Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน12 กุมภาพันธ์ 2552
ครม.ศก.อัดฉีดหมื่นล้าน! ดัน2แบงก์ปล่อยกู้หนุนส่งออก-SMEเพิ่ม             
 


   
www resources

โฮมเพจ กระทรวงการคลัง

   
search resources

กระทรวงการคลัง
Economics




ครม.เศรษฐกิจไฟเขียว อนุมัติวงเงินหมื่นล้านบาท ให้ "ธสน.-บสย." ประกอบด้วยเงินเพิ่มทุนรวม 8 พันล้าน อีก 2 พันล้าน เป็นวงเงินชดเชยความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นตามนโยบายรัฐ รมว.คลังหวังผล 2 แบงก์ช่วยขยายวงเงินค้ำประกัน-ปล่อยสินเชื่อเพิ่มมากกว่าแสนล้าน

นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการรัฐมนตรีเศรษฐกิจ (ครม.เศรษฐกิจ) วานนี้ (11 ก.พ.) อนุมัติการเพิ่มทุนให้ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) วงเงิน 5,000 ล้านบาท ตามมาตรการลดความเสี่ยงและขยายการค้ำประกันผู้ส่งออก โดยเชื่อว่าจะทำให้ ธสน. ขยายการค้ำประกันการส่งออก ได้เพิ่มขึ้น 100,000-150,000 ล้านบาท ในเวลา 3 ปี โดยมอบหมายให้กระทรวงการคลังจัดหาแหล่งเงินการเพิ่มทุนให้เหมาะสมกับ ธสน.ต่อไป

ขณะเดียวกัน ได้อนุมัติการเพิ่มทุนให้บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) จำนวน 3,000 ล้านบาท เพื่อให้ บสย. ขยายวงเงินค้ำประกันสินเชื่อผู้ประกอบการ SMEs ได้ 30,000 ล้านบาท และจะทำให้ บสย.ขยายสินเชื่อ ได้ไม่ต่ำกว่า 60,000-100,000 ล้านบาท โดยมอบหมายให้กระทรวงคลังจัดหาแหล่งเงินเพิ่มทุนเช่นกัน

ทั้งนี้ หาก ธสน.และ บสย.มีความเสียหายต่อเนื่องจากภาวะวิกฤติจากการค้ำประกันสินเชื่อตามนโยบายรัฐบาล ที่ประชุม ครม.เศรษฐกิจเห็นชอบให้มีการเบิกงบประมาณชดเชยตามจำนวนที่เกิดขึ้น แต่คาดว่าจะอยู่ในวงเงินไม่เกิน 2,000 ล้านบาท เมื่อรวมเม็ดเงินเพิ่มทุน 2 ธนาคาร ทำให้รัฐบาลใช้เงินในการเพิ่มทุนรวม 8,000-10,000 ล้านบาท โดยก่อนหน้านี้ ครม.ได้อนุมัติการกู้เงินต่างประเทศ 2,000 ล้านเหรียญสหรัฐ (70,000 ล้านบาท) จาก 3 สถาบันการเงินคือ ธนาคารโลก (เวิลด์แบงก์) ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (เอดีบี) และองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (ไจก้า)

รมว.คลังกล่าวว่า ที่ประชุม ครม.เศรษฐกิจได้เห็นชอบมาตรการด้านสินเชื่อเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการผ่านสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ คือ ธสน. และ บสย. ใน 2 มาตรการหลัก คือ มาตรการลดความเสี่ยงให้ผู้ส่งออก ในการได้รับการชำระเงินค่าสินค้า และลดความเสี่ยงให้ธนาคารของผู้ส่งออก และช่วยเพิ่มสภาพคล่องให้ผู้ส่งออก ที่ต้องการขยายตลาดส่งออกใหม่ ๆ

ส่วนมาตรการค้ำประกันสินเชื่อ ผ่าน บสย. เป็นการค้ำประกันลักษณะ Portfolio Scheme พิจารณาค้ำประกันเป็นรายกลุ่ม ดำเนินการร่วมกับ บสย.กับสถาบันการเงินอื่นๆ แบ่งสัดส่วนความรับผิดชอบตามความเหมาะสม

"การเพิ่มทุนของสถาบันการเงินของรัฐ 2 แห่ง จะทำให้เสร็จโดยเร็ว คาดว่าจะเป็นการจัดหาแหล่งเงินจากในประเทศ" นายกรณ์กล่าวและว่า กรอบการใช้เงินกู้ต่างประเทศจำนวน 7 หมื่นล้านบาท เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ได้มีการหารือในกรอบใหญ่ 3 ด้าน ประกอบด้วย 1.การเพิ่มทุนให้กับสถาบันการเงินของรัฐเพื่อรองรับการขยายสินเชื่อตามนโยบายรัฐบาล โดยจะพิจารณาจัดสรรวงเงินเพิ่มทุนตามความจำเป็นในการขยายสินเชื่อ พร้อมกับประเมินสถานะเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงของสถาบันการเงินรัฐ เพื่อให้มีความมั่นคง

2.โครงการลงทุนภาครัฐขนาดกลางและขนาดเล็ก จะพิจารณาโครงการที่ส่งผลต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจและการจ้างงานในระยะสั้นที่กระจายในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ โดยมีระยะเวลาดำเนินโครงการไม่เกิน 15 เดือนเริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม 2552 ถึงเดือนพฤษภาคม 2553

3.โครงการลงทุนภาครัฐขนาดใหญ่เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านเศรษฐกิจและสังคม โดยจะพิจารณาจัดสรรให้โครงการขนาดใหญ่ที่มีความจำเป็นต้องดำเนินการเร่งด่วนตามนโยบายรัฐบาล เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และเพิ่มผลิตภาพเศรษฐกิจโดยรวม โดยมีระยะเวลาดำเนินโครงการไม่เกิน 36 เดือน เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม 2552 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2555   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us