก่อน 1.45 หมื่นล้านบาท และธุรกิจการขายส่ง การขายปลีก และซ่อมแซมยานยนต์ จักรยานยนต์ ของใช้ส่วนบุคคลและของใช้ในครัวเรือน 0.20% หรือลดลง 458 ล้านบาท จากยอดคงค้างที่มีอยู่ 2.26 แสนล้านบาท

ทั้งนี้ เฉพาะธุรกิจอุปโภคบริโภคส่วนบุคคลที่เป็นภาคธุรกิจที่มีขนาดใหญ่ ซึ่งปัจจุบันธนาคารพาณิชย์ได้ให้สินเชื่อและมียอดคงค้างทั้งสิ้น 1.61 ล้านล้านบาท เทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนที่มีอยู่ 1.41 ล้านล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นเกือบ 2 แสนล้านบาท หรือคิดเป็น 14.13% และเมื่อพิจารณารายสาขาในธุรกิจกลุ่มนี้ พบว่า ธุรกิจการเดินทางไปต่างประเทศเพื่อการทำงานมีสัดส่วนลดลงมากที่สุดในระบบถึง 38.09% รองลงมาเป็นการซื้ออสังหาริมทรัพย์เพื่อการอื่นๆ ลดลง 26.88% ธุรกิจการศึกษาลดลง 4.29% ธุรกิจซื้อที่ดินลดลง 1.73% ซึ่งทั้งการซื้อที่ดินเปล่า ซื้อที่ดินเปล่า เพื่อเพื่อสร้างสิ่งปลูกสร้างอื่นๆ และสร้างบ้าน ต่างลดลงแถบทั้งสิ้น 7.86% สัดส่วน 4.23% และ 0.62% ตามลำดับ   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us