Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน16 กุมภาพันธ์ 2552
ชำแหละหนี้เสียแบงก์พุ่ง! บัตรเครดิตค้างเพิ่มหมื่นล.             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารแห่งประเทศไทย

   
search resources

ธนาคารแห่งประเทศไทย
Loan




ชำแหละเอ็นพีแอลแบงก์พาณิชย์ ส่วนใหญ่ยอดพุ่ง โดยเฉพาะแบงก์เล็กถึงกลาง "สแตนดาร์ดชาร์เตอร์" แชมป์ ยอดเพิ่มขึ้น 100% ธนาคารนครหลวงไทยมูลหนี้เพิ่มขึ้น 4 พันล้าน ขณะที่ยูโอบีไม่น้อยหน้าหนี้พุ่ง 16.33% เฉพาะยอดรวมบัตรเครดิตสินเชื่อคงค้างเพิ่มขึ้นเกือบหมื่นล้านหรือ 5.55%

จากข้อมูลไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ที่สายนโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผย พบว่าปริมาณเอ็นพีแอลในระบบธนาคารพาณิชย์ไทยลดลง 20,437 ล้านบาท หรือลดลง 8.59% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งปัจจุบันในสิ้นเดือนธ.ค. หรือไตรมาสที่ 4 ของปีนี้ที่มียอดคงค้างทั้งสิ้น 217,561 ล้านบาท การลดลงของยอดรวมเกิดขึ้นจากธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่บางรายยอดลดลงดึงยอดเอ็นพีแอลโดยรวมลดลงตาม

แต่หากพิจารณาไส้ในระบบธนาคารพาณิชย์ไทย พบว่า ธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่มียอดเอ็นพีแอลเพิ่มขึ้นโดยธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) เพิ่มขึ้น 100.75% หรือคิดเป็นเงินที่เพิ่มขึ้น 135 ล้านบาท จากยอดคงค้าง 269 ล้านบาท เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือสิ้นปี 50 ที่มียอดคงค้างแค่ 134 ล้านบาท รองลงมาธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ เพื่อรายย่อย 86.59% เพิ่มขึ้น 226 ล้านบาท จากยอดคงค้างปัจจุบัน 487 ล้านบาท ธนาคารนครหลวงไทยเพิ่มขึ้น 54.65% คิดเป็นเงิน 4,352 ล้านบาท ถือมีปริมาณเอ็นพีแอลเพิ่มขึ้นมากที่สุดในระบบด้วย และปัจจุบันมียอดคงค้าง 12,315 ล้านบาท

ธนาคารไทยธนาคารเพิ่มขึ้น 52.56% หรือเพิ่มขึ้น 1,870 ล้านบาท ยอดคงค้างที่มีอยู่ 5,428 ล้านบาท ทิสโก้เพิ่มขึ้น 31.79% หรือคิดเป็นเงิน 399 ล้านบาท จากยอดคงค้างในปัจจุบัน 1,654 ล้านบาท ยูโอบีเพิ่มขึ้น 16.33% หรือมูลค่า 554 ล้านบาท ยอดคงค้าง 3,947 ล้านบาท สินเอเซีย 12.57% หรือเพิ่มขึ้น 186 ล้านบาท จากยอดคงค้าง 1,666 ล้านบาท ส่วนไทยเครดิต เพื่อรายย่อยเพิ่มขึ้น 10% หรือคิดเป็น 6 ล้านบาท จากสิ้นปี 51 ที่มียอดคงค้างอยู่ 66 ล้านบาท ธนาคารเมกะ สากลพาณิชย์เพิ่มขึ้น 9.29% หรือเพิ่มขึ้น 21 ล้านบาท ที่มียอดคงค้าง 247 ล้านบาท และธนาคารไทยพาณิชย์เพิ่มขึ้น 5.96% เพิ่มขึ้น 1,334 ล้านบาท จากยอดคงค้างในปัจจุบัน 23,735 ล้านบาท

"กรุงศรีฯ-กสิกรฯ-กรุงไทย" ลด

ขณะที่ธนาคารพาณิชย์ที่มีปริมาณเอ็นพีแอลลดลงมากที่สุด คือ ธนาคารกรุงศรีอยุธยาลดลง 27.44% หรือลดลง 8,257 ล้านบาท จากยอดคงค้าง ณ สิ้นปี 51 อยู่ที่ 21,838 ล้านบาท รองลงมาเป็นธนาคารเกียรตินาคินในสัดส่วน 25.27% หรือเป็นเงินลดลง 1,471 ล้านบาท กสิกรไทยลดลง 13.85% ลดลง 2,185 ล้านบาท จากยอดคงค้าง 13,591 ล้านบาท กรุงไทย 13.01% คิดเป็นเงินที่ลดลง 8,780 ล้านบาท ซึ่งมีจำนวนเงินเอ็นพีแอลลดลงมากที่สุดในระบบ จากปัจจุบันมียอดคงค้าง 58,712 ล้านบาท ธนาคารทหารไทยลดลง 12.63% หรือคิดเป็น 4,577 ล้านบาท ยอดคงค้าง 31,654 ล้านบาท ธนาคารกรุงเทพลดลง 10.18% คิดเป็นเงิน 3,501 ล้านบาท จากยอดคงค้างที่มีอยู่ 30,890 ล้านบาท และธนาคารเอไอจี เพื่อรายย่อยมีหนี้ลดลง 4.35% หรือลดลง 6 ล้านบาท จากยอดคงค้างที่มีอยู่ 132 ล้านบาท

หนี้บัตรเครดิตน่าเป็นห่วง

หากเข้าไปดูเฉพาะธุรกิจบัตรเครดิตล่าสุดสิ้นปี 51 พบว่า ในระบบสถาบันการเงินมียอดคงค้างสินเชื่อบัตรเครดิตมีทั้งสิ้น 1.89 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากสิ้นปี50 จำนวน 9.95 พันล้านบาท คิดเป็น 5.55% โดยเป็นการเพิ่มขึ้นของธนาคารพาณิชย์ไทย 7.78 พันล้านบาท และนอนแบงก์ 3.60 พันล้านบาท ส่วนปริมาณบัตรเครดิตเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อน 9.84 แสนล้านใบ คิดเป็น 8.20%

ขณะที่ยอดเอ็นพีแอลในธุรกิจบัตรเครดิตที่มีทั้งสิ้น 5.19 พันล้านบาท ลดลง 659 ล้านบาท คิดเป็น 11.26% ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากผู้ประกอบการต้องการตัดภาระหนี้เสียออกจากบัญชีทันทีแล้วส่งผ่านไปให้ฝ่ายติดตามหนี้ดำเนินการต่อ ซึ่งจะเป็นการติดตามทวงถาม หรือปรับโครงสร้างหนี้ตามแต่กรณี เพื่อไม่ให้เห็นตัวเลขหนี้เสียค้างอยู่จำนวนมาก และการติดตามทวงหนี้ที่เข้มข้นและรวดเร็ว จะทำให้มีโอกาสได้รับหนี้คืนมากขึ้น

"ถ้าพิจารณาจากยอดการใช้จ่าย พบว่า ในส่วนของการเบิกเงินสดล่วงหน้า ถือเป็นการจับจ่ายใช้สอยล่วงหน้าแล้วค่อยผ่อนคืนภายหลังก็มียอดใช้เพิ่มขึ้น 501 ล้านบาท คิดเป็น 2.66% ซึ่งมีเพียงธนาคารพาณิชย์มียอดลดลง 56 ล้านบาท ขณะที่นอนแบงก์และสาขาธนาคารต่างชาติ เพิ่มขึ้นไม่มากนัก คือ 507 ล้านบาท และ 50 ล้านบาท ตามลำดับ"

เช่นเดียวกับสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับดูแลของ ธปท.มียอดสินเชื่อคงค้างทั้งสิ้น 2.29 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีก่อน 1.73 หมื่นล้านบาท คิดเป็น 8.18% ซึ่งธนาคารพาณิชย์ไทยเพิ่มขึ้นมากสุดในระบบ 1.69 หมื่นล้านบาท และนอนแบงก์เพิ่มขึ้น 2 พันล้านบาท ในขณะที่เอ็นพีแอลในกลุ่มนี้ลดลง 992 ล้านบาท หรือลดลง 10.73% จากยอดคงค้างเอ็นพีแอลที่มี 8.25 พันล้านบาท

เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีแสดงความเป็นห่วงหนี้เสียในระบบสถาบันการเงินโดยเฉพาะหนี้บัตรเครดิตในธนาคารพาณิย์ขนาดเล็ก นายกฯ ได้กำชับให้นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง และนายอำพน กิตติอำพน เลขาฯ สภาพัฒน์ ไปติดตามปัญหาดังกล่าวก่อนนำเข้าที่ประชุม ครม.เพื่อหาทางแก้ไขต่อไป   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us