Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน16 กุมภาพันธ์ 2552
โบรกเกอร์Q4ขาดทุนอ่วม             
 


   
search resources

Funds




โบรกเกอร์ขาดทุนไตรมาส 4/51 รวม 1.25 พันล้านบาท เหตุตั้งสำรองสำรองเผื่อหนี้สูญ-ขาดทุนพอร์ตถึง 2.11 พันล้านบาท กำไรรวมปี 51 เพียง 2.45 พันล้านบาท ลดลงจากปีก่อน 63% ทุบสถิติต่ำสุดในรอบ 5 ปี หลังต้องตั้งสำรองเผื่อหนี้สูญ-ขาดทุนพอร์ต สูงถึง 2.43 พันล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 12% จากปกติที่ไม่ถึง 1% โดยได้รับผลพวงจากภาวะตลาดหุ้นซบเซา พร้อมคาดการณ์ปีนี้ภาวะตลาดหุ้นยังซบเซา กระทบหนักบล.ที่มีฐานลูกค้ากระทบจากฝรั่งลดสัดส่วนการลงทุน แนะเก็งกำไรบล.กิมเอ็ง จากมีจุดคุ้มทุนวอลุ่มเฉลี่ยต่อวันเพียง 5-6 พันล้านบาท

ปัญหาสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ด้อยคุณภาพ (ซับไพรม์) ที่ก่อให้เกิดวิกฤตสถาบันการเงินสหรัฐฯ และลุกลามสู่หลายๆ ประเทศทั่วโลก ได้ส่งต่อระบบสถาบันการเงินและทำให้สภาพคล่องการเงินตรึงตัว จนนักลงทุนต้องเทขายเงินลงทุนที่กระจายอยู่ทั่วโลก เพื่อนำเงินกลับประเทศไว้เสริมสภาพคล่อง ส่งผลให้ตลาดหุ้นทั่วโลก รวมถึงตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศต่างปรับตัวลดลงอย่างรุนแรงและถ้วนหน้า

จากปัญหาดังกล่าว ได้ส่งผลกระทบต่อผลการดำเนินงานบริษัทหลักทรัพย์ โดย ASTV ผู้จัดการรายวัน ได้รวบรวมข้อมูลผลประกอบการของบริษัทหลักทรัพย์ทั้ง 43 แห่ง (ที่เป็นสมาชิกสมาคมบริษัทหลักทรัพย์) ประจำงวดไตรมาส 4 สิ้นสุด ณ 31 ธันวาคม 2551 พบว่า บริษัทหลักทรัพย์มีผลขาดทุนรวมถึง 1,257 ล้านบาท ซึ่งเป็นผลจากตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญและการตั้งสำรองเงินด้อยค่าจาการลงทุน 2,119 ล้านบาท

ขณะที่ผลการดำเนินงานรวมปี 2551 มีกำไรสุทธิรวม 2,456 ล้านบาท ลดลงจากงวดเดียวกันของปีก่อนถึง 63% ที่กำไรสุทธิ 6,568 ล้านบาท นับเป็นกำไรสุทธิที่ต่ำมากเมื่อเทียบกับกำไรเฉลี่ยของกลุ่มบริษัทหลักทรัพย์ที่ปกติอยู่ที่ประมาณปีละ 4-6 พันล้านบาท

โดยสาเหตุที่ทำให้ผลการดำเนินงานธุรกิจหลักทรัพย์ในปี 2551 ปรับตัวลดลง เกิดจากการตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญและการตั้งเงินด้อยค่าจากการลงทุนจำนวนมากถึง 2,432 ล้านบาท หรือคิดเป็น 12% ของค่าใช้จ่ายทั้งหมด จากปกติที่มีไม่ถึง 1% ซึ่งเป็นสาเหตุให้บล.ส่วนใหญ่ขาดทุนโดยเป็นผลกระทบกับจากภาวะตลาดที่ผันผวนมากในช่วงเดือนตุลาคม 2551

สำหรับผลการดำเนินงานของบริษัทหลักทรัพย์ที่ผ่านมา ตั้งแต่ปี 2546 – 2550 มีกำไรสุทธิรวม 9,985 ล้านบาท, 4,072 ล้านบาท, 5,391 ล้านบาท , 5,247 ล้านบาท และกำไรสุทธิ 6,568 ล้านบาท ตามลำดับ

บทวิเคราะห์จากบริษัทหลักทรัพย์ ทรีนิตี้ จำกัด ประเมินแนวโน้มผลประกอบการกลุ่มธุรกิจหลักทรัพย์ในปี 2552 ว่า บริษัทหลักทรัพย์ยังคงมีความเสี่ยงจากภาวะเศรษฐกิจโลกหดตัว ทำให้ความเชื่อมั่นนักลงทุนลดลงอย่างต่อเนื่อง และเป็นปัจจัยหลังที่จะกดดันภาวะตลาดหลักทรัพย์ฯ ยังคงซบเซา เนื่องจากธุรกิจหลักทรัพย์ยังมีรายได้หลักจากค่าธรรมเนียมจากการซื้อขายหลักทรัพย์

สำหรับโครงสร้างรายได้ของบริษัทหลักทรัพย์ คาดว่าจะยังมีสัดส่วนรายได้หลักจากค่าธรรมเนียมจากการซื้อขายหลักทรัพย์ถึง 70% และรายได้ค่าธรรมเนียมวาณิชธนกิจประมาณ 7% ซึ่งจะแปรผันตามภาวะการแข่งขันและมูลค่าการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ

“เราคาดการณ์ผลประกอบการของกลุ่มหลักทรัพย์ ในปี 2552 จะมีกำไรสุทธิลดลงประมาณ 12.6% ดังนั้นจึงแนะนำการลงทุนโดยให้น้ำหนักการลงทุนน้อยกว่าตลาด (Underweight) สำหรับกลุ่มธุรกิจหลักทรัพย์”

ส่วนนักลงทุนต่างประเทศที่ทยอยลดสัดส่วนการลงทุนในตลาดหุ้นไทยเหลือเพียง 20% ในสิ้นปีที่ผ่านมา ซึ่งลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 3/51 ที่มีสัดส่วนถึง 31% และจากแนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวนั้นทำให้มีแนวโน้มว่าสัดส่วนนักลงทุนต่างชาติจะลดลงอย่างต่อเนื่องนั้น จะส่งผลกระทบต่อบริษัทหลักทรัพย์ที่มีสัดส่วนนักลงทุนต่างชาติเป็นกลุ่มลูกค้าหลัก อาทิ บล.ภัทร ที่มีสัดส่วนลูกค้าต่างประเทศสูงถึง 56% ขณะที่บล.ที่จะได้ประโยชน์ คือ บล.ที่มีลูกค้าหลักคือ กลุ่มลูกค้ารายย่อยมากกว่า 80% ได้ แก่ บล.กิมเอ็ง (ประเทศไทย) บล.เอเชีย บล.บีฟิท และบล.ซีมิโก้ ซึ่งมีส่วนแบ่งการตลาดเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนตั้งแต่ในไตรมาส 3/51 ถึงปัจจุบัน

พร้อมกันนี้ บล.ทรีนีตี้ ได้ประเมินว่า ในปี 2552 นี้ มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันจะอยู่ที่ 12,000 ล้านบาท ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อรายได้ค่าธรรมเนียมจากการซื้อขายหลักทรัพย์ของบริษัทหลักทรัพย์โดยตรง แม้แนวโน้มค่าใช้จ่ายต่างๆ จะลดลง เพราะบล.ต่างพยายามลดต้นทุนในส่วนพนักงานที่คิดเป็นสัดส่วนที่สูงถึง 70% ของค่าใช้จ่ายทั้งหมด การตั้งค่าเผื่อหนี้ฯและการขาดทุนจากการลงทุนจะลดลง เนื่องจาก บล.แต่ละแห่งได้พยายามปรับแผนบริหารความเสี่ยงทั้งด้านลูกหนี้ และการลงทุนให้รัดกุมมากขึ้นโดยพยายามลดยอดสินเชื่อจากเดิมที่คิดเป็นประมาณ 31% ในปี 2550 เหลือเพียง 20% ในปี 2551 เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงจากภาวะตลาดที่ยังมีแนวโน้มผันผวนจากวิกฤตโลก

ด้านกลยุทธ์การลงทุนในหุ้นกลุ่มธุรกิจหลักทรัพย์นั้น นักลงทุนที่ต้องการเก็งกำไรระยะสั้นในช่วงตลาดหุ้นปรับตัวเพิ่มขึ้นช่วงเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม 52 แนะนำให้เข้าเก็งกำไร บล.กิมเอ็งฯ ที่จะได้รับประโยชน์ในช่วงที่นักลงทุนรายย่อยในประเทศมีบทบาทมากขึ้น และนักลงทุนต่างชาติมีบทบาทน้อยลง มีส่วนแบ่งการตลาดเป็นอันดับ 1 และเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ทั้งในตลาดหุ้น และตลาดอนุพันธ์ และมีจุดคุ้มทุนของมูลค่าการซื้อขายต่ำที่สุด หรือสามารถมีจุดคุ้มทุนได้หากมูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันอยู่ที่ระดับ 5-6 พันล้านบาท บวกกับมีการบริหารความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพ เพราะในช่วงที่ตลาดผันผวน มีการตั้งสำรองหนี้สูญฯยังอยู่ในระดับปกติ

ขณะที่ บล.บัวหลวง บล.ภัทร บล.เอเซียพลัส จะสามารถคุ้มทุนให้หากตลาดมีมูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันอยุ่ที่ระดับ 7-8 พันล้านบาท ส่วนบล.ซีมิโก้ และบล.บีฟิทมีจุดคุ้มทุนที่มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยอยู่ที่ 1-1.1 หมื่นล้านบาท อย่างไรก็ตาม การลงทุนในหุ้นหลักทรัพย์ยังคงมีความเสี่ยงสูงท่ามกลางสภาวะตลาดที่มีความผันผวน นักลงทุนควรระมัดระวังในการลงทุน   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us