Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มกราคม 2531








 
นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2531
"ผู้สนใจจะไปเรียนต่อสหรัฐฯ ต้องอ่านตรงนี้"             
 


   
search resources

Education
United States




เคยมีคนเอ่ยอ้างว่า "อเมริกาเป็นดินแดนแห่งเสรีภาพที่ยิ่งใหญ่ไร้ชนชั้นไม่มีผู้ดีหรือไพร่ เพราะทุกคนมีความเป็นประชาธิปไตยเท่าเทียมกัน…" แต่ความจริงหาเป็นเช่นดังกล่าวไม่ อเมริกันทุกวันนี้มีการกำหนดชนชั้นใหม่ด้วย "ตัวอักษรย่อ" J.D., M.D. M.B.A. หรือ Ph.D ต่อท้ายนามสกุล บทบาทของมันในปัจจุบันกลายเป็นเครื่องหมายบ่งชี้ถึงความแตกต่างของระดับการศึกษา ฐานะทางสังคมและโอกาสทางเศรษฐกิจของคนด้วย

เมื่อไม่นานมานี้ คนอเมริกันเริ่มเห่อกับบทบาทของ "เจ้าตัวอักษรย่อ" ข้างต้นจากการจุดพลุของ ROBERT SOLOW แห่งสถาบัน MASSACHUSETS INSTITUTE OF TECHNOLOGY ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ ซึ่งได้ชี้ให้เห็นทฤษฎีที่ว่า ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศมีความผูกพันอย่างใกล้ชิดกับผลลัพธ์ทางการศึกษา และเทคโนโลยีมากกว่าสะสมทางด้านเงินลงทุนเพียงอย่างเดียว และถ้าจะมีการลงบัญชีกันก็ต้องถือว่าการศึกษาจัดเป็นการลงทุน ไม่ใช่เป็นค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด

ด้วยเหตุนี้เอง US. NEWS&WORLD REPORT นิตยสารชั้นนำของสหรัฐฯ จึงสำรวจความคิดเห็นจากสถาบันการศึกษาระดับวิทยาลัยจำนวน 1,300 แห่ง เพื่อค้นหา 10 อันดับยอดเยี่ยมของสถาบันดีเด่นในสาขาวิชาต่าง ๆ ดังนี้ แพทยศาสตร์, บริหารธุรกิจ, วิศวกรรมศาสตร์ และกฎหมาย โดยตัดสินจากคุณภาพของสถาบัน, หลักสูตรการเรียนการสอนที่ฉมัง, ความรู้ความสามารถของผู้เรียนที่จบออกมาประกอบอาชีพได้จริง ๆ และสถานภาพของผู้เรียนจบที่สร้างสรรค์อาชีพส่วนตัวและต่อสังคมส่วนรวมด้วย

ผลสำรวจครั้งนี้จะใกล้เคียงความเป็นจริงหรือไม่นั้น พิจารณาได้จากสัดส่วนและจำนวนสถาบันการศึกษาที่ถูกเลือกให้ตอบแบบสอบถามกับคำตอบที่ได้รับกลับคืนมา จากจำนวน 241 มหาวิทยาลัยทางวิศวกรรมมีคำตอบที่สมบูรณ์ส่งคืนกลับมามากถึง 2 ใน 3 และมหาวิทยาลัยที่สอนทางบริหารธุรกิจก็จำนวน 608 แห่งก็ส่งคำตอบคืนมากว่า 50% และมหาวิทยาลัยที่สอนทางกฎหมายจำนวน 183 แห่งที่ส่งคำตอบมาให้ แต่สถาบันการศึกษาทางการแพทย์ที่ส่งคำตอบมาเพียง 32% จากจำนวนทั้งหมด 144 แห่ง

อย่างไรก็ตามผู้สำรวจได้ออกตัวก่อนแล้วว่าบัณฑิตวิทยาลัยที่ดี ๆ ในสหรัฐฯ นั้น มิได้จำกัดแต่รายชื่อที่ปรากฏในบทความนี้เท่านั้น

ในความสนใจของนักศึกษาในสหรัฐฯ ในเรื่องการศึกษาต่อหลังจากจบปริญญาตรีนั้นมีอยู่มากว่าทศวรรษที่แล้ว มีจำนวนเกือบ 23% ของจำนวนนักศึกษาทั้งหมดที่คิดเรียนต่อ และส่วนใหญ่สนใจจะเรียนต่อด้านบริหารธุรกิจและวิศวกรรมกันมาก ในขณะที่ผู้สนใจเรียนต่อด้านกฎหมายและแพทย์ลดน้อยลงไป

ปัจจุบันผู้คนพากันหลงใหลได้ปลื้มกับเงินเดือนรายได้เลขหกหลักหลังจากจบปริญญาโทบริหารธุรกิจ จนทำให้เกิดสถาบันการศึกษาด้านนี้เพิ่มขึ้น และบางแห่งพยายามเปิดหลักสูตรการเรียนการสอนขึ้นทั้ง ๆ ที่ไม่พร้อม จนเกิดคำครหาว่าเปิดขึ้นมาเพื่อเก็งกำไรเพียงอย่างเดียว ในขณะที่ความนิยมเรียนวิศวกรรมศาสตร์กำลังบูม ได้มีการสำรวจพบว่าส่วนใหญ่จะเป็นชาวต่างชาติ จากตัวเลขในปี 1986 มีนักศึกษาชาวต่างชาติจำนวนถึงหนึ่งในสามหรือ 43,000 คน ของผู้เรียนแบบเต็มเวลาและเกือบครึ่งหนึ่งของจำนวนนี้กำลังทำปริญญาเอกอยู่

ทางด้านมหาวิทยาลัยที่สอนกฎหมาย และการแพทย์ ซึ่งครั้งหนึ่งเคยรุ่งและเป็นที่นิยมเรียนกัน ปรากฏว่าเมื่อฤดูใบไม้ผลิที่ผ่านมา สถิติจำนวนนักศึกษาที่จบแพทย์เพียง 15,830 คนจากสถาบัน 127 แห่ง ซึ่งลดลงจากปี 1984 ถึง 3% สมาคมวิทยาลัยทางการแพทย์แห่งสหรัฐฯ (THE ASSOCIATION OF AMERICAN MEDICAL COLLEGES) ได้คาดการณ์ว่า ในปีนี้จะมีคนสมัครเรียนหมอลดลงประมาณ 2% จากจำนวน 68,000 คนในปี 1986 ซึ่งมีผลให้การแข่งขันที่เดิม 2-3 คนต่อ 1 ที่เรียนที่เป็นมาตลอด 20 ปีต้องเปลี่ยนไปเหลือเพียง 1.8 คนต่อ 1 ที่นั่งเรียนเท่านั้นในปี 1987

และปรากฏการณ์เช่นเดียวกันนี้ก็เกิดกับมหาวิทยาลัยที่สอนนิติศาสตร์ ยอดผู้สมัครเรียนตกลงมาเหลือเพียง 40,195 คนในปีที่แล้ว ซึ่งลดลงถึง 6% จากปี 1982 "เป็นเรื่องง่ายที่จะเข้าศึกษาในโรงเรียนสอนกฎหมายในปัจจุบันนี้ เมื่อเทียบกับ 5-10 ปีที่แล้ว" เป็นคำพูดเรียบ ๆ ที่ THE LAW SCHOOL ADMISSION COUNCIL กล่าวไว้ในนิตยสารฉบับล่าสุดที่ชื่อ THE OFFICIAL GUIDE TO U.S. LAW SCHOOLS

อย่างไรก็ตาม การศึกษาต่อในระดับสูงนี้ทำให้หลายคนท้อใจได้ง่ายเหมือนกัน เพราะอัตราค่าเล่าเรียนของสถาบันเอกชนบางแห่งสูงลิ่วปีละประมาณ 300,000 บาทหรือกว่า 12,000 ดอลลาร์/ปี ยิ่งถ้าเรียนแพทย์ 4 ปีก็ทำให้บัณฑิตทั้งหลายเป็นหนี้สินถึง 750,000 บาทหรือคิดเป็นเงินดอลลาร์ก็ประมาณ 30,000 ดอลลาร์

ถึงกระนั้นก็ตาม รายได้ของวิศวกร, นักกฎหมาย, แพทย์และผู้บริหารธุรกิจก็ยังอยู่ระดับสูงที่สุด และเป็นอาชีพที่คนนับหน้าถือตามากที่สุดในอเมริกา ตัวเลขจากสถิติบอกว่า ในปี 1986 บรรดาวิศวกรทำเงินได้โดยเฉลี่ยปีละ 887,500 บาท หรือ 35,500 ดอลลาร์ ในขณะที่คุณหมอทั้งหลายที่ทำกิจการส่วนตัวมีรายได้สุทธิถึงปีละ 2,830,000 บาท หรือ 113,200 ดอลลาร์เมื่อปี 1985 เมื่อเทียบกับพนักงานบริษัททั่วไปซึ่งมีรายได้ปีละแค่ 465,000 บาท หรือ 18,600 ดอลลาร์เท่านั้น

สหรัฐอเมริกาทุกวันนี้ดูห่างไกลจากคนรุ่นเก่าที่บรรดาแพทย์จะได้รับผลตอบแทนต่ำกว่านี้ หรือทนายความต้องทำงานเป็นทนายฝึกหัดให้ช่ำชองก่อนจะบินสูง เพราะทุกวันนี้จดหมายแนะนำตัวเข้ามามีบทบาทสำคัญ และ "เจ้าตัวอักษรย่อ" ที่ต่อท้ายนามสกุลก็ยังศักดิ์สิทธิ์ในวิธีการที่มีประสิทธิภาพ และกระชับที่สุดที่จะแนะนำให้คนอื่นรู้ว่าบุคคลผู้นี้ได้รับการยกย่องจากเพื่อนฝูงและสังคมแค่ไหน

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us